เช้าวันนี้...จิบกาแฟขมแล้ว ขับรถเข้าไปในเมือง เห็นผู้ปกครองหลายคนยังคงพาบุตรหลาน ไปหาซื้อชุดนักเรียนทั้งๆที่ใกล้จะเปิดเทอมแล้ว ให้นึกเห็นใจผู้ที่เป็นพ่อแม่คนในตอนนี้นัก เพราะตัวเองเคยผ่านประสบการณ์นี้มาก่อน ยิ่งพ่อแม่ที่เบี้ยน้อยหอยน้อย คงต้องหมุนเงินกันตัวเป็นเกลียวเลย เพราะตอนนี้บ้านเมืองกำลังอึดอัดคัดข้องกันไปทั่ว คนเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองหน้าดำไปตามๆกัน ให้สงสารนัก
แม้รัฐบาลนี้จะบังคับให้ธนาคารของรัฐช่วยเหลือ แต่กระบวนการดูมันยุ่งยาก ชาวบ้านเลยหันไปพึ่งโรงรับจำนำ เพราะสะดวกที่สุด และกลายเป็นสถาบันสำคัญของสังคมไทยยามยากนี้เรียบร้อยแล้ว
ก่อนหน้านี้ ผมได้รับทราบปัญหาของพ่อแม่บางคน ที่โทรมาหารือเรื่องสถานที่การศึกษาบุตรหลาน เพราะบางรายลูกสอบเข้าโรงเรียนที่เด็กตั้งใจไม่ได้ เมื่อพ่อแม่กระเสือกกระสนหาที่เรียนให้ได้แล้ว ตัวเด็กกลับไม่ชอบสถานที่เรียนใหม่อีก เป็นเรื่องใหญ่เลย เพราะกระทบขวัญและกำลังใจของลูกหลานมาก
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๒ เม.ย.๒๕๕๐ ผมได้ฟังวิทยุในรถ ได้ยินคุณสุริยนต์ วะสมบัติ ผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต ๒ ให้สัมภาษณ์รายการ ทาง Fm ๑๐๐.๕ ว่า ทางเขต ๒ คือลาดพร้าว มีโรงเรียนในสังกัดระดับแนวหน้าอยู่ถึง ๓๖ โรง จะบรรจุนักเรียนอีกกว่า ๒ พันคนเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนเปิดการศึกษาใหม่นี้ และท่าน ผอ.รับรองว่า จะหาที่ลงให้กับนักเรียนในเขตที่พลาดหวังจากการสอบเข้า หรือมาจากต่างจังหวัดได้เรียบร้อย โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างได้
นึกขอบคุณแทนเด็กๆของเราทุกคน ที่ท่าน ผอ.เอาใจใส่อย่างนี้ แม้ไม่รู้จักกันเป็นการส่วนตัว แต่ผู้ดำเนินรายการซึ่งสัมภาษณ์ท่าน ผอ. เธอเล่าว่า คุณสุริยนต์ฯเป็นผู้มีอัธยาศัยและมนุษย์สัมพันธ์ดีจริงๆ ดังนั้นแม้ไม่รู้จักท่าน แต่ก็อยากจะขอบคุณแทนเด็กๆทั้งหลาย ที่มีโอกาสเข้าศึกษาในโรงเรียนที่ถือว่า ‘แกร่งวิชา’ เหล่านี้ด้วย
ที่น่าสนใจมากคือท่านผอ.สุริยนต์ฯ บอกว่า บุตรข้าราชการในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้หมด และที่สำคัญ คือ
นักเรียนที่ท่านผอ.ใช้คำว่า “หนีตาย” จาก ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มาปักหลักอยู่ที่กรุงเทพ ท่านก็จะต้องจัดให้มีที่ได้เรียนในเขตการศึกษาให้ได้เป็นกรณีพิเศษทุกคน
นึกอนุโมทนาบุญกับท่าน ผอ.แต่การมีผู้คนหนีตายเข้ามาในเมืองหลวงอย่างที่ท่านพูดนั้น การหนีหายนะคือความตายอย่างนี้ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ถึงกับใช้คำว่า “Buddhist Exodus” ซึ่งแปลได้ว่าการทิ้งถิ่น หรือการจากไปของผู้คนที่เป็นไทยพุทธเป็นจำนวนมาก...ขนาดนั้นเลยทีเดียว!
สำหรับตัวผมนั้น บอกได้เลยอย่างไม่เกรงใจใครทั้งนั้นว่า ได้แต่นึกสาปแช่งรัฐบาลของนายก ‘เขียงยายเฒ่า’ ที่ไร้สมรรถภาพ (กำลังโดนขับไล่) ที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร ซึ่งทะลึ่งยึดเอาอำนาจไปจากประชาชน แต่ดันไม่เอาความรับผิดชอบไปเต็มๆ และไร้ความสามารถโดยสิ้นเชิง ในการรักษาความสงบของแผ่นดินนี้เอาไว้ให้ได้ ดีแต่ขี้คุย ขี้ถุย ทำอวดศักดา กร่างไปวันๆ ปล่อยให้ผู้คนในชาติต้องบาดเจ็บล้มตายลง ไม่เว้นแต่ละวัน ประชาชนต้องพากันอพยพหนีตาย อย่างที่ผอ.สุริยนต์ท่านพูดเอาไว้จริงๆ
น่าอนาถใจนัก!
ไม่น่าเชื่อว่า ทั้ง คมช.และรัฐบาลนี้ ยังด้านทำลอยหน้าลอยตา เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ในประเทศ คล้ายกับไร้ความรู้สึกร้อนหนาว เหมือนหนังหนาเสียเหลือเกิน มันช่างเป็นโชคร้ายของประเทศเราเสียเหลือเกิน ที่มีทั้งผู้นำรัฐบาลและผู้นำทางทหารอย่างนี้ จึงได้แต่สวดภาวนา
ขอให้คนพวกนี้ พ้นไปจากการปกครองบ้านเมืองเรา เสียในเร็ววัน!

เมื่อพูดถึงนักเรียนอพยพหนีภัยร้ายตามครอบครัว ก็ให้นึกถึงเหตุการณ์ความรุนแรงทางภาคใต้ โดยเฉพาะการลอบวางระเบิด เป็นเหตุให้พ.ต.อ.นพดล เผือกโสมณ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส ได้รับบาดเจ็บสาหัส และสูญเสียอวัยวะอย่างถาวร
มาบัดนี้ก็ดีใจที่อาการดีวันดีคืน ท่ามกลางความห่วงใยของประชาชน โดยเฉพาะเมื่อได้เห็นภาพชาวบ้านที่เป็นมุสลิมจากอำเภอระแงะ ที่ยกขบวนกันไปเยี่ยมที่โรงพยาบาล ติดป้ายข้างรถที่เขียนว่า “ขอให้พระเจ้าคุ้มครอง ให้พ.ต.อ.นพดล เผือกโสมณ” เพราะผู้คนอำเภอนี้รักเคารพนายตำรวจผู้นี้มาก
ตอนนี้เรื่องราวของนายตำรวจผู้กล้าหาญ ได้รับการถ่ายทอดลงตามหน้าหนังสือพิมพ์ แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องที่นักหนังสือพิมพ์ หรือผู้สื่อข่าวเป็นผู้จัดทำ แต่อยากให้ท่านผู้อ่านได้เห็นบทความของนายตำรวจ ผู้เป็นทั้งรุ่นพี่และอาจารย์ที่สนิทสนม ซึ่งพ.ต.อ.นพดลฯ รวมทั้งภริยาและบุตรสาวให้ความเคารพรักอย่างยิ่ง จึงขอตัดออกจากคอลัมน์ ตำรวจของประชาชน ชื่อ “นพดล เผือกโสมณ” จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับ๒๒ เม.ย.๒๕๕๐ อย่างไม่เกรงใจ ตอนหนึ่งคนเขียน เขาบอกว่า
“...ตัวตนของ พ.ต.อ.นพดลเป็นอย่างไร สื่อมวลชนทุกประเภทได้นำเสนอแง่มุมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ผู้เขียนในฐานะเป็นครู, พี่, และเพื่อนร่วมงานที่รู้จักสนิทสนมกับ พ.ต.อ.นพดลมาช้านาน ตั้งแต่เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2521 โดยเฉพาะในช่วง 3 ปี ของสงครามแย่งชิงประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ความสัมพันธ์ของเราเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะเพื่อนร่วมตาย (Buddy) เพราะทุกครั้งที่ผู้เขียนลงมาปฏิบัติภารกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ต.อ.นพดลจะต้องเป็นผู้กำหนดการ วางแผน และร่วมเดินทางไปด้วย โดยตลอดเวลาเราสองคนสวมเครื่องแบบตำรวจ ใช้ยานพาหนะเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล ปราศจากการเฝ้าระวังพื้นที่ในทุกจุดที่ต้องเข้าไปเยี่ยมเยียนครอบครัวตำรวจที่บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็น ยะหา บันนังสตา เจาะไอร้อง ระแงะ กรงปีนัง ฯลฯ
เหตุผลที่ไม่ปิดบังอำพรางการแต่งกาย เป็นเพราะคำพูดของ พ.ต.อ.นพดลที่บอกกับผู้เขียนบ่อยครั้งว่า "ตายในเครื่องแบบตำรวจ เป็นการทำหน้าที่ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์สมบูรณ์แบบ" ทุกเส้นทาง พ.ต.อ.นพดลจะบรรยายเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ จุดนั้นๆ พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นถึงวิธีการแก้ไขปัญหา ตัวอย่างเช่น การถูกซุ่มโจมตีเป็นเพราะการเข้า-ออกในเส้นทางซ้ำกัน การเคลื่อนจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งเป็นระยะเวลาที่แน่นอน เปิดช่องว่างให้ฝ่ายตรงข้ามทำอันตรายได้
ข้อมูลทั้งสถานที่และตัวบุคคลหรือแม้กระทั่งชื่อของผู้ต้องหา ผู้ต้องสงสัยเป็นภาษาอาหรับ หลั่งไหลจากสมองของ พ.ต.อ.นพดลฯเหมือนเก็บไว้ด้วยคอมพิวเตอร์แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ เรียนรู้ และแม่นยำในข้อมูลเป็นอย่างมาก
ที่น่าประทับใจมากก็คือ พ.ต.อ.นพดลฯได้รับการยอมรับจากส่วนราชการอื่น พ่อค้าและประชาชน เพราะทุกครั้งที่ต้องหยุดพักเพื่อตั้งหลักหรือรับประทานอาหาร จะต้องมีผู้คนมาสนทนาแสดงความดีใจที่ พ.ต.อ.นพดลฯได้แวะมาเยี่ยมเยียน บ่อยครั้งจะได้รับของฝากทั้งอาหารและผลไม้จากชาวบ้าน พ.ต.อ.นพดลฯ มีภาวะผู้นำสูงยิ่ง ตั้งแต่เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจได้รับคัดเลือกจากผู้บังคับบัญชาให้เป็นนักเรียนปกครอง ที่สำคัญยังเป็นนักกีฬาระดับหัวหน้าทีมรักบี้ฟุตบอลของ ร.ร.นรต.อีกด้วย คุณสมบัติดังกล่าวจึงหล่อหลอมตัวตนของ พ.ต.อ.นพดลให้มีจิตใจสูงรู้จัก แพ้ ชนะ และให้อภัย
ภายหลังสำเร็จการศึกษาออกมารับราชการในพื้นที่ภาคใต้จนได้รับเลื่อนยศเป็น ร.ต.อ.จึงได้ย้ายกลับไปเป็นนายตำรวจฝ่ายปกครองนักเรียนนายร้อยตำรวจในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยที่ 1
นรต.รุ่นที่ 48 ใต้ปกครองดูแลของ ร.ต.อ.นพดลกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า "ผู้กองป๋อง" เป็นแบบฉบับของนักเรียนนายร้อยตำรวจ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างนักเรียนจะวิ่ง ฝึก ผู้กองป๋องวิ่งด้วย ฝึกด้วย ถึงเวลากระโดดร่ม ผู้กองป๋องกระโดดดิ่งพสุธา (กระโดดร่มแบบกระตุกเอง) ให้นักเรียนได้ดูก่อนเป็นตัวอย่างเพื่อสร้างความเชื่อมั่น สร้างขวัญให้ทุกคนเห็นว่าความกลัว ระงับได้ด้วยสติ บรรเทาได้ด้วยการฝึกอย่างหนัก อดทน เหนือสิ่งอื่นใด ผู้กองป๋องเป็นคนมีเหตุผล ยุติธรรม และรับฟังความคิดเห็น
ที่สำคัญก็คือ ผู้กองป๋องเป็นสุภาพบุรุษ!!...”
เท่านี้..ท่านผู้อ่านคงมองเห็นภาพของนายตำรวจผู้กล้าหาญ ได้ชัดเจนมากขึ้น และผมอยากเพิ่มเติมข้อเขียนนี้อีกสักนิด เพื่อให้ท่านที่เคารพทราบอีกด้วย ว่า
พ.ต.อ.นพดลฯนั้น เป็นนายตำรวจสุภาพบุรุษที่ คิดถึงตัวเองน้อย เพราะคิดถึงผู้อื่นมากกว่าตน นอกจากนั้น ยังเป็นที่รู้กันในหมู่ตำรวจว่า คนอย่างคุณนพดลฯ ไม่พูดถึงข้อบกพร่องของบุคคลอื่น แต่จะพูดถึงแต่ส่วนที่ดีของเขาเท่านั้น และที่สำคัญคือ
เป็นผู้ที่รักลูก เมีย เพื่อนฝูง รักผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา เป็นคนประเภท ทำอะไรไปแล้ว รับผิดชอบหมด
ที่มติชนบอกว่าเป็นสุภาพบุรุษนั้น เป็นเพราะลักษณะสำคัญอย่างนี้ต่างหาก!
อยากจะบอกให้เพื่อนนายตำรวจ ที่มีโอกาสอ่านคอลัมน์นี้ เรื่องการเตรียมร่างกายของตัวเอง ให้อยู่ในสภาพพร้อมรบเสมอ ไม่ว่าท่านจะมีอายุเท่าใดก็ตาม หากอยู่ในราชการจะต้องตื่นตัวและคง ‘ความพร้อม’ เอาไว้ตลอดเวลา ประมาทไม่ได้อย่างเด็ดขาด
คุณนพดลฯนั้น เคยบาดเจ็บปางตายมาแล้ว เมื่อครั้งมีกรณีโจรนินจา ได้เสี่ยงชีวิตเข้าไปช่วยตำรวจพลร่ม ๒ นายที่ระแงะ จนถูกกลุ้มรุมทำร้ายได้รับบาดเจ็บสาหัส ถึงขั้นตับแตก สมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างหนัก ต้องพักรักษาตัวยาวนานกว่า ๒ เดือน แต่ก็กลับมายืนหยัด และมุ่งหน้าทำงานเพื่อชาติบ้านเมืองต่อไปได้ จนมาถูกระเบิดสาหัสสากรรจ์อีกในครั้งนี้ รอดชีวิตแล้วยังสามารถฟื้นตัวได้เหมือนเทวดาช่วยนั้น เป็นผลมาจากที่คุณนพดลฯฟิต และรักษาร่างกายอยู่ในสภาพพร้อมรบตลอดนั่นเอง
ด้วยความเป็นนักรักบี้ ที่ต้องมีร่างกายแข็งแกร่งสำหรับเกมหนัก และความไม่ย่อท้ออย่างนักกีฬาที่เป็นนักรบ บาดเจ็บปางตายมาแล้วก็ไม่เคยนึกประหวั่น
นายตำรวจใจเพชรผู้นี้ ไม่ได้แค่ใส่เกียรฺ์ห้า เดินหน้าเต็มสูบเท่านั้น แต่...
...เท้าของเขายังเหยียบคันเร่งจนมิด วิ่งควบทะยานเข้าต่อสู้กับพวกเหล่าร้ายที่ทำลายชาติอย่างไม่พรั่นพรึง เดินนำหน้าตำรวจผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมออกศึกและลงรบ ‘ตะลุมบอน’หอริราชศัตรูได้ทุกเวลาและโอกาส เป็นขวัญกำลังใจลูกน้องอย่างยิ่ง...เรื่องถอยหลังทำไม่เป็น และไม่เคยทำ
...เพราะถอยหลังแล้ว คงหกต้องล้มทันที!
ท่านผู้อ่านอาจไม่ทราบว่า ปัจจุบันนี้ มีนักกีฬารักบี้หลายคนที่อยู่ในตำแหน่งสำคัญ ที่กุมบังเหียนการสู้รบกับผู้ก่อการร้ายทางภาคใต้ เป็นนักรักบี้ที่มีความสามารถ เล่นอยู่ทีมเดียวกัน และเคยเป็นหัวหน้าทีมชาติไทยถึง ๒ คนคือ พล.ต.ท.เจตนากร นะภีตะภัฎ ผบช.ภ.๙ และ คุณพระนาย สุวรรณรัตน์ ผอ.ศอ.บต. จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความสัมพันธ์ของผู้บริหารระดับคีย์แมนทั้งสองในพื้นที่อันตราย จะต้องแน่นแฟ้นแค่ไหน
ไม่น่าเชื่อว่า บังเอิญที่ทั้งคุณพระนายและผู้บัญชาการเจตนากร มาจากโรงเรียนเดียว และคณะเดียวกับทั้งคนเขียนคอลัมน์ลงมติชน และผู้เขียนคอลัมน์ ‘กาแฟขม...ขนมหวาน’ นี้ด้วย...๕๕๕...

หลังเหตุการณ์เกิดขึ้นเพียงวันเดียว ผมและผู้อ่านอีกหลายท่าน คงได้มีโอกาสฟังเสียงของคุณถนอมจิตร์ ผู้เป็นภริยา และ เด็กหญิงกฤตวรรณ เผือกโสมณ หรือ น้องพลอย บุตรีของพ.ต.อ.นพดล ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับคุณสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา รายการ ‘เรื่องเศร้าเช้านี้’ ซึ่งได้เล่าความรู้สึกจากใจ เรียกน้ำตาจากผู้ฟังรายการได้เลยทีเดียว เพราะทุกคนซาบซึ้งในความรัก ของครอบครัวสามพ่อแม่ลูกนี้เป็นอย่างมาก
คุณถนอมจิตร์เล่าให้ฟังว่า ครอบครัว ‘เผือกโสมณ’ ของเธอพักอาศัยอยู่ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ส่วนสามีนั้นเพิ่งได้เลื่อนตำแหน่ง ไปเป็นรองผู้บังคับการตำรวจจังหวัด จ.นราธิวาส เมื่อเดือนตุลาปีที่ผ่านมานี้เอง สามีจะกลับมาเยี่ยมบ้านตามสะดวก อาทิตย์ละครั้ง หรือ ๒-๓ อาทิตย์ต่อครั้ง
แต่ที่สำคัญ และประทับใจผมมากเหลือเกิน คือ
คุณนพดลผู้เป็นพ่อ จะโทรศัพท์มาหาลูกสาวทุกวันๆละ ๔ ครั้ง ช่วงเช้าเวลาหกโมง สุภาพบุรุษตำรวจไทยผู้นี้ จะโทรไปปลุกหนูพลอยให้เตรียมตัวไปโรงเรียน ตอนเที่ยงก็โทรถามลูกว่า กินข้าวกลางวันหรือยัง ตอนเย็นโทรมาตรวจสอบว่า ลูกถึงบ้านเรียบร้อยดีไหม?
และก่อนนอน...โทรมาบอก “กู๊ดไนท์” กับหนูพลอยอีกครั้ง
ทำอย่างนี้ เป็นประจำทุกวัน ไม่เคยขาดแม้แต่วันเดียว!
การที่พ่อลูกได้คุยกันนี้ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ผมอยากให้ท่านผู้อ่านที่เป็นคุณพ่อ ลองปฏิบัติตามอย่างคุณนพดลฯดูบ้าง จะได้ผลดีเราจะสนิทสนมกับลูกมากขึ้น เพราะได้แลกเปลี่ยนปัญหา ถ่ายทอดความรักความห่วงใยให้กันและกัน พ่อช่วยแก้ปัญหาให้ลูก และลูกช่วยปลอบใจพ่อ
ยิ่งถ้าอยู่ห่างกัน หรือลูกไปศึกษาต่างจังหวัด ต้องติดต่อกันถี่มากยิ่งขึ้น ตรงนี้อยากให้ท่านผู้อ่านลองเข้าไปอ่านกาแฟขม...ขนมหวาน ตอนที่ ๑๗๔ “คุณคิดดูซิว่าคนไหน รักคุณรักยิ่งจริงใจ อยู่ที่ไหน..กันเล่า?” ผมเขียนเอาไว้ตอนหนึ่ง ว่า...
... ที่สำคัญแลอยากแนะนำผู้ปกครองคือ พ่อแม่ต้องโทรหาลูก และลูกต้องโทรหาพ่อแม่ ต้องกำหนดให้มีการรายงานกันทุกวัน อย่าได้ละเลยเป็นอันขาด มีเวลาก็ต้องขึ้นไปเยี่ยม ถึงเวลาปิดเทอมต้องกลับบ้าน อย่าปล่อยทิ้งไว้ ต้องทำให้เห็นว่า ‘บ้าน’ นั้นเป็นสถานที่สำคัญ
ที่พูดอย่างนี้ เพราะผมเห็นตัวอย่างที่ดีจากคนรู้จักกันดี ที่ลูกอยู่กับพ่อ โดยไม่มีแม่ แต่พ่อนั้นรักลูก และลูกก็รักพ่อมาก ระหว่างที่พ่อทำงาน ลูกสามารถโทรถามการบ้านได้ตลอดเวลา เพราะพ่อเป็นวิศวกรที่เก่งเอาการ สอบได้ทุนไปเรียนปริญญาโทมหาวิทยาลัยดีที่สุดแห่งหนึ่งในอังกฤษ เก่งทั้งคำนวณ ภาษาอังกฤษ และเข้าใจระบบการเรียนการสอนดี ตอนที่ลูกเรียนมัธยม การติวลูกเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้น พ่อทำเองโดยไม่ต้องกวดวิชา หากติดงานต่างจังหวัด ก็อธิบายข้อขัดข้องวิชาสำคัญให้ลูกฟังทางโทรศัพท์ จึงเป็นโชคดีของทั้งคู่ไปในที่สุด ลูกสอบเข้า คณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ได้ ขึ้นปีสามแล้ว (เปิดเทอมใหม่นี้ ขึ้นปีสุดท้าย) พ่อกับลูกคู่นี้ยังโทรหากันทุกวันเช้า-เย็น ต่างก็ปรับทุกข์ ยื่นสุข ให้กำลังใจซึ่งกันและกันอย่างอบอุ่นมิได้ขาด ตอนนี้สะดวกหน่อย ลูกสาวหากคิดถึงพ่อและน้องๆมาก ก็บินโลว์คอสไปกรุงเทพได้
ผมว่าพ่อลูกคู่นี้โชคดีทั้งสองคน เพราะอยู่ไกล...ก็เหมือนใกล้...
นั่นเป็นข้อเขียน จากหัวใจของผมจริงๆ
ดังนั้น ในโอกาสที่เปิดเทอมใหม่ กำลังจะมาถึงภายในไม่กี่วันนี้ ขอแนะนำให้ท่านผู้เป็นพ่อทั้งหลาย ลองเอาอย่าง พ.ต.อ.นพดลฯ ด้วยการโทรติดต่อลูกทุกวันมิได้ขาด แม้จะอยู่ในเมืองเดียวกันก็ตาม
ขออวยพรให้ท่านผู้อ่านมีลูกหลานที่ดีสมใจ เติบใหญ่จะได้เป็นพลเมืองดีของชาติต่อไป และก่อนจบข้อเขียนในวันนี้ ขอเพิ่มเติมอีกสักนิด
หากใครดูรายการ ‘เรื่องเล่าเช้านี้’ ที่เล่ามาข้างต้น ตอนหนึ่งนั้น คุณสรยุทธ์บอกว่า ตอนที่ พ.ต.อ.นพดลฯ โดนระเบิดแล้ว หนูพลอยไปเยี่ยมคุณพ่อ เธอบอกว่า
"คำแรกที่หนูเข้าไปกระซิบข้างหูพ่อ คือ พลอยรักพ่อ วันนี้พ่อยังไม่บอกรักหนูเลย พ่อต้องตื่นมาบอกรักหนู"
หนูพลอยบอกว่าเป็นประโยคเดิม ที่เธอเคยพูดตอนไปเยี่ยมคุณพ่อเมื่อ ๔ ปีก่อนในห้องไอซียู
แม่หนูให้สัมภาษณ์ต่ออีกว่า มันเหมือนเป็น ‘ปาฏิหาริย์’ โดยแท้...เพราะพอสิ้นเสียงกระซิบของเธอ ม่านตาที่ปิดสนิทของคุณพ่อสุดที่รัก ได้ออกอาการขยับเขยื้อนเล็กน้อย ส่วนนิ้วมือก็เริ่มจะขยับ ราวจะบ่งบอกให้รู้ว่า ผู้เป็นบิดาได้รับทราบถึงคำพูดลูกน้อยแล้ว
พลอยบอกว่า นั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า คุณพ่อผู้เป็นที่รักของลูก จะต้องกลับมาอีกครั้งหนึ่งเหมือนที่เคยทำสำเร็จมาเมื่อ ๔ ปีก่อน และก็เป็นจริงตามที่หนูน้อยคาดการณ์ไว้ เพราะพ่อผู้กล้าหาญของเธอกลับมาได้จริงๆ
ผมเชื่อโดยไม่ต้องไปถามเจ้าตัว ก็รู้แน่ว่า เมื่อสุภาพบุรุษนายตำรวจผู้หาญกล้าคนนี้ พอทุเลาและพูดได้แล้ว จะต้องบอกกับลูกสาวสุดที่รัก ว่า
“ จ้ะ...พ่อตื่นมาบอกรักหนูแล้ว!”
เปิดเทอมใหม่นี้ อยากขอความกรุณาท่านผู้อ่านที่เคารพ ได้โปรดระลึกถึงคำที่ผมตั้งใจจะถามท่านเป็นประจำทุกๆวัน ว่า
“วันนี้ท่านโทรบอก ‘รัก’ ลูกแล้วหรือยังครับ!!?”
...............................
ท้ายบท ก่อนเขียนบทความจบ เปิดผู้จัดการออนไลน์ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เห็นพาดหัวว่า
"พ.ต.อ.นพดล" ประกาศขอสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณไม่มีวันลืมเลือน
ดีใจจริงๆครับ!
แม้รัฐบาลนี้จะบังคับให้ธนาคารของรัฐช่วยเหลือ แต่กระบวนการดูมันยุ่งยาก ชาวบ้านเลยหันไปพึ่งโรงรับจำนำ เพราะสะดวกที่สุด และกลายเป็นสถาบันสำคัญของสังคมไทยยามยากนี้เรียบร้อยแล้ว
ก่อนหน้านี้ ผมได้รับทราบปัญหาของพ่อแม่บางคน ที่โทรมาหารือเรื่องสถานที่การศึกษาบุตรหลาน เพราะบางรายลูกสอบเข้าโรงเรียนที่เด็กตั้งใจไม่ได้ เมื่อพ่อแม่กระเสือกกระสนหาที่เรียนให้ได้แล้ว ตัวเด็กกลับไม่ชอบสถานที่เรียนใหม่อีก เป็นเรื่องใหญ่เลย เพราะกระทบขวัญและกำลังใจของลูกหลานมาก
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๒ เม.ย.๒๕๕๐ ผมได้ฟังวิทยุในรถ ได้ยินคุณสุริยนต์ วะสมบัติ ผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต ๒ ให้สัมภาษณ์รายการ ทาง Fm ๑๐๐.๕ ว่า ทางเขต ๒ คือลาดพร้าว มีโรงเรียนในสังกัดระดับแนวหน้าอยู่ถึง ๓๖ โรง จะบรรจุนักเรียนอีกกว่า ๒ พันคนเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนเปิดการศึกษาใหม่นี้ และท่าน ผอ.รับรองว่า จะหาที่ลงให้กับนักเรียนในเขตที่พลาดหวังจากการสอบเข้า หรือมาจากต่างจังหวัดได้เรียบร้อย โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างได้
นึกขอบคุณแทนเด็กๆของเราทุกคน ที่ท่าน ผอ.เอาใจใส่อย่างนี้ แม้ไม่รู้จักกันเป็นการส่วนตัว แต่ผู้ดำเนินรายการซึ่งสัมภาษณ์ท่าน ผอ. เธอเล่าว่า คุณสุริยนต์ฯเป็นผู้มีอัธยาศัยและมนุษย์สัมพันธ์ดีจริงๆ ดังนั้นแม้ไม่รู้จักท่าน แต่ก็อยากจะขอบคุณแทนเด็กๆทั้งหลาย ที่มีโอกาสเข้าศึกษาในโรงเรียนที่ถือว่า ‘แกร่งวิชา’ เหล่านี้ด้วย
ที่น่าสนใจมากคือท่านผอ.สุริยนต์ฯ บอกว่า บุตรข้าราชการในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้หมด และที่สำคัญ คือ
นักเรียนที่ท่านผอ.ใช้คำว่า “หนีตาย” จาก ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มาปักหลักอยู่ที่กรุงเทพ ท่านก็จะต้องจัดให้มีที่ได้เรียนในเขตการศึกษาให้ได้เป็นกรณีพิเศษทุกคน
นึกอนุโมทนาบุญกับท่าน ผอ.แต่การมีผู้คนหนีตายเข้ามาในเมืองหลวงอย่างที่ท่านพูดนั้น การหนีหายนะคือความตายอย่างนี้ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ถึงกับใช้คำว่า “Buddhist Exodus” ซึ่งแปลได้ว่าการทิ้งถิ่น หรือการจากไปของผู้คนที่เป็นไทยพุทธเป็นจำนวนมาก...ขนาดนั้นเลยทีเดียว!
สำหรับตัวผมนั้น บอกได้เลยอย่างไม่เกรงใจใครทั้งนั้นว่า ได้แต่นึกสาปแช่งรัฐบาลของนายก ‘เขียงยายเฒ่า’ ที่ไร้สมรรถภาพ (กำลังโดนขับไล่) ที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร ซึ่งทะลึ่งยึดเอาอำนาจไปจากประชาชน แต่ดันไม่เอาความรับผิดชอบไปเต็มๆ และไร้ความสามารถโดยสิ้นเชิง ในการรักษาความสงบของแผ่นดินนี้เอาไว้ให้ได้ ดีแต่ขี้คุย ขี้ถุย ทำอวดศักดา กร่างไปวันๆ ปล่อยให้ผู้คนในชาติต้องบาดเจ็บล้มตายลง ไม่เว้นแต่ละวัน ประชาชนต้องพากันอพยพหนีตาย อย่างที่ผอ.สุริยนต์ท่านพูดเอาไว้จริงๆ
น่าอนาถใจนัก!
ไม่น่าเชื่อว่า ทั้ง คมช.และรัฐบาลนี้ ยังด้านทำลอยหน้าลอยตา เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ในประเทศ คล้ายกับไร้ความรู้สึกร้อนหนาว เหมือนหนังหนาเสียเหลือเกิน มันช่างเป็นโชคร้ายของประเทศเราเสียเหลือเกิน ที่มีทั้งผู้นำรัฐบาลและผู้นำทางทหารอย่างนี้ จึงได้แต่สวดภาวนา
ขอให้คนพวกนี้ พ้นไปจากการปกครองบ้านเมืองเรา เสียในเร็ววัน!
เมื่อพูดถึงนักเรียนอพยพหนีภัยร้ายตามครอบครัว ก็ให้นึกถึงเหตุการณ์ความรุนแรงทางภาคใต้ โดยเฉพาะการลอบวางระเบิด เป็นเหตุให้พ.ต.อ.นพดล เผือกโสมณ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส ได้รับบาดเจ็บสาหัส และสูญเสียอวัยวะอย่างถาวร
มาบัดนี้ก็ดีใจที่อาการดีวันดีคืน ท่ามกลางความห่วงใยของประชาชน โดยเฉพาะเมื่อได้เห็นภาพชาวบ้านที่เป็นมุสลิมจากอำเภอระแงะ ที่ยกขบวนกันไปเยี่ยมที่โรงพยาบาล ติดป้ายข้างรถที่เขียนว่า “ขอให้พระเจ้าคุ้มครอง ให้พ.ต.อ.นพดล เผือกโสมณ” เพราะผู้คนอำเภอนี้รักเคารพนายตำรวจผู้นี้มาก
ตอนนี้เรื่องราวของนายตำรวจผู้กล้าหาญ ได้รับการถ่ายทอดลงตามหน้าหนังสือพิมพ์ แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องที่นักหนังสือพิมพ์ หรือผู้สื่อข่าวเป็นผู้จัดทำ แต่อยากให้ท่านผู้อ่านได้เห็นบทความของนายตำรวจ ผู้เป็นทั้งรุ่นพี่และอาจารย์ที่สนิทสนม ซึ่งพ.ต.อ.นพดลฯ รวมทั้งภริยาและบุตรสาวให้ความเคารพรักอย่างยิ่ง จึงขอตัดออกจากคอลัมน์ ตำรวจของประชาชน ชื่อ “นพดล เผือกโสมณ” จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับ๒๒ เม.ย.๒๕๕๐ อย่างไม่เกรงใจ ตอนหนึ่งคนเขียน เขาบอกว่า
“...ตัวตนของ พ.ต.อ.นพดลเป็นอย่างไร สื่อมวลชนทุกประเภทได้นำเสนอแง่มุมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ผู้เขียนในฐานะเป็นครู, พี่, และเพื่อนร่วมงานที่รู้จักสนิทสนมกับ พ.ต.อ.นพดลมาช้านาน ตั้งแต่เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2521 โดยเฉพาะในช่วง 3 ปี ของสงครามแย่งชิงประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ความสัมพันธ์ของเราเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะเพื่อนร่วมตาย (Buddy) เพราะทุกครั้งที่ผู้เขียนลงมาปฏิบัติภารกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ต.อ.นพดลจะต้องเป็นผู้กำหนดการ วางแผน และร่วมเดินทางไปด้วย โดยตลอดเวลาเราสองคนสวมเครื่องแบบตำรวจ ใช้ยานพาหนะเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล ปราศจากการเฝ้าระวังพื้นที่ในทุกจุดที่ต้องเข้าไปเยี่ยมเยียนครอบครัวตำรวจที่บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็น ยะหา บันนังสตา เจาะไอร้อง ระแงะ กรงปีนัง ฯลฯ
เหตุผลที่ไม่ปิดบังอำพรางการแต่งกาย เป็นเพราะคำพูดของ พ.ต.อ.นพดลที่บอกกับผู้เขียนบ่อยครั้งว่า "ตายในเครื่องแบบตำรวจ เป็นการทำหน้าที่ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์สมบูรณ์แบบ" ทุกเส้นทาง พ.ต.อ.นพดลจะบรรยายเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ จุดนั้นๆ พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นถึงวิธีการแก้ไขปัญหา ตัวอย่างเช่น การถูกซุ่มโจมตีเป็นเพราะการเข้า-ออกในเส้นทางซ้ำกัน การเคลื่อนจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งเป็นระยะเวลาที่แน่นอน เปิดช่องว่างให้ฝ่ายตรงข้ามทำอันตรายได้
ข้อมูลทั้งสถานที่และตัวบุคคลหรือแม้กระทั่งชื่อของผู้ต้องหา ผู้ต้องสงสัยเป็นภาษาอาหรับ หลั่งไหลจากสมองของ พ.ต.อ.นพดลฯเหมือนเก็บไว้ด้วยคอมพิวเตอร์แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ เรียนรู้ และแม่นยำในข้อมูลเป็นอย่างมาก
ที่น่าประทับใจมากก็คือ พ.ต.อ.นพดลฯได้รับการยอมรับจากส่วนราชการอื่น พ่อค้าและประชาชน เพราะทุกครั้งที่ต้องหยุดพักเพื่อตั้งหลักหรือรับประทานอาหาร จะต้องมีผู้คนมาสนทนาแสดงความดีใจที่ พ.ต.อ.นพดลฯได้แวะมาเยี่ยมเยียน บ่อยครั้งจะได้รับของฝากทั้งอาหารและผลไม้จากชาวบ้าน พ.ต.อ.นพดลฯ มีภาวะผู้นำสูงยิ่ง ตั้งแต่เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจได้รับคัดเลือกจากผู้บังคับบัญชาให้เป็นนักเรียนปกครอง ที่สำคัญยังเป็นนักกีฬาระดับหัวหน้าทีมรักบี้ฟุตบอลของ ร.ร.นรต.อีกด้วย คุณสมบัติดังกล่าวจึงหล่อหลอมตัวตนของ พ.ต.อ.นพดลให้มีจิตใจสูงรู้จัก แพ้ ชนะ และให้อภัย
ภายหลังสำเร็จการศึกษาออกมารับราชการในพื้นที่ภาคใต้จนได้รับเลื่อนยศเป็น ร.ต.อ.จึงได้ย้ายกลับไปเป็นนายตำรวจฝ่ายปกครองนักเรียนนายร้อยตำรวจในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยที่ 1
นรต.รุ่นที่ 48 ใต้ปกครองดูแลของ ร.ต.อ.นพดลกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า "ผู้กองป๋อง" เป็นแบบฉบับของนักเรียนนายร้อยตำรวจ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างนักเรียนจะวิ่ง ฝึก ผู้กองป๋องวิ่งด้วย ฝึกด้วย ถึงเวลากระโดดร่ม ผู้กองป๋องกระโดดดิ่งพสุธา (กระโดดร่มแบบกระตุกเอง) ให้นักเรียนได้ดูก่อนเป็นตัวอย่างเพื่อสร้างความเชื่อมั่น สร้างขวัญให้ทุกคนเห็นว่าความกลัว ระงับได้ด้วยสติ บรรเทาได้ด้วยการฝึกอย่างหนัก อดทน เหนือสิ่งอื่นใด ผู้กองป๋องเป็นคนมีเหตุผล ยุติธรรม และรับฟังความคิดเห็น
ที่สำคัญก็คือ ผู้กองป๋องเป็นสุภาพบุรุษ!!...”
เท่านี้..ท่านผู้อ่านคงมองเห็นภาพของนายตำรวจผู้กล้าหาญ ได้ชัดเจนมากขึ้น และผมอยากเพิ่มเติมข้อเขียนนี้อีกสักนิด เพื่อให้ท่านที่เคารพทราบอีกด้วย ว่า
พ.ต.อ.นพดลฯนั้น เป็นนายตำรวจสุภาพบุรุษที่ คิดถึงตัวเองน้อย เพราะคิดถึงผู้อื่นมากกว่าตน นอกจากนั้น ยังเป็นที่รู้กันในหมู่ตำรวจว่า คนอย่างคุณนพดลฯ ไม่พูดถึงข้อบกพร่องของบุคคลอื่น แต่จะพูดถึงแต่ส่วนที่ดีของเขาเท่านั้น และที่สำคัญคือ
เป็นผู้ที่รักลูก เมีย เพื่อนฝูง รักผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา เป็นคนประเภท ทำอะไรไปแล้ว รับผิดชอบหมด
ที่มติชนบอกว่าเป็นสุภาพบุรุษนั้น เป็นเพราะลักษณะสำคัญอย่างนี้ต่างหาก!
อยากจะบอกให้เพื่อนนายตำรวจ ที่มีโอกาสอ่านคอลัมน์นี้ เรื่องการเตรียมร่างกายของตัวเอง ให้อยู่ในสภาพพร้อมรบเสมอ ไม่ว่าท่านจะมีอายุเท่าใดก็ตาม หากอยู่ในราชการจะต้องตื่นตัวและคง ‘ความพร้อม’ เอาไว้ตลอดเวลา ประมาทไม่ได้อย่างเด็ดขาด
คุณนพดลฯนั้น เคยบาดเจ็บปางตายมาแล้ว เมื่อครั้งมีกรณีโจรนินจา ได้เสี่ยงชีวิตเข้าไปช่วยตำรวจพลร่ม ๒ นายที่ระแงะ จนถูกกลุ้มรุมทำร้ายได้รับบาดเจ็บสาหัส ถึงขั้นตับแตก สมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างหนัก ต้องพักรักษาตัวยาวนานกว่า ๒ เดือน แต่ก็กลับมายืนหยัด และมุ่งหน้าทำงานเพื่อชาติบ้านเมืองต่อไปได้ จนมาถูกระเบิดสาหัสสากรรจ์อีกในครั้งนี้ รอดชีวิตแล้วยังสามารถฟื้นตัวได้เหมือนเทวดาช่วยนั้น เป็นผลมาจากที่คุณนพดลฯฟิต และรักษาร่างกายอยู่ในสภาพพร้อมรบตลอดนั่นเอง
ด้วยความเป็นนักรักบี้ ที่ต้องมีร่างกายแข็งแกร่งสำหรับเกมหนัก และความไม่ย่อท้ออย่างนักกีฬาที่เป็นนักรบ บาดเจ็บปางตายมาแล้วก็ไม่เคยนึกประหวั่น
นายตำรวจใจเพชรผู้นี้ ไม่ได้แค่ใส่เกียรฺ์ห้า เดินหน้าเต็มสูบเท่านั้น แต่...
...เท้าของเขายังเหยียบคันเร่งจนมิด วิ่งควบทะยานเข้าต่อสู้กับพวกเหล่าร้ายที่ทำลายชาติอย่างไม่พรั่นพรึง เดินนำหน้าตำรวจผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมออกศึกและลงรบ ‘ตะลุมบอน’หอริราชศัตรูได้ทุกเวลาและโอกาส เป็นขวัญกำลังใจลูกน้องอย่างยิ่ง...เรื่องถอยหลังทำไม่เป็น และไม่เคยทำ
...เพราะถอยหลังแล้ว คงหกต้องล้มทันที!
ท่านผู้อ่านอาจไม่ทราบว่า ปัจจุบันนี้ มีนักกีฬารักบี้หลายคนที่อยู่ในตำแหน่งสำคัญ ที่กุมบังเหียนการสู้รบกับผู้ก่อการร้ายทางภาคใต้ เป็นนักรักบี้ที่มีความสามารถ เล่นอยู่ทีมเดียวกัน และเคยเป็นหัวหน้าทีมชาติไทยถึง ๒ คนคือ พล.ต.ท.เจตนากร นะภีตะภัฎ ผบช.ภ.๙ และ คุณพระนาย สุวรรณรัตน์ ผอ.ศอ.บต. จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความสัมพันธ์ของผู้บริหารระดับคีย์แมนทั้งสองในพื้นที่อันตราย จะต้องแน่นแฟ้นแค่ไหน
ไม่น่าเชื่อว่า บังเอิญที่ทั้งคุณพระนายและผู้บัญชาการเจตนากร มาจากโรงเรียนเดียว และคณะเดียวกับทั้งคนเขียนคอลัมน์ลงมติชน และผู้เขียนคอลัมน์ ‘กาแฟขม...ขนมหวาน’ นี้ด้วย...๕๕๕...
หลังเหตุการณ์เกิดขึ้นเพียงวันเดียว ผมและผู้อ่านอีกหลายท่าน คงได้มีโอกาสฟังเสียงของคุณถนอมจิตร์ ผู้เป็นภริยา และ เด็กหญิงกฤตวรรณ เผือกโสมณ หรือ น้องพลอย บุตรีของพ.ต.อ.นพดล ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับคุณสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา รายการ ‘เรื่องเศร้าเช้านี้’ ซึ่งได้เล่าความรู้สึกจากใจ เรียกน้ำตาจากผู้ฟังรายการได้เลยทีเดียว เพราะทุกคนซาบซึ้งในความรัก ของครอบครัวสามพ่อแม่ลูกนี้เป็นอย่างมาก
คุณถนอมจิตร์เล่าให้ฟังว่า ครอบครัว ‘เผือกโสมณ’ ของเธอพักอาศัยอยู่ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ส่วนสามีนั้นเพิ่งได้เลื่อนตำแหน่ง ไปเป็นรองผู้บังคับการตำรวจจังหวัด จ.นราธิวาส เมื่อเดือนตุลาปีที่ผ่านมานี้เอง สามีจะกลับมาเยี่ยมบ้านตามสะดวก อาทิตย์ละครั้ง หรือ ๒-๓ อาทิตย์ต่อครั้ง
แต่ที่สำคัญ และประทับใจผมมากเหลือเกิน คือ
คุณนพดลผู้เป็นพ่อ จะโทรศัพท์มาหาลูกสาวทุกวันๆละ ๔ ครั้ง ช่วงเช้าเวลาหกโมง สุภาพบุรุษตำรวจไทยผู้นี้ จะโทรไปปลุกหนูพลอยให้เตรียมตัวไปโรงเรียน ตอนเที่ยงก็โทรถามลูกว่า กินข้าวกลางวันหรือยัง ตอนเย็นโทรมาตรวจสอบว่า ลูกถึงบ้านเรียบร้อยดีไหม?
และก่อนนอน...โทรมาบอก “กู๊ดไนท์” กับหนูพลอยอีกครั้ง
ทำอย่างนี้ เป็นประจำทุกวัน ไม่เคยขาดแม้แต่วันเดียว!
การที่พ่อลูกได้คุยกันนี้ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ผมอยากให้ท่านผู้อ่านที่เป็นคุณพ่อ ลองปฏิบัติตามอย่างคุณนพดลฯดูบ้าง จะได้ผลดีเราจะสนิทสนมกับลูกมากขึ้น เพราะได้แลกเปลี่ยนปัญหา ถ่ายทอดความรักความห่วงใยให้กันและกัน พ่อช่วยแก้ปัญหาให้ลูก และลูกช่วยปลอบใจพ่อ
ยิ่งถ้าอยู่ห่างกัน หรือลูกไปศึกษาต่างจังหวัด ต้องติดต่อกันถี่มากยิ่งขึ้น ตรงนี้อยากให้ท่านผู้อ่านลองเข้าไปอ่านกาแฟขม...ขนมหวาน ตอนที่ ๑๗๔ “คุณคิดดูซิว่าคนไหน รักคุณรักยิ่งจริงใจ อยู่ที่ไหน..กันเล่า?” ผมเขียนเอาไว้ตอนหนึ่ง ว่า...
... ที่สำคัญแลอยากแนะนำผู้ปกครองคือ พ่อแม่ต้องโทรหาลูก และลูกต้องโทรหาพ่อแม่ ต้องกำหนดให้มีการรายงานกันทุกวัน อย่าได้ละเลยเป็นอันขาด มีเวลาก็ต้องขึ้นไปเยี่ยม ถึงเวลาปิดเทอมต้องกลับบ้าน อย่าปล่อยทิ้งไว้ ต้องทำให้เห็นว่า ‘บ้าน’ นั้นเป็นสถานที่สำคัญ
ที่พูดอย่างนี้ เพราะผมเห็นตัวอย่างที่ดีจากคนรู้จักกันดี ที่ลูกอยู่กับพ่อ โดยไม่มีแม่ แต่พ่อนั้นรักลูก และลูกก็รักพ่อมาก ระหว่างที่พ่อทำงาน ลูกสามารถโทรถามการบ้านได้ตลอดเวลา เพราะพ่อเป็นวิศวกรที่เก่งเอาการ สอบได้ทุนไปเรียนปริญญาโทมหาวิทยาลัยดีที่สุดแห่งหนึ่งในอังกฤษ เก่งทั้งคำนวณ ภาษาอังกฤษ และเข้าใจระบบการเรียนการสอนดี ตอนที่ลูกเรียนมัธยม การติวลูกเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้น พ่อทำเองโดยไม่ต้องกวดวิชา หากติดงานต่างจังหวัด ก็อธิบายข้อขัดข้องวิชาสำคัญให้ลูกฟังทางโทรศัพท์ จึงเป็นโชคดีของทั้งคู่ไปในที่สุด ลูกสอบเข้า คณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ได้ ขึ้นปีสามแล้ว (เปิดเทอมใหม่นี้ ขึ้นปีสุดท้าย) พ่อกับลูกคู่นี้ยังโทรหากันทุกวันเช้า-เย็น ต่างก็ปรับทุกข์ ยื่นสุข ให้กำลังใจซึ่งกันและกันอย่างอบอุ่นมิได้ขาด ตอนนี้สะดวกหน่อย ลูกสาวหากคิดถึงพ่อและน้องๆมาก ก็บินโลว์คอสไปกรุงเทพได้
ผมว่าพ่อลูกคู่นี้โชคดีทั้งสองคน เพราะอยู่ไกล...ก็เหมือนใกล้...
นั่นเป็นข้อเขียน จากหัวใจของผมจริงๆ
ดังนั้น ในโอกาสที่เปิดเทอมใหม่ กำลังจะมาถึงภายในไม่กี่วันนี้ ขอแนะนำให้ท่านผู้เป็นพ่อทั้งหลาย ลองเอาอย่าง พ.ต.อ.นพดลฯ ด้วยการโทรติดต่อลูกทุกวันมิได้ขาด แม้จะอยู่ในเมืองเดียวกันก็ตาม
ขออวยพรให้ท่านผู้อ่านมีลูกหลานที่ดีสมใจ เติบใหญ่จะได้เป็นพลเมืองดีของชาติต่อไป และก่อนจบข้อเขียนในวันนี้ ขอเพิ่มเติมอีกสักนิด
หากใครดูรายการ ‘เรื่องเล่าเช้านี้’ ที่เล่ามาข้างต้น ตอนหนึ่งนั้น คุณสรยุทธ์บอกว่า ตอนที่ พ.ต.อ.นพดลฯ โดนระเบิดแล้ว หนูพลอยไปเยี่ยมคุณพ่อ เธอบอกว่า
"คำแรกที่หนูเข้าไปกระซิบข้างหูพ่อ คือ พลอยรักพ่อ วันนี้พ่อยังไม่บอกรักหนูเลย พ่อต้องตื่นมาบอกรักหนู"
หนูพลอยบอกว่าเป็นประโยคเดิม ที่เธอเคยพูดตอนไปเยี่ยมคุณพ่อเมื่อ ๔ ปีก่อนในห้องไอซียู
แม่หนูให้สัมภาษณ์ต่ออีกว่า มันเหมือนเป็น ‘ปาฏิหาริย์’ โดยแท้...เพราะพอสิ้นเสียงกระซิบของเธอ ม่านตาที่ปิดสนิทของคุณพ่อสุดที่รัก ได้ออกอาการขยับเขยื้อนเล็กน้อย ส่วนนิ้วมือก็เริ่มจะขยับ ราวจะบ่งบอกให้รู้ว่า ผู้เป็นบิดาได้รับทราบถึงคำพูดลูกน้อยแล้ว
พลอยบอกว่า นั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า คุณพ่อผู้เป็นที่รักของลูก จะต้องกลับมาอีกครั้งหนึ่งเหมือนที่เคยทำสำเร็จมาเมื่อ ๔ ปีก่อน และก็เป็นจริงตามที่หนูน้อยคาดการณ์ไว้ เพราะพ่อผู้กล้าหาญของเธอกลับมาได้จริงๆ
ผมเชื่อโดยไม่ต้องไปถามเจ้าตัว ก็รู้แน่ว่า เมื่อสุภาพบุรุษนายตำรวจผู้หาญกล้าคนนี้ พอทุเลาและพูดได้แล้ว จะต้องบอกกับลูกสาวสุดที่รัก ว่า
“ จ้ะ...พ่อตื่นมาบอกรักหนูแล้ว!”
เปิดเทอมใหม่นี้ อยากขอความกรุณาท่านผู้อ่านที่เคารพ ได้โปรดระลึกถึงคำที่ผมตั้งใจจะถามท่านเป็นประจำทุกๆวัน ว่า
“วันนี้ท่านโทรบอก ‘รัก’ ลูกแล้วหรือยังครับ!!?”
ท้ายบท ก่อนเขียนบทความจบ เปิดผู้จัดการออนไลน์ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เห็นพาดหัวว่า
"พ.ต.อ.นพดล" ประกาศขอสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณไม่มีวันลืมเลือน
ดีใจจริงๆครับ!