ผมพบคำว่า 'NEET' ครั้งแรก ในนิตยสาร 中国新闻周刊 (China Newsweek) .... NEET คืออักษรย่อของ Not in Education, Employment or Training หรือแปลเป็นไทยได้ว่า กลุ่มคนในวัยแรงงานที่ไม่อยู่ในระหว่างศึกษา ทำงาน และ อบรม
คำว่า NEET ถือกำเนิดขึ้นในบรรณพิภพ เพียงราว 20 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มมีการกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในประเทศแถบยุโรป ก่อนที่จะมีการแพร่หลายเข้าไปในประเทศญี่ปุ่น และปัจจุบันที่ประเทศจีนก็เริ่มมีการกล่าวถึงกันแล้ว
เมื่อ 5 ปีก่อนที่ประเทศอังกฤษ รายงานของ Social Exclusion Unit ระบุว่า มีจำนวนวัยรุ่นอายุระหว่าง 16-19 ปีกว่า 161,000 คน หรือร้อยละ 9 นั้นไม่ได้ศึกษาต่อ ไม่ได้อยู่ระหว่างการอบรม และไม่ได้ทำงาน เป็นระยะเวลานาน หลังจากการจบการศึกษาเมื่ออายุ 16 ปี
ในประเทศญี่ปุ่น การจำกัดความและสภาวะของ NEET นั้นแตกต่างจากอังกฤษอย่างเห็นได้ชัด โดยขณะที่ในประเทศอังกฤษ NEET จะมาจากสังคมของชนชั้นล่างทางเศรษฐกิจ ส่วน NEET ในญี่ปุ่นนั้นส่วนใหญ่ถือว่ามาจากครอบครัวที่มีฐานะ
จริงๆ แล้ว ชาวญี่ปุ่นมีศัพท์เรียกขาน NEET ในภาษาตัวเองว่า อิสรชน (Freeters)
อิสรชน เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นในปลายทศวรรษที่ 80 หลังฟองสบู่เศรษฐกิจญี่ปุ่นแตก โดยมีการให้ความหมายของอิสรชน ไว้ว่า คือ หนุ่มสาววัยตั้งแต่ 15-34 ปี ผู้จงใจเลือกที่จะไม่ทำงานประจำทั้งๆ ที่ในตลาดแรงงานมีตำแหน่งว่างอยู่ โดยคนกลุ่มนี้เลือกที่จะไม่ดึงคุณสมบัติทางการศึกษาของตนที่มีอยู่มาทำงานประจำ แต่หันไปทำงานชั่วคราว อย่างเช่น พนักงานขาย หรือ งานในภาคบริการที่ให้ค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมง หรือ รายวันมากกว่า
เมื่อผมยกเรื่องนี้มาพูดคุยกับเพื่อนชาวญี่ปุ่นได้ความว่า กลุ่มอิสรชนนี้ถือว่าเป็นกลุ่มที่ใหญ่ทีเดียว แม้วัยรุ่นญี่ปุ่นในปัจจุบันจะมีค่านิยมแบบตะวันตก คือ หลังจากเรียนจบมัธยมแล้วก็มักจะเรียนไปด้วย ทำงานพิเศษไปด้วย แต่ก็มีกลุ่มวัยรุ่นชาวญี่ปุ่น จำนวนไม่น้อยที่เมื่อเรียนจบระดับมัธยม หรือ อุดมศึกษาแล้วกลับไม่ยอมไปเข้าสู่ตลาดแรงงาน หางานประจำทำ แต่กลับไปอาศัยอยู่กับพ่อ-แม่ ให้พ่อแม่เลี้ยงดู
ศาสตราจารย์ มิชิโกะ มิยาโมโต้ นักสังคมศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยชิบะระบุว่า อิสรชน หรือ NEET นั้นเป็นของประเทศร่ำรวย และมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2546 ตัวเลขจากทางการญี่ปุ่นระบุว่าจำนวน NEET อยู่ที่ราว 520,000 คน ขณะที่ในปี 2547 ตัวเลขได้เขยิบขึ้นมาเป็น 750,000 คน โดยถือว่าเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะในเวลา 10 ปี เติบโตขึ้นถึง 10 เท่า ทั้งยังมีแนวโน้มว่า ตัวเลขเดียวกันนี้จะเติบโตขึ้นไปถึง 1 ล้านคนในปี 2555 (ตัวเลขนี้เป็นการประมาณการที่อ้างอิงจาก 中国新闻周刊 ขณะที่ The Guardian ระบุว่า อิสรชนในญี่ปุ่นนั้นมีจำนวนมากกว่า 4 ล้านคน)*
ทั้งนี้สถาบันวิจัยนโยบายการศึกษาญี่ปุ่นได้แบ่ง อิสรชน แบบญี่ปุ่นไว้เป็น 3 ประเภท คือ ประเทศรักความอิสระและความสบาย ประเภทไล่ตามความฝัน และ ประเภทที่อับจนหนทาง
ในประเทศจีน NEET เป็นคำศัพท์ที่ใหม่มาก และเพิ่งมีการพูดถึงกันอย่างเป็นทางการในการประชุมร่วมระหว่างสมัชชาผู้แทนประชาชนแห่งชาติร่วมกับสภาที่ปรึกษาทางการเมือง โดยมี วุฒิสมาชิกท่านหนึ่งนาม เจียงจงเหลียน (江中联) แจ้งถึงการกำเนิดขึ้นของ กลุ่มผู้ตกงานประเภทใหม่ ในสังคมจีนขึ้น
รายงานฉบับดังกล่าวของ เจียงจงเหลียน ระบุว่าประเทศจีนมีลักษณะของ NEET ที่เป็นเฉพาะตัว โดยหมายความคร่าวๆ ถึงคนในวัย 15-34 ปี ที่ยังไม่แต่งงาน โดยพึ่งพาอาศัยค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตกับ พ่อ-แม่ หรือ แฟน ทั้งนี้ NEET ในแบบจีน สามารถแบ่งแยกได้คร่าวๆ เป็น 3 ประเภทเช่นกันคือ
ประการแรก ประเภทที่ไม่ยอมทนความลำบากทำงานเลือกที่จะอาศัยอยู่กับพ่อ-แม่
ประการที่สอง ประเภทที่ไม่มีทางเลือก (หรือ ไม่ยอมเลือก) อาจเป็นได้ว่าได้รับการศึกษาน้อยจึงหางานทำไม่ได้ หรือ ได้รับการศึกษาแต่หางานที่เหมาะสมกับตนเองไม่ได้ เช่น งานที่ใช้ความรู้สูงก็ทำไม่ได้ ส่วนงานที่ใช้ความรู้ระดับล่างลงมาก็ไม่ยอมทำ โดยแรงงานในกลุ่มนี้มักจะหาทางออกด้วยการเรียนต่อ
ประการที่สาม ถือเป็นคนกลุ่มใหม่ที่เพิ่งพบในสังคมจีน โดยคนกลุ่มนี้มีความคล้ายคลึงกับ อิสรชนในประเภทไล่ตามความฝันของญี่ปุ่น โดยคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีการศึกษา แต่รักความสบาย เลือกไล่ตามความฝัน โดยหากไม่ได้งานที่ตรงกับความคาดหวังก็จะยินดีไปทำงานบริการที่จ้างงานชั่วคราวต่างๆ อันรวมไปถึงการเป็น แม่บ้าน ให้กับผู้ชายที่ยินดีเลี้ยงดูตนเอง
เจียงจงเหลียนชี้ให้เห็นว่า NEET กำลังจะเป็นปัญหาที่สำคัญของสังคมจีนต่อไปในอนาคต เนื่องจาก คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ได้รับการศึกษา และ เป็นแรงงานมีฝีมือ ที่ถือเป็นกำลังสำคัญอย่างมากของประเทศที่กำลังเร่งพัฒนาเศรษฐกิจอย่างจีน โดยเฉพาะใน สภาวะสังคมที่จีนกำลังจะเป็นเช่นเดียวกันกับญี่ปุ่น คือเป็นสังคมที่กำลังก้าวเข้าสู่สภาวะของ สังคมคนชรา
ด้านวงวิชาการด้านสังคมศาสตร์ของจีนให้ให้ข้อสังเกตว่า NEET ในประเทศจีนนั้นน่าจะมีสาเหตุจากปัจจัยหลายประการด้วยกันคือ หนึ่ง หลังจากประเทศจีนดำเนินนโยบายให้มีลูกคนเดียว ครอบครัวคนจีนนั้นกลับดูแลเอาใจใส่ลูกมากเกินเหตุ ยิ่งกว่าไข่ในหิน ทำให้เมื่อเด็กโตขึ้นไม่สามารถดูแลตัวเองได้ โดยในข้อนี้สังเกตได้จาก NEET ส่วนใหญ่นั้นจะมีพื้นเพมาจากครอบครัวที่มีลูกคนเดียว สอง เป็นผลพวงจากการพัฒนาเศรษฐกิจที่สังคมจีนเมื่อเริ่มเข้าสู่ สภาวะของการพอมีพอกินแล้ว คนรุ่นใหม่ก็มีโอกาส มีทางเลือกในการงานมากขึ้น สาม ภาวะการเกิดขึ้นของ NEET แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวในระบบการศึกษาและการแนะแนวการทำงานของจีนที่ไม่สามารถผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานได้
ดร.หลี่เทียนกั๋ว นักวิจัยด้านแรงงานได้สรุปถึงผลกระทบของ NEET ต่อสังคมโดยรวมว่า "NEET นั้นเป็นสภาวะที่ไม่ส่งผลดีต่อสังคมที่กำลังก่อร่างสร้างตัว โดยจากการประสบการณ์การศึกษาเรื่อง NEET ในต่างประเทศนั้น คนกลุ่มนี้มีโอกาสที่จะ เสพยาเสพติด ทำผิดกฎหมายที่รุนแรง กลายเป็นคนกลุ่มชายขอบของสังคม อันก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในสังคม นอกจากนี้ NEET ยังเป็นถือเป็นปัญหาโดยตรงของสังคมที่กำลังก้าวเข้าสู่สภาวะของสังคมคนชรา (สภาวะที่คนชรามีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด) และการที่กลุ่มคนเหล่านี้ได้รับการศึกษาแต่ไม่ยอมทำงาน จึงถือเป็น ความสูญเสียของสังคมและของประเทศโดยรวม ที่ต้องเสียแรงงานไปโดยเปล่าประโยชน์"
อย่างไรก็ตามเนื่องจาก NEET เป็นประเด็นใหม่ในสังคม ทำให้ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่า แท้จริงแล้ว NEET เป็น ปรากฎการณ์ของสังคมโลกที่แสดงถึง ความก้าวหน้าของการผลิต ทำให้คนรุ่นปัจจุบันมีทางเลือกมากขึ้น หรือ ปัญหาของสังคมในโลกยุคที่ความรวย-ความจนแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว กันแน่
ข้อมูลอ้างอิงจาก :
*นิตยสาร 中国新闻周刊 (China Newsweek) วันที่ 28 มีนาคม 2548 ฉบับที่ 11/2005 หน้า 48-53
**ข่าว Neet generation จากหนังสือพิมพ์ The Guardian ฉบับ 2 พฤศจิกายน 2547
***หนังสือพิมพ์ 21st Century (China Daily) ฉบับ 23 มีนาคม 2548 หน้า 6
คำว่า NEET ถือกำเนิดขึ้นในบรรณพิภพ เพียงราว 20 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มมีการกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในประเทศแถบยุโรป ก่อนที่จะมีการแพร่หลายเข้าไปในประเทศญี่ปุ่น และปัจจุบันที่ประเทศจีนก็เริ่มมีการกล่าวถึงกันแล้ว
เมื่อ 5 ปีก่อนที่ประเทศอังกฤษ รายงานของ Social Exclusion Unit ระบุว่า มีจำนวนวัยรุ่นอายุระหว่าง 16-19 ปีกว่า 161,000 คน หรือร้อยละ 9 นั้นไม่ได้ศึกษาต่อ ไม่ได้อยู่ระหว่างการอบรม และไม่ได้ทำงาน เป็นระยะเวลานาน หลังจากการจบการศึกษาเมื่ออายุ 16 ปี
ในประเทศญี่ปุ่น การจำกัดความและสภาวะของ NEET นั้นแตกต่างจากอังกฤษอย่างเห็นได้ชัด โดยขณะที่ในประเทศอังกฤษ NEET จะมาจากสังคมของชนชั้นล่างทางเศรษฐกิจ ส่วน NEET ในญี่ปุ่นนั้นส่วนใหญ่ถือว่ามาจากครอบครัวที่มีฐานะ
จริงๆ แล้ว ชาวญี่ปุ่นมีศัพท์เรียกขาน NEET ในภาษาตัวเองว่า อิสรชน (Freeters)
อิสรชน เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นในปลายทศวรรษที่ 80 หลังฟองสบู่เศรษฐกิจญี่ปุ่นแตก โดยมีการให้ความหมายของอิสรชน ไว้ว่า คือ หนุ่มสาววัยตั้งแต่ 15-34 ปี ผู้จงใจเลือกที่จะไม่ทำงานประจำทั้งๆ ที่ในตลาดแรงงานมีตำแหน่งว่างอยู่ โดยคนกลุ่มนี้เลือกที่จะไม่ดึงคุณสมบัติทางการศึกษาของตนที่มีอยู่มาทำงานประจำ แต่หันไปทำงานชั่วคราว อย่างเช่น พนักงานขาย หรือ งานในภาคบริการที่ให้ค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมง หรือ รายวันมากกว่า
เมื่อผมยกเรื่องนี้มาพูดคุยกับเพื่อนชาวญี่ปุ่นได้ความว่า กลุ่มอิสรชนนี้ถือว่าเป็นกลุ่มที่ใหญ่ทีเดียว แม้วัยรุ่นญี่ปุ่นในปัจจุบันจะมีค่านิยมแบบตะวันตก คือ หลังจากเรียนจบมัธยมแล้วก็มักจะเรียนไปด้วย ทำงานพิเศษไปด้วย แต่ก็มีกลุ่มวัยรุ่นชาวญี่ปุ่น จำนวนไม่น้อยที่เมื่อเรียนจบระดับมัธยม หรือ อุดมศึกษาแล้วกลับไม่ยอมไปเข้าสู่ตลาดแรงงาน หางานประจำทำ แต่กลับไปอาศัยอยู่กับพ่อ-แม่ ให้พ่อแม่เลี้ยงดู
ศาสตราจารย์ มิชิโกะ มิยาโมโต้ นักสังคมศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยชิบะระบุว่า อิสรชน หรือ NEET นั้นเป็นของประเทศร่ำรวย และมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2546 ตัวเลขจากทางการญี่ปุ่นระบุว่าจำนวน NEET อยู่ที่ราว 520,000 คน ขณะที่ในปี 2547 ตัวเลขได้เขยิบขึ้นมาเป็น 750,000 คน โดยถือว่าเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะในเวลา 10 ปี เติบโตขึ้นถึง 10 เท่า ทั้งยังมีแนวโน้มว่า ตัวเลขเดียวกันนี้จะเติบโตขึ้นไปถึง 1 ล้านคนในปี 2555 (ตัวเลขนี้เป็นการประมาณการที่อ้างอิงจาก 中国新闻周刊 ขณะที่ The Guardian ระบุว่า อิสรชนในญี่ปุ่นนั้นมีจำนวนมากกว่า 4 ล้านคน)*
ทั้งนี้สถาบันวิจัยนโยบายการศึกษาญี่ปุ่นได้แบ่ง อิสรชน แบบญี่ปุ่นไว้เป็น 3 ประเภท คือ ประเทศรักความอิสระและความสบาย ประเภทไล่ตามความฝัน และ ประเภทที่อับจนหนทาง
ในประเทศจีน NEET เป็นคำศัพท์ที่ใหม่มาก และเพิ่งมีการพูดถึงกันอย่างเป็นทางการในการประชุมร่วมระหว่างสมัชชาผู้แทนประชาชนแห่งชาติร่วมกับสภาที่ปรึกษาทางการเมือง โดยมี วุฒิสมาชิกท่านหนึ่งนาม เจียงจงเหลียน (江中联) แจ้งถึงการกำเนิดขึ้นของ กลุ่มผู้ตกงานประเภทใหม่ ในสังคมจีนขึ้น
รายงานฉบับดังกล่าวของ เจียงจงเหลียน ระบุว่าประเทศจีนมีลักษณะของ NEET ที่เป็นเฉพาะตัว โดยหมายความคร่าวๆ ถึงคนในวัย 15-34 ปี ที่ยังไม่แต่งงาน โดยพึ่งพาอาศัยค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตกับ พ่อ-แม่ หรือ แฟน ทั้งนี้ NEET ในแบบจีน สามารถแบ่งแยกได้คร่าวๆ เป็น 3 ประเภทเช่นกันคือ
ประการแรก ประเภทที่ไม่ยอมทนความลำบากทำงานเลือกที่จะอาศัยอยู่กับพ่อ-แม่
ประการที่สอง ประเภทที่ไม่มีทางเลือก (หรือ ไม่ยอมเลือก) อาจเป็นได้ว่าได้รับการศึกษาน้อยจึงหางานทำไม่ได้ หรือ ได้รับการศึกษาแต่หางานที่เหมาะสมกับตนเองไม่ได้ เช่น งานที่ใช้ความรู้สูงก็ทำไม่ได้ ส่วนงานที่ใช้ความรู้ระดับล่างลงมาก็ไม่ยอมทำ โดยแรงงานในกลุ่มนี้มักจะหาทางออกด้วยการเรียนต่อ
ประการที่สาม ถือเป็นคนกลุ่มใหม่ที่เพิ่งพบในสังคมจีน โดยคนกลุ่มนี้มีความคล้ายคลึงกับ อิสรชนในประเภทไล่ตามความฝันของญี่ปุ่น โดยคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีการศึกษา แต่รักความสบาย เลือกไล่ตามความฝัน โดยหากไม่ได้งานที่ตรงกับความคาดหวังก็จะยินดีไปทำงานบริการที่จ้างงานชั่วคราวต่างๆ อันรวมไปถึงการเป็น แม่บ้าน ให้กับผู้ชายที่ยินดีเลี้ยงดูตนเอง
เจียงจงเหลียนชี้ให้เห็นว่า NEET กำลังจะเป็นปัญหาที่สำคัญของสังคมจีนต่อไปในอนาคต เนื่องจาก คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ได้รับการศึกษา และ เป็นแรงงานมีฝีมือ ที่ถือเป็นกำลังสำคัญอย่างมากของประเทศที่กำลังเร่งพัฒนาเศรษฐกิจอย่างจีน โดยเฉพาะใน สภาวะสังคมที่จีนกำลังจะเป็นเช่นเดียวกันกับญี่ปุ่น คือเป็นสังคมที่กำลังก้าวเข้าสู่สภาวะของ สังคมคนชรา
ด้านวงวิชาการด้านสังคมศาสตร์ของจีนให้ให้ข้อสังเกตว่า NEET ในประเทศจีนนั้นน่าจะมีสาเหตุจากปัจจัยหลายประการด้วยกันคือ หนึ่ง หลังจากประเทศจีนดำเนินนโยบายให้มีลูกคนเดียว ครอบครัวคนจีนนั้นกลับดูแลเอาใจใส่ลูกมากเกินเหตุ ยิ่งกว่าไข่ในหิน ทำให้เมื่อเด็กโตขึ้นไม่สามารถดูแลตัวเองได้ โดยในข้อนี้สังเกตได้จาก NEET ส่วนใหญ่นั้นจะมีพื้นเพมาจากครอบครัวที่มีลูกคนเดียว สอง เป็นผลพวงจากการพัฒนาเศรษฐกิจที่สังคมจีนเมื่อเริ่มเข้าสู่ สภาวะของการพอมีพอกินแล้ว คนรุ่นใหม่ก็มีโอกาส มีทางเลือกในการงานมากขึ้น สาม ภาวะการเกิดขึ้นของ NEET แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวในระบบการศึกษาและการแนะแนวการทำงานของจีนที่ไม่สามารถผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานได้
ดร.หลี่เทียนกั๋ว นักวิจัยด้านแรงงานได้สรุปถึงผลกระทบของ NEET ต่อสังคมโดยรวมว่า "NEET นั้นเป็นสภาวะที่ไม่ส่งผลดีต่อสังคมที่กำลังก่อร่างสร้างตัว โดยจากการประสบการณ์การศึกษาเรื่อง NEET ในต่างประเทศนั้น คนกลุ่มนี้มีโอกาสที่จะ เสพยาเสพติด ทำผิดกฎหมายที่รุนแรง กลายเป็นคนกลุ่มชายขอบของสังคม อันก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในสังคม นอกจากนี้ NEET ยังเป็นถือเป็นปัญหาโดยตรงของสังคมที่กำลังก้าวเข้าสู่สภาวะของสังคมคนชรา (สภาวะที่คนชรามีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด) และการที่กลุ่มคนเหล่านี้ได้รับการศึกษาแต่ไม่ยอมทำงาน จึงถือเป็น ความสูญเสียของสังคมและของประเทศโดยรวม ที่ต้องเสียแรงงานไปโดยเปล่าประโยชน์"
อย่างไรก็ตามเนื่องจาก NEET เป็นประเด็นใหม่ในสังคม ทำให้ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่า แท้จริงแล้ว NEET เป็น ปรากฎการณ์ของสังคมโลกที่แสดงถึง ความก้าวหน้าของการผลิต ทำให้คนรุ่นปัจจุบันมีทางเลือกมากขึ้น หรือ ปัญหาของสังคมในโลกยุคที่ความรวย-ความจนแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว กันแน่
ข้อมูลอ้างอิงจาก :
*นิตยสาร 中国新闻周刊 (China Newsweek) วันที่ 28 มีนาคม 2548 ฉบับที่ 11/2005 หน้า 48-53
**ข่าว Neet generation จากหนังสือพิมพ์ The Guardian ฉบับ 2 พฤศจิกายน 2547
***หนังสือพิมพ์ 21st Century (China Daily) ฉบับ 23 มีนาคม 2548 หน้า 6