ปัญหาเรื่องค่าเงินบาทแข็งในรอบสองสามเดือนที่ผ่านมา เป็นจุดปลายยอดน้ำแข็งของปัญหาเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจไทยนั่นคือ ความอ่อนแอในศักยภาพการผลิต ประสิทธิภาพการผลิต และการลดถอยลงของความสามารถเชิงแข่งขันของประเทศ (competitiveness) ที่ครอบคลุมไปมิติอื่นๆ ที่ไม่ใช่เรื่องเศรษฐกิจ อาทิ ประสิทธิภาพการบริหารของระบบราชการ ระบบธรรมาภิบาล การศึกษา และศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผมเห็นว่า ปัญหาดังกล่าวสะท้อนออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนในช่วงที่ค่าเงินบาทปรับค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยตั้งแต่ต้นปี 50 ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นถึง 5% เมื่อเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนในประเทศ ณ วันที่ 23 ก.ค. 50 และถ้าเปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนของวันที่ 23 ก.ค. 50 เทียบกับอัตราแลกเปลี่ยน ณ ต้นปี 49 จะพบว่าอัตราแลกเปลี่ยนของไทยเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นประมาณ 18% สะท้อนให้เห็นถึงความผันผวนระดับสูงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ ภาคอุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออกเป็นภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทมากที่สุด โดยเฉพาะอุตสาหกรรมส่งออกที่มีสัดส่วนของการใช้มูลค่าปัจจัยการผลิตในประเทศในมูลค่าที่สูง ถ้าสมมติว่าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกมีอัตรากำไรเบื้องต้น (Margin) จากการส่งออกประมาณ 10-20% จะพบว่าการแข็งค่าของค่าเงินบาทในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาแทบจะลบล้างอัตรากำไรเบื้องต้นจากการส่งออก ไม่ต้องพูดถึงอุตสาหกรรมส่งออกที่มีอัตรากำไรเบื้องต้นต่ำกว่า 10%
การแข็งค่าของเงินบาทไม่เพียงส่งผลให้ผู้ผลิตเพื่อการส่งออกจำนวนหนึ่งประสบปัญหาอัตรากำไรลดลงอย่างน่าตกใจ หากแต่ซ้ำร้ายยังอาจจะพบกับภาวะขาดทุน ดังนั้นผมถึงไม่แปลกใจต่อการโวยวายของผู้ผลิตรวมทั้งสถาบันที่เป็นตัวแทนภาคการผลิตอย่างหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมไทย และสมาคมธนาคารไทยที่ปะทุขึ้นมาในรอบสองสัปดาห์ที่ผ่านมา
ในปัจจุบัน ประเทศไทยพึ่งพิงรายได้จากการส่งออกในสัดส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับรายได้ประชาชาติ (GDP) บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ ได้คำนวณพบว่าในปี 49 สัดส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 74% ถือว่าประเทศไทยพึ่งพิงรายได้จากการส่งออก ในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบอัตราเฉลี่ยของรายได้จากการส่งออกของประเทศอื่นๆที่ 30% หรือเทียบกับฟิลิปปินส์ (46%) อินโดนีเซีย (31%) และ เกาหลีใต้ (43%) นับว่าเศรษฐกิจไทยเปิดรับต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและอัตราแลกเปลี่ยนอย่างมาก
กว่าที่เราจะลดรายได้จากการส่งออกและหันไปพึ่งพิงตลาดภายในประเทศ เราคงต้องเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และถ้าเราไม่มุ่งมั่นที่แก้ปัญหาที่เป็นหัวใจของเรื่องนี้ คือ “ศักยภาพการผลิตของประเทศ” เป็นไปได้เช่นกันว่าในอนาคต เศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน
ส่วนตัว ผมเชื่อว่าคงมีโอกาสน้อยมากที่จะเห็นค่าเงินบาทกลับมาอยู่ที่ 39-40 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ เพราะที่มาของปัญหาค่าเงินบาทไม่ได้มาจากประเทศไทยหรือการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นด้านหลัก หากแต่เกี่ยวพันไปถึงปัญหาโครงสร้างระบบการเงินโลกที่ไม่สมดุล (Global Imbalance) โดยมีตัวละครหลัก คือ สหรัฐ ฯ และจีน หรืออาจจะรวมถึงตัวประกอบอย่างประเทศในแถบเอเชียเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย ประเทศไทยคงไม่สามารถที่จะไปหยุดยั้งแนวโน้มการปรับค่าลงของเงินดอลลาร์ได้ สิ่งที่ประเทศไทยทำได้ คือการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจไทยด้านการผลิตให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมในประเทศไทยโดยรวม
การปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจไทยด้านศักยภาพการผลิต ไม่เพียงแต่เป็นการลดทอนปัญหาผลกระทบจากความผันผวนจากค่าเงินบาทแข็งค่าในระยะยาวเท่านั้น หากแต่เป็นการยกระดับศักยภาพการผลิตของประเทศไทยให้พร้อมที่จะแข่งขันกับประเทศที่พึ่งตบเท้าส่งสินค้าเข้าแข่งขันในตลาดโลก (emerging country) อาทิ เวียดนาม และกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก
การปฏิรูปศักยภาพการผลิตของประเทศ ควรจะเริ่มพิจารณาตั้งแต่การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน อาทิ ระบบขนส่งสินค้าและ Logistics ของประเทศที่ปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าน้ำมันประมาณ 12% ของรายได้ประชาชาติ (GDP) และมีต้นทุนด้านการขนส่งถึงร้อยละ 16 ของรายได้ประชาชาติ (GDP) โดยรัฐบาลชุดใหม่ในปีหน้าหรือปีต่อๆ ไปควรจะต้องพิจารณาถึงโครงการที่เคยเสนอต่อรัฐบาลไทยในอดีตมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วนแต่ปราศจากการนำไปปฏิบัติ เช่นโครงการรถไฟระบบรางคู่เป็นต้น นอกจากนี้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เช่นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ควรจะได้รับการถกเถียงในสังคมไทยอย่างกว้างขวางเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เหมาะกับสังคมไทยหรือไม่ เมื่อพิจารณาในแง่ต้นทุนพลังงานที่ปรับลดลงเทียบกับความปลอดภัยจากกัมมันตภาพรังสี และผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียงทั้งในด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
ที่สำคัญที่สุด คือการเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา สถาบันการศึกษาในสังกัดของรัฐจำนวนมากผลิตบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับบัณฑิตทางสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งที่ภาคการผลิตไทยต้องการจริงๆคือช่างฝีมือ ช่างเทคนิค วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ ในแง่นี้ ผมคิดว่าภาครัฐต้องส่งสัญญาณผ่านไปยังสถาบันการศึกษาของรัฐ รวมถึงกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยอาจจะให้การกู้ยืมเงินแก่นักศึกษาที่ศึกษาในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในจำนวนทุนที่มากกว่าสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ รวมไปถึงการให้การสนับสนุนทางงบประมาณแก่สถาบันการศึกษาของรัฐที่มีการผลิตบัณฑิตในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นอกจากนี้ การปฏิรูปโครงสร้างกติกาการแข่งขันทางการค้าโดยมีการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิผล ครอบคลุมไปถึงการคุ้มครองผู้บริโภค และดูแลสิ่งแวดล้อม ไม่ควรรอให้เกิดปัญหาขึ้นมาก่อนแล้วค่อยดำเนินการแก้ไข ดังตัวอย่างปัญหามลพิษนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
การปฏิรูปโครงสร้างการผลิตที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือการเก็บภาษีทรัพย์สินในส่วนของที่ดินและมรดก การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินทั้ง 2 ส่วนไม่เพียงแต่สนับสนุนให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น หากแต่เป็นการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมที่มีประสิทธิภาพที่สุด รวมทั้งลดความเหลื่อมล้ำของสังคมได้ดีด้วย
มาตรการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจด้านศักยภาพการผลิตที่ผมเสนอเมื่อมองไปข้างหน้า ไปยังรัฐบาลหลังเลือกตั้ง ผมค่อนข้างหวั่นใจว่าจะสามารถผลักดันการปฏิรูปฯ ได้หรือไม่ เพราะดูจากร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เราคงต้องเผชิญกับรัฐบาลผสมซึ่งไม่แน่ใจว่าจะมีอำนาจทางการเมืองที่แกร่งพอที่จะผลักดันการปฏิรูปฯ เพราะผลของการปฏิรูปจะเห็นในระยะยาว แต่เฉพาะหน้าในระยะสั้นจะเป็นปัญหาระหว่างรัฐบาลที่จะต้องปะทะกับกลุ่มผู้สูญเสียประโยชน์จากการปฏิรูปฯ
ในอดีต ผู้หลักผู้ใหญ่เคยเล่าให้ผมฟังว่า ประเทศไทยเริ่มพัฒนาประเทศพร้อมกับประเทศญี่ปุ่น และหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศเราไม่ได้บอบช้ำจากสงครามมากเท่าไหร่นักเมื่อเทียบกับประเทศเกาหลีใต้และประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ ประเทศเราไม่เคยเป็นอาณานิคมของประเทศตะวันตก จึงไม่ต้องเผชิญกับสงครามหรือการต่อสู้เพื่อปลดแอกอาณานิคมอย่างเช่น เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ผู้ใหญ่หลายคนบอกกับผมว่า เมื่อสามสิบกว่าปีก่อนเรามองเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกงเป็นคู่แข่ง ยี่สิบกว่าปีต่อมา เรามองมาเลเซียและสิงคโปร์ เป็นคู่แข่ง และในปัจจุบัน เรามองเวียดนามเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจ ผมไม่แน่ใจว่าตรรกะในการแข่งขันของผู้บริหารนโยบายรัฐไทย สื่อมวลชนไทย และภาคอุตสาหกรรมไทยเป็นตรรกะที่ผิดหรือไม่ เพราะเท่าที่ผมทราบ โดยปกติของการแข่งขัน ยกตัวอย่างการวิ่งแข่ง นักวิ่งจะมองผู้ที่วิ่งนำหน้าเป็นเกณฑ์หรือเป็นคู่แข่ง คงไม่มีนักวิ่งแข่งคนไหนมองไปข้างหลังและทึกทักว่านักวิ่งที่ไล่กวดหลังเป็นคู่แข่ง เช่นเดียวกันในลู่วิ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ สังคมไทยเริ่มมองเวียดนามเป็นคู่แข่งและเลิกมองเกาหลีใต้ สิงคโปร์ หรือมาเลเซีย เป็นคู่แข่งแล้ว ในขณะที่เกาหลีใต้ยังมองญี่ปุ่นเป็นคู่แข่งอยู่เสมอ
บางทีผมหวังว่าอีก 5 ปีข้างหน้า เราคงไม่จำเป็นต้องมองเขมรหรือลาวเป็นคู่แข่ง.
ผมเห็นว่า ปัญหาดังกล่าวสะท้อนออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนในช่วงที่ค่าเงินบาทปรับค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยตั้งแต่ต้นปี 50 ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นถึง 5% เมื่อเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนในประเทศ ณ วันที่ 23 ก.ค. 50 และถ้าเปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนของวันที่ 23 ก.ค. 50 เทียบกับอัตราแลกเปลี่ยน ณ ต้นปี 49 จะพบว่าอัตราแลกเปลี่ยนของไทยเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นประมาณ 18% สะท้อนให้เห็นถึงความผันผวนระดับสูงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ ภาคอุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออกเป็นภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทมากที่สุด โดยเฉพาะอุตสาหกรรมส่งออกที่มีสัดส่วนของการใช้มูลค่าปัจจัยการผลิตในประเทศในมูลค่าที่สูง ถ้าสมมติว่าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกมีอัตรากำไรเบื้องต้น (Margin) จากการส่งออกประมาณ 10-20% จะพบว่าการแข็งค่าของค่าเงินบาทในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาแทบจะลบล้างอัตรากำไรเบื้องต้นจากการส่งออก ไม่ต้องพูดถึงอุตสาหกรรมส่งออกที่มีอัตรากำไรเบื้องต้นต่ำกว่า 10%
การแข็งค่าของเงินบาทไม่เพียงส่งผลให้ผู้ผลิตเพื่อการส่งออกจำนวนหนึ่งประสบปัญหาอัตรากำไรลดลงอย่างน่าตกใจ หากแต่ซ้ำร้ายยังอาจจะพบกับภาวะขาดทุน ดังนั้นผมถึงไม่แปลกใจต่อการโวยวายของผู้ผลิตรวมทั้งสถาบันที่เป็นตัวแทนภาคการผลิตอย่างหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมไทย และสมาคมธนาคารไทยที่ปะทุขึ้นมาในรอบสองสัปดาห์ที่ผ่านมา
ในปัจจุบัน ประเทศไทยพึ่งพิงรายได้จากการส่งออกในสัดส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับรายได้ประชาชาติ (GDP) บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ ได้คำนวณพบว่าในปี 49 สัดส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 74% ถือว่าประเทศไทยพึ่งพิงรายได้จากการส่งออก ในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบอัตราเฉลี่ยของรายได้จากการส่งออกของประเทศอื่นๆที่ 30% หรือเทียบกับฟิลิปปินส์ (46%) อินโดนีเซีย (31%) และ เกาหลีใต้ (43%) นับว่าเศรษฐกิจไทยเปิดรับต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและอัตราแลกเปลี่ยนอย่างมาก
กว่าที่เราจะลดรายได้จากการส่งออกและหันไปพึ่งพิงตลาดภายในประเทศ เราคงต้องเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และถ้าเราไม่มุ่งมั่นที่แก้ปัญหาที่เป็นหัวใจของเรื่องนี้ คือ “ศักยภาพการผลิตของประเทศ” เป็นไปได้เช่นกันว่าในอนาคต เศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน
ส่วนตัว ผมเชื่อว่าคงมีโอกาสน้อยมากที่จะเห็นค่าเงินบาทกลับมาอยู่ที่ 39-40 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ เพราะที่มาของปัญหาค่าเงินบาทไม่ได้มาจากประเทศไทยหรือการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นด้านหลัก หากแต่เกี่ยวพันไปถึงปัญหาโครงสร้างระบบการเงินโลกที่ไม่สมดุล (Global Imbalance) โดยมีตัวละครหลัก คือ สหรัฐ ฯ และจีน หรืออาจจะรวมถึงตัวประกอบอย่างประเทศในแถบเอเชียเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย ประเทศไทยคงไม่สามารถที่จะไปหยุดยั้งแนวโน้มการปรับค่าลงของเงินดอลลาร์ได้ สิ่งที่ประเทศไทยทำได้ คือการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจไทยด้านการผลิตให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมในประเทศไทยโดยรวม
การปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจไทยด้านศักยภาพการผลิต ไม่เพียงแต่เป็นการลดทอนปัญหาผลกระทบจากความผันผวนจากค่าเงินบาทแข็งค่าในระยะยาวเท่านั้น หากแต่เป็นการยกระดับศักยภาพการผลิตของประเทศไทยให้พร้อมที่จะแข่งขันกับประเทศที่พึ่งตบเท้าส่งสินค้าเข้าแข่งขันในตลาดโลก (emerging country) อาทิ เวียดนาม และกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก
การปฏิรูปศักยภาพการผลิตของประเทศ ควรจะเริ่มพิจารณาตั้งแต่การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน อาทิ ระบบขนส่งสินค้าและ Logistics ของประเทศที่ปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าน้ำมันประมาณ 12% ของรายได้ประชาชาติ (GDP) และมีต้นทุนด้านการขนส่งถึงร้อยละ 16 ของรายได้ประชาชาติ (GDP) โดยรัฐบาลชุดใหม่ในปีหน้าหรือปีต่อๆ ไปควรจะต้องพิจารณาถึงโครงการที่เคยเสนอต่อรัฐบาลไทยในอดีตมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วนแต่ปราศจากการนำไปปฏิบัติ เช่นโครงการรถไฟระบบรางคู่เป็นต้น นอกจากนี้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เช่นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ควรจะได้รับการถกเถียงในสังคมไทยอย่างกว้างขวางเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เหมาะกับสังคมไทยหรือไม่ เมื่อพิจารณาในแง่ต้นทุนพลังงานที่ปรับลดลงเทียบกับความปลอดภัยจากกัมมันตภาพรังสี และผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียงทั้งในด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
ที่สำคัญที่สุด คือการเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา สถาบันการศึกษาในสังกัดของรัฐจำนวนมากผลิตบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับบัณฑิตทางสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งที่ภาคการผลิตไทยต้องการจริงๆคือช่างฝีมือ ช่างเทคนิค วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ ในแง่นี้ ผมคิดว่าภาครัฐต้องส่งสัญญาณผ่านไปยังสถาบันการศึกษาของรัฐ รวมถึงกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยอาจจะให้การกู้ยืมเงินแก่นักศึกษาที่ศึกษาในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในจำนวนทุนที่มากกว่าสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ รวมไปถึงการให้การสนับสนุนทางงบประมาณแก่สถาบันการศึกษาของรัฐที่มีการผลิตบัณฑิตในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นอกจากนี้ การปฏิรูปโครงสร้างกติกาการแข่งขันทางการค้าโดยมีการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิผล ครอบคลุมไปถึงการคุ้มครองผู้บริโภค และดูแลสิ่งแวดล้อม ไม่ควรรอให้เกิดปัญหาขึ้นมาก่อนแล้วค่อยดำเนินการแก้ไข ดังตัวอย่างปัญหามลพิษนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
การปฏิรูปโครงสร้างการผลิตที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือการเก็บภาษีทรัพย์สินในส่วนของที่ดินและมรดก การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินทั้ง 2 ส่วนไม่เพียงแต่สนับสนุนให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น หากแต่เป็นการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมที่มีประสิทธิภาพที่สุด รวมทั้งลดความเหลื่อมล้ำของสังคมได้ดีด้วย
มาตรการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจด้านศักยภาพการผลิตที่ผมเสนอเมื่อมองไปข้างหน้า ไปยังรัฐบาลหลังเลือกตั้ง ผมค่อนข้างหวั่นใจว่าจะสามารถผลักดันการปฏิรูปฯ ได้หรือไม่ เพราะดูจากร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เราคงต้องเผชิญกับรัฐบาลผสมซึ่งไม่แน่ใจว่าจะมีอำนาจทางการเมืองที่แกร่งพอที่จะผลักดันการปฏิรูปฯ เพราะผลของการปฏิรูปจะเห็นในระยะยาว แต่เฉพาะหน้าในระยะสั้นจะเป็นปัญหาระหว่างรัฐบาลที่จะต้องปะทะกับกลุ่มผู้สูญเสียประโยชน์จากการปฏิรูปฯ
ในอดีต ผู้หลักผู้ใหญ่เคยเล่าให้ผมฟังว่า ประเทศไทยเริ่มพัฒนาประเทศพร้อมกับประเทศญี่ปุ่น และหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศเราไม่ได้บอบช้ำจากสงครามมากเท่าไหร่นักเมื่อเทียบกับประเทศเกาหลีใต้และประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ ประเทศเราไม่เคยเป็นอาณานิคมของประเทศตะวันตก จึงไม่ต้องเผชิญกับสงครามหรือการต่อสู้เพื่อปลดแอกอาณานิคมอย่างเช่น เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ผู้ใหญ่หลายคนบอกกับผมว่า เมื่อสามสิบกว่าปีก่อนเรามองเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกงเป็นคู่แข่ง ยี่สิบกว่าปีต่อมา เรามองมาเลเซียและสิงคโปร์ เป็นคู่แข่ง และในปัจจุบัน เรามองเวียดนามเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจ ผมไม่แน่ใจว่าตรรกะในการแข่งขันของผู้บริหารนโยบายรัฐไทย สื่อมวลชนไทย และภาคอุตสาหกรรมไทยเป็นตรรกะที่ผิดหรือไม่ เพราะเท่าที่ผมทราบ โดยปกติของการแข่งขัน ยกตัวอย่างการวิ่งแข่ง นักวิ่งจะมองผู้ที่วิ่งนำหน้าเป็นเกณฑ์หรือเป็นคู่แข่ง คงไม่มีนักวิ่งแข่งคนไหนมองไปข้างหลังและทึกทักว่านักวิ่งที่ไล่กวดหลังเป็นคู่แข่ง เช่นเดียวกันในลู่วิ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ สังคมไทยเริ่มมองเวียดนามเป็นคู่แข่งและเลิกมองเกาหลีใต้ สิงคโปร์ หรือมาเลเซีย เป็นคู่แข่งแล้ว ในขณะที่เกาหลีใต้ยังมองญี่ปุ่นเป็นคู่แข่งอยู่เสมอ
บางทีผมหวังว่าอีก 5 ปีข้างหน้า เราคงไม่จำเป็นต้องมองเขมรหรือลาวเป็นคู่แข่ง.