เช้าวันนี้...จิบกาแฟขมแล้ว บริหารร่างกายเรียบร้อยมานั่งดูข่าวโทรทัศน์ต่อ เป็นรายการ ‘จมูกมด’ มีคุณพิสิทธิ์ กีรติการกุล หรือ ‘คุณหว่อง’ผู้ดำเนินรายการทั้งทางวิทยุคุณสายสวรรค์ ขยันยิ่ง และคุณพิษณุ นิลกลัด นั่งคุยข่าวสารบ้านเมืองกันไปเรื่อยๆ เหมือนมีเพื่อนฝูงมาคุยให้ฟังสบายๆ ไม่เคร่งเครียด
ผมชอบรายการอย่างนี้ และดูเป็นประจำ
เมื่อวันพฤหัสที่ ๑๒ ก.ค.ที่ผ่านมา ได้ยินคุณหว่องคุยเรื่อง ‘การปรับโครงสร้างตำรวจ’ ว่า มีความพยายามไม่ให้นายร้อยเวร ต้องมารับแจ้งความจิปาถะ ทำให้ตำรวจต้องรับแจ้งความหลายสารพัด แล้วยังเสริมได้อีกว่า
แค่คุณหว่องไปธุระทีโรงพัก ก็เห็นผู้คนขึ้นโรงพักมากหน้าหลายตา บางคนมาแจ้งความ บางครั้งก็เห็นตำรวจรับแจ้งทางโทรศัพท์ บ้างก็มาหารือเรื่องอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานของตำรวจเลย อะไรทำนองนี้
ฟังคุณหว่องแล้ว ทำให้นึกถึงเพลง ที่เขาร้องบอก ว่า
“ผู้หมวดขา หนูขอแจ้งความ เมื่อวันที่สิบสาม ตอนสองยามเห็นจะได้
มีโจรคนหนึ่งไม่รู้ว่าชื่ออะไร ผิวดำแดงร่างใหญ่ๆ
เขาย่องมาตอนหนูหลับ เขาจับ เขาจูบ แล้วเขาก็วิ่งหนีไป...”
ที่นึกถึงเพลงนี้ เพราะเห็นว่า
คุณหว่องในฐานะที่คุ้นอยู่กับข่าว แถมยังดำเนินรายการโทรทัศน์ ที่มีผู้คนติดตามมาก อย่างรายการ ‘คดีเด็ด’ ซึ่งได้นำเรื่องราวส่วนใหญ่ของตำรวจ มาเป็นแก่นสำคัญในการเดินเรื่อง คงคลุกคลีอยู่กับแวดวงโรงพักมาพอสมควร น่าจะยืนยันได้ว่า
ข้าราชการตำรวจนี่และครับ ที่ใกล้ชิดกันประชาชนมากที่สุด เพราะผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ในบ้านเมืองของเรา นั้น
ทำหน้าที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุขจริงๆ !
เหตุการณ์ที่พบบ่อยมากบนโรงพัก เห็นจะเป็นเรื่องในครอบครัว อย่างผัวเมียตีกัน หากใครมีโอกาสดูการไกล่เกลี่ยของตำรวจ ทางโทรทัศน์เมื่อเร็วๆนี้ โดยสามีภริยาอายุกว่า ๗๐ ปีกันแล้วทั้งคู่ ฝ่ายผัวได้ทุบตีผู้เป็นเมีย ทั้งๆที่ทั้งสองตายายนี้อยู่กินกันมา ไม่เคยทะเลาะเบาะแว้งรุนแรงกันมาก่อน แต่ครั้งนี้ฝ่ายชายนั้นไม่พอใจ เพราะภริยาออกไปกินเหล้านอกบ้าน กลับมาบ้านสามีขอหลับนอนด้วย ผู้ภริยากลับไม่ยอม ฝ่ายชายเลยหึงเพราะเกรงคุณยายเธอจะนอกใจ เลยตีเอาแล้วบีบคอซ้ำ ข้างคนเป็นเมียก็สู้ ด้วยการกัดเข้าจังเบ้อ เลยมาแจ้งความและฝ่ายหญิงขอหย่า
รองผู้กำกับคนหนึ่งทำหน้าที่อยู่บนโรงพัก ได้ใช้ศิลปะการพูดเกลี้ยกล่อมอย่างใจเย็นนานเป็นชั่วโมง ระหว่างนั้นนักข่าวบังเอิญอยู่พอดี เลยถ่ายวีดีโอไว้ตลอด ไกล่เกลี่ยจนทั้งคู่หายโกรธ นายตำรวจคนนี้ใช้เทคนิคให้สามีผู้ลงมือทุบตี สาบานต่อพระพุทธรูปประจำโรงพัก โดยรองผู้กำกับเป็นผู้กล่าวนำสาบานเอง ว่า
“ข้าพเจ้านาย...สาบานว่า จะไม่ทำร้ายภริยาอีกแล้ว จะรักและทะนุถนอมลอดไป.....!”
ในที่สุดผู้เฒ่าทั้งคู่ ก็หันกลับมาคืนดีกัน นายตำรวจคือรองผู้กำกับคนนั้น สั่งชัดเจนให้ตำรวจบริการเอารถโรงพัก ไปส่งคู่ผัวตัวเมียที่บ้านเป็นที่เรียบร้อย
ใครที่ดูละครชีวิตฉากนี้ทางโทรทัศน์ ที่ผู้สื่อข่าวถ่ายไว้โดยบังเอิญ จนกลายเป็นสกู๊ปข่าวที่คนพูดถึงกันทั้งเมือง ผู้ดำเนินรายการข่าวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณสรยุทธ์ คุณหว่อง และคนอื่นๆ ต่างพากันชมเปาะว่า นายตำรวจคนนั้นมีศิลปะในการพูดดีมาก แต่ลืมนึกถึงผู้ช่วยสำคัญของตำรวจไป นั่นคือ
พระพุทธรูปประจำโรงพัก!
พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ บนโรงพักในนครบาลส่วนใหญ่ รวมถึงสถานีตำรวจใหญ่ๆในต่างจังหวัด หากเป็นโรงพักเก่าแก่ที่ตั้งมานาน จะเป็นพระพุทธรูปที่กระทรวงมหาดไทย จัดสร้างขึ้นเมื่อครั้งกึ่งพุทธกาล โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา เสด็จทรงเททอง ว่ากันว่า
พระพุทธรูปชุดนี้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ดูเหมือนจะสร้างแค่ ๕,๐๐๐ องค์เท่านั้น ส่วนหนึ่งแจกจ่ายไปประจำโรงพัก ผมบังเอิญได้มา ๑ องค์ ซึ่งผู้ใหญ่ท่านเมตตาให้มา
ตำรวจนั้นเชื่อว่า พระพุทธปฏิมาชุดนี้ ขลังเหลือเกิน ด้วยมีคนสาบานต่อเบื้องพระพักตร์ มาแล้วมากมาย และผู้คนบ้านเรานั้นเกรงกลัว ไม่กล้าผิดคำสาบาน ยิ่งเป็นพระพุทธรูปที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้างแล้ว พุทธคุณยิ่งสูงนัก
จึงเป็นหลักชัยของตำรวจ และประชาชน ที่มาพึ่งพระพุทธบารมีได้เป็นอย่างดี
ใครที่สาบานตน ต่อหน้าหน้าธงไชยเฉลิมพลว่า จะรักษารัฐธรรมนูญ ต้องจำคำที่ตนได้สาบานไว้ ให้แม่นยำด้วย
เพราะพวกผิดคำสาบาน ฉิบหายมาแล้ว นักต่อนัก!
การที่ประชาชนต้องมาแจ้งความ เรื่องบัตรประชาชนหาย ทะเบียนบ้านหาย ฯลฯแล้วบอกว่าเป็นเรื่องที่ใช่เรื่องของตำรวจ ให้ไปแจ้งความอำเภอเลย นั่นก็พอฟังได้
แล้วถ้าโฉนดที่ดินหายล่ะ? ให้ไปแจ้งความที่กรมที่ดินเลยดีไหม?
ถามอย่างนี้ ชักมีคนไม่ค่อยแน่ใจขึ้นมาแล้ว...ทำไมหรือ?
ตอบว่า ก็เพราะที่ดินนั้นเป็นเอกสารสิทธิ์ที่เป็นเอกสารราชการ เป็นเอกสารซึ่งสามารถ ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ์ นั้นสำคัญมาก จนคนเขาไม่ไว้ใจ ถ้าไปแจ้งที่สำนักทะเบียนที่ดินแทนตำรวจ อาจเป็นการเปิดช่อง ให้มีการทุจริตได้มากมาย หากคนในองค์กรร่วมกระทำความผิดด้วย
แล้วถ้าเป็นใบหุ้น พันธบัตร หลักฐานสำคัญอย่างอื่น ลักษณะเดียวกันล่ะ? ปัญหาก็มีอีกนั่นแหละ
นี่ไง...เขาถึงให้มาแจ้งความกับตำรวจ เพราะอย่างน้อยคนที่จะกระทำความผิดจะฉุกคิด เพราะมาแจ้งความทำให้ตำรวจได้เห็นหน้าตนแล้ว จะทำผิดก็เกรงกลัวอยู่พอสมควร
เห็นกันหรือหรือยัง!
คนเรานั้น อย่าได้ดูแคลนคนเก่าแก่ ที่เขาคิดระเบียบนี้ไว้ เพราะหน่วยราชการอื่น อาจเก็บเอกสารไม่ดีเหมือนตำรวจ ดูอย่างเอกสารลับของทางราชการ ในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องการใช้จ่ายเงินโดยมิชอบ เอกสารการดำเนินการนโยบายต่างๆ โดนนำออกมาเผยแพร่ แฉกันทางเวปไซด์ให้เห็นกันจะจะ อย่างน่าตกใจ
จนฮือฮากันไปทั้งเมือง!
อยากจะบอกกับท่านผู้อ่าน ว่า
ตำรวจทั่วโลกเขามีหน้าที่หลักอยู่ ๔ อย่าง คือ การป้องกันอาชญากรมด้วยการตรวจลาดตระเวนเป็นหลัก การป้องกันอาชญากรรม การปราบปรามอาชญากรรม การตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ และการเป็นศูนย์การทะเบียน เช่น ทะเบียนผู้กระทำผิด เป็นศูนย์รวมพิมพ์มือของชาติ ศูนย์การทะเบียนคงต่างด้าว และงานทะเบียนอย่างอื่น เช่นศูนย์กลางคนหายพลัดหลงศูนย์ดัชนีรายชื่อผู้ต้องหา ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น
ในเรื่องการเป็นศูนย์การทะเบียนนี่แหละครับ คือส่วนหนึ่งที่ทำให้ตำรวจต้องรับแจ้ง ความ ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับอาชญากรรม แต่เสี่ยงต่อการนำไปสู่อาชญากรรม เช่น หลักฐานพิสูจน์ตัวบุคคลเช่น บัตรประจำตัวประชาชน ใบขับขี่ ใบสำคัญบุคคลต่างด้าว แต่ที่สำคัญคือตำรวจนั้นมี
ระเบียบการเก็บเอกสาร ที่เคร่งครัดมาก แค่ทำเอกสารดัชนีรายชื่อผู้ต้องหา หลุดออกจากบัญชีที่มีอยู่
แค่นี้ก็มีตำรวจที่รับผิดชอบ ติดคุกไปแล้ว!
งานทะเบียนของอำเภอนั้น พอจะเชื่อถือได้ เมื่อมีการจัดเก็บเอกสารแบบใหม่คือใช้เครื่องประมวลผล หรือคอมพิวเตอร์มาช่วย แต่การรับแจ้งความเรื่องเอกสารหาย การที่ให้แจ้งตำรวจก่อนนั้น อย่างน้อยตำรวจจะได้ทำการตรวจสอบเบื้องต้น คนร้ายมักไม่กล้าเดินขึ้นโรงพักถ้าไม่จำเป็นจริงๆ และเอกสารของตำรวจนั้น เมื่อแจ้งความไปแล้ว หลักฐานสามารถค้นคว้าย้อนหลังได้นานถึง ๒๐ ปี เลยทีเดียว
การลงหลักฐานเบ็ดเสร็จประจำวันนั้น เป็นการลงหลักฐานทางราชการ หากท่านผู้อ่านดูประมวลกฎหมายแพ่ง มีคำอยู่คำหนึ่งคือ ‘เอกสารฝ่ายเมือง’ ในกม.แพ่งระบุเอาไว้ดังนี้
มาตร า๑๖๕๘ พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารฝ่ายเมืองก็ได้ กล่าวคือ...
(๑) ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์ จะให้ใส่ไว้ใน พินัยกรรมของตนแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานอีก อย่างน้อยสองคน พร้อมกัน...
คำว่า “เอกสารฝ่ายเมือง” นี้แปลกมาก มีใช้ในประมวล กม.แพ่ง แต่ไม่มีบัญญัติในพจนานานุกรมราชบัณฑิตยสถาน นอกจากต้องแยกคำแปล คือเอกสาร, ฝ่าย และเมือง
ดังนั้น แม้จะไม่มีคำแปลในพจนานานุกรมฯ แต่น่าจะหมายความถึง เอกสารราชการ ที่จัดทำขึ้นและมีความสำคัญสามารถใช้เป็นหลักฐาน ในการแสดงเจนารมย์ของผู้มาแจ้ง ให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองจัดทำให้ โดยการจัดทำนั้น ถือเป็นหน้าที่ตามกฎหมายหรือโดยระเบียบของทางราชการ ไม่ต่างจากพินัยกรรมที่เป็นเอกสารฝ่ายเมือง ก็เป็นการกำหนดให้มีตามประมวลกฎหมายแพ่ง รวมทั้งกำหนดรูปแบบมาให้เสร็จสรรพด้วย
ผมมองดูความสำคัญ ของรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันแล้ว เห็นคำพิพากษาที่เกี่ยวเนื่องกับ ป.จ.ว. มีอยู่จำนวนไม่น้อย และสามารถใช้เป็นหลักฐาน ในชั้นพิจารณาของศาลได้อย่างแน่นอน นอกจากนั้นมีบางกรณี ที่ศาลท่านรับฟัง และไม่ให้ข้อพิพาทนั้นยืดเยื้อต่อไป เช่น
กรณีเมื่อเร็วๆนี้ บุตรสาวฟ้องให้ศาลบังคับน้องสาวร่วมบิดามารดา ปล่อยบิดาซึ่งข้าราชการตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่เกษียณแล้วท่านหนึ่ง ซึ่งที่อยู่ในความดูแลของน้องสาว ออกจากความดูแลของตน แต่ปรากฏว่า น้องสาวได้นำบิดาไปแจ้งความเป็นหลักฐานไว้ก่อน ที่สถานีตำรวจ และข้าราชการตำรวจผู้ใหญ่ผู้เป็นบิดาท่านนั้น ได้ลงลายมือชื่อด้วยความสมัครใจ ใน รายงานเบ็ดเสร็จประจำวัน หรือ ป.จ.ว. ไว้เรียบร้อยแล้ว
เมื่อถึงชั้นพิจารณาของศาล ได้มีการอ้างรายงาน ป.จ.ว. เป็นพยานเอกสาร และเบิกนายตำรวจเจ้าของเรื่องผู้รับแจ้ง เป็นพยานบุคคล เท่านี้ก็เป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง
นอกจากนั้นยังมีอีกหลายกรณี เช่น
การแสดงเจตจำนงในการแยกทางกัน ของคู่สามีภริยาที่ไม่จดทะเบียน การตกลงแบ่งทรัพย์สิน การยินยอมชดใช้ค่าเสียหายซึ่งกันและกัน (คดีรถยนต์ชนกัน) เหล่านี้ล้วนแต่ลงบันทึกรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันของตำรวจแล้ว สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ทั้งสิ้น
บริการเหล่านี้ หน่วยราชการอื่นอาจจัดได้ในบางเรื่องเช่นทางอำเภอ แต่ที่ว่าการอำเภอก็มีเวลาปิดเปิดเป็นเวลา เสาร์อาทิตย์ก็ปิดบริการประชาชน
มีแต่ตำรวจเท่านั้น เปิดบริการ ๒๔ ชั่วโมง
ผัวเมียทะเลาะกันจะแยกทางดึกดื่น ไปตกลงหย่ากันที่โรงพัก แบ่งสมบัติต่อหน้าตำรวจ วันจันทร์เปิดทำการ ไปจดทะเบียนหย่าที่อำเภอ แล้วเอาข้อตกลงในเรื่องสมบัติพัสถานยื่นประกอบเข้าไป ตัดเวลาการทำงานของอำเภอได้ทันที ถ้าไม่ได้จดทะเบียน การแยกทางกันดูจะเสร็จเด็ดขาดกันลงไปเลย แค่ชั้นดรงพักนั่นแหละ
ระหว่างที่มีความพยายามของรัฐบาล ที่จะบีบคั้นองค์กรตำรวจ นายตำรวจและตำรวจประทวน ทั้งอยู่ในราชการและนอกราชการ ต่างแห่กันออกมาคัดค้าน แนวความคิดของผู้นำรัฐบาล

เมื่อวานซืนนี้เอง ผมได้รับหนังสือจากนักข่าวฝีมือดีคือคุณ ป๋วย ใจไทย ซึ่งโด่งดังจากผลงานหนังสือเรื่อง “อ่างอาบน้ำทองคำ ของชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์” ซึ่งมียอดขาย เป็นลำดับ ที่ ๑ ประจำปี ของประเทศมาแล้ว คราวนี้เขาออกหนังสือใหม่ ชื่อ “ทำลายตำรวจ... สร้างรัฐทหาร” เนื้อหาเป็นอย่างไรนั้น จะไม่ขอพูดถึง
ไปสะดุดเอาคำนิยมของ พล.ต.ต.บุญจิตต์ พันธุมจินดา อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการศึกษา ท่านเขียนไว้อย่างเรียบง่าย มีข้อความที่เกี่ยวข้องกับสถานีตำรวจหรือโรงพัก แต่บรรจุข้อความตรึงใจผมนัก จึงขออนุญาตท่าน คัดลอกนำมาให้แฟนๆได้อ่านกัน
ลองอ่านดู ครับ
ก่อนที่ข้าพเจ้าจะเข้ารับราชการตำรวจนั้น เคยรับราชการในกระทรวงพาณิชย์มาก่อน เมื่อได้รับปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิต ได้เข้ารับราชการตำรวจ และได้สอบชิงทุนไปเรียนหลักสูตรนายตำรวจอิตาลี
ครั้นสำเร็จแล้วกลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ ได้ทำงานเป็นนายตำรวจโรงพักในนครบาล และย้ายออกต่างจังหวัด ไปรับราชการที่ สภ.อ.เมืองเชียงใหม่ และได้รับราชการเมืองชายแดน ที่เป็นจุดยุทธศาสตร์แห่งหนึ่งของประเทศ คืออำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับกอง สถานีตำรวจภูธรแห่งนี้
ชีวิตของข้าพเจ้า อาจแปลกจากนายตำรวจคนอื่น คือนอกจากเป็นผู้บังคับกอง สภ.อ.แม่สายแล้ว ยังรักษาการณ์ในตำแหน่ง ‘นายอำเภอ’ ของอำเภอแห่งนี้ด้วย เพราะในสถานการณ์ตอนนั้น ทางพม่าสงสัยว่า ประเทศของเราหนุนทหารจีนกองพล ๙๓ ของพรรคก๊กมินตั๋ง ของรัฐบาลเจียงไคเช็ค ที่แตกจากการสู้รบของเมืองจีน ทำให้ทางราชการต้องแต่งตั้งข้าพเจ้า ทำหน้าที่ประสานงานกับกองทัพพม่าที่เมืองยอน และครั้งหนึ่งต้องติดอยู่ในการสู้รบที่เมืองยอน โดยไม่ได้รับประทานอาหารอยู่ ๒ วันเต็ม
การปฏิบัติงานควบกันทั้งสองตำแหน่ง คือทั้งผู้บังคับกองและนายอำเภอ ทำให้ผู้ใหญ่ในกระทรวงมหาดไทย พอใจในผลการปฏิบัติราชการของข้าพเจ้า คุณหลวงกัมปนาทแสนยากร ให้ข้าพเจ้าเลือกที่จะเป็นนายอำเภอ หรือประสงค์จะเป็นนายตำรวจต่อไป ก็ไม่ขัดข้องทั้งสองหน้าที่
ข้าพเจ้า ตอบท่านชัดเจน ว่า “กระผมเลือกเป็นตำรวจ”
บัดนี้ ข้าพเจ้าเป็นข้าราชการตำรวจบำนาญ มีอายุกว่า ๙๐ ปี แล้ว แต่ความทรงจำของ ยังแจ่มใส และยังคงไว้ซึ่งความภาคภูมิใจ ที่ได้เป็นตำรวจ มีโอกาสเป็นข้าราชการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทำหน้าที่ใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชนมากที่สุด เพราะราชการหน่วยอื่นนั้น ถ้าเป็นยามปกติสี่โมงครึ่งก็กลับบ้านกันหมด แต่โรงพักยังเปิดให้บริการประชาชน
ตลอดวัน และตลอดคืน เหมือนกันหมดทุกโรงพัก
นี่...คือความจริง
คนที่พลัดหลงกับบุตรภริยา หรือญาติพี่น้อง มุ่งหน้ามาโรงพัก คนยากคนจน คนเร่ร่อนจรจัด มาขอข้าวตำรวจกินที่โรงพักได้ คนเมาสุราหาที่นอนไม่ได้มานอนโรงพัก ผัวเมียตีกันตอนดึกดื่นเที่ยงคืน มาโรงพักให้ตำรวจไกล่เกลี่ยฯลฯ
โรงพักกับโรงลิเก โรงละคร ไม่แตกต่างกัน เรามองดูชีวิตผู้คนได้ที่นี่
ผิดกันตรงที่โรงลิเก โรงละคร เขาเล่นเป็นรอบๆ วิกปิดก็ไม่ได้เล่น
แต่ละครชีวิตที่โรงพัก...ดำเนินต่อไป ไม่เคยหยุดยั้ง ตัวละครเก่าล้มหายตายจากไป นักแสดงตัวใหม่ก็โผล่เข้ามา
ข้าพเจ้ารู้สึกประหลาดใจ ว่า
การผ่าตัดองค์กรตำรวจครั้งนี้ เหตุไฉนพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จึงไปไว้วางใจบุคคลที่ไม่เคยแม้แต่ทำงานบนโรงพัก มาเป็นผู้ดำเนินการ ในการผ่าตัดองค์กรตำรวจในครั้งนี้ หรือท่านนายกฯจะอ่านแต่เพียง ‘นิยายตำรวจ’ ที่บุคคลที่ท่านไว้วางใจเขียนจำหน่าย แล้วเกิดความประทับใจ
อย่างนั้นใช่หรือไม่?
จึงไม่เป็นที่แปลกใจ สำหรับตำรวจเก่าอย่างข้าพเจ้า ซึ่งอยู่ในวัยกว่า ๙๐ ปีแล้ว ได้เห็นแรงต่อต้านจากข้าราชการตำรวจ ทั้งมี่เกษียณอายุราชการแล้ว และยังรับราชการอยู่ อย่างกว้างขวาง เช่นนี้
การที่ท่านเป็นรัฐบาล ซึ่งได้เข้ามาดำรงตำแหน่งอย่างไม่ชอบธรรม และมุ่งกวาดล้างองค์กรตำรวจ โดยประสงค์ที่จะทำให้ องค์กรผู้รักษากฎหมายของชาติเรา ต้องอ่อนแอลงนั้น
ขอบอกตรงๆว่า
การกระทำเช่นนี้ ไม่ได้ทำให้ ‘พวก’ ของท่าน มีอำนาจมากขึ้น แต่เหล่าโสณทุจริตทั้งหลายในบ้านนี้เมืองนี้ต่างหาก ที่ได้รับประโยชน์ โดยทวีความแข็งแรงยิ่งขึ้น อย่างที่ได้เห็นกันในปัจจุบัน
และ...ที่น่าสงสารเป็นที่สุด ก็คือ
ประชาชนคนในชาติ...จะปลอดภัยน้อยลง!
.............

ท้ายบท ท่านผู้อ่าน ที่เคารพครับ
ผมอ่านแล้ว ‘อึ้ง’ ไปเลย นอกจากนี้ ยังได้อ่านข้อเขียนของ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร ใช้ข้อความสั้น เจิมตรงปกรองของหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเป็นถ้อยคำของ ฯพณฯ จอห์น เอฟ เคนเนดี้ อดีตประธานาธิบดีผู้ยิ่งใหญ่ แห่งสหรัฐอเมริกาที่ว่า
DESTROY THE POLICE
DESTROY THE PEOPLE ’S PEACE
ท่านพล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร ให้คำแปลว่า
ทำลายตำรวจ...
ทำลายสันติสุขประชาชน!
หนังสือเล่มนี้พิมพ์ออกมา ๓๐,๐๐๐ เล่ม จำหน่ายพรึ่บเดียว หมดภายใน ๑ อาทิตย์ ต้องพิมพ์ใหม่อีก ๑๐,๐๐๐ เล่ม...ลองไปหาอ่านกันดูครับ
รับรองว่า ท่านต้องเห็นอะไรดีๆอีกมาก!!
ผมชอบรายการอย่างนี้ และดูเป็นประจำ
เมื่อวันพฤหัสที่ ๑๒ ก.ค.ที่ผ่านมา ได้ยินคุณหว่องคุยเรื่อง ‘การปรับโครงสร้างตำรวจ’ ว่า มีความพยายามไม่ให้นายร้อยเวร ต้องมารับแจ้งความจิปาถะ ทำให้ตำรวจต้องรับแจ้งความหลายสารพัด แล้วยังเสริมได้อีกว่า
แค่คุณหว่องไปธุระทีโรงพัก ก็เห็นผู้คนขึ้นโรงพักมากหน้าหลายตา บางคนมาแจ้งความ บางครั้งก็เห็นตำรวจรับแจ้งทางโทรศัพท์ บ้างก็มาหารือเรื่องอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานของตำรวจเลย อะไรทำนองนี้
ฟังคุณหว่องแล้ว ทำให้นึกถึงเพลง ที่เขาร้องบอก ว่า
“ผู้หมวดขา หนูขอแจ้งความ เมื่อวันที่สิบสาม ตอนสองยามเห็นจะได้
มีโจรคนหนึ่งไม่รู้ว่าชื่ออะไร ผิวดำแดงร่างใหญ่ๆ
เขาย่องมาตอนหนูหลับ เขาจับ เขาจูบ แล้วเขาก็วิ่งหนีไป...”
ที่นึกถึงเพลงนี้ เพราะเห็นว่า
คุณหว่องในฐานะที่คุ้นอยู่กับข่าว แถมยังดำเนินรายการโทรทัศน์ ที่มีผู้คนติดตามมาก อย่างรายการ ‘คดีเด็ด’ ซึ่งได้นำเรื่องราวส่วนใหญ่ของตำรวจ มาเป็นแก่นสำคัญในการเดินเรื่อง คงคลุกคลีอยู่กับแวดวงโรงพักมาพอสมควร น่าจะยืนยันได้ว่า
ข้าราชการตำรวจนี่และครับ ที่ใกล้ชิดกันประชาชนมากที่สุด เพราะผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ในบ้านเมืองของเรา นั้น
ทำหน้าที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุขจริงๆ !
เหตุการณ์ที่พบบ่อยมากบนโรงพัก เห็นจะเป็นเรื่องในครอบครัว อย่างผัวเมียตีกัน หากใครมีโอกาสดูการไกล่เกลี่ยของตำรวจ ทางโทรทัศน์เมื่อเร็วๆนี้ โดยสามีภริยาอายุกว่า ๗๐ ปีกันแล้วทั้งคู่ ฝ่ายผัวได้ทุบตีผู้เป็นเมีย ทั้งๆที่ทั้งสองตายายนี้อยู่กินกันมา ไม่เคยทะเลาะเบาะแว้งรุนแรงกันมาก่อน แต่ครั้งนี้ฝ่ายชายนั้นไม่พอใจ เพราะภริยาออกไปกินเหล้านอกบ้าน กลับมาบ้านสามีขอหลับนอนด้วย ผู้ภริยากลับไม่ยอม ฝ่ายชายเลยหึงเพราะเกรงคุณยายเธอจะนอกใจ เลยตีเอาแล้วบีบคอซ้ำ ข้างคนเป็นเมียก็สู้ ด้วยการกัดเข้าจังเบ้อ เลยมาแจ้งความและฝ่ายหญิงขอหย่า
รองผู้กำกับคนหนึ่งทำหน้าที่อยู่บนโรงพัก ได้ใช้ศิลปะการพูดเกลี้ยกล่อมอย่างใจเย็นนานเป็นชั่วโมง ระหว่างนั้นนักข่าวบังเอิญอยู่พอดี เลยถ่ายวีดีโอไว้ตลอด ไกล่เกลี่ยจนทั้งคู่หายโกรธ นายตำรวจคนนี้ใช้เทคนิคให้สามีผู้ลงมือทุบตี สาบานต่อพระพุทธรูปประจำโรงพัก โดยรองผู้กำกับเป็นผู้กล่าวนำสาบานเอง ว่า
“ข้าพเจ้านาย...สาบานว่า จะไม่ทำร้ายภริยาอีกแล้ว จะรักและทะนุถนอมลอดไป.....!”
ในที่สุดผู้เฒ่าทั้งคู่ ก็หันกลับมาคืนดีกัน นายตำรวจคือรองผู้กำกับคนนั้น สั่งชัดเจนให้ตำรวจบริการเอารถโรงพัก ไปส่งคู่ผัวตัวเมียที่บ้านเป็นที่เรียบร้อย
ใครที่ดูละครชีวิตฉากนี้ทางโทรทัศน์ ที่ผู้สื่อข่าวถ่ายไว้โดยบังเอิญ จนกลายเป็นสกู๊ปข่าวที่คนพูดถึงกันทั้งเมือง ผู้ดำเนินรายการข่าวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณสรยุทธ์ คุณหว่อง และคนอื่นๆ ต่างพากันชมเปาะว่า นายตำรวจคนนั้นมีศิลปะในการพูดดีมาก แต่ลืมนึกถึงผู้ช่วยสำคัญของตำรวจไป นั่นคือ
พระพุทธรูปประจำโรงพัก!
พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ บนโรงพักในนครบาลส่วนใหญ่ รวมถึงสถานีตำรวจใหญ่ๆในต่างจังหวัด หากเป็นโรงพักเก่าแก่ที่ตั้งมานาน จะเป็นพระพุทธรูปที่กระทรวงมหาดไทย จัดสร้างขึ้นเมื่อครั้งกึ่งพุทธกาล โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา เสด็จทรงเททอง ว่ากันว่า
พระพุทธรูปชุดนี้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ดูเหมือนจะสร้างแค่ ๕,๐๐๐ องค์เท่านั้น ส่วนหนึ่งแจกจ่ายไปประจำโรงพัก ผมบังเอิญได้มา ๑ องค์ ซึ่งผู้ใหญ่ท่านเมตตาให้มา
ตำรวจนั้นเชื่อว่า พระพุทธปฏิมาชุดนี้ ขลังเหลือเกิน ด้วยมีคนสาบานต่อเบื้องพระพักตร์ มาแล้วมากมาย และผู้คนบ้านเรานั้นเกรงกลัว ไม่กล้าผิดคำสาบาน ยิ่งเป็นพระพุทธรูปที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้างแล้ว พุทธคุณยิ่งสูงนัก
จึงเป็นหลักชัยของตำรวจ และประชาชน ที่มาพึ่งพระพุทธบารมีได้เป็นอย่างดี
ใครที่สาบานตน ต่อหน้าหน้าธงไชยเฉลิมพลว่า จะรักษารัฐธรรมนูญ ต้องจำคำที่ตนได้สาบานไว้ ให้แม่นยำด้วย
เพราะพวกผิดคำสาบาน ฉิบหายมาแล้ว นักต่อนัก!
การที่ประชาชนต้องมาแจ้งความ เรื่องบัตรประชาชนหาย ทะเบียนบ้านหาย ฯลฯแล้วบอกว่าเป็นเรื่องที่ใช่เรื่องของตำรวจ ให้ไปแจ้งความอำเภอเลย นั่นก็พอฟังได้
แล้วถ้าโฉนดที่ดินหายล่ะ? ให้ไปแจ้งความที่กรมที่ดินเลยดีไหม?
ถามอย่างนี้ ชักมีคนไม่ค่อยแน่ใจขึ้นมาแล้ว...ทำไมหรือ?
ตอบว่า ก็เพราะที่ดินนั้นเป็นเอกสารสิทธิ์ที่เป็นเอกสารราชการ เป็นเอกสารซึ่งสามารถ ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ์ นั้นสำคัญมาก จนคนเขาไม่ไว้ใจ ถ้าไปแจ้งที่สำนักทะเบียนที่ดินแทนตำรวจ อาจเป็นการเปิดช่อง ให้มีการทุจริตได้มากมาย หากคนในองค์กรร่วมกระทำความผิดด้วย
แล้วถ้าเป็นใบหุ้น พันธบัตร หลักฐานสำคัญอย่างอื่น ลักษณะเดียวกันล่ะ? ปัญหาก็มีอีกนั่นแหละ
นี่ไง...เขาถึงให้มาแจ้งความกับตำรวจ เพราะอย่างน้อยคนที่จะกระทำความผิดจะฉุกคิด เพราะมาแจ้งความทำให้ตำรวจได้เห็นหน้าตนแล้ว จะทำผิดก็เกรงกลัวอยู่พอสมควร
เห็นกันหรือหรือยัง!
คนเรานั้น อย่าได้ดูแคลนคนเก่าแก่ ที่เขาคิดระเบียบนี้ไว้ เพราะหน่วยราชการอื่น อาจเก็บเอกสารไม่ดีเหมือนตำรวจ ดูอย่างเอกสารลับของทางราชการ ในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องการใช้จ่ายเงินโดยมิชอบ เอกสารการดำเนินการนโยบายต่างๆ โดนนำออกมาเผยแพร่ แฉกันทางเวปไซด์ให้เห็นกันจะจะ อย่างน่าตกใจ
จนฮือฮากันไปทั้งเมือง!
อยากจะบอกกับท่านผู้อ่าน ว่า
ตำรวจทั่วโลกเขามีหน้าที่หลักอยู่ ๔ อย่าง คือ การป้องกันอาชญากรมด้วยการตรวจลาดตระเวนเป็นหลัก การป้องกันอาชญากรรม การปราบปรามอาชญากรรม การตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ และการเป็นศูนย์การทะเบียน เช่น ทะเบียนผู้กระทำผิด เป็นศูนย์รวมพิมพ์มือของชาติ ศูนย์การทะเบียนคงต่างด้าว และงานทะเบียนอย่างอื่น เช่นศูนย์กลางคนหายพลัดหลงศูนย์ดัชนีรายชื่อผู้ต้องหา ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น
ในเรื่องการเป็นศูนย์การทะเบียนนี่แหละครับ คือส่วนหนึ่งที่ทำให้ตำรวจต้องรับแจ้ง ความ ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับอาชญากรรม แต่เสี่ยงต่อการนำไปสู่อาชญากรรม เช่น หลักฐานพิสูจน์ตัวบุคคลเช่น บัตรประจำตัวประชาชน ใบขับขี่ ใบสำคัญบุคคลต่างด้าว แต่ที่สำคัญคือตำรวจนั้นมี
ระเบียบการเก็บเอกสาร ที่เคร่งครัดมาก แค่ทำเอกสารดัชนีรายชื่อผู้ต้องหา หลุดออกจากบัญชีที่มีอยู่
แค่นี้ก็มีตำรวจที่รับผิดชอบ ติดคุกไปแล้ว!
งานทะเบียนของอำเภอนั้น พอจะเชื่อถือได้ เมื่อมีการจัดเก็บเอกสารแบบใหม่คือใช้เครื่องประมวลผล หรือคอมพิวเตอร์มาช่วย แต่การรับแจ้งความเรื่องเอกสารหาย การที่ให้แจ้งตำรวจก่อนนั้น อย่างน้อยตำรวจจะได้ทำการตรวจสอบเบื้องต้น คนร้ายมักไม่กล้าเดินขึ้นโรงพักถ้าไม่จำเป็นจริงๆ และเอกสารของตำรวจนั้น เมื่อแจ้งความไปแล้ว หลักฐานสามารถค้นคว้าย้อนหลังได้นานถึง ๒๐ ปี เลยทีเดียว
การลงหลักฐานเบ็ดเสร็จประจำวันนั้น เป็นการลงหลักฐานทางราชการ หากท่านผู้อ่านดูประมวลกฎหมายแพ่ง มีคำอยู่คำหนึ่งคือ ‘เอกสารฝ่ายเมือง’ ในกม.แพ่งระบุเอาไว้ดังนี้
มาตร า๑๖๕๘ พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารฝ่ายเมืองก็ได้ กล่าวคือ...
(๑) ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์ จะให้ใส่ไว้ใน พินัยกรรมของตนแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานอีก อย่างน้อยสองคน พร้อมกัน...
คำว่า “เอกสารฝ่ายเมือง” นี้แปลกมาก มีใช้ในประมวล กม.แพ่ง แต่ไม่มีบัญญัติในพจนานานุกรมราชบัณฑิตยสถาน นอกจากต้องแยกคำแปล คือเอกสาร, ฝ่าย และเมือง
ดังนั้น แม้จะไม่มีคำแปลในพจนานานุกรมฯ แต่น่าจะหมายความถึง เอกสารราชการ ที่จัดทำขึ้นและมีความสำคัญสามารถใช้เป็นหลักฐาน ในการแสดงเจนารมย์ของผู้มาแจ้ง ให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองจัดทำให้ โดยการจัดทำนั้น ถือเป็นหน้าที่ตามกฎหมายหรือโดยระเบียบของทางราชการ ไม่ต่างจากพินัยกรรมที่เป็นเอกสารฝ่ายเมือง ก็เป็นการกำหนดให้มีตามประมวลกฎหมายแพ่ง รวมทั้งกำหนดรูปแบบมาให้เสร็จสรรพด้วย
ผมมองดูความสำคัญ ของรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันแล้ว เห็นคำพิพากษาที่เกี่ยวเนื่องกับ ป.จ.ว. มีอยู่จำนวนไม่น้อย และสามารถใช้เป็นหลักฐาน ในชั้นพิจารณาของศาลได้อย่างแน่นอน นอกจากนั้นมีบางกรณี ที่ศาลท่านรับฟัง และไม่ให้ข้อพิพาทนั้นยืดเยื้อต่อไป เช่น
กรณีเมื่อเร็วๆนี้ บุตรสาวฟ้องให้ศาลบังคับน้องสาวร่วมบิดามารดา ปล่อยบิดาซึ่งข้าราชการตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่เกษียณแล้วท่านหนึ่ง ซึ่งที่อยู่ในความดูแลของน้องสาว ออกจากความดูแลของตน แต่ปรากฏว่า น้องสาวได้นำบิดาไปแจ้งความเป็นหลักฐานไว้ก่อน ที่สถานีตำรวจ และข้าราชการตำรวจผู้ใหญ่ผู้เป็นบิดาท่านนั้น ได้ลงลายมือชื่อด้วยความสมัครใจ ใน รายงานเบ็ดเสร็จประจำวัน หรือ ป.จ.ว. ไว้เรียบร้อยแล้ว
เมื่อถึงชั้นพิจารณาของศาล ได้มีการอ้างรายงาน ป.จ.ว. เป็นพยานเอกสาร และเบิกนายตำรวจเจ้าของเรื่องผู้รับแจ้ง เป็นพยานบุคคล เท่านี้ก็เป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง
นอกจากนั้นยังมีอีกหลายกรณี เช่น
การแสดงเจตจำนงในการแยกทางกัน ของคู่สามีภริยาที่ไม่จดทะเบียน การตกลงแบ่งทรัพย์สิน การยินยอมชดใช้ค่าเสียหายซึ่งกันและกัน (คดีรถยนต์ชนกัน) เหล่านี้ล้วนแต่ลงบันทึกรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันของตำรวจแล้ว สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ทั้งสิ้น
บริการเหล่านี้ หน่วยราชการอื่นอาจจัดได้ในบางเรื่องเช่นทางอำเภอ แต่ที่ว่าการอำเภอก็มีเวลาปิดเปิดเป็นเวลา เสาร์อาทิตย์ก็ปิดบริการประชาชน
มีแต่ตำรวจเท่านั้น เปิดบริการ ๒๔ ชั่วโมง
ผัวเมียทะเลาะกันจะแยกทางดึกดื่น ไปตกลงหย่ากันที่โรงพัก แบ่งสมบัติต่อหน้าตำรวจ วันจันทร์เปิดทำการ ไปจดทะเบียนหย่าที่อำเภอ แล้วเอาข้อตกลงในเรื่องสมบัติพัสถานยื่นประกอบเข้าไป ตัดเวลาการทำงานของอำเภอได้ทันที ถ้าไม่ได้จดทะเบียน การแยกทางกันดูจะเสร็จเด็ดขาดกันลงไปเลย แค่ชั้นดรงพักนั่นแหละ
ระหว่างที่มีความพยายามของรัฐบาล ที่จะบีบคั้นองค์กรตำรวจ นายตำรวจและตำรวจประทวน ทั้งอยู่ในราชการและนอกราชการ ต่างแห่กันออกมาคัดค้าน แนวความคิดของผู้นำรัฐบาล
เมื่อวานซืนนี้เอง ผมได้รับหนังสือจากนักข่าวฝีมือดีคือคุณ ป๋วย ใจไทย ซึ่งโด่งดังจากผลงานหนังสือเรื่อง “อ่างอาบน้ำทองคำ ของชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์” ซึ่งมียอดขาย เป็นลำดับ ที่ ๑ ประจำปี ของประเทศมาแล้ว คราวนี้เขาออกหนังสือใหม่ ชื่อ “ทำลายตำรวจ... สร้างรัฐทหาร” เนื้อหาเป็นอย่างไรนั้น จะไม่ขอพูดถึง
ไปสะดุดเอาคำนิยมของ พล.ต.ต.บุญจิตต์ พันธุมจินดา อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการศึกษา ท่านเขียนไว้อย่างเรียบง่าย มีข้อความที่เกี่ยวข้องกับสถานีตำรวจหรือโรงพัก แต่บรรจุข้อความตรึงใจผมนัก จึงขออนุญาตท่าน คัดลอกนำมาให้แฟนๆได้อ่านกัน
ลองอ่านดู ครับ
ก่อนที่ข้าพเจ้าจะเข้ารับราชการตำรวจนั้น เคยรับราชการในกระทรวงพาณิชย์มาก่อน เมื่อได้รับปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิต ได้เข้ารับราชการตำรวจ และได้สอบชิงทุนไปเรียนหลักสูตรนายตำรวจอิตาลี
ครั้นสำเร็จแล้วกลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ ได้ทำงานเป็นนายตำรวจโรงพักในนครบาล และย้ายออกต่างจังหวัด ไปรับราชการที่ สภ.อ.เมืองเชียงใหม่ และได้รับราชการเมืองชายแดน ที่เป็นจุดยุทธศาสตร์แห่งหนึ่งของประเทศ คืออำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับกอง สถานีตำรวจภูธรแห่งนี้
ชีวิตของข้าพเจ้า อาจแปลกจากนายตำรวจคนอื่น คือนอกจากเป็นผู้บังคับกอง สภ.อ.แม่สายแล้ว ยังรักษาการณ์ในตำแหน่ง ‘นายอำเภอ’ ของอำเภอแห่งนี้ด้วย เพราะในสถานการณ์ตอนนั้น ทางพม่าสงสัยว่า ประเทศของเราหนุนทหารจีนกองพล ๙๓ ของพรรคก๊กมินตั๋ง ของรัฐบาลเจียงไคเช็ค ที่แตกจากการสู้รบของเมืองจีน ทำให้ทางราชการต้องแต่งตั้งข้าพเจ้า ทำหน้าที่ประสานงานกับกองทัพพม่าที่เมืองยอน และครั้งหนึ่งต้องติดอยู่ในการสู้รบที่เมืองยอน โดยไม่ได้รับประทานอาหารอยู่ ๒ วันเต็ม
การปฏิบัติงานควบกันทั้งสองตำแหน่ง คือทั้งผู้บังคับกองและนายอำเภอ ทำให้ผู้ใหญ่ในกระทรวงมหาดไทย พอใจในผลการปฏิบัติราชการของข้าพเจ้า คุณหลวงกัมปนาทแสนยากร ให้ข้าพเจ้าเลือกที่จะเป็นนายอำเภอ หรือประสงค์จะเป็นนายตำรวจต่อไป ก็ไม่ขัดข้องทั้งสองหน้าที่
ข้าพเจ้า ตอบท่านชัดเจน ว่า “กระผมเลือกเป็นตำรวจ”
บัดนี้ ข้าพเจ้าเป็นข้าราชการตำรวจบำนาญ มีอายุกว่า ๙๐ ปี แล้ว แต่ความทรงจำของ ยังแจ่มใส และยังคงไว้ซึ่งความภาคภูมิใจ ที่ได้เป็นตำรวจ มีโอกาสเป็นข้าราชการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทำหน้าที่ใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชนมากที่สุด เพราะราชการหน่วยอื่นนั้น ถ้าเป็นยามปกติสี่โมงครึ่งก็กลับบ้านกันหมด แต่โรงพักยังเปิดให้บริการประชาชน
ตลอดวัน และตลอดคืน เหมือนกันหมดทุกโรงพัก
นี่...คือความจริง
คนที่พลัดหลงกับบุตรภริยา หรือญาติพี่น้อง มุ่งหน้ามาโรงพัก คนยากคนจน คนเร่ร่อนจรจัด มาขอข้าวตำรวจกินที่โรงพักได้ คนเมาสุราหาที่นอนไม่ได้มานอนโรงพัก ผัวเมียตีกันตอนดึกดื่นเที่ยงคืน มาโรงพักให้ตำรวจไกล่เกลี่ยฯลฯ
โรงพักกับโรงลิเก โรงละคร ไม่แตกต่างกัน เรามองดูชีวิตผู้คนได้ที่นี่
ผิดกันตรงที่โรงลิเก โรงละคร เขาเล่นเป็นรอบๆ วิกปิดก็ไม่ได้เล่น
แต่ละครชีวิตที่โรงพัก...ดำเนินต่อไป ไม่เคยหยุดยั้ง ตัวละครเก่าล้มหายตายจากไป นักแสดงตัวใหม่ก็โผล่เข้ามา
ข้าพเจ้ารู้สึกประหลาดใจ ว่า
การผ่าตัดองค์กรตำรวจครั้งนี้ เหตุไฉนพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จึงไปไว้วางใจบุคคลที่ไม่เคยแม้แต่ทำงานบนโรงพัก มาเป็นผู้ดำเนินการ ในการผ่าตัดองค์กรตำรวจในครั้งนี้ หรือท่านนายกฯจะอ่านแต่เพียง ‘นิยายตำรวจ’ ที่บุคคลที่ท่านไว้วางใจเขียนจำหน่าย แล้วเกิดความประทับใจ
อย่างนั้นใช่หรือไม่?
จึงไม่เป็นที่แปลกใจ สำหรับตำรวจเก่าอย่างข้าพเจ้า ซึ่งอยู่ในวัยกว่า ๙๐ ปีแล้ว ได้เห็นแรงต่อต้านจากข้าราชการตำรวจ ทั้งมี่เกษียณอายุราชการแล้ว และยังรับราชการอยู่ อย่างกว้างขวาง เช่นนี้
การที่ท่านเป็นรัฐบาล ซึ่งได้เข้ามาดำรงตำแหน่งอย่างไม่ชอบธรรม และมุ่งกวาดล้างองค์กรตำรวจ โดยประสงค์ที่จะทำให้ องค์กรผู้รักษากฎหมายของชาติเรา ต้องอ่อนแอลงนั้น
ขอบอกตรงๆว่า
การกระทำเช่นนี้ ไม่ได้ทำให้ ‘พวก’ ของท่าน มีอำนาจมากขึ้น แต่เหล่าโสณทุจริตทั้งหลายในบ้านนี้เมืองนี้ต่างหาก ที่ได้รับประโยชน์ โดยทวีความแข็งแรงยิ่งขึ้น อย่างที่ได้เห็นกันในปัจจุบัน
และ...ที่น่าสงสารเป็นที่สุด ก็คือ
ประชาชนคนในชาติ...จะปลอดภัยน้อยลง!
.............
ท้ายบท ท่านผู้อ่าน ที่เคารพครับ
ผมอ่านแล้ว ‘อึ้ง’ ไปเลย นอกจากนี้ ยังได้อ่านข้อเขียนของ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร ใช้ข้อความสั้น เจิมตรงปกรองของหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเป็นถ้อยคำของ ฯพณฯ จอห์น เอฟ เคนเนดี้ อดีตประธานาธิบดีผู้ยิ่งใหญ่ แห่งสหรัฐอเมริกาที่ว่า
DESTROY THE POLICE
DESTROY THE PEOPLE ’S PEACE
ท่านพล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร ให้คำแปลว่า
ทำลายตำรวจ...
ทำลายสันติสุขประชาชน!
หนังสือเล่มนี้พิมพ์ออกมา ๓๐,๐๐๐ เล่ม จำหน่ายพรึ่บเดียว หมดภายใน ๑ อาทิตย์ ต้องพิมพ์ใหม่อีก ๑๐,๐๐๐ เล่ม...ลองไปหาอ่านกันดูครับ
รับรองว่า ท่านต้องเห็นอะไรดีๆอีกมาก!!