เช้าวันนี้...จิบกาแฟขมแล้ว ต้องขอเรียนข่าวดีให้กับแฟนๆคอลัมน์นี้ทราบว่า ได้รับการแจ้งจากคุณถ่ายเถา สุจริตกุล ผู้มีเมตตากับผู้เขียน ได้ส่งข่าวดีมาบอก ในฐานะที่เป็นแฟนเหนียวแน่นของ ‘บางกอกโอเปร่า’ คณะมหาอุปรากร ในสังกัดมูลนิธิมหาอุปรากรกรุงเทพ ว่า

ทางบางกอกโอเปร่ากำหนดจะนำเสนอ มหาอุปรากรยอดนิยม Madama Butterfly ในวันพุธที่ ๒๙ และ ศุกร์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (หอประชุมใหญ่) มีเพียง ๒ รอบเท่านั้น
รายการดีๆ อย่างนี้พลาดไม่ได้เด็ดขาด ต้องแจ้งให้ท่านผู้อ่านที่รักในศิลปะด้านนี้ ให้ทราบทั่วกัน เพราะทางมูลนิธิมหาอุปรากรกรุงเทพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมเถา สุจริตกุล (บุตรชายของคุณถ่ายเถา-ดร.สมปอง สุจริตกุล) ซึ่งเป็นคีตกวีที่มีอัจฉริยภาพสูงเด่น และมีความมุ่งมั่นและทุ่มเทสุดกำลัง ที่จะวางรากฐานการแสดงอุปรากรเอาไว้ ให้เป็นหลักเป็นฐานในประเทศไทยของเราอย่างจริงจัง
นอกจากคุณสมเถา สุจริตกุล จะเป็นคีตกวีเอกที่มีชื่อเสียง และได้ประพันธ์เพลงในมหาอุปรากรจำนวนมาก ยังเป็นนักเขียนแนววิทยาศาสตร์ที่มีชื่อสียงก้องโลก ได้รับรางวัลระดับประเทศมากมาย นวนิยายที่คุณสมเถาฯประพันธ์ขึ้น หลายเล่มกลายเป็นหนังสือเป็นระดับเบสต์เซลเลอร์ในตลาดต่างประเทศ อีกทั้งฮอลลี่วู้ดยังนำบทประพันธ์เหล่านั้น ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ และกลายเป็นหนังทำเงินมาหลายเรื่องแล้ว
สำหรับผู้รับบท ‘โจโจ้ซัง’ นางเอกของเรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลาย ไม่ใช่ใครที่ไหน ได้แก่ แนนซี หย่วน ดาราอังกฤษจากฮ่องกง ที่เคยเล่าให้ฟังว่า ผมประทับใจตั้งแต่ดูเธอแสดงครั้งแรก เมื่อรับบทปีศาจสาว นามระบือลือไกลแห่งท้องทุ่งพระโขนง ในมหาอุปรากรเรื่อง
‘แม่นาก’
ผู้คนที่ได้มีโอกาสชมการแสดง ต่างพากันชื่นชมเธอนัก แม้ตัวแนนซี่ หย่วน จะดูเล็กในสายตาฝรั่ง ด้วยเป็นคนเชื้อสายเอเซีย แต่ปอดของเธอต้องโตใหญ่กว่าผมแน่ๆ เพราะสามารถร้องเพลง เสียงดังก้องคับโรงละครแห่งชาติ โดยไม่ต้องพึ่งไมโครโฟน แฟนๆชาวไทยจำนวนมาก พากันหลงใหลในน้ำเสียงมหัศจรรย์ของเธอ รวมทั้งผมด้วย
แนนซี หย่วน สร้างชื่อเสียงเป็นที่ร่ำลือระบือลั่นโลกมาแล้ว ตั้งแต่โรงอุปรากรแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ ไปจนจรดฝั่งทะเลอีกซีมหาสมุทร ลอส แองเจลิส สหรัฐอเมริกา ภาพของสาวน้อยเชื้อจีน แต่มาร้องเพลงที่เป็นศิลปะชั้นสูงของฝรั่งนี้ เคยปรากฏบนแผ่นภาพโฆษณา ในสถานีรถใต้ดินทุกแห่งในกรุงลอนดอน
เมื่อปีกลายนี้เอง การแสดงมหาอุปรากรเรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลาย ที่ เอสพลานาร์ด ประเทศสิงคโปร์เมื่อปี ๒๕๔๙ ซึ่งแนนซี หย่วนรับบทนำ ประสบความสำเร็จทะลุเป้าหมายเป็นประวัติการณ์
บัตรชมการแสดง จำหน่ายหมดทุกที่นั่งเป็นครั้งแรก!
“มาดามบัตเตอร์ฟลาย” (Madama Butterfly) หรือ ที่คุณถ่ายเถา.ฯให้ชื่อในภาคภาษาไทยว่าเป็น “คุณนายผีเสื้อ” นั้นเป็นเรื่องราวของผีเสื้อแสนสวย ในมหาอุปรากรเลื่องชื่อ ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายที่สุดมีประวัติอันยาวนานกว่า ๑๐๐ ปี โดยจั๊คโคโม ปูชชีนี่ (Jacomo Puccini) ประพันธ์ขึ้นจากเค้าโครงเรื่องสั้นของจอห์น ลูเธอร์ ลอง ซึ่งต่อมาเดวิด บลาสโก ได้นำไปดัดแปลงเป็นละครกับนวนิยายเรื่อง “มาดาม คริซองแตม” (Madame Crysanthème) คุณถ่ายเถาฯท่านแปลเป็นภาษาไทย ที่แสนน่ารัก ว่า
“คุณนายเบญจมาส”
‘ปูชชีนี่’...ชื่อนี้ใครจะเป็นแฟนโอเปร่า ต้องท่องจำกันให้ขึ้นใจ เพราะเป็นผู้ที่ใครอยากรู้เรื่องโอเปร่า ต้องศึกษาประวัติและงานของคีตกวี ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมากๆคนนี้เอาไว้ให้มาก
ท่านผู้นี้เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๑ ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ ในช่วงเวลา ๖๖ ปีที่มีชีวิตอยู่ ปูชชีนี่ได้ประพันธ์มหาอุปรากรเรื่องสำคัญๆไว้หลายเรื่อง นอกจากมาดามบัตเตอร์ฟลาย ยังมีมหาอุปกรเรื่องเอกอื่นๆ อีก อาทิ ลาโบแฮม ทอสก้า และทูรันดอท์
มหาอุปรากรเรื่องก้องโลก “มาดามบัตเตอร์ฟลาย” นี้ แสดงรอบปฐมทัศน์ที่โรงมหาอุปรากร ลา สกาล่า แห่งกรุงมิลาน ประเทศอิตาลี ในวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๗ เป็นมหาอุปรากร ๒ องก์ตามคีตนิพนธ์ฉบับดั้งเดิม แต่กลับปรากฏว่าได้รับการต้อนรับจากผู้ชมน้อยมาก ผู้ประพันธ์จึงนำไปแก้ใขบางส่วน โดยเพิ่มองก์ขึ้นเป็นมหาอุปรากร ๓ องก์ แก้ไข
บทเพียงเล็กน้อย แล้วนำเสนอใหม่เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ในปีเดียวกันที่เบรสจ้า
มาดามบัตเตอร์ฟลายฉบับปรับปรุงใหม่ ประสพความสำเร็จเอิกเกริกเกริกไกร นับแต่นั้นเป็นต้นมาและกลายเป็นมหาอุปรากรยอดนิยม ไม่เพียงแต่ในประเทศอิตาลีเท่านั้น แต่ยังกระโจนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค ไปถึงนครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา โดยเปิดแสดงที่เมโทรโพลิตันโอเปร่าครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ (ร้อยปีพอดี)
ปัจจุบันนี้ มาดามบัตเตอร์ฟลายที่แสดงในประเทศอิตาลี ยังเป็นมหาอุปรากร ๒ องก์ ขณะที่ในอเมริกาเหนือแบ่งเป็น ๓ องก์
มหาอุปรากรมาดามบัตเตอร์ฟลาย ได้กลายเป็นสมบัติของเมืองนางาซากิโดยพื้นฐาน นักวิชาการอเมริกันชื่อ อาร์เธอร์ โกรส กล่าวว่าเป็นเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ซึ่งเกิดขึ้นที่นั่นในช่วงต้นคริสตทศวรรษ ๑๘๙๐
เรื่องนี้จะเป็นเรื่องจริง หรือเป็นเรื่องราวที่แต่งขึ้น โดยอาศัยเค้าโครงจากเรื่องจริง ดูจะไม่สำคัญเท่าการแสดง เพราะ มิยูร่า ทามากิ นักร้องอุปรากรญี่ปุ่น ได้ก้าวขึ้นสู่ความเป็นดาราอุปรากรระดับโลก จากการแสดงบท ‘โจ๊โจ้ซัง’ ซึ่งเป็นนางเอก ของเรื่อง ทุกวันนี้อนุสาวรีย์ของเธอ ยังปรากฏเคียงคู่กับปูชชีนี่ที่สวนโกลเว่อร์ เมืองนางาซากิ
เพลงเอกในมหาอุปรากรมาดามบัตเตอร์ฟลาย ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายที่สุดคือ Un bel dì vedremo - One Fine Day ชับร้องโดยบัตเตอร์ฟลาย ในองก์ที่ ๒ เพื่อให้สาวใช้ผู้ซื่อสัตย์เชื่อมั่นว่า นายผู้ชายจะกลับมาอย่างแน่นอนในวันหนึ่ง พร้อมบรรยายวันกลับของสามีอย่างละเอียด ตามมโนภาพที่สร้างขึ้นจากความหวังอันสูงสุด นอกจากนี้ยังมีเพลงอื่นๆ ที่ล้วนแล้วแต่งดงามอ่อนโยนแบบญี่ปุ่น เคล้าระคนกับความไพเราะอ่อนหวานและปราณีตยิ่ง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ ปูชชีนี่ คีตกวีระดับปรมาจารย์
ความเด่นของมหาอุปรากร ‘มาดามบัตเตอร์ฟลาย’ ทำให้มีผู้นำเรื่องราวไปเสนอในรูปแบบอื่น นอกเหนือจากมหาอุปรากรอีกหลากหลายทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นละครเวที ภาพยนตร์ ละครย่อย รวมทั้งการแสดงตลกอีกมามายและแพร่หลายกระจายไปทั่วโลก ที่สำคัญคือ
แพร่เข้ามามีอิทธิพล ในไทยแลนด์แดนสยามของเราด้วย!
มาดามบัตเตอร์ฟลายได้ขยับปีก โบยบินเข้ามาในประเทศไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระปิยะมหาราชเจ้า เสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป ในปี พ.ศ.๒๔๔๙ พระองค์ท่านได้ทอดพระเนตร มหาอุปรากรเรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลาย ที่กรุงปารีส ทรงแสดงความพอพระราชหฤทัย ในมหาอุปรากรเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง ดังปรากฏในหนังสือพระราชนิพนธ์ ‘ไกลบ้าน’
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงนำเค้าโครงเรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสเล่าประทานให้นั้น มาประพันธ์ขึ้นเป็นบทละครร้อง โดยได้กรมพระนราฯทรงดัดแปลงให้เป็นนิยายพิศวาส ระหว่างนายทหารบกชาวกรุงเทพฯกับหญิงสาวชาวเชียงใหม่ และทรงขนานนามบทละครเรื่องนี้ว่า ‘สาวเครือฟ้า’ (จากคำนำโดย ม.ล. ปิ่น มาลากุล ในหนังสือมหาอุปรากรเ รื่องมาดามบัตเตอร์ฟลายซึ่ง ‘ดุษฎีมาลา’ แปลเป็นพากย์ไทย – พิมพ์เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๙๑)
กรมพระนราฯทรงเปลี่ยนฉาก จากเมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น มาเป็นเชียงใหม่ถิ่นไทยงาม แล้วเปลี่ยนบทนางเอก จากสาวญี่ปุ่น ‘โจโจซัง’ มาเป็น ‘เครือฟ้า’ สาวชาวพิงคนครนามกรสมนามเชียงใหม่ ที่แสนสวยสุดสะพรั่งสล้างตา หวานซึ้งตรึงจิต แบบชายเห็นปุ๊บติดใจหลงปั๊บกระนั้นเลยทีเดียวเชียว
นอกจากนั้นก็ทรงเปลี่ยนบทพระเอก จากนายทหารเรืออเมริกัน นายเรือเอก ‘พิงเคอร์ตัน’ มาเป็น ‘นายร้อยตรีพร้อม’ นายทหารสัญญาบัตรหนุ่ม จากเมืองศรีวิไลบางกอกนครคนนั้น
สาวเครือฟ้า ที่เป็นภาพยนตร์ไทยสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๕ แต่ออกฉายในปีรุ่งขึ้น เป็นภาพยนตร์สี ๑๖ ม.ม. สร้างจากบทละครร้อง สาวเครือฟ้า พระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ นั่นเอง

ภาพยนตร์เรื่องสาวเครือฟ้า ฉบับ พ.ศ. ๒๕๙๕ กำกับโดย มารุต นำแสดงโดย วิไลวรรณ วัฒนพานิช, ชลิต สุเสวี หนังเรื่องนี้ผมดูตอนเป็นเด็ก รู้สึกเศร้าเหลือกำลัง จึงชอบการแสดงของนางเอกท่านนี้เป็นอย่างมาก ยังจำได้ว่าหลังจากนั้น ได้ดูหนังของคุณวิไลวรรณอีกหลายเรื่อง รวมทั้งเรื่อง ‘หยกฟ้า’ ที่คุณแดงเล่นเป็นหมวยจากเมืองจีน สามีทอดทิ้งไปมีแฟนใหม่ ตัวหมวยอยู่บ้านถูกแม่ผัวใจร้ายกลั่นแกล้ง พอเพลงประกอบขึ้นว่า “หัวอกหยกฟ้ามีกรรมแต่ไหน เขามีรักใหม่ปวดใจจนน้ำตานอง” เท่านั้นแหละ คนดูร้องไห้เพราะสงสารนางเอกกันให้ระงมโรงเลยทีเดียว
สาวเครือฟ้านี้ ได้สร้างชื่อเสียงให้กับคุณวิไลวรรณ วัฒนานิช จนได้รับฉายาว่าเป็น "นางเอกเจ้าน้ำตา" กลายเป็นดาราดังทะลุฟ้าผู้คนรู้จักกันทั้งปรเทศ ได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมตุ๊กตาทอง ครั้งที่ ๑ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๐๐ แล้วหนังฮิตอย่างสาวเครือฟ้า ก็ถูกสร้างซ้ำอีกครั้ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ คราวนี้เปลี่ยนนางเอกและพระเอก รุ่นหลังที่ดังลั่นต่อมาอีกยาวนาน คือ พิศมัย วิไลศักดิ์, มิตร ชัยบัญชา คราวนี้ได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง ๓ รางวัล คือ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม และพากย์เสียงยอดเยี่ยม
‘มาดามบัตเตอร์ฟลาย’ ที่คนไทยจะมีโอกาสได้ชมกัน โดยการนำเสนอของบางกอกโอเปร่า คณะมหาอุปรากรในสังกัดมูลนิธิมหาอุปรากรกรุงเทพ จะเป็นการนำเสนอในรูปแบบใหม่เอี่ยม ภายใต้ฝีมือกำกับการแสดงของ เฮนรี่ อากีน่า แห่งฮาวาย โอเปร่า โดยอาศัยแรงบันดาลจากศิลปะญี่ปุ่น ออกแบบฉากโดย ดีน ชิบูยา นักออกแบบมีชื่อจากซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา
นอกจาก แนนซี หย่วน นักร้องขวัญใจผู้รับบท ‘บัตเตอร์ฟลาย’ อันเป็นบทสัญลักษณ์ประจำตัว ผู้แสดงเป็น ‘พิงเคอร์ตัน’ นายเรืออเมริกัน ได้แก่ อิสราเอล โลเรนโซ เทนเน่อร์ชาวสเปญผู้ชนะเลิศรางวัล ‘พลาซิดิโอ โดมิงโก’มาแล้วถึง ๓ ครั้ง ‘ซูซูกิ’ แสดงโดย ยุน เดง ซึ่งเคยแสดงบทนี้ที่เมโทรโพลิตัน โอเปร่า แห่งนครนิวยอร์คแล้วหลายครั้ง และคอลิน มอร์ริส ผู้สร้างชื่อเสียงเด่นดังจากบทกษัตริย์แคระ ‘อัลเบอริช’ ใน ‘ทองแห่งแม่น้ำรายน์’ The Ring Cycle ภาคแรกที่กรุงเทพฯ เมื่อปี ๒๕๔๙ จะเดินทางมากรุงเทพฯ อีกครั้งเพื่อรับบท ‘ชาร์ปเลส’ กงศุลอเมริกัน
ผมขอชวนเชิญให้แฟนๆคอลัมน์นี้ ไปฟังเสียงเบสส์ของนักร้องไทย พิชญะ เขมะสิงคิ ในบทนักบวชญี่ปุ่นผู้เข้มงวดดุดัน นอกจากนี้ยังมีนักร้องนักแสดงทั้งไทยและต่างชาติ รวมทั้งนักแสดงกิติมศักดิ์ ร่วมแสดงอย่างคับคั่ง
ขับร้องหมู่โดยคณะนักร้องประสานเสียง‘ออร์เฟียส’ บรรเลงโดยวงดุริยางค์สยาม ฟิลฮาร์โมนิค อำนวยเพลงโดย คุณสมเถา สุจริตกุล
ไมสโตรผู้บุกเบิกส่งเสริม และเผยแพร่สังคีตศิลป์ ระดับมาตรฐานสากลแห่งภาคพื้นเอเซียเล่าว่า
ซามูไรนั้นเวลาทำฮาราคีรี เขาใช้ดาบสั้นประจำกายคว้านท้องตาย ส่วนฝ่ายหญิงภริยาซามูไร ที่จะตายตามสามีนั้น เธอจะเชือดคอตาย
สาวเครือฟ้า ดัดแปลงมาจากเรื่องที่นางเอกเป็นญี่ปุ่น ดังนั้น เธอจะตายอย่างอื่นไม่ได้ ต้องเชือดคอตายเท่านั้น
ผมเคยเขียนถึงเครือฟ้าสาวอาภัพผู้พ่ายรัก ที่ต้องเชือดคอตายเอาไว้ในกาแฟขม...ขนมหวาน ตอนที่ ๙๙ “พระพุทธเจ้าหลวงกับ…อันฝูงหญิงจริงอยู่ย่อมมากมี แต่ใจของน้องนี้ไม่เหมือนกัน..!” ว่า
...สาวเครือฟ้าในบทตอนจ้วงมีดแทงคอหอยนั้น คนใจอ่อนอย่างผมคงไม่อยากดู เพราะหวาดเสียวเหลือกำลัง อีตอนแทงคอฉบับเข้าให้ก็ได้ยินเสียงสามีคือ ร้อยตรีพร้อมมาถึงบ้านยืนเรียกอยู่หน้าประตูพอดี คุณเครือฟ้าเธอสาหัสแล้วกำลังจะตาย กัดฟันคลานกระดืบ ๆ ไป ดนตรีทำทยอยโอด ลูกคู่ร้องเพลงลาวเล็ก ว่า
พอคอแหวะ มีดเลอะ เลือดตกเปรี้ยง
ก็แว่วเสียง ผัวเรียก สำเหนียกไว้
แค้นก็แค้น รักก็รัก สลักใจ
เหลืออาลัย แล้วคลาน ซานออกมา
โลหิตไหล กายสั่น อยู่ริกๆ
เหงื่อซิกๆ ซมซวน กำศรวลหา
หน้ามืดหวึง จวนจะถึง ทวารา
สาวเครือฟ้า สิ้นชีวาตย์ ขาดใจเอย
โถ ! น่าสงสารเป็นที่สุด เขาว่าคนดูในยุคนั้นน้ำตากลบกันเป็นแถว ๆ ถ้าผมได้ดูคงจะต้องฟูมฟายเหมือนกัน แต่นั่นเป็นบทสาวญี่ปุ่นแท้ๆ ที่ใขเด็ดแบบนั้น
ส่วนสาวไทยนั้นง่ายๆ ส่วนใหญ่ที่เห็นมาก็แค่ผูกคอตาย กินยาฆ่าแมลงตายก็เท่านั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้มีพิธีรีตองมากมายอะไรอย่างนี้!
นั่นคือข้อความ ที่ผมเคยเขียนเอาไว้ เกี่ยวกับสาวเครือฟ้า
ก่อนจบวันนี้ อยากจะบอกกับท่านผู้อ่านว่า
สำหรับเมืองไทยแล้ว เรื่องราวของสาวเครือฟ้านี้ ทำให้หลายคนที่ไม่รู้ความจริงคิดทึกทักเอาว่า เป็นเรื่องจริงที่เคยเกิดในเมืองไทย เพราะผมยังเคยเห็นคนทรงเจ้า ประทับทรงสาวเครือฟ้า พอเจ้าคือสาวเครือฟ้าลงประทับเท่านั้น หญิงสาวร่างทรงก็ร้องไห้กระซิก ส่งเสียงครางฮือๆ พูดเสียงเครือแผ่วเบา เหมือนค่อยๆกระซิบ ว่า
“พร้อม...พร้อม...พร้อมจ๋า...พร้อมอยู่ไหน..!.”
...แหม...ซึ้งจริงๆครับ พอลงประทับร่างทรงปุ๊บ ก็ร้องเรียกชื่อคนรักปั๊บ!...
ส่วนผู้คนที่มาห้อมล้อม ที่มารอเวลาสำคัญ เพื่อฟังคำทำนายทายทักจากสาวเครือฟ้า ที่มาประทับทรง ต่างก็ก้มหมอบลงกราบพรึ่บพรั่บ พร้อมเพรียงกันเลยทีเดียว
ถ้าทั้งคนทรงและผู้ที่มาเฝ้าร่างทรงรู้ว่า ชื่อสาว‘เครือฟ้า’นั้น แท้ที่จริงเป็นชื่อนางเอก ซึ่งกรมพระนราฯ ทรงตั้งขึ้นเอง
คงขำกัน กลิ้งไปเลย!!
ท่านผู้อ่านที่เคารพ...มาจนถึงวันนี้ผมยังคิดว่า
‘Madama Butterfly’,‘คุณนายผีเสื้อ’ หรือ ‘สาวเครือฟ้า’
...ยังคงจะยืนหยัด ด้วยเสน่ห์ที่ไม่มีวันจาง...ไปอีกนานเท่านาน!
..........................

ท้ายบท
อย่าพลาดโอกาสชมเรื่องราวของรักต่างแดน ซึ่งจบด้วยความตายในมหาอุปรากรยอดนิยม และฟังเสียงสวรรค์และลีลาการแสดงของ แนนซี หย่วน ‘บัตเตอร์ฟลาย’ ระดับโลก ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (หอประชุมใหญ่) วันพุธที่ ๒๙ และ ศุกรที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ เวลา ๒๐.๐๐น.
บัตรราคา ๑.๐๐๐ – ๑,๕๐๐ - ๒,๐๐๐ – ๒,๕๐๐ – ๓,๐๐๐ และ ๔,๐๐๐ บาท บัตรพิเศษสำหรับนักเรียน ๕๐๐ บาท สำรองบัตรได้ที่บางกอกโอเปร่า โทร. (๐๒) ๖๓๓-๓๒๓๖ โทรสาร (๐๒) ๖๓๓-๓๒๓๗ www.bangkokopera.com และ ไทยทิกเกตเมเจอร์โทร (๐๒)๒๖๒-๓๔๕๖ www.thaiticketmajor.com
นิสิตนักศึกษาที่นำบัตรมาแสดงและผู้ประสงค์เข้าชมเป็นหมู่คณะโปรดติดต่อขอส่วนลดพิเศษ ได้ที่มูลนิธิมหาอุปรากรกรุงเทพ โทร. (๐๒) ๖๓๓-๓๒๓๖
ทางบางกอกโอเปร่ากำหนดจะนำเสนอ มหาอุปรากรยอดนิยม Madama Butterfly ในวันพุธที่ ๒๙ และ ศุกร์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (หอประชุมใหญ่) มีเพียง ๒ รอบเท่านั้น
รายการดีๆ อย่างนี้พลาดไม่ได้เด็ดขาด ต้องแจ้งให้ท่านผู้อ่านที่รักในศิลปะด้านนี้ ให้ทราบทั่วกัน เพราะทางมูลนิธิมหาอุปรากรกรุงเทพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมเถา สุจริตกุล (บุตรชายของคุณถ่ายเถา-ดร.สมปอง สุจริตกุล) ซึ่งเป็นคีตกวีที่มีอัจฉริยภาพสูงเด่น และมีความมุ่งมั่นและทุ่มเทสุดกำลัง ที่จะวางรากฐานการแสดงอุปรากรเอาไว้ ให้เป็นหลักเป็นฐานในประเทศไทยของเราอย่างจริงจัง
นอกจากคุณสมเถา สุจริตกุล จะเป็นคีตกวีเอกที่มีชื่อเสียง และได้ประพันธ์เพลงในมหาอุปรากรจำนวนมาก ยังเป็นนักเขียนแนววิทยาศาสตร์ที่มีชื่อสียงก้องโลก ได้รับรางวัลระดับประเทศมากมาย นวนิยายที่คุณสมเถาฯประพันธ์ขึ้น หลายเล่มกลายเป็นหนังสือเป็นระดับเบสต์เซลเลอร์ในตลาดต่างประเทศ อีกทั้งฮอลลี่วู้ดยังนำบทประพันธ์เหล่านั้น ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ และกลายเป็นหนังทำเงินมาหลายเรื่องแล้ว
สำหรับผู้รับบท ‘โจโจ้ซัง’ นางเอกของเรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลาย ไม่ใช่ใครที่ไหน ได้แก่ แนนซี หย่วน ดาราอังกฤษจากฮ่องกง ที่เคยเล่าให้ฟังว่า ผมประทับใจตั้งแต่ดูเธอแสดงครั้งแรก เมื่อรับบทปีศาจสาว นามระบือลือไกลแห่งท้องทุ่งพระโขนง ในมหาอุปรากรเรื่อง
‘แม่นาก’
ผู้คนที่ได้มีโอกาสชมการแสดง ต่างพากันชื่นชมเธอนัก แม้ตัวแนนซี่ หย่วน จะดูเล็กในสายตาฝรั่ง ด้วยเป็นคนเชื้อสายเอเซีย แต่ปอดของเธอต้องโตใหญ่กว่าผมแน่ๆ เพราะสามารถร้องเพลง เสียงดังก้องคับโรงละครแห่งชาติ โดยไม่ต้องพึ่งไมโครโฟน แฟนๆชาวไทยจำนวนมาก พากันหลงใหลในน้ำเสียงมหัศจรรย์ของเธอ รวมทั้งผมด้วย
แนนซี หย่วน สร้างชื่อเสียงเป็นที่ร่ำลือระบือลั่นโลกมาแล้ว ตั้งแต่โรงอุปรากรแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ ไปจนจรดฝั่งทะเลอีกซีมหาสมุทร ลอส แองเจลิส สหรัฐอเมริกา ภาพของสาวน้อยเชื้อจีน แต่มาร้องเพลงที่เป็นศิลปะชั้นสูงของฝรั่งนี้ เคยปรากฏบนแผ่นภาพโฆษณา ในสถานีรถใต้ดินทุกแห่งในกรุงลอนดอน
เมื่อปีกลายนี้เอง การแสดงมหาอุปรากรเรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลาย ที่ เอสพลานาร์ด ประเทศสิงคโปร์เมื่อปี ๒๕๔๙ ซึ่งแนนซี หย่วนรับบทนำ ประสบความสำเร็จทะลุเป้าหมายเป็นประวัติการณ์
บัตรชมการแสดง จำหน่ายหมดทุกที่นั่งเป็นครั้งแรก!
“มาดามบัตเตอร์ฟลาย” (Madama Butterfly) หรือ ที่คุณถ่ายเถา.ฯให้ชื่อในภาคภาษาไทยว่าเป็น “คุณนายผีเสื้อ” นั้นเป็นเรื่องราวของผีเสื้อแสนสวย ในมหาอุปรากรเลื่องชื่อ ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายที่สุดมีประวัติอันยาวนานกว่า ๑๐๐ ปี โดยจั๊คโคโม ปูชชีนี่ (Jacomo Puccini) ประพันธ์ขึ้นจากเค้าโครงเรื่องสั้นของจอห์น ลูเธอร์ ลอง ซึ่งต่อมาเดวิด บลาสโก ได้นำไปดัดแปลงเป็นละครกับนวนิยายเรื่อง “มาดาม คริซองแตม” (Madame Crysanthème) คุณถ่ายเถาฯท่านแปลเป็นภาษาไทย ที่แสนน่ารัก ว่า
“คุณนายเบญจมาส”
‘ปูชชีนี่’...ชื่อนี้ใครจะเป็นแฟนโอเปร่า ต้องท่องจำกันให้ขึ้นใจ เพราะเป็นผู้ที่ใครอยากรู้เรื่องโอเปร่า ต้องศึกษาประวัติและงานของคีตกวี ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมากๆคนนี้เอาไว้ให้มาก
ท่านผู้นี้เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๑ ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ ในช่วงเวลา ๖๖ ปีที่มีชีวิตอยู่ ปูชชีนี่ได้ประพันธ์มหาอุปรากรเรื่องสำคัญๆไว้หลายเรื่อง นอกจากมาดามบัตเตอร์ฟลาย ยังมีมหาอุปกรเรื่องเอกอื่นๆ อีก อาทิ ลาโบแฮม ทอสก้า และทูรันดอท์
มหาอุปรากรเรื่องก้องโลก “มาดามบัตเตอร์ฟลาย” นี้ แสดงรอบปฐมทัศน์ที่โรงมหาอุปรากร ลา สกาล่า แห่งกรุงมิลาน ประเทศอิตาลี ในวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๗ เป็นมหาอุปรากร ๒ องก์ตามคีตนิพนธ์ฉบับดั้งเดิม แต่กลับปรากฏว่าได้รับการต้อนรับจากผู้ชมน้อยมาก ผู้ประพันธ์จึงนำไปแก้ใขบางส่วน โดยเพิ่มองก์ขึ้นเป็นมหาอุปรากร ๓ องก์ แก้ไข
บทเพียงเล็กน้อย แล้วนำเสนอใหม่เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ในปีเดียวกันที่เบรสจ้า
มาดามบัตเตอร์ฟลายฉบับปรับปรุงใหม่ ประสพความสำเร็จเอิกเกริกเกริกไกร นับแต่นั้นเป็นต้นมาและกลายเป็นมหาอุปรากรยอดนิยม ไม่เพียงแต่ในประเทศอิตาลีเท่านั้น แต่ยังกระโจนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค ไปถึงนครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา โดยเปิดแสดงที่เมโทรโพลิตันโอเปร่าครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ (ร้อยปีพอดี)
ปัจจุบันนี้ มาดามบัตเตอร์ฟลายที่แสดงในประเทศอิตาลี ยังเป็นมหาอุปรากร ๒ องก์ ขณะที่ในอเมริกาเหนือแบ่งเป็น ๓ องก์
มหาอุปรากรมาดามบัตเตอร์ฟลาย ได้กลายเป็นสมบัติของเมืองนางาซากิโดยพื้นฐาน นักวิชาการอเมริกันชื่อ อาร์เธอร์ โกรส กล่าวว่าเป็นเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ซึ่งเกิดขึ้นที่นั่นในช่วงต้นคริสตทศวรรษ ๑๘๙๐
เรื่องนี้จะเป็นเรื่องจริง หรือเป็นเรื่องราวที่แต่งขึ้น โดยอาศัยเค้าโครงจากเรื่องจริง ดูจะไม่สำคัญเท่าการแสดง เพราะ มิยูร่า ทามากิ นักร้องอุปรากรญี่ปุ่น ได้ก้าวขึ้นสู่ความเป็นดาราอุปรากรระดับโลก จากการแสดงบท ‘โจ๊โจ้ซัง’ ซึ่งเป็นนางเอก ของเรื่อง ทุกวันนี้อนุสาวรีย์ของเธอ ยังปรากฏเคียงคู่กับปูชชีนี่ที่สวนโกลเว่อร์ เมืองนางาซากิ
เพลงเอกในมหาอุปรากรมาดามบัตเตอร์ฟลาย ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายที่สุดคือ Un bel dì vedremo - One Fine Day ชับร้องโดยบัตเตอร์ฟลาย ในองก์ที่ ๒ เพื่อให้สาวใช้ผู้ซื่อสัตย์เชื่อมั่นว่า นายผู้ชายจะกลับมาอย่างแน่นอนในวันหนึ่ง พร้อมบรรยายวันกลับของสามีอย่างละเอียด ตามมโนภาพที่สร้างขึ้นจากความหวังอันสูงสุด นอกจากนี้ยังมีเพลงอื่นๆ ที่ล้วนแล้วแต่งดงามอ่อนโยนแบบญี่ปุ่น เคล้าระคนกับความไพเราะอ่อนหวานและปราณีตยิ่ง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ ปูชชีนี่ คีตกวีระดับปรมาจารย์
ความเด่นของมหาอุปรากร ‘มาดามบัตเตอร์ฟลาย’ ทำให้มีผู้นำเรื่องราวไปเสนอในรูปแบบอื่น นอกเหนือจากมหาอุปรากรอีกหลากหลายทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นละครเวที ภาพยนตร์ ละครย่อย รวมทั้งการแสดงตลกอีกมามายและแพร่หลายกระจายไปทั่วโลก ที่สำคัญคือ
แพร่เข้ามามีอิทธิพล ในไทยแลนด์แดนสยามของเราด้วย!
มาดามบัตเตอร์ฟลายได้ขยับปีก โบยบินเข้ามาในประเทศไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระปิยะมหาราชเจ้า เสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป ในปี พ.ศ.๒๔๔๙ พระองค์ท่านได้ทอดพระเนตร มหาอุปรากรเรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลาย ที่กรุงปารีส ทรงแสดงความพอพระราชหฤทัย ในมหาอุปรากรเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง ดังปรากฏในหนังสือพระราชนิพนธ์ ‘ไกลบ้าน’
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงนำเค้าโครงเรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสเล่าประทานให้นั้น มาประพันธ์ขึ้นเป็นบทละครร้อง โดยได้กรมพระนราฯทรงดัดแปลงให้เป็นนิยายพิศวาส ระหว่างนายทหารบกชาวกรุงเทพฯกับหญิงสาวชาวเชียงใหม่ และทรงขนานนามบทละครเรื่องนี้ว่า ‘สาวเครือฟ้า’ (จากคำนำโดย ม.ล. ปิ่น มาลากุล ในหนังสือมหาอุปรากรเ รื่องมาดามบัตเตอร์ฟลายซึ่ง ‘ดุษฎีมาลา’ แปลเป็นพากย์ไทย – พิมพ์เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๙๑)
กรมพระนราฯทรงเปลี่ยนฉาก จากเมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น มาเป็นเชียงใหม่ถิ่นไทยงาม แล้วเปลี่ยนบทนางเอก จากสาวญี่ปุ่น ‘โจโจซัง’ มาเป็น ‘เครือฟ้า’ สาวชาวพิงคนครนามกรสมนามเชียงใหม่ ที่แสนสวยสุดสะพรั่งสล้างตา หวานซึ้งตรึงจิต แบบชายเห็นปุ๊บติดใจหลงปั๊บกระนั้นเลยทีเดียวเชียว
นอกจากนั้นก็ทรงเปลี่ยนบทพระเอก จากนายทหารเรืออเมริกัน นายเรือเอก ‘พิงเคอร์ตัน’ มาเป็น ‘นายร้อยตรีพร้อม’ นายทหารสัญญาบัตรหนุ่ม จากเมืองศรีวิไลบางกอกนครคนนั้น
สาวเครือฟ้า ที่เป็นภาพยนตร์ไทยสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๕ แต่ออกฉายในปีรุ่งขึ้น เป็นภาพยนตร์สี ๑๖ ม.ม. สร้างจากบทละครร้อง สาวเครือฟ้า พระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ นั่นเอง
ภาพยนตร์เรื่องสาวเครือฟ้า ฉบับ พ.ศ. ๒๕๙๕ กำกับโดย มารุต นำแสดงโดย วิไลวรรณ วัฒนพานิช, ชลิต สุเสวี หนังเรื่องนี้ผมดูตอนเป็นเด็ก รู้สึกเศร้าเหลือกำลัง จึงชอบการแสดงของนางเอกท่านนี้เป็นอย่างมาก ยังจำได้ว่าหลังจากนั้น ได้ดูหนังของคุณวิไลวรรณอีกหลายเรื่อง รวมทั้งเรื่อง ‘หยกฟ้า’ ที่คุณแดงเล่นเป็นหมวยจากเมืองจีน สามีทอดทิ้งไปมีแฟนใหม่ ตัวหมวยอยู่บ้านถูกแม่ผัวใจร้ายกลั่นแกล้ง พอเพลงประกอบขึ้นว่า “หัวอกหยกฟ้ามีกรรมแต่ไหน เขามีรักใหม่ปวดใจจนน้ำตานอง” เท่านั้นแหละ คนดูร้องไห้เพราะสงสารนางเอกกันให้ระงมโรงเลยทีเดียว
สาวเครือฟ้านี้ ได้สร้างชื่อเสียงให้กับคุณวิไลวรรณ วัฒนานิช จนได้รับฉายาว่าเป็น "นางเอกเจ้าน้ำตา" กลายเป็นดาราดังทะลุฟ้าผู้คนรู้จักกันทั้งปรเทศ ได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมตุ๊กตาทอง ครั้งที่ ๑ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๐๐ แล้วหนังฮิตอย่างสาวเครือฟ้า ก็ถูกสร้างซ้ำอีกครั้ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ คราวนี้เปลี่ยนนางเอกและพระเอก รุ่นหลังที่ดังลั่นต่อมาอีกยาวนาน คือ พิศมัย วิไลศักดิ์, มิตร ชัยบัญชา คราวนี้ได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง ๓ รางวัล คือ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม และพากย์เสียงยอดเยี่ยม
‘มาดามบัตเตอร์ฟลาย’ ที่คนไทยจะมีโอกาสได้ชมกัน โดยการนำเสนอของบางกอกโอเปร่า คณะมหาอุปรากรในสังกัดมูลนิธิมหาอุปรากรกรุงเทพ จะเป็นการนำเสนอในรูปแบบใหม่เอี่ยม ภายใต้ฝีมือกำกับการแสดงของ เฮนรี่ อากีน่า แห่งฮาวาย โอเปร่า โดยอาศัยแรงบันดาลจากศิลปะญี่ปุ่น ออกแบบฉากโดย ดีน ชิบูยา นักออกแบบมีชื่อจากซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา
นอกจาก แนนซี หย่วน นักร้องขวัญใจผู้รับบท ‘บัตเตอร์ฟลาย’ อันเป็นบทสัญลักษณ์ประจำตัว ผู้แสดงเป็น ‘พิงเคอร์ตัน’ นายเรืออเมริกัน ได้แก่ อิสราเอล โลเรนโซ เทนเน่อร์ชาวสเปญผู้ชนะเลิศรางวัล ‘พลาซิดิโอ โดมิงโก’มาแล้วถึง ๓ ครั้ง ‘ซูซูกิ’ แสดงโดย ยุน เดง ซึ่งเคยแสดงบทนี้ที่เมโทรโพลิตัน โอเปร่า แห่งนครนิวยอร์คแล้วหลายครั้ง และคอลิน มอร์ริส ผู้สร้างชื่อเสียงเด่นดังจากบทกษัตริย์แคระ ‘อัลเบอริช’ ใน ‘ทองแห่งแม่น้ำรายน์’ The Ring Cycle ภาคแรกที่กรุงเทพฯ เมื่อปี ๒๕๔๙ จะเดินทางมากรุงเทพฯ อีกครั้งเพื่อรับบท ‘ชาร์ปเลส’ กงศุลอเมริกัน
ผมขอชวนเชิญให้แฟนๆคอลัมน์นี้ ไปฟังเสียงเบสส์ของนักร้องไทย พิชญะ เขมะสิงคิ ในบทนักบวชญี่ปุ่นผู้เข้มงวดดุดัน นอกจากนี้ยังมีนักร้องนักแสดงทั้งไทยและต่างชาติ รวมทั้งนักแสดงกิติมศักดิ์ ร่วมแสดงอย่างคับคั่ง
ขับร้องหมู่โดยคณะนักร้องประสานเสียง‘ออร์เฟียส’ บรรเลงโดยวงดุริยางค์สยาม ฟิลฮาร์โมนิค อำนวยเพลงโดย คุณสมเถา สุจริตกุล
ไมสโตรผู้บุกเบิกส่งเสริม และเผยแพร่สังคีตศิลป์ ระดับมาตรฐานสากลแห่งภาคพื้นเอเซียเล่าว่า
ซามูไรนั้นเวลาทำฮาราคีรี เขาใช้ดาบสั้นประจำกายคว้านท้องตาย ส่วนฝ่ายหญิงภริยาซามูไร ที่จะตายตามสามีนั้น เธอจะเชือดคอตาย
สาวเครือฟ้า ดัดแปลงมาจากเรื่องที่นางเอกเป็นญี่ปุ่น ดังนั้น เธอจะตายอย่างอื่นไม่ได้ ต้องเชือดคอตายเท่านั้น
ผมเคยเขียนถึงเครือฟ้าสาวอาภัพผู้พ่ายรัก ที่ต้องเชือดคอตายเอาไว้ในกาแฟขม...ขนมหวาน ตอนที่ ๙๙ “พระพุทธเจ้าหลวงกับ…อันฝูงหญิงจริงอยู่ย่อมมากมี แต่ใจของน้องนี้ไม่เหมือนกัน..!” ว่า
...สาวเครือฟ้าในบทตอนจ้วงมีดแทงคอหอยนั้น คนใจอ่อนอย่างผมคงไม่อยากดู เพราะหวาดเสียวเหลือกำลัง อีตอนแทงคอฉบับเข้าให้ก็ได้ยินเสียงสามีคือ ร้อยตรีพร้อมมาถึงบ้านยืนเรียกอยู่หน้าประตูพอดี คุณเครือฟ้าเธอสาหัสแล้วกำลังจะตาย กัดฟันคลานกระดืบ ๆ ไป ดนตรีทำทยอยโอด ลูกคู่ร้องเพลงลาวเล็ก ว่า
พอคอแหวะ มีดเลอะ เลือดตกเปรี้ยง
ก็แว่วเสียง ผัวเรียก สำเหนียกไว้
แค้นก็แค้น รักก็รัก สลักใจ
เหลืออาลัย แล้วคลาน ซานออกมา
โลหิตไหล กายสั่น อยู่ริกๆ
เหงื่อซิกๆ ซมซวน กำศรวลหา
หน้ามืดหวึง จวนจะถึง ทวารา
สาวเครือฟ้า สิ้นชีวาตย์ ขาดใจเอย
โถ ! น่าสงสารเป็นที่สุด เขาว่าคนดูในยุคนั้นน้ำตากลบกันเป็นแถว ๆ ถ้าผมได้ดูคงจะต้องฟูมฟายเหมือนกัน แต่นั่นเป็นบทสาวญี่ปุ่นแท้ๆ ที่ใขเด็ดแบบนั้น
ส่วนสาวไทยนั้นง่ายๆ ส่วนใหญ่ที่เห็นมาก็แค่ผูกคอตาย กินยาฆ่าแมลงตายก็เท่านั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้มีพิธีรีตองมากมายอะไรอย่างนี้!
นั่นคือข้อความ ที่ผมเคยเขียนเอาไว้ เกี่ยวกับสาวเครือฟ้า
ก่อนจบวันนี้ อยากจะบอกกับท่านผู้อ่านว่า
สำหรับเมืองไทยแล้ว เรื่องราวของสาวเครือฟ้านี้ ทำให้หลายคนที่ไม่รู้ความจริงคิดทึกทักเอาว่า เป็นเรื่องจริงที่เคยเกิดในเมืองไทย เพราะผมยังเคยเห็นคนทรงเจ้า ประทับทรงสาวเครือฟ้า พอเจ้าคือสาวเครือฟ้าลงประทับเท่านั้น หญิงสาวร่างทรงก็ร้องไห้กระซิก ส่งเสียงครางฮือๆ พูดเสียงเครือแผ่วเบา เหมือนค่อยๆกระซิบ ว่า
“พร้อม...พร้อม...พร้อมจ๋า...พร้อมอยู่ไหน..!.”
...แหม...ซึ้งจริงๆครับ พอลงประทับร่างทรงปุ๊บ ก็ร้องเรียกชื่อคนรักปั๊บ!...
ส่วนผู้คนที่มาห้อมล้อม ที่มารอเวลาสำคัญ เพื่อฟังคำทำนายทายทักจากสาวเครือฟ้า ที่มาประทับทรง ต่างก็ก้มหมอบลงกราบพรึ่บพรั่บ พร้อมเพรียงกันเลยทีเดียว
ถ้าทั้งคนทรงและผู้ที่มาเฝ้าร่างทรงรู้ว่า ชื่อสาว‘เครือฟ้า’นั้น แท้ที่จริงเป็นชื่อนางเอก ซึ่งกรมพระนราฯ ทรงตั้งขึ้นเอง
คงขำกัน กลิ้งไปเลย!!
ท่านผู้อ่านที่เคารพ...มาจนถึงวันนี้ผมยังคิดว่า
‘Madama Butterfly’,‘คุณนายผีเสื้อ’ หรือ ‘สาวเครือฟ้า’
...ยังคงจะยืนหยัด ด้วยเสน่ห์ที่ไม่มีวันจาง...ไปอีกนานเท่านาน!
ท้ายบท
อย่าพลาดโอกาสชมเรื่องราวของรักต่างแดน ซึ่งจบด้วยความตายในมหาอุปรากรยอดนิยม และฟังเสียงสวรรค์และลีลาการแสดงของ แนนซี หย่วน ‘บัตเตอร์ฟลาย’ ระดับโลก ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (หอประชุมใหญ่) วันพุธที่ ๒๙ และ ศุกรที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ เวลา ๒๐.๐๐น.
บัตรราคา ๑.๐๐๐ – ๑,๕๐๐ - ๒,๐๐๐ – ๒,๕๐๐ – ๓,๐๐๐ และ ๔,๐๐๐ บาท บัตรพิเศษสำหรับนักเรียน ๕๐๐ บาท สำรองบัตรได้ที่บางกอกโอเปร่า โทร. (๐๒) ๖๓๓-๓๒๓๖ โทรสาร (๐๒) ๖๓๓-๓๒๓๗ www.bangkokopera.com และ ไทยทิกเกตเมเจอร์โทร (๐๒)๒๖๒-๓๔๕๖ www.thaiticketmajor.com
นิสิตนักศึกษาที่นำบัตรมาแสดงและผู้ประสงค์เข้าชมเป็นหมู่คณะโปรดติดต่อขอส่วนลดพิเศษ ได้ที่มูลนิธิมหาอุปรากรกรุงเทพ โทร. (๐๒) ๖๓๓-๓๒๓๖