ไม่มีใครปฏิเสธว่า 'ไมเคิล จอร์แดน' กลายเป็น ตำนานในตำนานของวงการบาสเกตบอลสหรัฐอเมริกา และบาสเกตบอลโลก ไปแล้ว
ในช่วงชีวิตการเล่นอาชีพ ไม่เพียงแต่ความสามารถในเชิงกีฬาของจอร์แดนที่อยู่ในระดับสุดยอด หรือความสำเร็จในการคว้า 6 แชมป์โลกกับชิคาโก บูลส์ แต่บุคลิกที่เป็นสุภาพบุรุษ ภาพลักษณ์ที่ดูเป็นกันเอง และความเป็นคนรักครอบครัว ยังส่งเสริมให้จอร์แดนกลายเป็นทูตของบาสเกตบอลอาชีพในสหรัฐฯ ที่ถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีนักบาสเกตบอลรุ่นหลังคนไหนสามารถสร้างบารมีขึ้นมาทดแทนได้
มิต้องพูดถึง โคบี้ ไบรอันท์ หรือ แชคิล โอนีล สองนักบาสเกตบอลอัจฉริยะที่แม้จะคว้าแหวนแชมป์เอ็นบีเอ ให้กับ ลอสเองเจลิส เลเกอร์สได้หลายสมัย แต่เรื่องฝีมือ หรือ ภาพพจน์ ก็ยังห่างชั้นกับ จอร์แดนอยู่หลายขุม
แล้วใครมีแนวโน้มดีที่สุดที่จะกลายเป็นทายาทผู้สืบทอดสัญลักษณ์ของเอ็นบีเอต่อจาก 'จอร์แดน'?
เหยา หมิง?!? ...... นิตยสารบิสเนสวีค Asian Edition ฉบับปลายเดือนตุลาคม 2547 โดยผู้สื่อข่าว Tom Lowry ได้ทำรายงานชิ้นหนึ่งที่เจาะลึกเกี่ยวกับ เหยา หมิง (姚明) นักบาสเกตบอลชาวจีนแห่งทีมฮุสตัน ร็อคเกตส์ ว่าโดยคุณสมบัติส่วนตัวแล้ว เหยา มีสิทธิ์ที่จะก้าวขึ้นไปถึงจุดของจอร์แดนได้ อย่างไรก็ตาม แม้อาจไม่ใช่ในฐานะการเป็นสุดยอดนักบาสเกตบอลของโลก แต่ตอนนี้ในแง่ของ 'การตลาด' แล้ว เหยา หมิง มีโอกาสก้าวขึ้นไปอยู่เหนือ จอร์แดน เสียด้วยซ้ำ
ในท่อนหนึ่งของรายงาน บิสเนสวีค ระบุว่า
"เริ่มจาก เปเล่ และ (โมฮัมหมัด) อาลี จากนั้นก็กลายเป็น ไมเคิล (จอร์แดน) ไทเกอร์ (วู้ดส์) และ แลนซ์ (อาร์มสตรอง) ตอนนี้กลายเป็น เหยา .... นักกีฬาผู้มีพรสวรรค์ แรงบัลดาลใจ และ บุคลิกที่จะก้าวข้ามพรมแดน กลายเป็นสัญลักษณ์ของบุคคลทั่วโลก"
เชื่อว่าหลายคนคงรู้จัก เหยา หมิง แล้วในฐานะ นักบาสเกตบอลชาวจีนคนที่สามที่ข้ามชั้นขึ้นไปเล่นบาสเกตบอลในเอ็นบีเอ ชาวเอเชียคนแรกของเอ็นบีเอที่ได้คัดเลือกเข้ามาเป็นอันดับหนึ่งในการคัดเลือกตัวนักบาสหน้าใหม่เข้าสู่เอ็นบีเอปี 2545 นักบาสเกตบอลเอเชียคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในทีมรวมดาราตั้งแต่เล่นเอ็นบีเอในปีแรก และได้รับโหวตให้เป็นเซ็นเตอร์ตัวจริงของทีมรวมดาราฝั่งตะวันตกเหนือแชคิล โอนีล ในปีล่าสุด
อย่างไรก็ตาม ในอีกมุมหนึ่งในสายตาของนักธุรกิจ เหยา หมิง ด้วยฐานะของ 'แบรนด์' บนตัวสินค้า ปัจจุบันน่าจับตาและมีอนาคตยิ่งกว่า 'แบรนด์' นักกีฬาคนใดบนโลกนี้ รวมถึง เดวิด เบ็คแฮม นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
ทราบหรือไม่ว่า
- ในการเล่นเกม Preseason ระหว่างสองทีมเอ็นบีเอ ฮุสตัน ร็อคเกตส์ กับ ซาคราเมนโต้ คิงส์ เมื่อวันที่ 14 และ 17 ตุลาคม ที่เซี่ยงไฮ้ และปักกิ่ง เหยา ดูดให้ชาวจีนนั่งหน้าทีวี รอชมการถ่ายทอดสดได้มากถึงประมาณ 200 ล้านคน หรือ เท่ากับร้อยละ 70 ของประชากรของประเทศสหรัฐอเมริกา

- รายได้จากผู้สนับสนุนของฮุสตัน ร็อคเกตส์ เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า ตั้งแต่ดึง เหยา เข้ามาร่วมทีม นอกจากนี้บริษัทที่เซ็นสัญญาเข้ามาร่วมมือกับ ร็อคเกตส์ ก็เพิ่มขึ้นสองเท่าเป็น 40 บริษัท ส่วนตั๋วปีของร็อคเกตส์ก็ขายได้มากเป็นประวัติการณ์ถึง 18,500 ใบ
- เมื่อดึง เหยา เข้ามาเป็นพรีเซนเตอร์สำเร็จ รองเท้ารีบอคประมาณการไว้ว่า ยอดขายของตัวเองจะโตขึ้นถึง 10 เท่าภายใน 5 ปี จาก 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2547 จะเพิ่มเป็น 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ราวร้อยละ 25 ของตลาดรองเท้ากีฬาจีนในปี 2551 (หรือ ค.ศ.2008 ปีที่ปักกิ่งเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก)
- ส่วนหนึ่งก็เพราะความนิยมในตัว เหยา ที่ทำให้ยอดขายของ เป๊ปซี่ ในจีนไล่จี้ โค้ก มาติดๆ โดยยอดขายเป๊ปซี่ในประเทศจีนเมื่อปี 2546 เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 30
- แมคโดนัลด์ ยกให้ เหยา เป็น 'ทูตแมคโดนัลด์โลกคนแรก (Worldwide Brand Ambassador)'
ข้างต้นเป็นแค่ตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ของบริษัทธุรกิจที่ดึงเหยาเข้ามาส่งเสริมการขายสินค้าของตนเอง โดยจะเห็นได้ว่ามีการครอบคลุมสินค้าตั้งแต่ ฟาสต์ฟู้ด เครื่องดื่ม เครื่องกีฬา สื่อ นอกจากนี้ชื่อ 'เหยา หมิง' ยังถูกยื้อแย่งในอีกหลายๆ ปริมณฑลธุรกิจ เช่น เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (China Unicom) เว็บไซต์ (Sohu.com) สวนสนุก-ธุรกิจบันเทิง (Disney)
สถานะนักกีฬา ที่ถูกผลักดันให้กลายเป็นไอคอนทางธุรกิจส่งให้ รายได้จากของเหยา หมิงนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล โดยเมื่อเทียบกับสัญญา 18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นเวลา 4 ปี (หรือ 4.5 ล้านเหรียญฯ ต่อปี) กับทีมฮุสตัน ร็อคเกตส์แล้ว ยังนับว่าห่างไกลจากรายได้ 15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ที่มาจากการเป็นพรีเซนเตอร์ให้สินค้ามาก (มีข่าวลือระบุว่า รัฐบาลจีน ทีมเซี่ยงไฮ้ ชาร์ค และ สมาคมบาสเกตบอลจีน จะกินส่วนแบ่งจากรายได้ทั้งหมดของ เหยา ราวหนึ่งในสาม)
แน่นอนว่าตัวเลขรายได้จากทั้ง การเล่นบาสเกตบอลอาชีพ และ ดังกล่าวสูงเกินกว่าที่ เหยา คนใกล้ชิด หรือ ครอบครัวของเขาจะเข้ามาดูแล
ทีมเหยา (Team Yao) เป็นชื่อของกลุ่มผู้ดูแลผลประโยชน์ทางธุรกิจจากการใช้ชื่อของ เหยา หมิง โดยทั้งนี้บิสเนสวีคระบุว่า การก่อตัวของของ ทีมเหยา เป็นปรากฎการณ์ใหม่ของการบริหารแบรนด์ที่เป็นตัวบุคคล โดยแกนนำของทีมเหยานั้นก่อเกิดขึ้นใน ชั้นเรียนนักศึกษาของโรงเรียนธุรกิจชั้นนำของสหรัฐฯ ที่ มหาวิทยาลัยชิคาโก้
เริ่มตั้งแต่สองปีก่อนเมื่อเจ้าตัวเซ็นสัญญากับ ฮุสตัน ร็อคเกตส์ จากไอเดียเริ่มแรกของญาติเหยา หมิง ที่ไปเรียนเอ็มบีเอที่มหาวิทยาลัยชิคาโก้ ทีมเหยา ก็วางแผนการตลาดกับชื่อและภาพลักษณ์ของ เหยา หมิง ไว้เป็นเวลานาน 5 ปี โดยมีจุดมุ่งหมายคือการผลักดัน แบรนด์เหยา หมิง ให้ขึ้นสู่จุดสูงสุด (ทำรายได้สูงสุด) เมื่อถึง ปี ค.ศ.2008 ที่ประเทศจีนเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก
ขณะที่โดยส่วนตัวของ เหยา เองแม้จะไม่ชอบกล่าวถึงเรื่องธุรกิจนัก แต่เขาก็กล่าวยอมรับว่า เงินที่เขาหามาได้ไม่ได้แปลว่าเป็นจำนวนเงินที่เขาต้องการใช้จ่าย แต่มันเป็นตัวเลขที่บ่งบอกว่างานที่เขาทำ (ในโลกปัจจุบันที่ตลาดเป็นใหญ่) มันมีมูลค่าแค่ไหน
ในช่วงชีวิตการเล่นอาชีพ ไม่เพียงแต่ความสามารถในเชิงกีฬาของจอร์แดนที่อยู่ในระดับสุดยอด หรือความสำเร็จในการคว้า 6 แชมป์โลกกับชิคาโก บูลส์ แต่บุคลิกที่เป็นสุภาพบุรุษ ภาพลักษณ์ที่ดูเป็นกันเอง และความเป็นคนรักครอบครัว ยังส่งเสริมให้จอร์แดนกลายเป็นทูตของบาสเกตบอลอาชีพในสหรัฐฯ ที่ถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีนักบาสเกตบอลรุ่นหลังคนไหนสามารถสร้างบารมีขึ้นมาทดแทนได้
มิต้องพูดถึง โคบี้ ไบรอันท์ หรือ แชคิล โอนีล สองนักบาสเกตบอลอัจฉริยะที่แม้จะคว้าแหวนแชมป์เอ็นบีเอ ให้กับ ลอสเองเจลิส เลเกอร์สได้หลายสมัย แต่เรื่องฝีมือ หรือ ภาพพจน์ ก็ยังห่างชั้นกับ จอร์แดนอยู่หลายขุม
แล้วใครมีแนวโน้มดีที่สุดที่จะกลายเป็นทายาทผู้สืบทอดสัญลักษณ์ของเอ็นบีเอต่อจาก 'จอร์แดน'?
เหยา หมิง?!? ...... นิตยสารบิสเนสวีค Asian Edition ฉบับปลายเดือนตุลาคม 2547 โดยผู้สื่อข่าว Tom Lowry ได้ทำรายงานชิ้นหนึ่งที่เจาะลึกเกี่ยวกับ เหยา หมิง (姚明) นักบาสเกตบอลชาวจีนแห่งทีมฮุสตัน ร็อคเกตส์ ว่าโดยคุณสมบัติส่วนตัวแล้ว เหยา มีสิทธิ์ที่จะก้าวขึ้นไปถึงจุดของจอร์แดนได้ อย่างไรก็ตาม แม้อาจไม่ใช่ในฐานะการเป็นสุดยอดนักบาสเกตบอลของโลก แต่ตอนนี้ในแง่ของ 'การตลาด' แล้ว เหยา หมิง มีโอกาสก้าวขึ้นไปอยู่เหนือ จอร์แดน เสียด้วยซ้ำ
ในท่อนหนึ่งของรายงาน บิสเนสวีค ระบุว่า
"เริ่มจาก เปเล่ และ (โมฮัมหมัด) อาลี จากนั้นก็กลายเป็น ไมเคิล (จอร์แดน) ไทเกอร์ (วู้ดส์) และ แลนซ์ (อาร์มสตรอง) ตอนนี้กลายเป็น เหยา .... นักกีฬาผู้มีพรสวรรค์ แรงบัลดาลใจ และ บุคลิกที่จะก้าวข้ามพรมแดน กลายเป็นสัญลักษณ์ของบุคคลทั่วโลก"
เชื่อว่าหลายคนคงรู้จัก เหยา หมิง แล้วในฐานะ นักบาสเกตบอลชาวจีนคนที่สามที่ข้ามชั้นขึ้นไปเล่นบาสเกตบอลในเอ็นบีเอ ชาวเอเชียคนแรกของเอ็นบีเอที่ได้คัดเลือกเข้ามาเป็นอันดับหนึ่งในการคัดเลือกตัวนักบาสหน้าใหม่เข้าสู่เอ็นบีเอปี 2545 นักบาสเกตบอลเอเชียคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในทีมรวมดาราตั้งแต่เล่นเอ็นบีเอในปีแรก และได้รับโหวตให้เป็นเซ็นเตอร์ตัวจริงของทีมรวมดาราฝั่งตะวันตกเหนือแชคิล โอนีล ในปีล่าสุด
อย่างไรก็ตาม ในอีกมุมหนึ่งในสายตาของนักธุรกิจ เหยา หมิง ด้วยฐานะของ 'แบรนด์' บนตัวสินค้า ปัจจุบันน่าจับตาและมีอนาคตยิ่งกว่า 'แบรนด์' นักกีฬาคนใดบนโลกนี้ รวมถึง เดวิด เบ็คแฮม นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
ทราบหรือไม่ว่า
- ในการเล่นเกม Preseason ระหว่างสองทีมเอ็นบีเอ ฮุสตัน ร็อคเกตส์ กับ ซาคราเมนโต้ คิงส์ เมื่อวันที่ 14 และ 17 ตุลาคม ที่เซี่ยงไฮ้ และปักกิ่ง เหยา ดูดให้ชาวจีนนั่งหน้าทีวี รอชมการถ่ายทอดสดได้มากถึงประมาณ 200 ล้านคน หรือ เท่ากับร้อยละ 70 ของประชากรของประเทศสหรัฐอเมริกา
- รายได้จากผู้สนับสนุนของฮุสตัน ร็อคเกตส์ เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า ตั้งแต่ดึง เหยา เข้ามาร่วมทีม นอกจากนี้บริษัทที่เซ็นสัญญาเข้ามาร่วมมือกับ ร็อคเกตส์ ก็เพิ่มขึ้นสองเท่าเป็น 40 บริษัท ส่วนตั๋วปีของร็อคเกตส์ก็ขายได้มากเป็นประวัติการณ์ถึง 18,500 ใบ
- เมื่อดึง เหยา เข้ามาเป็นพรีเซนเตอร์สำเร็จ รองเท้ารีบอคประมาณการไว้ว่า ยอดขายของตัวเองจะโตขึ้นถึง 10 เท่าภายใน 5 ปี จาก 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2547 จะเพิ่มเป็น 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ราวร้อยละ 25 ของตลาดรองเท้ากีฬาจีนในปี 2551 (หรือ ค.ศ.2008 ปีที่ปักกิ่งเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก)
- ส่วนหนึ่งก็เพราะความนิยมในตัว เหยา ที่ทำให้ยอดขายของ เป๊ปซี่ ในจีนไล่จี้ โค้ก มาติดๆ โดยยอดขายเป๊ปซี่ในประเทศจีนเมื่อปี 2546 เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 30
- แมคโดนัลด์ ยกให้ เหยา เป็น 'ทูตแมคโดนัลด์โลกคนแรก (Worldwide Brand Ambassador)'
ข้างต้นเป็นแค่ตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ของบริษัทธุรกิจที่ดึงเหยาเข้ามาส่งเสริมการขายสินค้าของตนเอง โดยจะเห็นได้ว่ามีการครอบคลุมสินค้าตั้งแต่ ฟาสต์ฟู้ด เครื่องดื่ม เครื่องกีฬา สื่อ นอกจากนี้ชื่อ 'เหยา หมิง' ยังถูกยื้อแย่งในอีกหลายๆ ปริมณฑลธุรกิจ เช่น เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (China Unicom) เว็บไซต์ (Sohu.com) สวนสนุก-ธุรกิจบันเทิง (Disney)
สถานะนักกีฬา ที่ถูกผลักดันให้กลายเป็นไอคอนทางธุรกิจส่งให้ รายได้จากของเหยา หมิงนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล โดยเมื่อเทียบกับสัญญา 18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นเวลา 4 ปี (หรือ 4.5 ล้านเหรียญฯ ต่อปี) กับทีมฮุสตัน ร็อคเกตส์แล้ว ยังนับว่าห่างไกลจากรายได้ 15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ที่มาจากการเป็นพรีเซนเตอร์ให้สินค้ามาก (มีข่าวลือระบุว่า รัฐบาลจีน ทีมเซี่ยงไฮ้ ชาร์ค และ สมาคมบาสเกตบอลจีน จะกินส่วนแบ่งจากรายได้ทั้งหมดของ เหยา ราวหนึ่งในสาม)
แน่นอนว่าตัวเลขรายได้จากทั้ง การเล่นบาสเกตบอลอาชีพ และ ดังกล่าวสูงเกินกว่าที่ เหยา คนใกล้ชิด หรือ ครอบครัวของเขาจะเข้ามาดูแล
ทีมเหยา (Team Yao) เป็นชื่อของกลุ่มผู้ดูแลผลประโยชน์ทางธุรกิจจากการใช้ชื่อของ เหยา หมิง โดยทั้งนี้บิสเนสวีคระบุว่า การก่อตัวของของ ทีมเหยา เป็นปรากฎการณ์ใหม่ของการบริหารแบรนด์ที่เป็นตัวบุคคล โดยแกนนำของทีมเหยานั้นก่อเกิดขึ้นใน ชั้นเรียนนักศึกษาของโรงเรียนธุรกิจชั้นนำของสหรัฐฯ ที่ มหาวิทยาลัยชิคาโก้
เริ่มตั้งแต่สองปีก่อนเมื่อเจ้าตัวเซ็นสัญญากับ ฮุสตัน ร็อคเกตส์ จากไอเดียเริ่มแรกของญาติเหยา หมิง ที่ไปเรียนเอ็มบีเอที่มหาวิทยาลัยชิคาโก้ ทีมเหยา ก็วางแผนการตลาดกับชื่อและภาพลักษณ์ของ เหยา หมิง ไว้เป็นเวลานาน 5 ปี โดยมีจุดมุ่งหมายคือการผลักดัน แบรนด์เหยา หมิง ให้ขึ้นสู่จุดสูงสุด (ทำรายได้สูงสุด) เมื่อถึง ปี ค.ศ.2008 ที่ประเทศจีนเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก
ขณะที่โดยส่วนตัวของ เหยา เองแม้จะไม่ชอบกล่าวถึงเรื่องธุรกิจนัก แต่เขาก็กล่าวยอมรับว่า เงินที่เขาหามาได้ไม่ได้แปลว่าเป็นจำนวนเงินที่เขาต้องการใช้จ่าย แต่มันเป็นตัวเลขที่บ่งบอกว่างานที่เขาทำ (ในโลกปัจจุบันที่ตลาดเป็นใหญ่) มันมีมูลค่าแค่ไหน