พาณิชย์เบรกค้าปลีกขยายตัว ...... ผู้จัดการรายวัน
สมาคมค้าปลีกร้องพาณิชย์ไกด์ไลน์ไม่เป็นธรรม ...... กรุงเทพธุรกิจ
งัดโทษจำคุกเบรกห้างยักษ์ผุดสาขาหลังร่อนหนังสือขอความร่วมมือไม่สำเร็จ ...... มติชน
กม.ค้าปลีกฝุ่นตลบ"พาณิชย์"ลั่นหยุดรุกชุมชน ...... โพสต์ทูเดย์
หนังสือพิมพ์หลายฉบับของวันที่ 7 กันยายน 2549 ต่างพาดหัวไปในทิศทางเดียวกันว่า รักษาการรัฐมนตรีพาณิชย์จากพรรคไทยรักไทยต้องวิ่งกันขาขวิดหลังจากที่ก่อนหน้านั้นสองวัน (5 ก.ย.) ตัวแทนของสมาพันธ์ต้านค้าปลีกข้ามชาติจากหลายจังหวัดทั่วประเทศได้เข้าถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อคัดค้านการที่ห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ โดยเฉพาะห้างเทสโก้ โลตัส ที่มีโครงการจะไปเปิดสาขาในระดับอำเภอ ตามจังหวัดต่างๆ

ที่สำคัญก็คือ สมาพันธ์ต้านค้าปลีกข้ามชาติได้ประกาศขู่ว่าถ้าหากรัฐบาลไม่แก้ไขเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน ในการเลือกตั้งทั่วไปที่จะถึงนี้พรรคไทยรักไทยเตรียมน้ำตาเช็ดหัวเข่าแน่!
ผมพลิกอ่านข่าวพาดหัวเกี่ยวกับความล่มสลายของร้านค้าปลีกรายย่อยในชุมชนเล็กๆ น้อยๆ ตามหนังสือพิมพ์หลายฉบับวันนี้ (7 ก.ย.) แล้วก็พลันนึกย้อนทบทวนไปถึงข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ผู้จัดการตั้งแต่เมื่อ 6-7 ปีก่อนตั้งแต่ตัวเองเพิ่งเรียนจบและก้าวเข้ามาเป็นผู้สื่อข่าวใหม่ๆ
ผมจำได้แม่นว่าหนังสือพิมพ์ผู้จัดการหลังยุควิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.2540 ที่ชูธงนำว่า "เพื่อภูมิปัญญาตะวันออก" เป็นสื่อมวลชนไทยฉบับแรกๆ นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับความล่มสลายของค้าปลีกท้องถิ่น-โชวห่วย (โชห่วย) การรุกคืบเข้ามาของทุนค้าปลีกข้ามชาติอย่างต่อเนื่องได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาในสังคมไทยเป็นวงกว้าง จนทำให้พรรคไทยรักไทยที่ตอนนั้นเพิ่งจะกระโดดลงสนามเลือกตั้งเป็นครั้งแรกและเสนอตัวที่จะเข้ามาบริหารประเทศต้องออกหาเสียงว่า พรรคไทยรักไทยจะออกนโยบายเฉพาะมาเพื่อปกป้องเหล่าผู้ประกอบการค้าปลีกท้องถิ่น-โชวห่วยไม่ให้ต้องล่มหายตายจากไปมากกว่านี้
ในปีแรกของการบริหารงาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ผู้อาสามารับผิดชอบภารกิจเร่งด่วน "ช่วยชีวิตค้าปลีกท้องถิ่น" ก็คือ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันที่ชื่อ เนวิน ชิดชอบ!
นโยบาย "ช่วยชีวิตค้าปลีกท้องถิ่น" ดังกล่าวของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยถูกแปรเปลี่ยนเป็นรูปธรรม กลายเป็น องค์การมหาชนรวมค้าปลีกเข้มแข็ง (Allied Retail Trade:ART) หรือ เออาร์ที
เออาร์ที่มีชื่อเล่นที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า 'องค์การโชวห่วยแห่งชาติ' เกิดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2545 โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณรวม 395 ล้านบาทจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยตั้งจุดมุ่งหมายไว้อย่างสวยหรูว่าจะเป็นองค์การที่ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ร้านค้าปลีกรายย่อย และมีเป้าหมายว่าภายในกำหนดเวลา 5 ปี จะสามารถระดมร้านค้าปลีกรายย่อยเข้าร่วมโครงการได้ 100,000 ราย โดย รมต.เนวินผู้เป็นต้นคิดองค์การโชวห่วยแห่งชาตินี้ขึ้นป่าวประกาศไว้ว่าองค์การโชวห่วยฯ จะช่วยสร้างอำนาจการต่อรองให้แก่โชวห่วยทั่วประเทศไทยดังเช่นที่ ดิสเคานต์สโตร์ ไฮเปอร์สโตร์ ใช้ต่อรองกับผู้ผลิตสินค้า (ซับพลายเออร์) ทั้งหลาย
นอกจากนี้รัฐบาลไทยรักไทยยังขายฝันอีกด้วยว่า องค์การโชวห่วยฯ นี้จะสามารถพัฒนาเครือข่ายให้ไปเชื่อมโยงเข้ากับโครงการ SMEs และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ทั้งยังจะพัฒนาให้กลายเป็นเครือข่ายค้าปลีกที่แข่งขันกับธุรกิจค้าปลีกข้ามชาติทุนหนาอย่างเช่น เทสโก (อังกฤษ) แม็คโคร (เนเธอร์แลนด์) คาร์ฟูร์ (ฝรั่งเศส) บิ๊กซี (ฝรั่งเศส) ฯลฯ รวมถึงค้าปลีกแบบใหม่ (Modern Trade) อย่าง 7-11 หรือ แฟมิลี่มาร์ท (ญี่ปุ่น) ได้ในอนาคต
ปลายปี 2545 หลังรัฐบาลไทยรักไทยทำคลอดองค์การโชวห่วยฯ ได้ไม่นานก็กำหนดแผนพัฒนาองค์การแห่งนี้โดยมีกรอบว่า องค์กรแห่งนี้จะดำเนินการบริหารในรูปแบบของการบริหารองค์กรเอกชนเพื่อแข่งขันกับอภิมหาทุนจากต่างชาติ มิใช่องค์การในรูปรัฐวิสาหกิจที่รัฐสามารถเข้าอุ้มชูได้โดยสะดวก ทั้งยังไม่ได้ออกมาตรการใดๆ ที่จะเข้ามาควบคุมทุนค้าปลีกข้ามชาติไม่ให้รุกเข้าไปยังชุมชนต่างๆ เลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการเอาจริงเอาจังกับการแก้ไขกฎหมายผังเมือง การจัดโซนนิ่งค้าปลีกให้กระจายอยู่นอกเมือง ฯลฯ ทำให้นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ระดับคุรุอย่าง ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ก็ออกมาฟันธงอย่างตรงไปตรงมาว่า
"นโยบายองค์การโชวห่วยแห่งชาติของไทยรักไทยนี้เป็นเพียงนโยบายผักชีโรยหน้า-ลูบหน้าปะจมูกของพรรคไทยรักไทยเท่านั้น โดยจะไม่เกิดผลในการแก้ไขปัญหาใดๆ ทั้งองค์การฯ แห่งนี้จะกลายเป็นองค์กรที่เป็นรากฐานและเครื่องมือของนักการเมือง ดังเช่นที่เคยเกิดกับ องค์การสรรพาหาร สำนักงานข้าว องค์การคลังสินค้า องค์การค้าของคุรุสภาฯ ....." เท่านั้น
เวลาผ่านไปเกือบ 5 ปี เออาร์ที ได้กลายสภาพจากองค์การมหาชนรวมค้าปลีกเข้มแข็งเป็นบริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง จำกัด ส่วนผลลัพธ์จากนโยบายที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2545 นั้นบอกได้คำเดียวว่า ล้มเหลว!
ต้นเดือนมกราคม 2549 นางเพ็ญนภา ธนสารศิลป์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง จำกัด ออกมายอมรับว่าปัจจุบันสมาชิกของเออาร์ทีนั้นมีอยู่ไม่ถึงสองหมื่นราย โดยเป้าหมายการเติบโตในปี 2549 นั้นจะเพิ่มสมาชิกให้เป็น 18,000 ราย ทั้งๆ ที่ในปีหน้า ปี 2550 จำนวนสมาชิกของเออาร์ทีจะต้องอยู่ที่ 100,000 ราย ตามเป้าหมายดั้งเดิม!!!
จริงๆ แล้วความล้มเหลวของเออาร์ที ก็คงไม่ได้เป็นเรื่องที่เหนือความคาดหมายอะไรหากพิจารณาจากคำทำนายของ อ.รังสรรค์และสื่อมวลชนที่ต่างก็ชี้ให้เห็นตั้งแต่แรกแล้วว่า ด้วยแนวการดำเนินการของรัฐบาลที่ปล่อยให้องค์การที่เกิดใหม่ ยังแบเบาะอย่างเออาร์ทีใช้ระบบการบริหารงานแบบเอกชน กระโดดลงไปสู้รบปรบมือกับบริษัทค้าปลีกข้ามชาติที่มีเงินถุงเงินถังรายละเป็นแสนๆ ล้านบาท ผลจะเป็นเช่นไรก็คงรู้อยู่
....... อุปมาอุปมัยได้กับการส่งเด็กทารกอมมือขึ้นเวทีไปชกกับนักชกรุ่นเฮฟวีเวต ผลแพ้ชนะนั้นย่อมถูกตัดสินตั้งแต่ยังไม่ขึ้นสังเวียน
กรณีความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงของเออาร์ที การผลาญงบประมาณไปหลายร้อยล้านบาทในการวางระบบไอทีให้กับเออาร์ที รวมถึงการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วราวกับไฟลามทุ่งของดิสเคาท์สโตร์ ไฮเปอร์สโตร์ โมเดิร์นเทรด หรือ สาขาย่อยที่มีลักษณะคล้ายเป็นร้านลูกของดิสเคาท์สโตร์ที่สามารถแตกตัวลงไปยังชุมชน ไปยังตำบล ไปยังอำเภอเล็กๆ ไปทั่วประเทศ ดังสถิติจากกระทรวงพาณิชย์ที่ระบุว่าสาขาของธุรกิจค้าส่งสมัยใหม่ได้เพิ่มจำนวนขึ้นจาก 1,821 สาขาในปี 2544 กลายเป็น 3,999 สาขาในปี 2549 หรือเพิ่มขึ้นมากกว่าหนึ่งเท่าตัว ได้ชี้ให้เห็นถึงความไม่จริงจัง ไม่จริงใจ และไม่รักษาสัญญาของรัฐบาลไทยรักไทยที่มีต่อชุมชน ต่อท้องถิ่นไม่เว้นแม้แต่ในประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ (จ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ตาก ฯลฯ) หรือ ภาคอีสาน (จ.ขอนแก่น สกลนคร ฯลฯ) อันเป็นฐานเสียงของตนเอง
กรณีดังกล่าวก็ยังเป็นหลักฐานที่ตอกย้ำให้เราเห็นได้อย่างเด่นชัดว่า แท้จริงแล้ว พรรคไทยรักไทยไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนรากหญ้า ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนภาคเหนือ-อีสาน แต่เป็นตัวแทนของทุนชาติ ทุนต่างชาติ ทุนข้ามชาติ ที่พร้อมจะฮุบ ตะครุบ แย่งชิงพื้นที่ทำกินของประชาชนไทยในทุกภูมิภาค
จากเหตุการณ์ การออกมาเรียกร้องให้รัฐออกมาปกป้องร้านค้าปลีกท้องถิ่น จนถึงขนาดยื่นฎีกาถวายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันนี้ หากเราย้อนไปพิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 4-5 ปีก่อนก็จะเห็นได้ว่าประวัติศาสตร์ได้ย้อนกลับมาซ้ำรอยเดิมแล้วอีกครั้ง
แล้วก็เชื่อแน่ได้เลยว่าการแก้ไขของรัฐบาลไทยรักไทยกรณีค้าปลีกท้องถิ่นใน พ.ศ.นี้ ก็จะเป็นเพียงการออกมาแสดงท่าทีขึงขังเพียงชั่วคราว และก็จะเป็น "โชว์ห่วยๆ" เหมือนเดิม
สมาคมค้าปลีกร้องพาณิชย์ไกด์ไลน์ไม่เป็นธรรม ...... กรุงเทพธุรกิจ
งัดโทษจำคุกเบรกห้างยักษ์ผุดสาขาหลังร่อนหนังสือขอความร่วมมือไม่สำเร็จ ...... มติชน
กม.ค้าปลีกฝุ่นตลบ"พาณิชย์"ลั่นหยุดรุกชุมชน ...... โพสต์ทูเดย์
หนังสือพิมพ์หลายฉบับของวันที่ 7 กันยายน 2549 ต่างพาดหัวไปในทิศทางเดียวกันว่า รักษาการรัฐมนตรีพาณิชย์จากพรรคไทยรักไทยต้องวิ่งกันขาขวิดหลังจากที่ก่อนหน้านั้นสองวัน (5 ก.ย.) ตัวแทนของสมาพันธ์ต้านค้าปลีกข้ามชาติจากหลายจังหวัดทั่วประเทศได้เข้าถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อคัดค้านการที่ห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ โดยเฉพาะห้างเทสโก้ โลตัส ที่มีโครงการจะไปเปิดสาขาในระดับอำเภอ ตามจังหวัดต่างๆ
ที่สำคัญก็คือ สมาพันธ์ต้านค้าปลีกข้ามชาติได้ประกาศขู่ว่าถ้าหากรัฐบาลไม่แก้ไขเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน ในการเลือกตั้งทั่วไปที่จะถึงนี้พรรคไทยรักไทยเตรียมน้ำตาเช็ดหัวเข่าแน่!
ผมพลิกอ่านข่าวพาดหัวเกี่ยวกับความล่มสลายของร้านค้าปลีกรายย่อยในชุมชนเล็กๆ น้อยๆ ตามหนังสือพิมพ์หลายฉบับวันนี้ (7 ก.ย.) แล้วก็พลันนึกย้อนทบทวนไปถึงข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ผู้จัดการตั้งแต่เมื่อ 6-7 ปีก่อนตั้งแต่ตัวเองเพิ่งเรียนจบและก้าวเข้ามาเป็นผู้สื่อข่าวใหม่ๆ
ผมจำได้แม่นว่าหนังสือพิมพ์ผู้จัดการหลังยุควิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.2540 ที่ชูธงนำว่า "เพื่อภูมิปัญญาตะวันออก" เป็นสื่อมวลชนไทยฉบับแรกๆ นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับความล่มสลายของค้าปลีกท้องถิ่น-โชวห่วย (โชห่วย) การรุกคืบเข้ามาของทุนค้าปลีกข้ามชาติอย่างต่อเนื่องได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาในสังคมไทยเป็นวงกว้าง จนทำให้พรรคไทยรักไทยที่ตอนนั้นเพิ่งจะกระโดดลงสนามเลือกตั้งเป็นครั้งแรกและเสนอตัวที่จะเข้ามาบริหารประเทศต้องออกหาเสียงว่า พรรคไทยรักไทยจะออกนโยบายเฉพาะมาเพื่อปกป้องเหล่าผู้ประกอบการค้าปลีกท้องถิ่น-โชวห่วยไม่ให้ต้องล่มหายตายจากไปมากกว่านี้
ในปีแรกของการบริหารงาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ผู้อาสามารับผิดชอบภารกิจเร่งด่วน "ช่วยชีวิตค้าปลีกท้องถิ่น" ก็คือ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันที่ชื่อ เนวิน ชิดชอบ!
นโยบาย "ช่วยชีวิตค้าปลีกท้องถิ่น" ดังกล่าวของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยถูกแปรเปลี่ยนเป็นรูปธรรม กลายเป็น องค์การมหาชนรวมค้าปลีกเข้มแข็ง (Allied Retail Trade:ART) หรือ เออาร์ที
เออาร์ที่มีชื่อเล่นที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า 'องค์การโชวห่วยแห่งชาติ' เกิดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2545 โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณรวม 395 ล้านบาทจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยตั้งจุดมุ่งหมายไว้อย่างสวยหรูว่าจะเป็นองค์การที่ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ร้านค้าปลีกรายย่อย และมีเป้าหมายว่าภายในกำหนดเวลา 5 ปี จะสามารถระดมร้านค้าปลีกรายย่อยเข้าร่วมโครงการได้ 100,000 ราย โดย รมต.เนวินผู้เป็นต้นคิดองค์การโชวห่วยแห่งชาตินี้ขึ้นป่าวประกาศไว้ว่าองค์การโชวห่วยฯ จะช่วยสร้างอำนาจการต่อรองให้แก่โชวห่วยทั่วประเทศไทยดังเช่นที่ ดิสเคานต์สโตร์ ไฮเปอร์สโตร์ ใช้ต่อรองกับผู้ผลิตสินค้า (ซับพลายเออร์) ทั้งหลาย
นอกจากนี้รัฐบาลไทยรักไทยยังขายฝันอีกด้วยว่า องค์การโชวห่วยฯ นี้จะสามารถพัฒนาเครือข่ายให้ไปเชื่อมโยงเข้ากับโครงการ SMEs และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ทั้งยังจะพัฒนาให้กลายเป็นเครือข่ายค้าปลีกที่แข่งขันกับธุรกิจค้าปลีกข้ามชาติทุนหนาอย่างเช่น เทสโก (อังกฤษ) แม็คโคร (เนเธอร์แลนด์) คาร์ฟูร์ (ฝรั่งเศส) บิ๊กซี (ฝรั่งเศส) ฯลฯ รวมถึงค้าปลีกแบบใหม่ (Modern Trade) อย่าง 7-11 หรือ แฟมิลี่มาร์ท (ญี่ปุ่น) ได้ในอนาคต
ปลายปี 2545 หลังรัฐบาลไทยรักไทยทำคลอดองค์การโชวห่วยฯ ได้ไม่นานก็กำหนดแผนพัฒนาองค์การแห่งนี้โดยมีกรอบว่า องค์กรแห่งนี้จะดำเนินการบริหารในรูปแบบของการบริหารองค์กรเอกชนเพื่อแข่งขันกับอภิมหาทุนจากต่างชาติ มิใช่องค์การในรูปรัฐวิสาหกิจที่รัฐสามารถเข้าอุ้มชูได้โดยสะดวก ทั้งยังไม่ได้ออกมาตรการใดๆ ที่จะเข้ามาควบคุมทุนค้าปลีกข้ามชาติไม่ให้รุกเข้าไปยังชุมชนต่างๆ เลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการเอาจริงเอาจังกับการแก้ไขกฎหมายผังเมือง การจัดโซนนิ่งค้าปลีกให้กระจายอยู่นอกเมือง ฯลฯ ทำให้นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ระดับคุรุอย่าง ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ก็ออกมาฟันธงอย่างตรงไปตรงมาว่า
"นโยบายองค์การโชวห่วยแห่งชาติของไทยรักไทยนี้เป็นเพียงนโยบายผักชีโรยหน้า-ลูบหน้าปะจมูกของพรรคไทยรักไทยเท่านั้น โดยจะไม่เกิดผลในการแก้ไขปัญหาใดๆ ทั้งองค์การฯ แห่งนี้จะกลายเป็นองค์กรที่เป็นรากฐานและเครื่องมือของนักการเมือง ดังเช่นที่เคยเกิดกับ องค์การสรรพาหาร สำนักงานข้าว องค์การคลังสินค้า องค์การค้าของคุรุสภาฯ ....." เท่านั้น
เวลาผ่านไปเกือบ 5 ปี เออาร์ที ได้กลายสภาพจากองค์การมหาชนรวมค้าปลีกเข้มแข็งเป็นบริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง จำกัด ส่วนผลลัพธ์จากนโยบายที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2545 นั้นบอกได้คำเดียวว่า ล้มเหลว!
ต้นเดือนมกราคม 2549 นางเพ็ญนภา ธนสารศิลป์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง จำกัด ออกมายอมรับว่าปัจจุบันสมาชิกของเออาร์ทีนั้นมีอยู่ไม่ถึงสองหมื่นราย โดยเป้าหมายการเติบโตในปี 2549 นั้นจะเพิ่มสมาชิกให้เป็น 18,000 ราย ทั้งๆ ที่ในปีหน้า ปี 2550 จำนวนสมาชิกของเออาร์ทีจะต้องอยู่ที่ 100,000 ราย ตามเป้าหมายดั้งเดิม!!!
จริงๆ แล้วความล้มเหลวของเออาร์ที ก็คงไม่ได้เป็นเรื่องที่เหนือความคาดหมายอะไรหากพิจารณาจากคำทำนายของ อ.รังสรรค์และสื่อมวลชนที่ต่างก็ชี้ให้เห็นตั้งแต่แรกแล้วว่า ด้วยแนวการดำเนินการของรัฐบาลที่ปล่อยให้องค์การที่เกิดใหม่ ยังแบเบาะอย่างเออาร์ทีใช้ระบบการบริหารงานแบบเอกชน กระโดดลงไปสู้รบปรบมือกับบริษัทค้าปลีกข้ามชาติที่มีเงินถุงเงินถังรายละเป็นแสนๆ ล้านบาท ผลจะเป็นเช่นไรก็คงรู้อยู่
....... อุปมาอุปมัยได้กับการส่งเด็กทารกอมมือขึ้นเวทีไปชกกับนักชกรุ่นเฮฟวีเวต ผลแพ้ชนะนั้นย่อมถูกตัดสินตั้งแต่ยังไม่ขึ้นสังเวียน
กรณีความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงของเออาร์ที การผลาญงบประมาณไปหลายร้อยล้านบาทในการวางระบบไอทีให้กับเออาร์ที รวมถึงการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วราวกับไฟลามทุ่งของดิสเคาท์สโตร์ ไฮเปอร์สโตร์ โมเดิร์นเทรด หรือ สาขาย่อยที่มีลักษณะคล้ายเป็นร้านลูกของดิสเคาท์สโตร์ที่สามารถแตกตัวลงไปยังชุมชน ไปยังตำบล ไปยังอำเภอเล็กๆ ไปทั่วประเทศ ดังสถิติจากกระทรวงพาณิชย์ที่ระบุว่าสาขาของธุรกิจค้าส่งสมัยใหม่ได้เพิ่มจำนวนขึ้นจาก 1,821 สาขาในปี 2544 กลายเป็น 3,999 สาขาในปี 2549 หรือเพิ่มขึ้นมากกว่าหนึ่งเท่าตัว ได้ชี้ให้เห็นถึงความไม่จริงจัง ไม่จริงใจ และไม่รักษาสัญญาของรัฐบาลไทยรักไทยที่มีต่อชุมชน ต่อท้องถิ่นไม่เว้นแม้แต่ในประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ (จ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ตาก ฯลฯ) หรือ ภาคอีสาน (จ.ขอนแก่น สกลนคร ฯลฯ) อันเป็นฐานเสียงของตนเอง
กรณีดังกล่าวก็ยังเป็นหลักฐานที่ตอกย้ำให้เราเห็นได้อย่างเด่นชัดว่า แท้จริงแล้ว พรรคไทยรักไทยไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนรากหญ้า ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนภาคเหนือ-อีสาน แต่เป็นตัวแทนของทุนชาติ ทุนต่างชาติ ทุนข้ามชาติ ที่พร้อมจะฮุบ ตะครุบ แย่งชิงพื้นที่ทำกินของประชาชนไทยในทุกภูมิภาค
จากเหตุการณ์ การออกมาเรียกร้องให้รัฐออกมาปกป้องร้านค้าปลีกท้องถิ่น จนถึงขนาดยื่นฎีกาถวายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันนี้ หากเราย้อนไปพิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 4-5 ปีก่อนก็จะเห็นได้ว่าประวัติศาสตร์ได้ย้อนกลับมาซ้ำรอยเดิมแล้วอีกครั้ง
แล้วก็เชื่อแน่ได้เลยว่าการแก้ไขของรัฐบาลไทยรักไทยกรณีค้าปลีกท้องถิ่นใน พ.ศ.นี้ ก็จะเป็นเพียงการออกมาแสดงท่าทีขึงขังเพียงชั่วคราว และก็จะเป็น "โชว์ห่วยๆ" เหมือนเดิม