ผมเพิ่งกลับมาจากเมืองที่ผู้นำเป็นนายของเงิน เมืองนี้คือเมืองดูไบ แห่งสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง
เมื่อสัปดาห์ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในขณะที่ข่าวใหญ่หน้าหนึ่งของเมืองไทยพูดถึงเรื่องความชอบธรรมและคุณธรรมของนายกรัฐมนตรีในการบริหารประเทศต่อไป โดยเฉพาะหลังกรณีการขายหุ้นชินคอร์ปให้กับกลุ่มเทมาเส็กของสิงคโปร์ ข่าวใหญ่หน้าหนึ่งของอเมริกาก็พูดถึงเรื่องทำนองเดียวกันที่ประธานาธิบดีบุชยอมให้บริษัทจัดการท่าเรือต่างชาติของสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (หรือ ยูเออี) เข้ามาดำเนินการในท่าเรือใหญ่ 6 แห่งของประเทศเช่นกัน
เรื่องนี้เป็นเรื่องกังวลใจของวุฒิสมาชิกบางคน และหน่วยงานด้านความมั่นคงเป็นอย่างมาก เพราะกลัวว่าบริษัทสัญชาติตะวันออกกลางนี้จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะประเด็นในเรื่องการก่อการร้าย ที่อาจมีการลักลอบส่งระเบิดปรมาณูผ่านมาทางเรือ มีการเกรงว่าบริษัทจัดการสัญชาติตะวันออกกลางนี้จะทำตัวรู้เห็นเป็นใจ
แต่ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ ก็เพราะข่าวบริษัทท่าเรือดูไบของสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในครั้งนี้ นอกจากจะมีแง่มุมในโลกธุรกิจแล้ว ยังมีความเกี่ยวข้องกับการเมืองภายใน อีกยังก้าวล้ำไปสู่เวทีการเมืองระหว่างประเทศอีกด้วย ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ สมาชิกวุฒิสภาออกมาแสดงความเห็นต่อต้านกับการที่ผู้นำฝ่ายบริหารอนุญาตให้บริษัทต่างชาติเข้ามาบริหารกิจการท่าเรือ ที่เขาเห็นว่าเปราะบางต่อความมั่นคงของประเทศของเขา
สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นประเทศตะวันออกกลาง ที่รัฐบาลอเมริกันปักใจเชื่อว่ามีส่วนในกระบวนการก่อการร้ายที่ผ่านมา นักการทูตอาหรับเอมิเรตส์ในวอชิงตันดีซี ก็ออกมาให้สัมภาษณ์ถึงเจตนาดีของบริษัทจากประเทศของเขา
และที่น่าสงสัยมากขึ้นไปกว่านั้นก็คือ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นคือใคร ทำไมถึงมีศักยภาพและบทบาทมากมายต่อภาคการเมืองและภาคธุรกิจอเมริกัน อีกยังน่าค้นหาว่าเหตุใดบริษัทของประเทศเล็กๆ และใหม่ๆ อย่างสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ฟังดูแล้วไม่ค่อยคุ้นหูนี้ถึงมีความเก่งกาจถึงขนาดที่ว่าจะมาทำกิจการบริหารท่าเรือใหญ่ของอเมริกาถึง 6 แห่ง แทนบริษัทสัญชาติอังกฤษเดิมที่น่าจะมีความเชียวชาญในการบริหารมากกว่า
ยอมรับจริงๆ ว่าด้วยคำถามข้างต้นผุดขึ้นมาในใจ แต่พอมานั่งนึกย้อนกลับไปเมื่อสองสามวันก่อนหน้า ที่มีโอกาสประจวบเหมาะได้ไปเยี่ยมเพื่อนที่ดูไบ แล้วก็หมดความสงสัย
เดือนกุมภาพันธ์เกือบทั้งเดือน ผมไม่ได้นั่งคร่ำเคร่งหน้ามองกระดาน มือจดเลกเชอร์ในห้องเรียนที่นิวยอร์ก แต่ไปเดินลุยฝุ่นตากแดดจ้าเก็บข้อมูลภาคสนามที่เมืองไนโรบิ เมืองหลวงของประเทศเคนยา ขากลับ ต้องหยุดแวะเปลี่ยนเครื่องบินที่เมืองดูไบ จังหวะจึงเหมาะเจาะได้หยุดแวะเยี่ยมยายโอปอ พงษ์พานิช เพื่อนสมัยเรียนรัฐศาสตร์ที่เป็นลูกเรือสายการบินเอมิเรตส์ เธอต้องประจำอยู่ที่เมืองดูไบ เดือนหนึ่งถึงจะได้กลับสักหน เพื่อนสมัยเรียนอีกคนคือ ต้า วรวลัญช์ กัลยาณกฤต หรือเจ้าป้าของเพื่อนๆ ที่เป็นสจ๊วตอยู่ที่การบินไทยก็มีตารางบินมาเมืองดูไบพอดิบพอดี เราสามคนที่ได้มักจี่กันตั้งแต่ครั้งทำงานสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ที่จุฬาฯ จึงได้มาพบกันในต่างบ้านต่างเมืองอย่างน่าอัศจรรย์
ประเทศอาหรับอามิเรตส์เป็นประเทศที่น่าทึ่ง ผมได้รู้จักกับประเทศนี้ตั้งแต่นั่งเครื่องบินออกจากนิวยอร์ก เพราะใช้บริการสายการบินแห่งชาติของเขา นั่นก็คือสายการบินเอมิเรตส์ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในสายการบินที่ดีที่สุดและโตเร็วที่สุด เขามีเครื่องบินใหม่ แถมบริการยังดีพร้อม เป็นที่กล่าวขวัญถึงกันโดยทั่วไป
ผมประทับใจกับความเป็นนานาชาติของสายการบินนี้มาก ลูกเรือและกัปตันมาจากหลายประเทศทั่วโลก ผิดกับสายการบินแห่งชาติอื่นๆ ที่มักจ้างพนักงานท้องถิ่น แต่ด้วยความเป็นสังคมมุสลิมที่เคร่งครัด ซึ่งผู้หญิงไม่สามารถออกมาทำงานนอกบ้านได้ กอปรกับการที่เขามีพลเมืองท้องถิ่นน้อย สายการบินนี้จึงก้าวล้ำหลักคิดในการจัดการสายการบินแห่งชาติเดิมๆ ที่เน้นให้มีบรรยากาศของความเป็นท้องถิ่นผ่านการจ้างพนักงานสายการบิน แต่ที่สายการบินนี้เขามีพนักงานจากทั่วโลก แต่ก็ยังแสดงความเป็นอาหรับเอมิเรตส์ได้ดี
บนเครื่องบิน ผมได้อ่านนิตยสารของสายการบินที่วางไว้คู่ที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร พลิกไปมาก็พอจะซึมซับความเป็นอาหรับเอมิเรตส์ได้อยู่บ้าง สิ่งหนึ่งที่สามารถรู้สึกได้ทันทีก็คือ ระบบสังคมของเขาที่เน้นและให้ความสำคัญของเจ้าผู้ครองนคร หรือกษัตริย์ประจำรัฐ ยังเย้ายวนไปด้วยกลิ่นอายของความเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชที่เจ้าผู้ครองนครมีบทบาททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เป็นผู้กำหนดชะตากรรมของประเทศ เจ้าผู้ครองนครมีตำแหน่งทางการเมืองตั้งแต่ประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี อีกยังเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้บริหารธุรกิจต่างๆ ของอาหรับเอมิเรตส์ รวมถึงสายการบินแห่งชาติ และบริษัทจัดการท่าเรือที่เพิ่งกล่าวถึงไปด้วย
ยายโอปอ ที่ทำหน้าที่เป็นไกด์ส่วนตัวเล่าให้ฟังว่า ประเทศอาหรับเอมิเรตส์นี้เกิดจากการรวมตัวกันขึ้นของรัฐ 7 รัฐตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971-72 ในทางการเมืองการปกครอง แต่ละรัฐมีเจ้าผู้ครองนครที่เรียกว่า “เชค” (Sheikh) เป็นเจ้าเมือง มีอำนาจหน้าที่เบ็ดเสร็จในการบริหารจัดการเมือง เจ้าผู้ครองนครของรัฐทั้งเจ็ดนี้จะมาผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี โดยมีวาระครั้งละ 5 ปี เมืองหลวงของสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นอยู่ที่เมืองอาบู ดาบี ประเทศนี้ร่ำรวยจากทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่มีอยู่ทั่วไป
อย่างไรก็ดี เราจะพูดถึงประเทศอาหรับเอมิเรตส์ โดยไม่พูดถึงเมืองหนึ่งนั่นก็คือ ดูไบ เมืองท่าสำคัญไปไม่ได้เลย คนไทยเรามักรู้จักดูไบในเรื่องร้านค้าปลอดภาษีใหญ่ระดับโลก (ที่ผมเห็นแล้วก็เฉยๆ) ในการเดินทางครั้งนี้ ดูไบเป็นเหมือนกระจกส่องให้ผมรู้จักกับภูมิภาคตะวันออกกลางผ่านประสบการณ์ตรง ดูไปเป็นเมืองท่าที่สำคัญ ตั้งอยู่บนอ่าวเปอร์เซียอยู่ระหว่างเส้นทางการค้าที่สำคัญที่เชื่อมตะวันออกกลางเข้ากับยุโรป เอเชีย และแอฟริกา
โอปอมาทำงานและพักอยู่ที่ดูไบนานถึงสองปีแล้ว เธอพูดจ้อให้ฟังต่อว่า เจ้าผู้ครองนครที่นี่เป็นที่ยอมรับ และได้รับความชอบธรรมในการบริหารบ้านเมืองมาก เพราะทำให้ประชากรมีความกินดีอยู่ดี มีสวัสดิการที่ดีพร้อม เธอยังตั้งข้อสังเกตว่า คนที่ประเทศนี้มีสองประเภท นั่นก็คือคนท้องถิ่น และคนต่างชาติที่มาทำงาน เธอเล่าว่าคนท้องถิ่นนั้นจะเป็นพวกมีสตางค์ เพราะรัฐเลี้ยงดูปูเสื่อเป็นอย่างดี ผู้ชายทำงานเฉพาะด้านเช่นราชการที่ไม่อนุญาตให้คนต่างชาติทำ ส่วนผู้หญิงนั้นอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือตามหลักคำสอนและวินัยของศาสนาอิสลาม
เป็นจริงอย่างที่โอปอว่า ผมเดินอยู่ในเมือง เห็นแต่คนต่างชาติ คนท้องถิ่นในชุดแดนโดร่า (สำหรับผู้ชาย) และอาบายา (ผู้หญิง) เดินกันไปมาน้อยมาก ส่วนคนที่เจอส่วนใหญ่จะเป็นคนต่างชาติ มีทั้งคนเอเชีย โดยเฉพาะพวกฟิลิปปินส์และอินเดีย ฝรั่ง และคนจากตะวันออกกลาง คนไทยก็มาทำงานที่นี่เยอะเหมือนกัน เพียงแค่ลูกเรือสายการบินเอมิเรตส์ไทยอย่างเดียวก็ปาเข้าไปเกือบหนึ่งพันคนแล้ว
ผมอ่านมาจากไกด์บุ๊คก็ได้ความรู้ว่า คนท้องถิ่นที่นี่มีอยู่น้อยมากๆ เพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น คนส่วนใหญ่ในดูไบคือคนต่างชาติที่มาทำงานตั้งแต่บริหารบริษัทข้ามชาติ จนไปถึงพนักงานก่อสร้าง ที่มากอบโกยรายได้ในโอกาสที่ดูไบกำลังโต มีแผนการสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ในขณะนี้ตึกรามบ้านช่องผุดขึ้นกันใหม่ทุกวี่ทุกวัน
หลายคนมักพูดว่า ที่ดูไบ และสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์เจริญได้ถึงเพียงนี้ก็เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติอย่างน้ำมันและแก๊สธรรมชาติเป็นทุนเดิมที่ทำรายได้เข้ากับระบบเศรษฐกิจมหาศาล แต่ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่เรื่องเงินดังว่า ผมยกตัวอย่างหลายๆ ประเทศในเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลางที่มีทรัพยากรน้ำมันเหมือนกัน แต่ทำไมไม่ยักเห็นประชาชนอยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตที่ไม่อัตคัด อีกบ้านเมืองก็ยังเจริญอย่างมีการวางแผนและการมองไปข้างหน้าอย่างระมัดระวังเหมือนดูไบบ้าง
ผู้นำอาหรับเอมิเรตส์เขามองการณ์ไกล สักวันหนึ่งทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติก็ต้องมีวันหมดไป การพัฒนาเมืองโดยเน้นด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงการเป็นท่าเรือ และศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภูมิภาคดูเหมือนว่าจะเป็นทางออกเมื่อสมบัติเก่าอย่างน้ำมันและก๊าซหมดลงในวันข้างหน้า นอกจากนี้ ยังได้ข่าวแว่วๆ มาอีกว่าดูไบเขาวางแผนจะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในปี ค.ศ. 2012 อีกด้วย
เจ้าผู้ครองนครนี้ถือว่ามีบทบาทอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาและความเจริญของประเทศอาหรับเอมิเรตส์ และรัฐต่างๆ ทั้งเจ็ดรัฐ เมื่อไม่นานมานี้เจ้าผู้ครองนครแห่งดูไบ ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาดูไบให้เจริญเทียมทัดโลกตะวันตกแต่ยังมีเอกลักษณ์ในแบบของดูไบเองเพิ่งเสียชีวิตลง เจ้าผู้ครองนครคนนี้และคนใหม่ที่เป็นน้องชายที่ขึ้นมารับตำแหน่งแทน เคยให้สัมภาษณ์ว่า กษัตริย์ในอียิปต์โบราณยังสร้างเมืองได้กลางทะเลทราย เขาอยากให้ดูไบเป็นอียิปต์สมัยใหม่ และหากมีความเชื่อมั่นและความตั้งใจแล้ว ความสำเร็จก็พึงจะเกิดขึ้น ผมว่าความคิดของเขานั้นจับใจเสียจริงๆ
ระหว่างอยู่ที่ดูไบ โอปอ ต้า และเพื่อนๆ สาวชาวสายการบินเอมิเรตส์ของเธอทั้งจูน ด๊า และโบ๊ท พาผมเที่ยวจนเห็นเมืองดูไบมากจนไม่น่าเชื่อว่าจะทำได้ในระยะเวลาเพียง 3-4 วัน ผมได้ไปเห็นพิพิธภัณฑ์ประวัติเมืองดูไบ ห้างสรรพสินค้าใหญ่โต สวนน้ำคล้ายสวนสยามที่จุน้ำหลายพันลิตร จนไม่น่าเชื่อว่าเมืองกลางทะเลทรายไปเอาน้ำมาจากไหน ตึก “บูจาหรับ” รูปเรือใบที่ตั้งเด่นริมชายหาด แต่ด้วยผมเป็นคนไม่ชอบหนาว จึงไม่สนใจที่จะไปโรงเล่นสกี ที่เขาสร้างหิมะจำลองในอาคารท่ามกลางแดดจ้าของเมืองร้อน
นอกจากนี้ ชีวิตท่องเที่ยวยามราตรีของเขาก็สนุกสนานไม่แพ้กัน ทำให้ตัวเองได้เฉลิมฉลองหลังจากจิตตกกับการเล่าเรียนอย่างเคร่งเครียดมาตลอดปีกว่าที่ผ่านมา น่าชื่นชมที่ว่า ทางรัฐบาลเขาอนุญาตผู้คนสนุกสนานกันอย่างพอเพียง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีขายเฉพาะร้านอาหาร ผับ บาร์ที่ได้รับอนุญาต ส่วนร้านขายของมึนเมาก็ขายให้เฉพาะคนที่มีใบอนุญาตซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้เฉพาะ และไม่ขายให้กับคนมุสลิม การเดินถือขวดเหล้าขวดเบียร์ไปมาตามท้องถนนก็เป็นสิ่งต้องห้าม
ใครจะไปเชื่อว่า เมืองเล็กๆ ในตะวันออกกลางแห่งนี้ จะเป็นที่จัดการแข่งขันกีฬาระดับโลกหลายๆ รายการ ไม่ว่าจะเป็นม้าแข่ง กอล์ฟ เทนนิส หรือรักบี้ 7 คน ผมไปเหยียบตะวันออกกลางเป็นครั้งแรกที่เมืองดูไบในครั้งนี้ เวลาช่างประจวบเหมาะทำให้ผมได้ไปชมการแข่งขันเทนนิสอีกหนึ่งรายการระดับโลกในวันแรกด้วย ผมได้ไปเชียร์สาวนักเทนนิสญี่ปุ่น “ไอ สุกียามา” เล่นกับสาวดาวรุ่งรัสเซีย ส่วนปลายปีนี้ถ้ามีโอกาส นักรักบี้เก่าอย่างผมก็ตั้งใจอยากกลับไปดูรักบี้ 7 คนที่ดูไบอีก หลังจากชวดไปดูรักบี้รายการใหญ่ที่ฮ่องกงมาหลายปี ว่าจะถือเป็นของขวัญแห่งการเรียนจบปริญญาโทให้ตัวเองเสียหน่อย การแข่งขันรักบี้ 7 คนที่ดูไบนี้ก็เป็นอีกหนึ่งในรายการใหญ่และเป็นที่รู้จักของนักชมรักบี้ทั่วโลก
เมืองดูไบนี้ช่างมหัศจรรย์เสียจริง ตัวอย่างของเมืองดูไบแสดงให้ผมเห็นว่า หนึ่ง ผู้นำมีความสำคัญอย่างไรต่อชาติบ้านเมือง และสอง ผู้นำที่ใช้เงินเป็น กับผู้นำที่เป็นทาสของทุนนิยมนั้นแตกต่างกันเช่นไร
เมื่อสัปดาห์ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในขณะที่ข่าวใหญ่หน้าหนึ่งของเมืองไทยพูดถึงเรื่องความชอบธรรมและคุณธรรมของนายกรัฐมนตรีในการบริหารประเทศต่อไป โดยเฉพาะหลังกรณีการขายหุ้นชินคอร์ปให้กับกลุ่มเทมาเส็กของสิงคโปร์ ข่าวใหญ่หน้าหนึ่งของอเมริกาก็พูดถึงเรื่องทำนองเดียวกันที่ประธานาธิบดีบุชยอมให้บริษัทจัดการท่าเรือต่างชาติของสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (หรือ ยูเออี) เข้ามาดำเนินการในท่าเรือใหญ่ 6 แห่งของประเทศเช่นกัน
เรื่องนี้เป็นเรื่องกังวลใจของวุฒิสมาชิกบางคน และหน่วยงานด้านความมั่นคงเป็นอย่างมาก เพราะกลัวว่าบริษัทสัญชาติตะวันออกกลางนี้จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะประเด็นในเรื่องการก่อการร้าย ที่อาจมีการลักลอบส่งระเบิดปรมาณูผ่านมาทางเรือ มีการเกรงว่าบริษัทจัดการสัญชาติตะวันออกกลางนี้จะทำตัวรู้เห็นเป็นใจ
แต่ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ ก็เพราะข่าวบริษัทท่าเรือดูไบของสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในครั้งนี้ นอกจากจะมีแง่มุมในโลกธุรกิจแล้ว ยังมีความเกี่ยวข้องกับการเมืองภายใน อีกยังก้าวล้ำไปสู่เวทีการเมืองระหว่างประเทศอีกด้วย ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ สมาชิกวุฒิสภาออกมาแสดงความเห็นต่อต้านกับการที่ผู้นำฝ่ายบริหารอนุญาตให้บริษัทต่างชาติเข้ามาบริหารกิจการท่าเรือ ที่เขาเห็นว่าเปราะบางต่อความมั่นคงของประเทศของเขา
สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นประเทศตะวันออกกลาง ที่รัฐบาลอเมริกันปักใจเชื่อว่ามีส่วนในกระบวนการก่อการร้ายที่ผ่านมา นักการทูตอาหรับเอมิเรตส์ในวอชิงตันดีซี ก็ออกมาให้สัมภาษณ์ถึงเจตนาดีของบริษัทจากประเทศของเขา
และที่น่าสงสัยมากขึ้นไปกว่านั้นก็คือ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นคือใคร ทำไมถึงมีศักยภาพและบทบาทมากมายต่อภาคการเมืองและภาคธุรกิจอเมริกัน อีกยังน่าค้นหาว่าเหตุใดบริษัทของประเทศเล็กๆ และใหม่ๆ อย่างสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ฟังดูแล้วไม่ค่อยคุ้นหูนี้ถึงมีความเก่งกาจถึงขนาดที่ว่าจะมาทำกิจการบริหารท่าเรือใหญ่ของอเมริกาถึง 6 แห่ง แทนบริษัทสัญชาติอังกฤษเดิมที่น่าจะมีความเชียวชาญในการบริหารมากกว่า
ยอมรับจริงๆ ว่าด้วยคำถามข้างต้นผุดขึ้นมาในใจ แต่พอมานั่งนึกย้อนกลับไปเมื่อสองสามวันก่อนหน้า ที่มีโอกาสประจวบเหมาะได้ไปเยี่ยมเพื่อนที่ดูไบ แล้วก็หมดความสงสัย
เดือนกุมภาพันธ์เกือบทั้งเดือน ผมไม่ได้นั่งคร่ำเคร่งหน้ามองกระดาน มือจดเลกเชอร์ในห้องเรียนที่นิวยอร์ก แต่ไปเดินลุยฝุ่นตากแดดจ้าเก็บข้อมูลภาคสนามที่เมืองไนโรบิ เมืองหลวงของประเทศเคนยา ขากลับ ต้องหยุดแวะเปลี่ยนเครื่องบินที่เมืองดูไบ จังหวะจึงเหมาะเจาะได้หยุดแวะเยี่ยมยายโอปอ พงษ์พานิช เพื่อนสมัยเรียนรัฐศาสตร์ที่เป็นลูกเรือสายการบินเอมิเรตส์ เธอต้องประจำอยู่ที่เมืองดูไบ เดือนหนึ่งถึงจะได้กลับสักหน เพื่อนสมัยเรียนอีกคนคือ ต้า วรวลัญช์ กัลยาณกฤต หรือเจ้าป้าของเพื่อนๆ ที่เป็นสจ๊วตอยู่ที่การบินไทยก็มีตารางบินมาเมืองดูไบพอดิบพอดี เราสามคนที่ได้มักจี่กันตั้งแต่ครั้งทำงานสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ที่จุฬาฯ จึงได้มาพบกันในต่างบ้านต่างเมืองอย่างน่าอัศจรรย์
ประเทศอาหรับอามิเรตส์เป็นประเทศที่น่าทึ่ง ผมได้รู้จักกับประเทศนี้ตั้งแต่นั่งเครื่องบินออกจากนิวยอร์ก เพราะใช้บริการสายการบินแห่งชาติของเขา นั่นก็คือสายการบินเอมิเรตส์ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในสายการบินที่ดีที่สุดและโตเร็วที่สุด เขามีเครื่องบินใหม่ แถมบริการยังดีพร้อม เป็นที่กล่าวขวัญถึงกันโดยทั่วไป
ผมประทับใจกับความเป็นนานาชาติของสายการบินนี้มาก ลูกเรือและกัปตันมาจากหลายประเทศทั่วโลก ผิดกับสายการบินแห่งชาติอื่นๆ ที่มักจ้างพนักงานท้องถิ่น แต่ด้วยความเป็นสังคมมุสลิมที่เคร่งครัด ซึ่งผู้หญิงไม่สามารถออกมาทำงานนอกบ้านได้ กอปรกับการที่เขามีพลเมืองท้องถิ่นน้อย สายการบินนี้จึงก้าวล้ำหลักคิดในการจัดการสายการบินแห่งชาติเดิมๆ ที่เน้นให้มีบรรยากาศของความเป็นท้องถิ่นผ่านการจ้างพนักงานสายการบิน แต่ที่สายการบินนี้เขามีพนักงานจากทั่วโลก แต่ก็ยังแสดงความเป็นอาหรับเอมิเรตส์ได้ดี
บนเครื่องบิน ผมได้อ่านนิตยสารของสายการบินที่วางไว้คู่ที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร พลิกไปมาก็พอจะซึมซับความเป็นอาหรับเอมิเรตส์ได้อยู่บ้าง สิ่งหนึ่งที่สามารถรู้สึกได้ทันทีก็คือ ระบบสังคมของเขาที่เน้นและให้ความสำคัญของเจ้าผู้ครองนคร หรือกษัตริย์ประจำรัฐ ยังเย้ายวนไปด้วยกลิ่นอายของความเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชที่เจ้าผู้ครองนครมีบทบาททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เป็นผู้กำหนดชะตากรรมของประเทศ เจ้าผู้ครองนครมีตำแหน่งทางการเมืองตั้งแต่ประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี อีกยังเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้บริหารธุรกิจต่างๆ ของอาหรับเอมิเรตส์ รวมถึงสายการบินแห่งชาติ และบริษัทจัดการท่าเรือที่เพิ่งกล่าวถึงไปด้วย
ยายโอปอ ที่ทำหน้าที่เป็นไกด์ส่วนตัวเล่าให้ฟังว่า ประเทศอาหรับเอมิเรตส์นี้เกิดจากการรวมตัวกันขึ้นของรัฐ 7 รัฐตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971-72 ในทางการเมืองการปกครอง แต่ละรัฐมีเจ้าผู้ครองนครที่เรียกว่า “เชค” (Sheikh) เป็นเจ้าเมือง มีอำนาจหน้าที่เบ็ดเสร็จในการบริหารจัดการเมือง เจ้าผู้ครองนครของรัฐทั้งเจ็ดนี้จะมาผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี โดยมีวาระครั้งละ 5 ปี เมืองหลวงของสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นอยู่ที่เมืองอาบู ดาบี ประเทศนี้ร่ำรวยจากทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่มีอยู่ทั่วไป
อย่างไรก็ดี เราจะพูดถึงประเทศอาหรับเอมิเรตส์ โดยไม่พูดถึงเมืองหนึ่งนั่นก็คือ ดูไบ เมืองท่าสำคัญไปไม่ได้เลย คนไทยเรามักรู้จักดูไบในเรื่องร้านค้าปลอดภาษีใหญ่ระดับโลก (ที่ผมเห็นแล้วก็เฉยๆ) ในการเดินทางครั้งนี้ ดูไบเป็นเหมือนกระจกส่องให้ผมรู้จักกับภูมิภาคตะวันออกกลางผ่านประสบการณ์ตรง ดูไปเป็นเมืองท่าที่สำคัญ ตั้งอยู่บนอ่าวเปอร์เซียอยู่ระหว่างเส้นทางการค้าที่สำคัญที่เชื่อมตะวันออกกลางเข้ากับยุโรป เอเชีย และแอฟริกา
โอปอมาทำงานและพักอยู่ที่ดูไบนานถึงสองปีแล้ว เธอพูดจ้อให้ฟังต่อว่า เจ้าผู้ครองนครที่นี่เป็นที่ยอมรับ และได้รับความชอบธรรมในการบริหารบ้านเมืองมาก เพราะทำให้ประชากรมีความกินดีอยู่ดี มีสวัสดิการที่ดีพร้อม เธอยังตั้งข้อสังเกตว่า คนที่ประเทศนี้มีสองประเภท นั่นก็คือคนท้องถิ่น และคนต่างชาติที่มาทำงาน เธอเล่าว่าคนท้องถิ่นนั้นจะเป็นพวกมีสตางค์ เพราะรัฐเลี้ยงดูปูเสื่อเป็นอย่างดี ผู้ชายทำงานเฉพาะด้านเช่นราชการที่ไม่อนุญาตให้คนต่างชาติทำ ส่วนผู้หญิงนั้นอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือตามหลักคำสอนและวินัยของศาสนาอิสลาม
เป็นจริงอย่างที่โอปอว่า ผมเดินอยู่ในเมือง เห็นแต่คนต่างชาติ คนท้องถิ่นในชุดแดนโดร่า (สำหรับผู้ชาย) และอาบายา (ผู้หญิง) เดินกันไปมาน้อยมาก ส่วนคนที่เจอส่วนใหญ่จะเป็นคนต่างชาติ มีทั้งคนเอเชีย โดยเฉพาะพวกฟิลิปปินส์และอินเดีย ฝรั่ง และคนจากตะวันออกกลาง คนไทยก็มาทำงานที่นี่เยอะเหมือนกัน เพียงแค่ลูกเรือสายการบินเอมิเรตส์ไทยอย่างเดียวก็ปาเข้าไปเกือบหนึ่งพันคนแล้ว
ผมอ่านมาจากไกด์บุ๊คก็ได้ความรู้ว่า คนท้องถิ่นที่นี่มีอยู่น้อยมากๆ เพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น คนส่วนใหญ่ในดูไบคือคนต่างชาติที่มาทำงานตั้งแต่บริหารบริษัทข้ามชาติ จนไปถึงพนักงานก่อสร้าง ที่มากอบโกยรายได้ในโอกาสที่ดูไบกำลังโต มีแผนการสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ในขณะนี้ตึกรามบ้านช่องผุดขึ้นกันใหม่ทุกวี่ทุกวัน
หลายคนมักพูดว่า ที่ดูไบ และสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์เจริญได้ถึงเพียงนี้ก็เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติอย่างน้ำมันและแก๊สธรรมชาติเป็นทุนเดิมที่ทำรายได้เข้ากับระบบเศรษฐกิจมหาศาล แต่ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่เรื่องเงินดังว่า ผมยกตัวอย่างหลายๆ ประเทศในเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลางที่มีทรัพยากรน้ำมันเหมือนกัน แต่ทำไมไม่ยักเห็นประชาชนอยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตที่ไม่อัตคัด อีกบ้านเมืองก็ยังเจริญอย่างมีการวางแผนและการมองไปข้างหน้าอย่างระมัดระวังเหมือนดูไบบ้าง
ผู้นำอาหรับเอมิเรตส์เขามองการณ์ไกล สักวันหนึ่งทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติก็ต้องมีวันหมดไป การพัฒนาเมืองโดยเน้นด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงการเป็นท่าเรือ และศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภูมิภาคดูเหมือนว่าจะเป็นทางออกเมื่อสมบัติเก่าอย่างน้ำมันและก๊าซหมดลงในวันข้างหน้า นอกจากนี้ ยังได้ข่าวแว่วๆ มาอีกว่าดูไบเขาวางแผนจะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในปี ค.ศ. 2012 อีกด้วย
เจ้าผู้ครองนครนี้ถือว่ามีบทบาทอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาและความเจริญของประเทศอาหรับเอมิเรตส์ และรัฐต่างๆ ทั้งเจ็ดรัฐ เมื่อไม่นานมานี้เจ้าผู้ครองนครแห่งดูไบ ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาดูไบให้เจริญเทียมทัดโลกตะวันตกแต่ยังมีเอกลักษณ์ในแบบของดูไบเองเพิ่งเสียชีวิตลง เจ้าผู้ครองนครคนนี้และคนใหม่ที่เป็นน้องชายที่ขึ้นมารับตำแหน่งแทน เคยให้สัมภาษณ์ว่า กษัตริย์ในอียิปต์โบราณยังสร้างเมืองได้กลางทะเลทราย เขาอยากให้ดูไบเป็นอียิปต์สมัยใหม่ และหากมีความเชื่อมั่นและความตั้งใจแล้ว ความสำเร็จก็พึงจะเกิดขึ้น ผมว่าความคิดของเขานั้นจับใจเสียจริงๆ
ระหว่างอยู่ที่ดูไบ โอปอ ต้า และเพื่อนๆ สาวชาวสายการบินเอมิเรตส์ของเธอทั้งจูน ด๊า และโบ๊ท พาผมเที่ยวจนเห็นเมืองดูไบมากจนไม่น่าเชื่อว่าจะทำได้ในระยะเวลาเพียง 3-4 วัน ผมได้ไปเห็นพิพิธภัณฑ์ประวัติเมืองดูไบ ห้างสรรพสินค้าใหญ่โต สวนน้ำคล้ายสวนสยามที่จุน้ำหลายพันลิตร จนไม่น่าเชื่อว่าเมืองกลางทะเลทรายไปเอาน้ำมาจากไหน ตึก “บูจาหรับ” รูปเรือใบที่ตั้งเด่นริมชายหาด แต่ด้วยผมเป็นคนไม่ชอบหนาว จึงไม่สนใจที่จะไปโรงเล่นสกี ที่เขาสร้างหิมะจำลองในอาคารท่ามกลางแดดจ้าของเมืองร้อน
นอกจากนี้ ชีวิตท่องเที่ยวยามราตรีของเขาก็สนุกสนานไม่แพ้กัน ทำให้ตัวเองได้เฉลิมฉลองหลังจากจิตตกกับการเล่าเรียนอย่างเคร่งเครียดมาตลอดปีกว่าที่ผ่านมา น่าชื่นชมที่ว่า ทางรัฐบาลเขาอนุญาตผู้คนสนุกสนานกันอย่างพอเพียง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีขายเฉพาะร้านอาหาร ผับ บาร์ที่ได้รับอนุญาต ส่วนร้านขายของมึนเมาก็ขายให้เฉพาะคนที่มีใบอนุญาตซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้เฉพาะ และไม่ขายให้กับคนมุสลิม การเดินถือขวดเหล้าขวดเบียร์ไปมาตามท้องถนนก็เป็นสิ่งต้องห้าม
ใครจะไปเชื่อว่า เมืองเล็กๆ ในตะวันออกกลางแห่งนี้ จะเป็นที่จัดการแข่งขันกีฬาระดับโลกหลายๆ รายการ ไม่ว่าจะเป็นม้าแข่ง กอล์ฟ เทนนิส หรือรักบี้ 7 คน ผมไปเหยียบตะวันออกกลางเป็นครั้งแรกที่เมืองดูไบในครั้งนี้ เวลาช่างประจวบเหมาะทำให้ผมได้ไปชมการแข่งขันเทนนิสอีกหนึ่งรายการระดับโลกในวันแรกด้วย ผมได้ไปเชียร์สาวนักเทนนิสญี่ปุ่น “ไอ สุกียามา” เล่นกับสาวดาวรุ่งรัสเซีย ส่วนปลายปีนี้ถ้ามีโอกาส นักรักบี้เก่าอย่างผมก็ตั้งใจอยากกลับไปดูรักบี้ 7 คนที่ดูไบอีก หลังจากชวดไปดูรักบี้รายการใหญ่ที่ฮ่องกงมาหลายปี ว่าจะถือเป็นของขวัญแห่งการเรียนจบปริญญาโทให้ตัวเองเสียหน่อย การแข่งขันรักบี้ 7 คนที่ดูไบนี้ก็เป็นอีกหนึ่งในรายการใหญ่และเป็นที่รู้จักของนักชมรักบี้ทั่วโลก
เมืองดูไบนี้ช่างมหัศจรรย์เสียจริง ตัวอย่างของเมืองดูไบแสดงให้ผมเห็นว่า หนึ่ง ผู้นำมีความสำคัญอย่างไรต่อชาติบ้านเมือง และสอง ผู้นำที่ใช้เงินเป็น กับผู้นำที่เป็นทาสของทุนนิยมนั้นแตกต่างกันเช่นไร