ล้อของเครื่องบินโบอิ้ง 747 สายการบินคาเธย์แปซิฟิคจากฮ่องกงแตะพื้นรันเวย์สนามบินฮีทโธรว์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ผมเดินตามคุณสนธิ ลิ้มทองกุลลงจากเครื่องด้วยหัวสมองที่มึนงงเล็กน้อย หลังจากนั่งๆ นอนๆ คุดคู้อยู่บนเบาะที่นั่งอยู่เกือบสิบสามชั่วโมง
มองออกไปนอกหน้าต่างมีหยดน้ำฝนเกาะพราว ลมเย็นแทรกผ่านช่องว่างของงวงทางเดินที่เชื่อมต่อระหว่างเครื่องบินกับอาคารสนามบินเข้ามากระทบกับผิวกาย ภาพและความรู้สึกต่อลอนดอนของผม ณ เวลานั้นเป็นเช่นเดียวกันกับความทรงจำครั้งสุดท้ายที่ผูกโยงกับที่นี่เมื่อ 14 ปีก่อนไม่มีผิดเพี้ยน
14 ปีก่อนตั้งแต่ผมยังเป็นเด็กหนุ่มวัยละอ่อน ปีนั้นขณะที่ผมอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ที่เมืองไทยก็มีเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองเหมือนกัน ... ใช่! ปีนั้นคือปี พ.ศ.2535
เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2535 ผมเดินทางมาเรียนหนังสือที่ประเทศอังกฤษ และพักอยู่กับครอบครัวชาวอังกฤษครอบครัวหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอังกฤษ ช่วงหัวค่ำของวันหนึ่งแม่บ้านกับพ่อบ้านผู้อารี ตะโกนเสียงหลงเรียกผมให้รีบลงมาดูข่าวโทรทัศน์ภาคค่ำที่ชั้นล่าง ในโทรทัศน์อังกฤษฉายภาพการกราดกระสุนปืนของกลุ่มทหาร ภาพการจลาจล ภาพฝูงชนวิ่งกันอลหม่าน ภาพคนนอนนิ่งอยู่บนพื้นถนนราชดำเนิน ก่อนที่จะมีการแพร่ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และพล.อ.สุจินดา คราประยูรเข้าเฝ้า ...
7 ตุลาคม 2549 คุณสนธิ เดินทางไปบรรยายที่วิทยาลัยบูรพศึกษาและแอฟริกาศึกษา (SOAS) มหาวิทยาลัยลอนดอน คงไม่เพียงแต่ผมและคนไทยที่ยังจำภาพเหตุการณ์พฤษภาทมิฬได้ติดตา แต่บรรดาฝรั่งที่เข้าร่วมฟังการบรรยายก็จำมันได้ขึ้นใจเช่นกัน
จะว่าไปแล้ว 'กรุงลอนดอน' แห่งนี้ก็มีความเกี่ยวพันกับการทำรัฐประหารของไทยทั้งสองครั้งหลายอย่าง เมื่อ 14 ปีก่อนขณะที่ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ถูกทำรัฐประหารยึดอำนาจจากคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) หลังจากถูกปล่อยตัวท่านก็เดินทางมาพำนักยังกรุงลอนดอน และ พ.ศ.นี้เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรถูกรัฐประหารยึดอำนาจจากคณะปฏิรูปการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เขาก็พาครอบครัวหนีมาหลบอยู่ที่กรุงลอนดอนเช่นกัน
ในส่วนของคุณสนธิ ก่อนเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ.2535 หลังจากสั่งให้กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันพิมพ์หนังสือแท็บลอยด์ฉบับพิเศษนับแสนๆ ฉบับเพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงการประท้วงไล่ 'บิ๊กสุ' ที่สนามหลวงและควักกระเป๋าเป็นค่าข้าวหนุนการประท้วง จนทำให้ถูก รสช.คุกคามชีวิตอย่างหนัก คุณสนธิก็เดินทางหลบมายังประเทศอังกฤษเช่นกัน
จริงๆ แล้วอพาร์ทเมนต์เลขที่ 55 ถนนปาร์คเลน ย่านสุดหรูของกรุงลอนดอนของ พ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัว นั้นอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยลอนดอนไปเพียงไม่กี่นาทีรถยนต์ ฝรั่งหลายคนทักท้วงว่าทำไมทางผู้จัดงานสัมมนาคือ SOAS ไม่เชิญวิทยากรฝั่ง พ.ต.ท.ทักษิณ มาร่วมบรรยายด้วยเพื่อให้เกิดความสมดุลของทั้งสองฝั่ง ในประเด็นนี้ทางคุณราเชล ผู้จัดก็ตอบว่าจะเชิญแน่ๆ ในอนาคตอันใกล้นี้ (แต่เชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณก็คงไม่มาแน่ๆ เช่นกัน)
ถึงแม้ว่าใครหลายคนจะบอกว่าการเมืองแบบไทยๆ ประชาธิปไตยแบบไทยๆ เหตุผลในการทำรัฐประหารแบบไทยๆ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไทยๆ จะให้อธิบายยังไงฝรั่งก็คงไม่รู้เรื่อง แต่คนไทยเราก็ต้องยอมรับประการหนึ่งว่า ฝรั่งเขามีความใฝ่รู้ เปิดกว้างที่จะถามที่จะหาคำตอบในเรื่องที่เขาสงสัย และเขาก็กล้าที่จะถามตรงๆ อย่างไม่อ้อมค้อม!
นี่เองเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้จัดถึงคาดเดาไว้ล่วงหน้าว่ายังไงๆ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็คงจะไม่ตอบรับคำเชิญของทาง SOAS แน่ๆ ทั้งๆ ที่อพาร์ทเมนท์ของ พ.ต.ท.ทักษิณก็อยู่ใกล้ๆ กับมหาวิทยาลัยลอนดอนแค่นิดเดียว และก็เหตุผลประการเดียวกันนี้เองที่ทำให้คุณสนธิต้องบินข้ามโลกมาเจองานหนักถึงประเทศอังกฤษ
"ประเทศไทยจะต้องทำอย่างไร จึงจะหลุดพ้นจากวัฏจักรเดิมๆ ของการทำรัฐประหาร ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เลือกตั้งอีก และจะทำเช่นไรเพื่อที่ป้องกันไม่ให้เกิดคนอย่างทักษิณที่บิดเบือนและใช้ช่องว่างจากรัฐธรรมนูญเพื่อหาประโยชน์ใส่ตนเองและพวกพ้องอีก?"
คำถามข้างต้นมาจากฝรั่งคนหนึ่งในห้องสัมมนาที่ผมคิดว่าเข้าท่าที่สุดคำถามหนึ่งในงานที่ SOAS วันนั้น และก็ต้องยอมรับว่าคำถามนี้เป็นคำถามที่ตอบยาก แต่ก็ตรงไปตรงมาที่สุดเช่นกัน
ตั้งแต่มีการทำรัฐประหารล้มรัฐบาลของคุณทักษิณเป็นต้นมา นอกเหนือจากเสียงเพรียกให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว กลับไม่มีใครสนใจตอบคำถามนี้อย่างจริงจังเท่าใดนัก
"ถึงเวลานี้ผมก็ยังคงเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2540 ยังคงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ดีที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีมาอยู่ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเพียงข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อยที่สามารถแก้ไขได้ แต่ที่ผมเสียดายที่สุดก็คือประเทศไทยได้พลาดโอกาสที่สำคัญที่สุดไปในยุคทักษิณ ชินวัตร ... " คุณสนธิกล่าวตอบคนฟังทั้งห้องในวันที่ 7 ตุลาคม
ดังเช่นที่คุณสนธิกล่าว ทักษิณและพรรคไทยรักไทยได้ 'ใช้โอกาส' ในการขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจ-สังคมไทยจากเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 เอื้ออำนวยและเปิดกว้างไว้เต็มที่อย่างสิ้นเปลือง จนอาจกล่าวได้ว่าค่าเสียโอกาสของชาวไทยในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา ทั้งในด้านของเวลาและเงินทองมิอาจประเมินมูลค่าได้
สาวกแห่งระบอบทักษิณ หลายคนมักจะกล่าวโต้ตอบการออกมาโต้แย้ง และคัดง้างทักษิณโดย คุณสนธิ กลุ่มพันธมิตรฯ รวมไปถึงการทำรัฐประหารของ คปค. ว่าทำให้ประเทศไทยล้าหลัง โดยพยายามชี้ให้เห็นว่า ในทางเศรษฐกิจขณะนี้เพื่อนบ้านใกล้เคียงอย่างเช่น ประเทศเวียดนามนั้นได้ไล่ตีตื้นประเทศไทยเข้ามาอย่างกระชั้นชิดแล้ว
ถามกลับว่า แล้วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาที่ทักษิณและพรรคไทยรักไทยยังกุมอำนาจในการบริหารประเทศเต็มที่นั้น พวกเขาทำอะไรอยู่?!? และเหตุใดจึงปล่อยให้เวียดนามที่แต่เดิมตามหลังไทยประมาณ 20 ปีบีบช่องว่างให้เหลือเพียง 10 ปีเท่านั้น?
นี่เป็นตัวอย่างเล็กๆ เพียงประการหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึง 'ค่าเสียโอกาส' ที่คนไทยและประเทศไทยต้องเสียไปภายใต้น้ำมือการบริหารงานของทักษิณ
"คณะทหารที่ทำรัฐประหารจำเป็นต้องทราบว่า จุดมุ่งหมายของการทำรัฐประหารไม่ใช่การทำรัฐประหารหรือการทำให้คนอย่างทักษิณหลุดออกจากอำนาจ แต่จุดมุ่งหมายของการทำรัฐประหารครั้งนี้นั้นคือ การทำให้การเมืองไทยดีขึ้น!" คุณสนธิกล่าวต่อ
วลี "ทำให้การเมืองไทยดีขึ้น" ของคุณสนธิคืออะไร? เหล่าทหารผู้ทำรัฐประหารคงต้องแสวงหาคำตอบในส่วนนี้เองว่าตนเองจะทำให้การเมืองไทยดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง?
ในส่วนของประชาชนและสื่อมวลชน เราก็มีหน้าที่เช่นกันที่จะต้องเดินหน้าปฏิรูปให้การศึกษาของชาติเข้มแข็ง สร้างวัฒนธรรมทางการเมืองของชาติสอดคล้องกับคุณธรรม-ศีลธรรม พัฒนาภาคประชาชนเข้มแข็ง ทำให้สื่อสารมวลชนมีอิสระที่แท้จริงโดยไม่ให้กลับไปซ้ำรอยเดิมกับกรณีไอทีวีอีก
มิฉะนั้นในอีก 14-15 ปีข้างหน้ากรุงลอนดอนก็คงมีโอกาสได้ต้อนรับนักการเมืองไทยขี้ฉ้อ ส่วนนักวิชาการอังกฤษก็คงได้ตั้งคำถามเดิมๆ กับคนไทยซ้ำไปซ้ำมาอย่างนี้อีก
มองออกไปนอกหน้าต่างมีหยดน้ำฝนเกาะพราว ลมเย็นแทรกผ่านช่องว่างของงวงทางเดินที่เชื่อมต่อระหว่างเครื่องบินกับอาคารสนามบินเข้ามากระทบกับผิวกาย ภาพและความรู้สึกต่อลอนดอนของผม ณ เวลานั้นเป็นเช่นเดียวกันกับความทรงจำครั้งสุดท้ายที่ผูกโยงกับที่นี่เมื่อ 14 ปีก่อนไม่มีผิดเพี้ยน
14 ปีก่อนตั้งแต่ผมยังเป็นเด็กหนุ่มวัยละอ่อน ปีนั้นขณะที่ผมอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ที่เมืองไทยก็มีเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองเหมือนกัน ... ใช่! ปีนั้นคือปี พ.ศ.2535
เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2535 ผมเดินทางมาเรียนหนังสือที่ประเทศอังกฤษ และพักอยู่กับครอบครัวชาวอังกฤษครอบครัวหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอังกฤษ ช่วงหัวค่ำของวันหนึ่งแม่บ้านกับพ่อบ้านผู้อารี ตะโกนเสียงหลงเรียกผมให้รีบลงมาดูข่าวโทรทัศน์ภาคค่ำที่ชั้นล่าง ในโทรทัศน์อังกฤษฉายภาพการกราดกระสุนปืนของกลุ่มทหาร ภาพการจลาจล ภาพฝูงชนวิ่งกันอลหม่าน ภาพคนนอนนิ่งอยู่บนพื้นถนนราชดำเนิน ก่อนที่จะมีการแพร่ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และพล.อ.สุจินดา คราประยูรเข้าเฝ้า ...
7 ตุลาคม 2549 คุณสนธิ เดินทางไปบรรยายที่วิทยาลัยบูรพศึกษาและแอฟริกาศึกษา (SOAS) มหาวิทยาลัยลอนดอน คงไม่เพียงแต่ผมและคนไทยที่ยังจำภาพเหตุการณ์พฤษภาทมิฬได้ติดตา แต่บรรดาฝรั่งที่เข้าร่วมฟังการบรรยายก็จำมันได้ขึ้นใจเช่นกัน
จะว่าไปแล้ว 'กรุงลอนดอน' แห่งนี้ก็มีความเกี่ยวพันกับการทำรัฐประหารของไทยทั้งสองครั้งหลายอย่าง เมื่อ 14 ปีก่อนขณะที่ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ถูกทำรัฐประหารยึดอำนาจจากคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) หลังจากถูกปล่อยตัวท่านก็เดินทางมาพำนักยังกรุงลอนดอน และ พ.ศ.นี้เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรถูกรัฐประหารยึดอำนาจจากคณะปฏิรูปการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เขาก็พาครอบครัวหนีมาหลบอยู่ที่กรุงลอนดอนเช่นกัน
ในส่วนของคุณสนธิ ก่อนเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ.2535 หลังจากสั่งให้กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันพิมพ์หนังสือแท็บลอยด์ฉบับพิเศษนับแสนๆ ฉบับเพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงการประท้วงไล่ 'บิ๊กสุ' ที่สนามหลวงและควักกระเป๋าเป็นค่าข้าวหนุนการประท้วง จนทำให้ถูก รสช.คุกคามชีวิตอย่างหนัก คุณสนธิก็เดินทางหลบมายังประเทศอังกฤษเช่นกัน
จริงๆ แล้วอพาร์ทเมนต์เลขที่ 55 ถนนปาร์คเลน ย่านสุดหรูของกรุงลอนดอนของ พ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัว นั้นอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยลอนดอนไปเพียงไม่กี่นาทีรถยนต์ ฝรั่งหลายคนทักท้วงว่าทำไมทางผู้จัดงานสัมมนาคือ SOAS ไม่เชิญวิทยากรฝั่ง พ.ต.ท.ทักษิณ มาร่วมบรรยายด้วยเพื่อให้เกิดความสมดุลของทั้งสองฝั่ง ในประเด็นนี้ทางคุณราเชล ผู้จัดก็ตอบว่าจะเชิญแน่ๆ ในอนาคตอันใกล้นี้ (แต่เชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณก็คงไม่มาแน่ๆ เช่นกัน)
ถึงแม้ว่าใครหลายคนจะบอกว่าการเมืองแบบไทยๆ ประชาธิปไตยแบบไทยๆ เหตุผลในการทำรัฐประหารแบบไทยๆ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไทยๆ จะให้อธิบายยังไงฝรั่งก็คงไม่รู้เรื่อง แต่คนไทยเราก็ต้องยอมรับประการหนึ่งว่า ฝรั่งเขามีความใฝ่รู้ เปิดกว้างที่จะถามที่จะหาคำตอบในเรื่องที่เขาสงสัย และเขาก็กล้าที่จะถามตรงๆ อย่างไม่อ้อมค้อม!
นี่เองเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้จัดถึงคาดเดาไว้ล่วงหน้าว่ายังไงๆ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็คงจะไม่ตอบรับคำเชิญของทาง SOAS แน่ๆ ทั้งๆ ที่อพาร์ทเมนท์ของ พ.ต.ท.ทักษิณก็อยู่ใกล้ๆ กับมหาวิทยาลัยลอนดอนแค่นิดเดียว และก็เหตุผลประการเดียวกันนี้เองที่ทำให้คุณสนธิต้องบินข้ามโลกมาเจองานหนักถึงประเทศอังกฤษ
"ประเทศไทยจะต้องทำอย่างไร จึงจะหลุดพ้นจากวัฏจักรเดิมๆ ของการทำรัฐประหาร ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เลือกตั้งอีก และจะทำเช่นไรเพื่อที่ป้องกันไม่ให้เกิดคนอย่างทักษิณที่บิดเบือนและใช้ช่องว่างจากรัฐธรรมนูญเพื่อหาประโยชน์ใส่ตนเองและพวกพ้องอีก?"
คำถามข้างต้นมาจากฝรั่งคนหนึ่งในห้องสัมมนาที่ผมคิดว่าเข้าท่าที่สุดคำถามหนึ่งในงานที่ SOAS วันนั้น และก็ต้องยอมรับว่าคำถามนี้เป็นคำถามที่ตอบยาก แต่ก็ตรงไปตรงมาที่สุดเช่นกัน
ตั้งแต่มีการทำรัฐประหารล้มรัฐบาลของคุณทักษิณเป็นต้นมา นอกเหนือจากเสียงเพรียกให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว กลับไม่มีใครสนใจตอบคำถามนี้อย่างจริงจังเท่าใดนัก
"ถึงเวลานี้ผมก็ยังคงเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2540 ยังคงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ดีที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีมาอยู่ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเพียงข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อยที่สามารถแก้ไขได้ แต่ที่ผมเสียดายที่สุดก็คือประเทศไทยได้พลาดโอกาสที่สำคัญที่สุดไปในยุคทักษิณ ชินวัตร ... " คุณสนธิกล่าวตอบคนฟังทั้งห้องในวันที่ 7 ตุลาคม
ดังเช่นที่คุณสนธิกล่าว ทักษิณและพรรคไทยรักไทยได้ 'ใช้โอกาส' ในการขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจ-สังคมไทยจากเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 เอื้ออำนวยและเปิดกว้างไว้เต็มที่อย่างสิ้นเปลือง จนอาจกล่าวได้ว่าค่าเสียโอกาสของชาวไทยในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา ทั้งในด้านของเวลาและเงินทองมิอาจประเมินมูลค่าได้
สาวกแห่งระบอบทักษิณ หลายคนมักจะกล่าวโต้ตอบการออกมาโต้แย้ง และคัดง้างทักษิณโดย คุณสนธิ กลุ่มพันธมิตรฯ รวมไปถึงการทำรัฐประหารของ คปค. ว่าทำให้ประเทศไทยล้าหลัง โดยพยายามชี้ให้เห็นว่า ในทางเศรษฐกิจขณะนี้เพื่อนบ้านใกล้เคียงอย่างเช่น ประเทศเวียดนามนั้นได้ไล่ตีตื้นประเทศไทยเข้ามาอย่างกระชั้นชิดแล้ว
ถามกลับว่า แล้วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาที่ทักษิณและพรรคไทยรักไทยยังกุมอำนาจในการบริหารประเทศเต็มที่นั้น พวกเขาทำอะไรอยู่?!? และเหตุใดจึงปล่อยให้เวียดนามที่แต่เดิมตามหลังไทยประมาณ 20 ปีบีบช่องว่างให้เหลือเพียง 10 ปีเท่านั้น?
นี่เป็นตัวอย่างเล็กๆ เพียงประการหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึง 'ค่าเสียโอกาส' ที่คนไทยและประเทศไทยต้องเสียไปภายใต้น้ำมือการบริหารงานของทักษิณ
"คณะทหารที่ทำรัฐประหารจำเป็นต้องทราบว่า จุดมุ่งหมายของการทำรัฐประหารไม่ใช่การทำรัฐประหารหรือการทำให้คนอย่างทักษิณหลุดออกจากอำนาจ แต่จุดมุ่งหมายของการทำรัฐประหารครั้งนี้นั้นคือ การทำให้การเมืองไทยดีขึ้น!" คุณสนธิกล่าวต่อ
วลี "ทำให้การเมืองไทยดีขึ้น" ของคุณสนธิคืออะไร? เหล่าทหารผู้ทำรัฐประหารคงต้องแสวงหาคำตอบในส่วนนี้เองว่าตนเองจะทำให้การเมืองไทยดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง?
ในส่วนของประชาชนและสื่อมวลชน เราก็มีหน้าที่เช่นกันที่จะต้องเดินหน้าปฏิรูปให้การศึกษาของชาติเข้มแข็ง สร้างวัฒนธรรมทางการเมืองของชาติสอดคล้องกับคุณธรรม-ศีลธรรม พัฒนาภาคประชาชนเข้มแข็ง ทำให้สื่อสารมวลชนมีอิสระที่แท้จริงโดยไม่ให้กลับไปซ้ำรอยเดิมกับกรณีไอทีวีอีก
มิฉะนั้นในอีก 14-15 ปีข้างหน้ากรุงลอนดอนก็คงมีโอกาสได้ต้อนรับนักการเมืองไทยขี้ฉ้อ ส่วนนักวิชาการอังกฤษก็คงได้ตั้งคำถามเดิมๆ กับคนไทยซ้ำไปซ้ำมาอย่างนี้อีก