สัปดาห์ที่แล้วผมเกริ่นเอาไว้ล่วงหน้าแล้วว่าจะเขียนเรื่อง ดัชนีความสุขแห่งชาติ (Gross National Happiness) ต่อ ทั้งนี้เนื่องจากผมไปพบเข้ากับบทความของนักเศรษฐศาสตร์ชาวตะวันตกท่านหนึ่งที่เคยนำเสนอแนวคิดเรื่องนี้ให้กับผู้นำและนักวิชาการชาวภูฏาน ครั้งไปเยือนประเทศเนเธอร์แลนด์เมื่อ 4 ปีก่อน
บทความเชิงวิชาการเรื่อง Gross National Happiness:Towards Buddhist Economics* ถูกนำเสนอโดย Sander G. Tideman โดยผู้เขียนได้พยายามเชื่อมโยงชี้ให้เห็นถึงจุดบกพร่องของ ศาสตร์ทางสังคมศาสตร์ ที่ได้ชื่อว่าเป็นวิทยาศาสตร์ และใกล้เคียงกับคณิตศาสตร์มากที่สุด คือ เศรษฐศาสตร์ โดยจับเอา ปรัชญาของพุทธศาสนาเข้ามาอธิบายประกอบ
นอกจากนี้ บทความชิ้นดังกล่าว ยังยกเอาข้อสรุปจาก ผู้มีชื่อเสียง นักวิชาการ และหนังสือเล่มสำคัญต่างๆ ในรอบ 30 ปีที่พยายามชี้ให้เห็นถึง ความล้มเหลวของสมมติฐานพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ ที่ก่อให้เกิดวิกฤตสิ่งแวดล้อม และ ภาวะสังคมโลกที่บิดเบี้ยวเช่นปัจจุบัน
ทั้งนี้เนื่องจากบทความและงานวิจัยเกี่ยวกับ GNH นั้นยังมีอีกมากมายมหาศาล อย่างไรก็ตามผมเห็นว่า บทความชิ้นนี้ของ Tideman น่าจะเป็นบันไดขั้นแรกของการศึกษาเรื่อง GNH ได้ ผมจึงขอนำบางส่วนของบทความยาว 13 หน้าครึ่ง ที่ผมคิดว่าน่าสนใจ เรียบเรียงและนำเสนอต่อผู้อ่าน
Tideman กล่าวย้อนไปถึงรากของเศรษฐศาสตร์ด้วยการอ้างอิงถึงผลงาน จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ (The turning point) ของ ฟริตจอฟ คาปรา (Fritjof Capra) โดยระบุว่า กฎทางเศรษฐศาสตร์ พัฒนาขึ้นในยุคสมัยที่ วิทยาศาสตร์ถูกแยกออกมาจากศาสนา และ ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ก็ได้รับอิทธิพลจากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ทั้ง ฟิสิกส์ ชีววิทยา และจิตวิทยา อันยิ่งใหญ่ทั้งหลาย โดย การทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เหล่านี้ก็ได้รับการให้ความสำคัญในระดับเดียวกับกฎของธรรมชาติต่างๆ อย่างเช่น กฎผู้ที่เหมาะสมที่สุดจึงจะอยู่รอด (Survival of the fittest) ของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิวัฒนาการ
กฎผู้ที่เหมาะสมที่สุดจึงจะอยู่รอดของดาร์วิน สอดคล้องกับผลงานของ ผลงาน The Wealth of Nations ผลงานชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของแวดวงเศรษฐศาสตร์ ที่เขียนขึ้นโดย อดัม สมิท โดย The Wealth of Nations นำเสนอกลไกที่เรียกว่า มือที่มองไม่เห็น (The Invisible Hand) ขึ้นเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ มือที่มองไม่เห็นของสมิท ก่อให้เกิดแนวคิดที่ว่า การแลกเปลี่ยนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหลายควรจะตกอยู่ในมือของเอกชน และไม่มีความจำเป็นที่รัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซง และในเวลาต่อมาก็มีการพัฒนาทฤษฎีดังกล่าวขึ้นไปจนก่อกำเนิดทฤษฎีความขาดแคลน (Scarcity)
ทฤษฎีความขาดแคลนนั้น ระบุว่า ระบบเศรษฐกิจนั้นเป็นระบบปิด และทรัพยากรที่จำกัดได้ส่งให้เกิดภาวะของความขาดแคลนขึ้น โดยเมื่อเกิดภาวะดังกล่าวขึ้น การแข่งขันหรือสงครามเพื่อแย่งชิงทรัพยากรที่ขาดแคลนจึงจำเป็นต้องเกิดขึ้นตามมาเป็นอัตโนมัติ
ถึงจุดนี้ Tideman ชี้ให้เห็นจุดบกพร่องจุดแรกของวิชาเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันว่า อดัม สมิท ไม่เพียงกล่าวถึง กลไกตลาด หรือ มือที่มองไม่เห็น แต่ด้วยความที่สมิทมีความเป็นนักปรัชญาพอๆ กับเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ใน The Theory of Moral Sentiments หนังสือที่เขาเขียนขึ้นก่อนหน้า The Wealth of Nations เขาระบุด้วยว่า 'ตลาด' มิสามารถทำงานได้โดยปราศจากมนุษยชาติและศีลธรรม
"ความคิดในเรื่อง การแข่งขัน การคัดเลือกโดยธรรมชาติ และความอยู่รอดของผู้ที่เหมาะสมที่สุด อันอธิบายถึง ธรรมชาติ และกลไกอัตโนมัติของวิวัฒนาการและการพัฒนา ยังคงเป็นแนวคิดหลักที่ครอบงำความคิดของผู้ที่ได้รับการศึกษาในปัจจุบัน" - - - E.F. Schumacher
ผู้เขียนยังกล่าวถึง แนวคิดของ เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ด้วยการกล่าวถึง Small is Beautiful ผลงานคลาสสิกของนักเศรษฐศาสตร์เยอรมัน E.F. Schumacher ที่เขียนขึ้นเมื่อต้นทศวรรษที่ 1970 พร้อมทั้งกล่าวถึง ผลงานเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ในชื่อภาษาอังกฤษคือ Buddhist Economics:A Middle Way of the Market Place โดยท่านพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เอาไว้ด้วยว่า เป็นผลงานในแนวทางเดียวกับ Small is Beautiful ที่น่าสนใจ
ทั้งยังกล่าวต่อไปว่า โดยพื้นฐานพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธความมั่งคั่ง (Wealth) หรือระบุว่าความมั่งคั่งเป็นเป็นความชั่วร้ายในสองเหตุผลก็คือ หนึ่ง ความมั่งคั่งทางวัตถุสามารถป้องกันเราจากความยากจน และ สอง ช่วยเหลือมนุษย์ในการพัฒนาความเมตตา-กรุณา อันถือเป็นกุศล และทำให้สังคมมีความสุขยิ่งๆ ขึ้น
นอกจากนี้ศาสนาพุทธยังตีความ 'ความสุขที่แท้จริง' ว่า มิได้เกิดจากการบริโภควัตถุแต่อย่างใด เพราะ ความสุขนั้นคือเกิดขึ้นจากสภาวะของจิต และ จิต ก็มีความแตกต่างจากวัตถุ ซึ่งการตีความ 'ความสุข' ในมุมดังกล่าวของพุทธศาสนา นักเศรษฐศาสตร์ตะวันตกเองก็เริ่มมองเห็นจุดบกพร่องในการตีความ 'ความสุข' ของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักแล้วเช่นกัน ดังที่ผมเคยกล่าวถึงไปแล้วในบทความชิ้น เทคโนโลยี กับ ความสุข
เช่นเดียวกับที่ท่านพระธรรมปิฎก ที่ในตอนหนึ่งเน้นย้ำไว้ใน 'เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ' ว่า
"ผลได้ที่ต้องการในทางเศรษฐศาสตร์นี้ไม่ใช่จุดหมายในตัวของมันเอง แต่เป็น Means คือมรรคา ส่วน End คือจุดหมายของมัน ก็คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนามนุษย์ ฉะนั้น เศรษฐศาสตร์ในทัศนะของพระพุทธศาสนาจึงถือว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจและผลของมัน เป็นฐานหรือเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยสนับสนุนการมีชีวิตที่ดีงาม และการพัฒนาตน พัฒนาสังคมของมนุษย์ .... "
Tideman ซึ่งก็นับถือศาสนาพุทธ ได้ยกถึงเรื่องดังกล่าวในทำนองเดียวกันโดยเขากล่าวว่า
"จากมุมมองของพุทธศาสนา คุณประโยชน์ของเศรษฐศาสตร์ และการพัฒนาเชิงวัตถุนั้นก็เป็นเพียงแค่การนำเสนอปัจจัยในการดำรงชีวิต เพื่อที่จะเอื้ออำนวยให้มนุษย์นั้นสามารถใช้เวลา และพลังงานในการลงมือปฏิบัติและพัฒนาทางจิตยิ่งๆ ขึ้นไป
"แต่ในตำราทางเศรษฐศาสตร์ กฎทางเศรษฐศาสตร์ ตั้งสมมติฐานไว้ว่า มนุษย์แข่งขันกันเพื่อแย่งชิงทรัพยากรที่ขาดแคลน และมีจำนวนจำกัด โดยกล่าวว่า 'ความสุข' นั้นเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์สามารถบริโภคทรัพยากรเหล่านั้นได้ ในทางตรงกันข้ามมนุษย์ก็จะตกอยู่ในสภาวะของ 'ความทุกข์' เมื่อไม่ได้สามารถบริโภคทรัพยากรนั้นได้
"นักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก บอกเราว่า เป็นเรื่องไร้สาระหากจะต้องเสียเวลา เสียแรง และใช้จ่ายเงินไปเพื่อการรักษาคุณค่าของอะไรบางอย่าง ในขณะที่เราสามารถทำเงินได้จากการสูญเสียมันไป .... "
มากกว่านั้น ในมุมมองของ การแข่งขัน ที่เศรษฐศาสตร์กระแสหลักยึดมั่นมาตลอดว่าเป็นคำตอบของการพัฒนา นั้นแม้แต่นักเศรษฐศาสตร์ระดับรางวัลโนเบลอย่าง ดักลาส นอร์ท (Douglass Northโนเบลเศรษฐศาสตร์ปี ค.ศ.1993) ก็ยังระบุไว้ในตอนหนึ่งว่า ความขัดแย้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ในส่วนของสมมติฐานของ ความขาดแคลน และการแข่งขันนั้น ให้พูดอย่างง่ายๆ สิ่งที่ขาดหายไปในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ก็ คือ ความเข้าใจพื้นฐานของมนุษย์ในประเด็นเรื่อง การประสานงาน และ ความร่วมมือ
แน่นอนว่า ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ นอกจากจะมีการแข่งขันแล้ว ยังมีอีกหลายแง่มุมบรรจุไว้ด้วย สิ่งที่ดูจะสอดคล้องกับคำสอนของศาสนาต่างๆ ซึ่งก็คือ การประสานงาน และความร่วมมือ ที่นำไปสู่การพัฒนา ซึ่งความคิดดังกล่าวก็นำไปสู่ การผลักดันให้มีการปรับใช้ ดัชนีที่เรียกว่า ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient หรือ EQ) ขึ้นมาใช้ควบคู่กับ IQ ดัชนีที่ใช้วัดสติปัญญา
ในตอนท้ายของบทความ Tideman กล่าวว่า ความท้าทายที่สุดของ การคิดค้นดัชนี GNH นั้นก็คือ จะ 'วัด' สิ่งที่จับต้องไม่ได้ สิ่งที่แต่ไหนแต่ไรมาเชื่อกันว่าซับซ้อนและไม่สามารถวัดด้วยตัวเลข เช่น วัฒนธรรมต่างๆ ของมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติเชิงคุณภาพและคุณประโยชน์ของทรัพยากรเหล่านี้ในองค์รวม หรือกระทั่งสิ่งที่ดูจะเป็นนามธรรมที่เราเรียกกันว่า ความสุข ....
..........................
แม้บทความชิ้นนี้จะมีเพียง 17 หน้า แต่ผมคิดว่า มีเพียงผู้ที่เปิดอ่านอย่างตั้งใจ และค้นคว้าต่อเท่านั้นจึงจะทราบว่า พวกเรากำลังยืนอยู่บนรอยต่อแห่งการเปลี่ยนผ่าน ที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายร้อยปี
การพัฒนา และการถือกำเนิดของดัชนีความสุขแห่งชาติ (GNH) หรือ ดัชนีในลักษณะเดียวกัน ในอนาคตมิเพียงจะก่อคุณูปการต่อเฉพาะในแง่มุมทางเศรษฐศาสตร์เท่านั้น แต่ดัชนีดังกล่าวอาจจะเป็นคำตอบของ ความหมายแห่งการมีชีวิตอยู่ และความอยู่รอดของมนุษยชาตินั่นเลยทีเดียว
หมายเหตุ :
บทความ Gross National Happiness: Towards Buddhist Economics โดย Sander G. Tideman สามารถดาวน์โลดได้จาก เว็บไซต์ของ new economics foundation (nef) ขนาดความยาว 17 หน้า (รวมบรรณานุกรมแล้ว)
**แนะนำว่าควรอ่าน เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ โดย ท่านพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ควบคู่ไปด้วย
บทความเชิงวิชาการเรื่อง Gross National Happiness:Towards Buddhist Economics* ถูกนำเสนอโดย Sander G. Tideman โดยผู้เขียนได้พยายามเชื่อมโยงชี้ให้เห็นถึงจุดบกพร่องของ ศาสตร์ทางสังคมศาสตร์ ที่ได้ชื่อว่าเป็นวิทยาศาสตร์ และใกล้เคียงกับคณิตศาสตร์มากที่สุด คือ เศรษฐศาสตร์ โดยจับเอา ปรัชญาของพุทธศาสนาเข้ามาอธิบายประกอบ
นอกจากนี้ บทความชิ้นดังกล่าว ยังยกเอาข้อสรุปจาก ผู้มีชื่อเสียง นักวิชาการ และหนังสือเล่มสำคัญต่างๆ ในรอบ 30 ปีที่พยายามชี้ให้เห็นถึง ความล้มเหลวของสมมติฐานพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ ที่ก่อให้เกิดวิกฤตสิ่งแวดล้อม และ ภาวะสังคมโลกที่บิดเบี้ยวเช่นปัจจุบัน
ทั้งนี้เนื่องจากบทความและงานวิจัยเกี่ยวกับ GNH นั้นยังมีอีกมากมายมหาศาล อย่างไรก็ตามผมเห็นว่า บทความชิ้นนี้ของ Tideman น่าจะเป็นบันไดขั้นแรกของการศึกษาเรื่อง GNH ได้ ผมจึงขอนำบางส่วนของบทความยาว 13 หน้าครึ่ง ที่ผมคิดว่าน่าสนใจ เรียบเรียงและนำเสนอต่อผู้อ่าน
Tideman กล่าวย้อนไปถึงรากของเศรษฐศาสตร์ด้วยการอ้างอิงถึงผลงาน จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ (The turning point) ของ ฟริตจอฟ คาปรา (Fritjof Capra) โดยระบุว่า กฎทางเศรษฐศาสตร์ พัฒนาขึ้นในยุคสมัยที่ วิทยาศาสตร์ถูกแยกออกมาจากศาสนา และ ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ก็ได้รับอิทธิพลจากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ทั้ง ฟิสิกส์ ชีววิทยา และจิตวิทยา อันยิ่งใหญ่ทั้งหลาย โดย การทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เหล่านี้ก็ได้รับการให้ความสำคัญในระดับเดียวกับกฎของธรรมชาติต่างๆ อย่างเช่น กฎผู้ที่เหมาะสมที่สุดจึงจะอยู่รอด (Survival of the fittest) ของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิวัฒนาการ
กฎผู้ที่เหมาะสมที่สุดจึงจะอยู่รอดของดาร์วิน สอดคล้องกับผลงานของ ผลงาน The Wealth of Nations ผลงานชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของแวดวงเศรษฐศาสตร์ ที่เขียนขึ้นโดย อดัม สมิท โดย The Wealth of Nations นำเสนอกลไกที่เรียกว่า มือที่มองไม่เห็น (The Invisible Hand) ขึ้นเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ มือที่มองไม่เห็นของสมิท ก่อให้เกิดแนวคิดที่ว่า การแลกเปลี่ยนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหลายควรจะตกอยู่ในมือของเอกชน และไม่มีความจำเป็นที่รัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซง และในเวลาต่อมาก็มีการพัฒนาทฤษฎีดังกล่าวขึ้นไปจนก่อกำเนิดทฤษฎีความขาดแคลน (Scarcity)
ทฤษฎีความขาดแคลนนั้น ระบุว่า ระบบเศรษฐกิจนั้นเป็นระบบปิด และทรัพยากรที่จำกัดได้ส่งให้เกิดภาวะของความขาดแคลนขึ้น โดยเมื่อเกิดภาวะดังกล่าวขึ้น การแข่งขันหรือสงครามเพื่อแย่งชิงทรัพยากรที่ขาดแคลนจึงจำเป็นต้องเกิดขึ้นตามมาเป็นอัตโนมัติ
ถึงจุดนี้ Tideman ชี้ให้เห็นจุดบกพร่องจุดแรกของวิชาเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันว่า อดัม สมิท ไม่เพียงกล่าวถึง กลไกตลาด หรือ มือที่มองไม่เห็น แต่ด้วยความที่สมิทมีความเป็นนักปรัชญาพอๆ กับเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ใน The Theory of Moral Sentiments หนังสือที่เขาเขียนขึ้นก่อนหน้า The Wealth of Nations เขาระบุด้วยว่า 'ตลาด' มิสามารถทำงานได้โดยปราศจากมนุษยชาติและศีลธรรม
"ความคิดในเรื่อง การแข่งขัน การคัดเลือกโดยธรรมชาติ และความอยู่รอดของผู้ที่เหมาะสมที่สุด อันอธิบายถึง ธรรมชาติ และกลไกอัตโนมัติของวิวัฒนาการและการพัฒนา ยังคงเป็นแนวคิดหลักที่ครอบงำความคิดของผู้ที่ได้รับการศึกษาในปัจจุบัน" - - - E.F. Schumacher
ผู้เขียนยังกล่าวถึง แนวคิดของ เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ด้วยการกล่าวถึง Small is Beautiful ผลงานคลาสสิกของนักเศรษฐศาสตร์เยอรมัน E.F. Schumacher ที่เขียนขึ้นเมื่อต้นทศวรรษที่ 1970 พร้อมทั้งกล่าวถึง ผลงานเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ในชื่อภาษาอังกฤษคือ Buddhist Economics:A Middle Way of the Market Place โดยท่านพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เอาไว้ด้วยว่า เป็นผลงานในแนวทางเดียวกับ Small is Beautiful ที่น่าสนใจ
ทั้งยังกล่าวต่อไปว่า โดยพื้นฐานพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธความมั่งคั่ง (Wealth) หรือระบุว่าความมั่งคั่งเป็นเป็นความชั่วร้ายในสองเหตุผลก็คือ หนึ่ง ความมั่งคั่งทางวัตถุสามารถป้องกันเราจากความยากจน และ สอง ช่วยเหลือมนุษย์ในการพัฒนาความเมตตา-กรุณา อันถือเป็นกุศล และทำให้สังคมมีความสุขยิ่งๆ ขึ้น
นอกจากนี้ศาสนาพุทธยังตีความ 'ความสุขที่แท้จริง' ว่า มิได้เกิดจากการบริโภควัตถุแต่อย่างใด เพราะ ความสุขนั้นคือเกิดขึ้นจากสภาวะของจิต และ จิต ก็มีความแตกต่างจากวัตถุ ซึ่งการตีความ 'ความสุข' ในมุมดังกล่าวของพุทธศาสนา นักเศรษฐศาสตร์ตะวันตกเองก็เริ่มมองเห็นจุดบกพร่องในการตีความ 'ความสุข' ของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักแล้วเช่นกัน ดังที่ผมเคยกล่าวถึงไปแล้วในบทความชิ้น เทคโนโลยี กับ ความสุข
เช่นเดียวกับที่ท่านพระธรรมปิฎก ที่ในตอนหนึ่งเน้นย้ำไว้ใน 'เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ' ว่า
"ผลได้ที่ต้องการในทางเศรษฐศาสตร์นี้ไม่ใช่จุดหมายในตัวของมันเอง แต่เป็น Means คือมรรคา ส่วน End คือจุดหมายของมัน ก็คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนามนุษย์ ฉะนั้น เศรษฐศาสตร์ในทัศนะของพระพุทธศาสนาจึงถือว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจและผลของมัน เป็นฐานหรือเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยสนับสนุนการมีชีวิตที่ดีงาม และการพัฒนาตน พัฒนาสังคมของมนุษย์ .... "
Tideman ซึ่งก็นับถือศาสนาพุทธ ได้ยกถึงเรื่องดังกล่าวในทำนองเดียวกันโดยเขากล่าวว่า
"จากมุมมองของพุทธศาสนา คุณประโยชน์ของเศรษฐศาสตร์ และการพัฒนาเชิงวัตถุนั้นก็เป็นเพียงแค่การนำเสนอปัจจัยในการดำรงชีวิต เพื่อที่จะเอื้ออำนวยให้มนุษย์นั้นสามารถใช้เวลา และพลังงานในการลงมือปฏิบัติและพัฒนาทางจิตยิ่งๆ ขึ้นไป
"แต่ในตำราทางเศรษฐศาสตร์ กฎทางเศรษฐศาสตร์ ตั้งสมมติฐานไว้ว่า มนุษย์แข่งขันกันเพื่อแย่งชิงทรัพยากรที่ขาดแคลน และมีจำนวนจำกัด โดยกล่าวว่า 'ความสุข' นั้นเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์สามารถบริโภคทรัพยากรเหล่านั้นได้ ในทางตรงกันข้ามมนุษย์ก็จะตกอยู่ในสภาวะของ 'ความทุกข์' เมื่อไม่ได้สามารถบริโภคทรัพยากรนั้นได้
"นักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก บอกเราว่า เป็นเรื่องไร้สาระหากจะต้องเสียเวลา เสียแรง และใช้จ่ายเงินไปเพื่อการรักษาคุณค่าของอะไรบางอย่าง ในขณะที่เราสามารถทำเงินได้จากการสูญเสียมันไป .... "
มากกว่านั้น ในมุมมองของ การแข่งขัน ที่เศรษฐศาสตร์กระแสหลักยึดมั่นมาตลอดว่าเป็นคำตอบของการพัฒนา นั้นแม้แต่นักเศรษฐศาสตร์ระดับรางวัลโนเบลอย่าง ดักลาส นอร์ท (Douglass Northโนเบลเศรษฐศาสตร์ปี ค.ศ.1993) ก็ยังระบุไว้ในตอนหนึ่งว่า ความขัดแย้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ในส่วนของสมมติฐานของ ความขาดแคลน และการแข่งขันนั้น ให้พูดอย่างง่ายๆ สิ่งที่ขาดหายไปในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ก็ คือ ความเข้าใจพื้นฐานของมนุษย์ในประเด็นเรื่อง การประสานงาน และ ความร่วมมือ
แน่นอนว่า ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ นอกจากจะมีการแข่งขันแล้ว ยังมีอีกหลายแง่มุมบรรจุไว้ด้วย สิ่งที่ดูจะสอดคล้องกับคำสอนของศาสนาต่างๆ ซึ่งก็คือ การประสานงาน และความร่วมมือ ที่นำไปสู่การพัฒนา ซึ่งความคิดดังกล่าวก็นำไปสู่ การผลักดันให้มีการปรับใช้ ดัชนีที่เรียกว่า ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient หรือ EQ) ขึ้นมาใช้ควบคู่กับ IQ ดัชนีที่ใช้วัดสติปัญญา
ในตอนท้ายของบทความ Tideman กล่าวว่า ความท้าทายที่สุดของ การคิดค้นดัชนี GNH นั้นก็คือ จะ 'วัด' สิ่งที่จับต้องไม่ได้ สิ่งที่แต่ไหนแต่ไรมาเชื่อกันว่าซับซ้อนและไม่สามารถวัดด้วยตัวเลข เช่น วัฒนธรรมต่างๆ ของมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติเชิงคุณภาพและคุณประโยชน์ของทรัพยากรเหล่านี้ในองค์รวม หรือกระทั่งสิ่งที่ดูจะเป็นนามธรรมที่เราเรียกกันว่า ความสุข ....
..........................
แม้บทความชิ้นนี้จะมีเพียง 17 หน้า แต่ผมคิดว่า มีเพียงผู้ที่เปิดอ่านอย่างตั้งใจ และค้นคว้าต่อเท่านั้นจึงจะทราบว่า พวกเรากำลังยืนอยู่บนรอยต่อแห่งการเปลี่ยนผ่าน ที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายร้อยปี
การพัฒนา และการถือกำเนิดของดัชนีความสุขแห่งชาติ (GNH) หรือ ดัชนีในลักษณะเดียวกัน ในอนาคตมิเพียงจะก่อคุณูปการต่อเฉพาะในแง่มุมทางเศรษฐศาสตร์เท่านั้น แต่ดัชนีดังกล่าวอาจจะเป็นคำตอบของ ความหมายแห่งการมีชีวิตอยู่ และความอยู่รอดของมนุษยชาตินั่นเลยทีเดียว
หมายเหตุ :
บทความ Gross National Happiness: Towards Buddhist Economics โดย Sander G. Tideman สามารถดาวน์โลดได้จาก เว็บไซต์ของ new economics foundation (nef) ขนาดความยาว 17 หน้า (รวมบรรณานุกรมแล้ว)
**แนะนำว่าควรอ่าน เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ โดย ท่านพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ควบคู่ไปด้วย