จดหมายเปิดผนึกถึงเพื่อน
เพื่อนที่รัก
เป็นอย่างไรกันบ้าง หวังว่าเพื่อนทุกคนคงจะสบายดี ไม่น่าเชื่อเลยเนอะว่าได้จากเมืองไทยมาเรียนต่อได้เกือบปีแล้ว ตอนนี้อยู่ระหว่างปิดเทอมภาคฤดูร้อน ว่ากันว่า เหตุที่เขาปิดเรียนกันตอนฤดูร้อนนี่ ก็เพราะหยุดให้นักเรียนกลับไปช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนา สมัยที่สังคมเราส่วนใหญ่ยังเป็นเกษตรกรกันอยู่ ตอนนี้ โลกพัฒนาเปลี่ยนไป ฐานการผลิตจากเกษตรกรรมได้ค่อยหดแคบลงจนเป็นเพียงฟันเฟืองหนึ่ง (แต่สำคัญและขาดไม่ได้) ของสังคม และเกิดฟันเฟืองใหม่อีกหนึ่งชิ้นจากภาคอุตสาหกรรม ซึ่งได้รับการผลักดันโดยวิทยาการที่ก้าวล้ำ กอปรกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมอันก้าวหน้า
เพื่อนเห็นไหมว่าโลกของเรานี้มีการเปลี่ยนแปลง และเราก็ไม่สามารถหลีกหนีความเปลี่ยนแปลงที่ว่านั้นไปได้เลย เหมือนกับช่วงชีวิตของเราดีๆ นี่เองนั่นแหละ จากเด็กไม่รู้เดียงสา ค่อยโตขึ้นโดยผ่านการกล่อมเกลาจากสถาบันต่างๆ ทางสังคม (ทั้งครอบครัว เพื่อน โรงเรียน รัฐ ฯลฯ) เป็นผู้ใหญ่ เข้าสู่วัยทำงาน มีครอบครัว และก้าวผ่านสู่วัยเกษียณในที่สุด สภาพสังคมที่เราได้เติบโตขึ้นนั้นย่อมมีความแตกต่าง หลายคนเรียกความแตกต่างนี้ว่า “วิวัฒนาการ” หรือ “พัฒนาการ” แต่ขอเรียกเพียงว่า “ความเปลียนแปลง” ดีกว่า เพราะคำตอบที่ว่า ความแตกต่างในแต่ละยุคสมัยของสังคมที่ว่านี้นี้ “ดี” หรือ “ชั่ว” อย่างไร นั้นขึ้นอยู่กับวิถีการมองโลก ความเชื่อ และวิธีคิดของเพื่อนแต่ละคนมากกว่า จริงไหม
“หากเทียบกับจักรวาล คนเราก็เป็นเพียงจุดเล็กจิ๋วนิดเดียว” พี่จอบ บ.ก.ใหญ่แห่งนิตยสารสารคดีเคยเตือนให้คนเรามีความอ่อนน้อมถ่อมตนและรู้จักตัวเอง ขอให้เพื่อนจำไว้ให้ดี และขอขยายความต่อว่า จุดจิ๋วเล็กนิดเดียวนั้นสามารถก่อให้เกิดเป็นความแข็งแรงได้หากเราทุกคนร่วมมือกัน เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ แม้ว่าคนเราจะมีความเห็นแก่ตัวเป็นหลัก แต่ต้องระลึกอยู่เสมอว่า การกระทำของแต่ละคนในสังคมนั้น ย่อมส่งผลต่อความเป็นไปของสังคมโดยรวมได้ ดังนั้น การกระทำใดๆ ที่เป็นผลดีแก่ตัวเอง และความดีนั้นขยายล้นออกไปสร้างประโยชน์ต่อสังคม จึงน่าจะเป็นสิ่งที่เพื่อนน่าจะรับเอาไว้เป็นแนวคิดในการดำเนินชีวิต ขอให้เพื่อนย้อนกลับไปอ่านย่อหน้านี้อีกครั้ง
ในทางสังคม โลกเรานี้เปลี่ยนแปลงไปแล้วเช่นไร เป็นเรื่องที่น่าคิด นักรัฐศาสตร์มักบอกว่าพรมแดนของรัฐ (ลองคิดถึงประเทศไทย) ได้เลือนรางลงไปมาก นั่นหมายถึง แม้ว่าอำนาจและหน้าที่ของรัฐยังมีความสำคัญ แต่หลายสิ่งหลายอย่าง (ที่มิใช่เรื่องการเมืองการปกครองเช่น นโยบาย) ก็ก้าวล้ำอำนาจหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะในเรื่องของวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ เพื่อนจะสังเกตได้ว่าเราต่างรับอิทธิพลโลกมามากมาย ทั้งรูปแบบการกิน การนอน การอยู่ หรือแม้กระทั่งการขับถ่าย ทุกสิ่งที่อย่างนั้น เกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ระหว่างต่างสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมไทย สังคมแขก สังคมฝรั่ง หรือสังคมจีน ฯลฯ
พอถึงตอนนี้ หากเพื่อนยังไม่เข้าใจ บางทีเพื่อนอาจต้องเขย่าหัวแรงๆ สักสองสามที เพื่อสลัดกรอบความคิดที่เพื่อนกำลังเชื่อออกเพียงชั่วคราว (ชั่วคราวเท่านั้นนะ เพราะเพียงอยากให้เพื่อนเข้าใจสิ่งที่กำลังพูดอยู่เท่านั้น หลังจากนี้เพื่อนจะเชื่ออย่างไร ไม่ว่ากัน) กรอบที่กำลังจะพยายามอธิบายให้เพื่อนฟังนี้ เป็นกรอบที่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างสังคม มองว่าเราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลก มองว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามโลก แต่ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานที่ว่าอำนาจรัฐยังมีความสำคัญ โดยเฉพาะในด้านของการสร้างคุณค่า และดูแลสังคมให้เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น (ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องพูดกันยาว)
เพื่อนอาจจะพอเข้าใจบ้างแล้วว่า สิ่งที่กำลังจะพูดถึงและถูกนำมเกี่ยวข้องกันนั้นมีอยู่สามระดับ คือ โลก (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) ประเทศ (รัฐ) และเพื่อน (ปัจเจกบุคคล) ทุกสิ่งทุกอย่างนี้มีความเกี่ยวข้องพันโยงกันอย่างลึกซึ้ง และในหลายระดับต่างกรรมต่างวาระกัน
การที่จะเข้าใจปรากฎการณ์ได้ ขอเท้าความไปถึงสิ่งที่เกิดขึ้นมาในประวัติศาสตร์ที่เราพอจะเห็นจะรับรู้กันได้ก่อน นี่จะเป็นสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงไปของโลกที่เรากำลังพูดถึง โลกในสมัยก่อนนั้นเป็นโลกกลมที่กว้างใหญ่ ดังเห็นได้จาก การไปมาหาสู่กันที่เป็นเรื่องยากลำบาก และหนักหนาสาหัส ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้า ทำให้การเดินทาง การส่งเปลี่ยนข้อมูลเป็นไปได้ง่ายขึ้น จนสามารถเชื่อมโยงจุดต่างๆ ที่เคยห่างกันไกล ให้เข้ามาใกล้กันได้ การเดินทางข้ามทวีปที่เคยต้องใข้เวลาเป็นเดือนเหลือไม่กี่ชั่วโมงโดยเครื่องบินเจ็ต หรือเพียงเสี้ยววินาทีโดยการส่งข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเช่นนี้ ทำให้เงินทุน ข้อมูล ความรู้ หรือวัฒนธรรมไหลถ่ายเทกันไปมาโดยสะดวก ยิ่งเมื่อเสร็จสิ้นสงครามเย็นซึ่งเป็นการต่อสู่กันอย่างยาวนานระหว่างสองลัทธิอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างเสรีประชาธิบไตย และสังคมนิยมคอมมิวนิสต์แล้ว ก็ยิ่งทำให้อุปสรรคที่เคยเป็นกำแพงขวางกั้นการติดต่อกันระหว่างต่างอุดมการณ์นั้นหมดสิ้นโดยราบคาบ การแลกเปลี่ยนถ่ายเทจึงเป็นไปโดยง่ายขึ้น ไร้อุปสรรค และเป็นไปโดยเสรี
ห้วงเวลาหลังสงครามเย็นจึงเป็นช่วงที่ถือว่าเป็นชัยชนะตลอดการของระบบเสรีประชาธิปไตย ดังที่ฟรานซิส ฟูกูยาม่า (Francis Fukuyama) เคยเสนอไว้ในหนังสือของเขาเรื่อง “อวสานประวัติศาสตร์โลกฯ” (The End of History and the Last Man) ว่า ประวัติศาสตร์โลกของเรานี้ได้เข้าสู่ยุคสุดท้ายแล้ว เศรษฐกิจทุนนิยม และการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย จะเป็นกลไกสำคัญของรัฐ และระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
โดยย่อแล้ว โลกในทุกวันนี้และวันข้างหน้านั้นจะมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น จากดีกรีของกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกที่ได้เพิ่มพูนทวีพลังขึ้นทุกวันเดือนที่ผ่านพ้นไป โลกของเราที่กลมเล็กอยู่อย่างทุกวันนี้นั้น จะเริ่มแบนขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้คนจากประเทศสังคมต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศที่ขื่อว่า “กำลังพัฒนา” นั้น กำลังมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น จนสามารถยกระดับตัวเองและประเทศ (ซึ่งเป็นหน่วยใหญ่ที่สุดของสังคมภายในรัฐ) ของตนเองให้ทัดเทียมอยู่ในระดับเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ได้
เราจึงสามารถมองผ่านโลกที่เรากำลังอยู่นี้ได้ในหลายมิติ หากมองโลกผ่านสายตาของนักภูมิศาสตร์หรือนักดาราศาสตร์ โลก (earth) ในสายตาของเขา ก็เป็นโลกกลม มีการหมุนรอบตัวเอง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่ตอนนี้ ขอชวนเพื่อนมองโลกจากมุมมองของนักสังคมศาสตร์ (โดยเฉพาะพวกที่สนใจด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และตัวแสดงต่างๆ เช่น รัฐ บริษัทข้ามชาติ องค์การระหว่างประเทศ และปัจเจคบุคคล) เราก็จะเห็นว่า โลกในสมัยโบราณ เป็นโลก (world) ที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ การติดต่อไปมาหาสู่กันเป็นเรื่องยากลำบาก โลกในสมัยต่อมาก็มีขนาดเล็กลง (ไม่ได้ “แคบ” เพราะมีช่องทางในการติดต่อกันและกันที่ “กว้าง” ขึ้นมาก ) เพราะเทคโนโลยีได้เชื่อมโยงเวลาและสถานที่ที่เคยอยู่ไกลกันให้เข้าใกล้กันยิ่งขึ้น พอมาในสมัยนี้ในยุคศตวรรษที่ 21 (นับตามฝรั่ง) นอกจากโลกจะเล็กลงแล้ว ยังค่อยเริ่มแบนขึ้นด้วย
นักสังคมศาสตร์เรียกปรากฎการณ์ความเปลี่ยนแปลงนี้ว่า “โลกานุวัตร” หรือตามราชบัณฑิตฯ ว่า “โลกาภิวัตน์” หรือตามภาษาฝรั่งว่า “globalization”
การที่บอกว่าโลกของเรานั้นแบนลงนั้นหมายความว่าอย่างไร เพื่อนอาจจะสงสัย จึงขอตอบว่าโลกของเราที่เคยกลม ซึ่งเป็นเต็มไปด้วยความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน โดยเฉพาะในเรื่องของอำนาจและหน้าที่ ดังเห็นได้จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันนั้นมีนัยของระดับชั้น หรือขั้นการบังคับบัญชา (hierarchy) มีสังคม (หรือปัจเจคบุคคล) หนึ่งที่ก้าวล้ำนำหน้า และมีอีกสังคมหนึ่งที่เดินก้าวตาม มีผู้ออกคำสั่ง และมีผู้ทำตาม สภาวะการณ์เช่นนี้เริ่มจะไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นอันเป็นผลพวงมาจากกระแสโลกานุวัตร ที่สั่งสมก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่ที่ต่างสังคมเริ่มมีการติดต่อกัน มีการรับรู้ถึงการคงอยู่ของกันและกัน และทวีขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ ทำให้ความสัมพันธ์และการรับรู้การมีอยู่นั้นเกิดการพึ่งพิ่งอิงกัน แลกเปลี่ยน และเรียนรู้จากกันและกันในด้านต่างๆ เป็นไปในแนวราบมากขึ้น
เพื่อนคงจะสังเกตได้ว่ากระแสโลกานุวัตรที่หาโหมเข้ามานั้นก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายต่อโลกที่เราอยู่ ซึ่งเราสามารถรับรู้ได้ในชีวิตประจำวัน การไหลผ่านถ่ายเทโดยเสรีของสินค้า และบริการ รวมทั้งข้อมูลความรู้ที่เกิดขึ้นจากการก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมทั้งการเรียนรู้วัฒนธรรม และประสบการณ์จากกันและกันในระดับที่เพิ่มขึ้น แม้จะทำให้โลกมีความคล้ายคลึงกันในมิติทางวัฒนธรรม แต่ก็ทำให้โลกมีความเท่าเทียมกันได้ ความเท่าเทียมกันนี้ เป็นผลมาพัฒนาการทางด้านความรู้ความสามารถของปัจเจกบุคคล ซึ่งย่อมประกอบเข้าเป็นความสามารถทางการแข่งขันในระดับประเทศ
สำหรับประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยของเราที่เป็นประเทศเล็กขึ้นอยู่กับพลวัตรของโลก ซึ่งมีผลต่อความเป็นไปของการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมภายในประเทศ ดังนั้น เมื่อกระแสโลกานุวัตรที่กำลังทำให้โลกเล็กเริ่มแบนราบขึ้นจึงเป็นโอกาสสำคัญ เพื่อนทุกคนที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมจึงควรตั้งรับพร้อมรุกให้เหมาะกับกระแสความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น
ขอแนะนำเพื่อนว่า การพัฒนาขีดความสามารถ และการพึ่งตนเอง บนพื้นฐานของปัจเจคชน (เพื่อนแต่ละคนนี่ล่ะ) เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลต่อการพัฒนาของประเทศชาติเรา เราจะพัฒนาตัวเองแบบไหน และอย่างไรนั้น ตอบได้ไม่ยาก ก็ดังที่บอกนั่นแหละว่าใช้กระแสความเปลี่ยนแปลง และความก้าวหน้าของโลกให้เป็นประโยชน์ เพื่อนจะมาหวังพึ่งรัฐบาล หรือผู้นำประเทศย่อมเป็นไปไม่ได้ อีกยังเสียเวลาคาดหวังจนไปเปล่าๆ
เมื่อเรียนอยู่มัธยมฯ ครูใหญ่เคยบ่นพร่ำในฟังว่า การที่บุคคลหรือสังคมไหนจะพัฒนาได้อย่างทันท่วงทีกับความเปลี่ยนไปนั้น จำเป็นต้องสร้าง “ทางบายพาส” (by pass) เหมือนสะพานข้ามสี่แยกที่รถติด เมื่อโตขึ้นจังเข้าใจว่า การใช้เส้นสะพานข้ามสี่แยกนี้ก็คือการ “ข้ามรัฐ” ซึ่งทำได้โดยข้ามการจราจรของการพัฒนาทางการเมือง และระบบราชการที่ติดขัดมานาน และไม่น่าจะแก้ไขได้โดยเร็วไว
ขอยกตัวอย่างให้เพื่อนลองนึกตามดูสักหน่อย จำได้ไหม ที่เคยเล่าให้เพื่อนฟังถึงระบบปฎิบัติการ “กนู/ลีนุกซ์” (GNU/Linux) และซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สอยู่บ่อยๆ เหตุที่ชอบยุให้เพื่อเตรียมตัวปลดพันธนาการจากระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และซอฟท์แวร์ลิชสิทธิ์อื่นๆ นั้น ก็เพราะว่า การใช้ระบบปฏิบัติการและซอฟท์แวร์โอเพนซอร์สเช่นนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีของแนวทางที่เพื่อนทุกคนสามารถปฏิบัติได้จริงเพื่อให้ประเทศไทยพึ่งพาตัวเอง ได้
แม้ว่าการปรับเปลี่ยนจากของเก่ามาเป็นของใหม่จะเป็นของยาก แต่ก็เชื่อว่าคงไม่ลำบากเกินแรง หลายคนบอกว่าระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ที่ว่านี้ มีการใช้ง่ายที่ไม่ยาก มีความเสถียร และปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นของคนไทยที่พัฒนาขึ้นเอง การเปลี่ยนจากวินโดวส์และไมโครซอฟท์ออฟฟิส มาใช้ลีนุกซ์ และออฟฟิสทะเล หรือปลาดาวออฟฟิสของคนไทยคงไม่ต้องใช้เวลามาก เพราะเพื่อนทุกคนมีภาษีที่คุ้นเคยกับคอมพิวเตอร์กันอยู่แล้ว
เมื่อมีคนใช้น้อย ระบบก็ไม่พัฒนา และเมื่อระบบไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ ก็ไม่มีคนใช้ วนเวียนเช่นนี้เป็นปัญหางูกินหางเรื่อยไป และเราก็ยังต้องพึ่งพาคนอื่น (ต่างชาติ) อยู่วันยังค่ำ เห็นไหม เราแก้ได้ที่เรื่องที่เราเห็นกันในชีวิตประจำวันเช่นนี้แหละ
เราควรพึงระลึกว่า เราเป็นประเทศกำลังพัฒนา จำเป็นต้องลดต้นทุนต่างๆ (ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่ต้องพึ่งพิงต่างชาติ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์) ในขณะที่สร้างอรรถประโยชน์ให้สูงสุด ลองคิดดูสิว่า หากเรายังต้องพึ่งสินค้าจากไมโครซอฟท์อยู่อีก เมื่อไรประเทศของเราจะพัฒนาทางเศรษฐกิจ และลดพันธนาการได้ อีกหน่อยทุกครัวเรือนไทยจะมีคอมพิวเตอร์ใช้กันทุกบ้าน แต่จะให้เป็นลูกค้าไมโครซอฟท์กันหกสิบกว่าล้านคนเห็นจะไม่ดีแน่ นายบิล เกตส์เขาไม่ปล่อยให้เราใช้แผ่นก๊อปฯ ตามพันธ์ทิพย์กันฟรีๆ หรอก
ตอนนี้รัฐบาลใหม่ (หัวหน้าคนเดิม) ของเราแผ่วลงไปกับนโยบายด้านพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศ โดยเฉพาะเรื่องระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สมาก คนตัวเล็กๆ อย่างเราคงทำอะไรไม่ได้นอกจากร่วมมือร่วมใจกันวิ่งบนสะพานบายพาสข้ามรัฐ ที่มีหลายลู่ และแข็งแรง การร่วมมือร่วมใจกันเช่นนี้ เป็นหนึ่งในตัวอย่างของการตั้งรับพร้อมรุกในยุคที่ภูมิเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่แบนราบลงไป โดยใช้โอกาสที่เปิดกว้างจากกระแสความเปลี่ยนแปลงให้เป็นประโยชน์
นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียวเกี่ยวกับการกระทำที่จะเป็นผลดีต่อประเทศชาติ เราสามารถเริ่มที่ตัวเราเองได้ทันที ไม่ต้องการเงินมาก ไม่ต้องเสียเวลามากมาย เพื่อนคิดเรื่องอื่นๆ อีกไหม หากมีอะไรน่าสนใจก็เขียนมาเล่าให้ฟังบ้างจะดีใจมาก
นอกจากนี้แล้ว เพื่อนควรที่จะพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของตัวเองด้วย การพัฒนาความสามารถของตัวเองเช่นนี้จะเป็นจุดขายและเป็นจุดแข็งของตัวเอง ในยุคที่เศรษฐกิจและธรุกิจโลกมีการผ่านเทไหลไปมาเช่นนี้ ย่อมทำให้ประเทศชาติของเราเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโลกที่เชื่อมโยงกันได้ ดังเช่นประเทศอินเดีย ซึ่งกำลังก้าวผงาดเป็นผู้ให้บริการด้านบริการของประเทศอเมริกา หรือประเทศจีนซึ่งกำลังเป็นผู้ผลิตยักษ์ของโลก
ความสามารถในการแข่งขันนั้นพัฒนาได้ไม่ยาก เพื่อนน่าจะเริ่มจากตัวเอง ตัวเองมีความรู้เชี่ยวชาญด้านไหนก็ควรจะพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านนั้นของตนให้รู้จริง และถึงแก่นที่สุด อย่าเห่อไปตามกระแส ใครเขาบอกว่าอันนี้ดี ก็ไปสนใจ (แบบเก๊ๆ) แบบเขา แต่หารู้ไม่ว่าสิ่งนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งที่เรามีความถนัด หรือชื่นชอบ นอกจากนี้เพื่อนควรหมั่นอ่านหนังสือ หัดคิด หัดเขียนให้เป็นระบบเป็นตรรกะ มีจุดยืน มีหลักคิดในการให้ความเห็น ฝึกภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษให้พอสื่อสารได้ สามารถใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตหาข้อมูลความรู้ที่มีอยู่อย่างเสรีได้ทัดเทียมกับคนฝรั่ง
ทว่า ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้แม้แต่ต้องการชวนให้เพื่อนพัฒนาตัวเองไปในแนวทางที่เป็นแม่พิมพ์ หรือมาตรฐานเดียวกันหมดเลยแต่น้อย เพื่อนน่าจะรู้กันดีอยู่ว่า โลกกลมเล็กที่กลมเล็กที่เกิดขึ้นนั้นมีแนวโน้มของการพัฒนาไปในแนวทางเดียวกันหมดมาก อีกยังเกิดการกลืนกันในทางวัฒนธรรมจนน่าใจหายด้วย แต่เพื่อนลองคิดดูสิว่า ทำไมโลกของเราจึงไม่ได้ถึงจุดทื่เล็กลงจนหลอมรวมเป็นโลกจิ๋วใบเดียว ก็เพราะแต่ละสังคมมีการตอบรับ และเห็นปัญหาที่พึงเกิดขึ้นกับโลกแบบนี้น่ะสิ จึงเกิดการทำตัวให้แตกต่าง โดยใช้กระแสความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นให้เป็นประโยชน์
โลกเรายังต้องการความหลากหลาย ความเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง มีประชาการที่มีคุณภาพ นอกเหนือไปจากการมีรัฐบาลที่ใช้ได้ และการมีระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพ
ประเทศไทยอันเป็นที่รักของเราจะไม่สามารถก้าวหน้าได้เลย หากเรา (ในระดับปัจเจกบุคคล) ไม่หาจุดแข็งของตัวเอง และพัฒนาจุดแข็งที่ว่านั้นให้เป็นความสามารถในการแข่งขัน จนเราสามารถพึ่งพาตัวเองได้ เพื่อนอย่าไปรอคอยการเปลี่ยนแปลงจากรัฐเลย เราควรเริ่มจากจุดเล็กๆ ขึ้นไปหาใหญ่ มากกว่ารอคอยรัฐบาลดำเนินนโยบายตามความเข้าใจของคนกลุ่มคนเพียงไม่กี่คน และเมื่อเราเริ่มกันที่ตัวเองได้แล้ว เชื่อว่าอีกไม่นาน เราก็น่าจะเห็นรัฐบาลที่คิดไปในทำนองเดียวกับเรา เพราะโปรดอย่าลืมว่า เราอยู่บนระบอบประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้ง “ผู้แทนประชาชน”
พูดให้สั้นก็คือ เราควรใช้ความเปลี่ยนแปลง (โลกานุวัตร) ที่เกิดขึ้นนี้เป็นกลไกในการพัฒนาสังคม (โดยเฉพาะในระดับประเทศ) มากกว่าจะมองว่าโลกานุวัตรคือคลื่นใหญ่ที่คอยเอาแต่พัดมาชายฝั่งให้เรียบราบคาบเหมือนกันหมด
ขอย้ำอีกครั้งว่า “กระแส” ที่กำลังเป็นไปนี้ คือ “เครื่องมือ” ที่เพื่อนสามาถรนำมาใช้ให้เกิดมีประสิทธิภาพในการพัฒนาตัวเองและประเทศชาติ มิใช่ “กฎระเบียบ” ที่คอยบังคับให้เราทำโน่นทำนี่
ขอให้เพื่อนทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเปลี่ยนไปของโลกจนแม่นฝังใจ เพราะนอกจากเพื่อนจะทำให้ตัวเองดวงดีเพราะสามารถรุกรับกับปรากฏการณ์ของโลกได้แล้ว ยังทำให้ชะตาของประเทศชาติไทยอันเป็นที่รักของเราดีตามไปด้วย บนความเหมือนกันนี้ ความแตกต่าง (ซึ่งรวมถึงการพึ่งตัวเอง และมีความสามารถในการแข่งขัน) จะทำให้เราอยู่ได้ดีที่สุดบนโลกใบนี้ที่มีความละม้ายคล้ายคลึงกันมาก (จนน่าเบื่อ)
ตอนนี้เครื่องบินจากซานฟรานซิสโก ไปนิวยอร์กใกล้จะลดระดับเพื่อลงแตะรันเวย์แล้ว ขอจบจดหมายฉบับนี้ที่เขียนขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่หอบหิ้วขึ้นมาด้วย ระหว่างที่บินอยู่เหนือแผ่นดินอเมริกาจากฝั่งตะวันตกมาฝั่งตะวันออกไว้เพียงแต่เท่านี้
รักและคิดถึงเพื่อนทุกคน
ท่อก
-รวิ แสงส่องงาม
ต้นฤดูร้อน 2548
ป.ล. เพื่อนอ่าน “ใครว่าโลกกลม”(http://manager.co.th/Columnist/ViewNews.aspx?NewsID=9480000067044) ได้นะ เป็นการพูดถึงหนังสือเล่มหนึ่งที่เพิ่งอ่านจบไป พูดถึงเรื่องทำนองนี้แหละ
เพื่อนที่รัก
เป็นอย่างไรกันบ้าง หวังว่าเพื่อนทุกคนคงจะสบายดี ไม่น่าเชื่อเลยเนอะว่าได้จากเมืองไทยมาเรียนต่อได้เกือบปีแล้ว ตอนนี้อยู่ระหว่างปิดเทอมภาคฤดูร้อน ว่ากันว่า เหตุที่เขาปิดเรียนกันตอนฤดูร้อนนี่ ก็เพราะหยุดให้นักเรียนกลับไปช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนา สมัยที่สังคมเราส่วนใหญ่ยังเป็นเกษตรกรกันอยู่ ตอนนี้ โลกพัฒนาเปลี่ยนไป ฐานการผลิตจากเกษตรกรรมได้ค่อยหดแคบลงจนเป็นเพียงฟันเฟืองหนึ่ง (แต่สำคัญและขาดไม่ได้) ของสังคม และเกิดฟันเฟืองใหม่อีกหนึ่งชิ้นจากภาคอุตสาหกรรม ซึ่งได้รับการผลักดันโดยวิทยาการที่ก้าวล้ำ กอปรกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมอันก้าวหน้า
เพื่อนเห็นไหมว่าโลกของเรานี้มีการเปลี่ยนแปลง และเราก็ไม่สามารถหลีกหนีความเปลี่ยนแปลงที่ว่านั้นไปได้เลย เหมือนกับช่วงชีวิตของเราดีๆ นี่เองนั่นแหละ จากเด็กไม่รู้เดียงสา ค่อยโตขึ้นโดยผ่านการกล่อมเกลาจากสถาบันต่างๆ ทางสังคม (ทั้งครอบครัว เพื่อน โรงเรียน รัฐ ฯลฯ) เป็นผู้ใหญ่ เข้าสู่วัยทำงาน มีครอบครัว และก้าวผ่านสู่วัยเกษียณในที่สุด สภาพสังคมที่เราได้เติบโตขึ้นนั้นย่อมมีความแตกต่าง หลายคนเรียกความแตกต่างนี้ว่า “วิวัฒนาการ” หรือ “พัฒนาการ” แต่ขอเรียกเพียงว่า “ความเปลียนแปลง” ดีกว่า เพราะคำตอบที่ว่า ความแตกต่างในแต่ละยุคสมัยของสังคมที่ว่านี้นี้ “ดี” หรือ “ชั่ว” อย่างไร นั้นขึ้นอยู่กับวิถีการมองโลก ความเชื่อ และวิธีคิดของเพื่อนแต่ละคนมากกว่า จริงไหม
“หากเทียบกับจักรวาล คนเราก็เป็นเพียงจุดเล็กจิ๋วนิดเดียว” พี่จอบ บ.ก.ใหญ่แห่งนิตยสารสารคดีเคยเตือนให้คนเรามีความอ่อนน้อมถ่อมตนและรู้จักตัวเอง ขอให้เพื่อนจำไว้ให้ดี และขอขยายความต่อว่า จุดจิ๋วเล็กนิดเดียวนั้นสามารถก่อให้เกิดเป็นความแข็งแรงได้หากเราทุกคนร่วมมือกัน เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ แม้ว่าคนเราจะมีความเห็นแก่ตัวเป็นหลัก แต่ต้องระลึกอยู่เสมอว่า การกระทำของแต่ละคนในสังคมนั้น ย่อมส่งผลต่อความเป็นไปของสังคมโดยรวมได้ ดังนั้น การกระทำใดๆ ที่เป็นผลดีแก่ตัวเอง และความดีนั้นขยายล้นออกไปสร้างประโยชน์ต่อสังคม จึงน่าจะเป็นสิ่งที่เพื่อนน่าจะรับเอาไว้เป็นแนวคิดในการดำเนินชีวิต ขอให้เพื่อนย้อนกลับไปอ่านย่อหน้านี้อีกครั้ง
ในทางสังคม โลกเรานี้เปลี่ยนแปลงไปแล้วเช่นไร เป็นเรื่องที่น่าคิด นักรัฐศาสตร์มักบอกว่าพรมแดนของรัฐ (ลองคิดถึงประเทศไทย) ได้เลือนรางลงไปมาก นั่นหมายถึง แม้ว่าอำนาจและหน้าที่ของรัฐยังมีความสำคัญ แต่หลายสิ่งหลายอย่าง (ที่มิใช่เรื่องการเมืองการปกครองเช่น นโยบาย) ก็ก้าวล้ำอำนาจหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะในเรื่องของวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ เพื่อนจะสังเกตได้ว่าเราต่างรับอิทธิพลโลกมามากมาย ทั้งรูปแบบการกิน การนอน การอยู่ หรือแม้กระทั่งการขับถ่าย ทุกสิ่งที่อย่างนั้น เกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ระหว่างต่างสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมไทย สังคมแขก สังคมฝรั่ง หรือสังคมจีน ฯลฯ
พอถึงตอนนี้ หากเพื่อนยังไม่เข้าใจ บางทีเพื่อนอาจต้องเขย่าหัวแรงๆ สักสองสามที เพื่อสลัดกรอบความคิดที่เพื่อนกำลังเชื่อออกเพียงชั่วคราว (ชั่วคราวเท่านั้นนะ เพราะเพียงอยากให้เพื่อนเข้าใจสิ่งที่กำลังพูดอยู่เท่านั้น หลังจากนี้เพื่อนจะเชื่ออย่างไร ไม่ว่ากัน) กรอบที่กำลังจะพยายามอธิบายให้เพื่อนฟังนี้ เป็นกรอบที่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างสังคม มองว่าเราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลก มองว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามโลก แต่ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานที่ว่าอำนาจรัฐยังมีความสำคัญ โดยเฉพาะในด้านของการสร้างคุณค่า และดูแลสังคมให้เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น (ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องพูดกันยาว)
เพื่อนอาจจะพอเข้าใจบ้างแล้วว่า สิ่งที่กำลังจะพูดถึงและถูกนำมเกี่ยวข้องกันนั้นมีอยู่สามระดับ คือ โลก (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) ประเทศ (รัฐ) และเพื่อน (ปัจเจกบุคคล) ทุกสิ่งทุกอย่างนี้มีความเกี่ยวข้องพันโยงกันอย่างลึกซึ้ง และในหลายระดับต่างกรรมต่างวาระกัน
การที่จะเข้าใจปรากฎการณ์ได้ ขอเท้าความไปถึงสิ่งที่เกิดขึ้นมาในประวัติศาสตร์ที่เราพอจะเห็นจะรับรู้กันได้ก่อน นี่จะเป็นสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงไปของโลกที่เรากำลังพูดถึง โลกในสมัยก่อนนั้นเป็นโลกกลมที่กว้างใหญ่ ดังเห็นได้จาก การไปมาหาสู่กันที่เป็นเรื่องยากลำบาก และหนักหนาสาหัส ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้า ทำให้การเดินทาง การส่งเปลี่ยนข้อมูลเป็นไปได้ง่ายขึ้น จนสามารถเชื่อมโยงจุดต่างๆ ที่เคยห่างกันไกล ให้เข้ามาใกล้กันได้ การเดินทางข้ามทวีปที่เคยต้องใข้เวลาเป็นเดือนเหลือไม่กี่ชั่วโมงโดยเครื่องบินเจ็ต หรือเพียงเสี้ยววินาทีโดยการส่งข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเช่นนี้ ทำให้เงินทุน ข้อมูล ความรู้ หรือวัฒนธรรมไหลถ่ายเทกันไปมาโดยสะดวก ยิ่งเมื่อเสร็จสิ้นสงครามเย็นซึ่งเป็นการต่อสู่กันอย่างยาวนานระหว่างสองลัทธิอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างเสรีประชาธิบไตย และสังคมนิยมคอมมิวนิสต์แล้ว ก็ยิ่งทำให้อุปสรรคที่เคยเป็นกำแพงขวางกั้นการติดต่อกันระหว่างต่างอุดมการณ์นั้นหมดสิ้นโดยราบคาบ การแลกเปลี่ยนถ่ายเทจึงเป็นไปโดยง่ายขึ้น ไร้อุปสรรค และเป็นไปโดยเสรี
ห้วงเวลาหลังสงครามเย็นจึงเป็นช่วงที่ถือว่าเป็นชัยชนะตลอดการของระบบเสรีประชาธิปไตย ดังที่ฟรานซิส ฟูกูยาม่า (Francis Fukuyama) เคยเสนอไว้ในหนังสือของเขาเรื่อง “อวสานประวัติศาสตร์โลกฯ” (The End of History and the Last Man) ว่า ประวัติศาสตร์โลกของเรานี้ได้เข้าสู่ยุคสุดท้ายแล้ว เศรษฐกิจทุนนิยม และการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย จะเป็นกลไกสำคัญของรัฐ และระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
โดยย่อแล้ว โลกในทุกวันนี้และวันข้างหน้านั้นจะมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น จากดีกรีของกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกที่ได้เพิ่มพูนทวีพลังขึ้นทุกวันเดือนที่ผ่านพ้นไป โลกของเราที่กลมเล็กอยู่อย่างทุกวันนี้นั้น จะเริ่มแบนขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้คนจากประเทศสังคมต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศที่ขื่อว่า “กำลังพัฒนา” นั้น กำลังมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น จนสามารถยกระดับตัวเองและประเทศ (ซึ่งเป็นหน่วยใหญ่ที่สุดของสังคมภายในรัฐ) ของตนเองให้ทัดเทียมอยู่ในระดับเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ได้
เราจึงสามารถมองผ่านโลกที่เรากำลังอยู่นี้ได้ในหลายมิติ หากมองโลกผ่านสายตาของนักภูมิศาสตร์หรือนักดาราศาสตร์ โลก (earth) ในสายตาของเขา ก็เป็นโลกกลม มีการหมุนรอบตัวเอง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่ตอนนี้ ขอชวนเพื่อนมองโลกจากมุมมองของนักสังคมศาสตร์ (โดยเฉพาะพวกที่สนใจด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และตัวแสดงต่างๆ เช่น รัฐ บริษัทข้ามชาติ องค์การระหว่างประเทศ และปัจเจคบุคคล) เราก็จะเห็นว่า โลกในสมัยโบราณ เป็นโลก (world) ที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ การติดต่อไปมาหาสู่กันเป็นเรื่องยากลำบาก โลกในสมัยต่อมาก็มีขนาดเล็กลง (ไม่ได้ “แคบ” เพราะมีช่องทางในการติดต่อกันและกันที่ “กว้าง” ขึ้นมาก ) เพราะเทคโนโลยีได้เชื่อมโยงเวลาและสถานที่ที่เคยอยู่ไกลกันให้เข้าใกล้กันยิ่งขึ้น พอมาในสมัยนี้ในยุคศตวรรษที่ 21 (นับตามฝรั่ง) นอกจากโลกจะเล็กลงแล้ว ยังค่อยเริ่มแบนขึ้นด้วย
นักสังคมศาสตร์เรียกปรากฎการณ์ความเปลี่ยนแปลงนี้ว่า “โลกานุวัตร” หรือตามราชบัณฑิตฯ ว่า “โลกาภิวัตน์” หรือตามภาษาฝรั่งว่า “globalization”
การที่บอกว่าโลกของเรานั้นแบนลงนั้นหมายความว่าอย่างไร เพื่อนอาจจะสงสัย จึงขอตอบว่าโลกของเราที่เคยกลม ซึ่งเป็นเต็มไปด้วยความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน โดยเฉพาะในเรื่องของอำนาจและหน้าที่ ดังเห็นได้จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันนั้นมีนัยของระดับชั้น หรือขั้นการบังคับบัญชา (hierarchy) มีสังคม (หรือปัจเจคบุคคล) หนึ่งที่ก้าวล้ำนำหน้า และมีอีกสังคมหนึ่งที่เดินก้าวตาม มีผู้ออกคำสั่ง และมีผู้ทำตาม สภาวะการณ์เช่นนี้เริ่มจะไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นอันเป็นผลพวงมาจากกระแสโลกานุวัตร ที่สั่งสมก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่ที่ต่างสังคมเริ่มมีการติดต่อกัน มีการรับรู้ถึงการคงอยู่ของกันและกัน และทวีขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ ทำให้ความสัมพันธ์และการรับรู้การมีอยู่นั้นเกิดการพึ่งพิ่งอิงกัน แลกเปลี่ยน และเรียนรู้จากกันและกันในด้านต่างๆ เป็นไปในแนวราบมากขึ้น
เพื่อนคงจะสังเกตได้ว่ากระแสโลกานุวัตรที่หาโหมเข้ามานั้นก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายต่อโลกที่เราอยู่ ซึ่งเราสามารถรับรู้ได้ในชีวิตประจำวัน การไหลผ่านถ่ายเทโดยเสรีของสินค้า และบริการ รวมทั้งข้อมูลความรู้ที่เกิดขึ้นจากการก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมทั้งการเรียนรู้วัฒนธรรม และประสบการณ์จากกันและกันในระดับที่เพิ่มขึ้น แม้จะทำให้โลกมีความคล้ายคลึงกันในมิติทางวัฒนธรรม แต่ก็ทำให้โลกมีความเท่าเทียมกันได้ ความเท่าเทียมกันนี้ เป็นผลมาพัฒนาการทางด้านความรู้ความสามารถของปัจเจกบุคคล ซึ่งย่อมประกอบเข้าเป็นความสามารถทางการแข่งขันในระดับประเทศ
สำหรับประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยของเราที่เป็นประเทศเล็กขึ้นอยู่กับพลวัตรของโลก ซึ่งมีผลต่อความเป็นไปของการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมภายในประเทศ ดังนั้น เมื่อกระแสโลกานุวัตรที่กำลังทำให้โลกเล็กเริ่มแบนราบขึ้นจึงเป็นโอกาสสำคัญ เพื่อนทุกคนที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมจึงควรตั้งรับพร้อมรุกให้เหมาะกับกระแสความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น
ขอแนะนำเพื่อนว่า การพัฒนาขีดความสามารถ และการพึ่งตนเอง บนพื้นฐานของปัจเจคชน (เพื่อนแต่ละคนนี่ล่ะ) เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลต่อการพัฒนาของประเทศชาติเรา เราจะพัฒนาตัวเองแบบไหน และอย่างไรนั้น ตอบได้ไม่ยาก ก็ดังที่บอกนั่นแหละว่าใช้กระแสความเปลี่ยนแปลง และความก้าวหน้าของโลกให้เป็นประโยชน์ เพื่อนจะมาหวังพึ่งรัฐบาล หรือผู้นำประเทศย่อมเป็นไปไม่ได้ อีกยังเสียเวลาคาดหวังจนไปเปล่าๆ
เมื่อเรียนอยู่มัธยมฯ ครูใหญ่เคยบ่นพร่ำในฟังว่า การที่บุคคลหรือสังคมไหนจะพัฒนาได้อย่างทันท่วงทีกับความเปลี่ยนไปนั้น จำเป็นต้องสร้าง “ทางบายพาส” (by pass) เหมือนสะพานข้ามสี่แยกที่รถติด เมื่อโตขึ้นจังเข้าใจว่า การใช้เส้นสะพานข้ามสี่แยกนี้ก็คือการ “ข้ามรัฐ” ซึ่งทำได้โดยข้ามการจราจรของการพัฒนาทางการเมือง และระบบราชการที่ติดขัดมานาน และไม่น่าจะแก้ไขได้โดยเร็วไว
ขอยกตัวอย่างให้เพื่อนลองนึกตามดูสักหน่อย จำได้ไหม ที่เคยเล่าให้เพื่อนฟังถึงระบบปฎิบัติการ “กนู/ลีนุกซ์” (GNU/Linux) และซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สอยู่บ่อยๆ เหตุที่ชอบยุให้เพื่อเตรียมตัวปลดพันธนาการจากระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และซอฟท์แวร์ลิชสิทธิ์อื่นๆ นั้น ก็เพราะว่า การใช้ระบบปฏิบัติการและซอฟท์แวร์โอเพนซอร์สเช่นนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีของแนวทางที่เพื่อนทุกคนสามารถปฏิบัติได้จริงเพื่อให้ประเทศไทยพึ่งพาตัวเอง ได้
แม้ว่าการปรับเปลี่ยนจากของเก่ามาเป็นของใหม่จะเป็นของยาก แต่ก็เชื่อว่าคงไม่ลำบากเกินแรง หลายคนบอกว่าระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ที่ว่านี้ มีการใช้ง่ายที่ไม่ยาก มีความเสถียร และปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นของคนไทยที่พัฒนาขึ้นเอง การเปลี่ยนจากวินโดวส์และไมโครซอฟท์ออฟฟิส มาใช้ลีนุกซ์ และออฟฟิสทะเล หรือปลาดาวออฟฟิสของคนไทยคงไม่ต้องใช้เวลามาก เพราะเพื่อนทุกคนมีภาษีที่คุ้นเคยกับคอมพิวเตอร์กันอยู่แล้ว
เมื่อมีคนใช้น้อย ระบบก็ไม่พัฒนา และเมื่อระบบไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ ก็ไม่มีคนใช้ วนเวียนเช่นนี้เป็นปัญหางูกินหางเรื่อยไป และเราก็ยังต้องพึ่งพาคนอื่น (ต่างชาติ) อยู่วันยังค่ำ เห็นไหม เราแก้ได้ที่เรื่องที่เราเห็นกันในชีวิตประจำวันเช่นนี้แหละ
เราควรพึงระลึกว่า เราเป็นประเทศกำลังพัฒนา จำเป็นต้องลดต้นทุนต่างๆ (ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่ต้องพึ่งพิงต่างชาติ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์) ในขณะที่สร้างอรรถประโยชน์ให้สูงสุด ลองคิดดูสิว่า หากเรายังต้องพึ่งสินค้าจากไมโครซอฟท์อยู่อีก เมื่อไรประเทศของเราจะพัฒนาทางเศรษฐกิจ และลดพันธนาการได้ อีกหน่อยทุกครัวเรือนไทยจะมีคอมพิวเตอร์ใช้กันทุกบ้าน แต่จะให้เป็นลูกค้าไมโครซอฟท์กันหกสิบกว่าล้านคนเห็นจะไม่ดีแน่ นายบิล เกตส์เขาไม่ปล่อยให้เราใช้แผ่นก๊อปฯ ตามพันธ์ทิพย์กันฟรีๆ หรอก
ตอนนี้รัฐบาลใหม่ (หัวหน้าคนเดิม) ของเราแผ่วลงไปกับนโยบายด้านพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศ โดยเฉพาะเรื่องระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สมาก คนตัวเล็กๆ อย่างเราคงทำอะไรไม่ได้นอกจากร่วมมือร่วมใจกันวิ่งบนสะพานบายพาสข้ามรัฐ ที่มีหลายลู่ และแข็งแรง การร่วมมือร่วมใจกันเช่นนี้ เป็นหนึ่งในตัวอย่างของการตั้งรับพร้อมรุกในยุคที่ภูมิเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่แบนราบลงไป โดยใช้โอกาสที่เปิดกว้างจากกระแสความเปลี่ยนแปลงให้เป็นประโยชน์
นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียวเกี่ยวกับการกระทำที่จะเป็นผลดีต่อประเทศชาติ เราสามารถเริ่มที่ตัวเราเองได้ทันที ไม่ต้องการเงินมาก ไม่ต้องเสียเวลามากมาย เพื่อนคิดเรื่องอื่นๆ อีกไหม หากมีอะไรน่าสนใจก็เขียนมาเล่าให้ฟังบ้างจะดีใจมาก
นอกจากนี้แล้ว เพื่อนควรที่จะพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของตัวเองด้วย การพัฒนาความสามารถของตัวเองเช่นนี้จะเป็นจุดขายและเป็นจุดแข็งของตัวเอง ในยุคที่เศรษฐกิจและธรุกิจโลกมีการผ่านเทไหลไปมาเช่นนี้ ย่อมทำให้ประเทศชาติของเราเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโลกที่เชื่อมโยงกันได้ ดังเช่นประเทศอินเดีย ซึ่งกำลังก้าวผงาดเป็นผู้ให้บริการด้านบริการของประเทศอเมริกา หรือประเทศจีนซึ่งกำลังเป็นผู้ผลิตยักษ์ของโลก
ความสามารถในการแข่งขันนั้นพัฒนาได้ไม่ยาก เพื่อนน่าจะเริ่มจากตัวเอง ตัวเองมีความรู้เชี่ยวชาญด้านไหนก็ควรจะพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านนั้นของตนให้รู้จริง และถึงแก่นที่สุด อย่าเห่อไปตามกระแส ใครเขาบอกว่าอันนี้ดี ก็ไปสนใจ (แบบเก๊ๆ) แบบเขา แต่หารู้ไม่ว่าสิ่งนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งที่เรามีความถนัด หรือชื่นชอบ นอกจากนี้เพื่อนควรหมั่นอ่านหนังสือ หัดคิด หัดเขียนให้เป็นระบบเป็นตรรกะ มีจุดยืน มีหลักคิดในการให้ความเห็น ฝึกภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษให้พอสื่อสารได้ สามารถใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตหาข้อมูลความรู้ที่มีอยู่อย่างเสรีได้ทัดเทียมกับคนฝรั่ง
ทว่า ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้แม้แต่ต้องการชวนให้เพื่อนพัฒนาตัวเองไปในแนวทางที่เป็นแม่พิมพ์ หรือมาตรฐานเดียวกันหมดเลยแต่น้อย เพื่อนน่าจะรู้กันดีอยู่ว่า โลกกลมเล็กที่กลมเล็กที่เกิดขึ้นนั้นมีแนวโน้มของการพัฒนาไปในแนวทางเดียวกันหมดมาก อีกยังเกิดการกลืนกันในทางวัฒนธรรมจนน่าใจหายด้วย แต่เพื่อนลองคิดดูสิว่า ทำไมโลกของเราจึงไม่ได้ถึงจุดทื่เล็กลงจนหลอมรวมเป็นโลกจิ๋วใบเดียว ก็เพราะแต่ละสังคมมีการตอบรับ และเห็นปัญหาที่พึงเกิดขึ้นกับโลกแบบนี้น่ะสิ จึงเกิดการทำตัวให้แตกต่าง โดยใช้กระแสความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นให้เป็นประโยชน์
โลกเรายังต้องการความหลากหลาย ความเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง มีประชาการที่มีคุณภาพ นอกเหนือไปจากการมีรัฐบาลที่ใช้ได้ และการมีระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพ
ประเทศไทยอันเป็นที่รักของเราจะไม่สามารถก้าวหน้าได้เลย หากเรา (ในระดับปัจเจกบุคคล) ไม่หาจุดแข็งของตัวเอง และพัฒนาจุดแข็งที่ว่านั้นให้เป็นความสามารถในการแข่งขัน จนเราสามารถพึ่งพาตัวเองได้ เพื่อนอย่าไปรอคอยการเปลี่ยนแปลงจากรัฐเลย เราควรเริ่มจากจุดเล็กๆ ขึ้นไปหาใหญ่ มากกว่ารอคอยรัฐบาลดำเนินนโยบายตามความเข้าใจของคนกลุ่มคนเพียงไม่กี่คน และเมื่อเราเริ่มกันที่ตัวเองได้แล้ว เชื่อว่าอีกไม่นาน เราก็น่าจะเห็นรัฐบาลที่คิดไปในทำนองเดียวกับเรา เพราะโปรดอย่าลืมว่า เราอยู่บนระบอบประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้ง “ผู้แทนประชาชน”
พูดให้สั้นก็คือ เราควรใช้ความเปลี่ยนแปลง (โลกานุวัตร) ที่เกิดขึ้นนี้เป็นกลไกในการพัฒนาสังคม (โดยเฉพาะในระดับประเทศ) มากกว่าจะมองว่าโลกานุวัตรคือคลื่นใหญ่ที่คอยเอาแต่พัดมาชายฝั่งให้เรียบราบคาบเหมือนกันหมด
ขอย้ำอีกครั้งว่า “กระแส” ที่กำลังเป็นไปนี้ คือ “เครื่องมือ” ที่เพื่อนสามาถรนำมาใช้ให้เกิดมีประสิทธิภาพในการพัฒนาตัวเองและประเทศชาติ มิใช่ “กฎระเบียบ” ที่คอยบังคับให้เราทำโน่นทำนี่
ขอให้เพื่อนทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเปลี่ยนไปของโลกจนแม่นฝังใจ เพราะนอกจากเพื่อนจะทำให้ตัวเองดวงดีเพราะสามารถรุกรับกับปรากฏการณ์ของโลกได้แล้ว ยังทำให้ชะตาของประเทศชาติไทยอันเป็นที่รักของเราดีตามไปด้วย บนความเหมือนกันนี้ ความแตกต่าง (ซึ่งรวมถึงการพึ่งตัวเอง และมีความสามารถในการแข่งขัน) จะทำให้เราอยู่ได้ดีที่สุดบนโลกใบนี้ที่มีความละม้ายคล้ายคลึงกันมาก (จนน่าเบื่อ)
ตอนนี้เครื่องบินจากซานฟรานซิสโก ไปนิวยอร์กใกล้จะลดระดับเพื่อลงแตะรันเวย์แล้ว ขอจบจดหมายฉบับนี้ที่เขียนขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่หอบหิ้วขึ้นมาด้วย ระหว่างที่บินอยู่เหนือแผ่นดินอเมริกาจากฝั่งตะวันตกมาฝั่งตะวันออกไว้เพียงแต่เท่านี้
รักและคิดถึงเพื่อนทุกคน
ท่อก
-รวิ แสงส่องงาม
ต้นฤดูร้อน 2548
ป.ล. เพื่อนอ่าน “ใครว่าโลกกลม”(http://manager.co.th/Columnist/ViewNews.aspx?NewsID=9480000067044) ได้นะ เป็นการพูดถึงหนังสือเล่มหนึ่งที่เพิ่งอ่านจบไป พูดถึงเรื่องทำนองนี้แหละ