ผมเคยเขียนเล่าไปเมื่อไม่นานมานี้ว่า ออสเตรเลียจัดเป็นเมืองคนอ้วนติดอันดับโลก มีสถิติสูสีทัดเทียมกับสหรัฐอเมริกา
คนออสซี่ร้อยละ 60 มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
แต่เชื่อไหมครับว่า คนอ้วนในเมืองจิงโจ้จำนวนมากกลับถูกล้อเลียน ดูแคลน เหยียดหยาม
และได้รับการปฏิบัติไม่ทัดเทียมกับคนปกติ (Discrimination)
ประเด็นนี้เป็นปมแสยงในหัวจิตหัวใจของเหล่าพลเมืองอ้วนยิ่งนัก
อย่างเมื่อต้นปีนี้ ร้านอาหาร Fast Food ประเภทไก่ ชื่อร้าน Nando ออกแคมเปญโฆษณาด้วยสโลแกน

“No fat chicks”
นัยว่า ร้านไก่ Nando ต้องการจะเคลมว่าไก่ของร้านเขากินแล้วไม่อ้วน หรือไม่มีน้ำมันชุ่มอาบในเนื้อไก่
เนื่องเพราะใช้กรรมวิธี “ย่าง” ไก่ แทนการ “ทอด” เหมือนค่ายไก่ผู้พัน KFC ซึ่งเป็นเจ้าครองตลาดอาหาร Fast food ในตระกูลไก่
ดูเผินๆก็ไม่มีอะไรใช่ไหมครับ อย่างมากก็แค่การเกทับบลั๊ฟแหลกกันระหว่างสินค้า Fast food
แต่มันไม่ใช่แค่นั้นสิครับ
เพราะคำว่า “Chick” มันมี 2 นัย !
แน่นอนครับ นัยแรก แปลตรงตัวว่า หมายถึงไก่ กุ๊กๆ
แต่อีกนัยหนึ่งนั้น หมายถึง ผู้หญิง
ดังนั้นเมื่อหญิงอ้วนชาวออสซี่ เห็นสติ๊กเกอร์แคมเปญ “No fat chicks” ของร้านไก่ Nando พวกคุณเธอพลันร้องจ๊าก โวยวายลั่น
เพราะมันหมายความว่า คนติดสติ๊กเกอร์ชิ้นนี้ประกาศตัวชัดเจนว่า รังเกียจ ไม่ต้องการหญิงอ้วน
“หญิงอ้วนมันผิดตรงไหน ฉันอ้วนแล้วหนักหัวใคร...” เหล่าสตรีน้ำหนักเกินพิกัดโอดครวญผ่านสื่อ
พวกเธอบอกว่า โฆษณาชุดนี้เป็นการกระทำที่ดูถูกเหยียดหยามผู้หญิงอ้วนสุดๆ
ถือว่าเป็น Discriminate against people!
จะว่าไปแล้ว ก็น่าจะให้พวกเธอน้อยเนื้อต่ำใจกับการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกันนี่นะครับ
เพราะมีอยู่บ่อยครั้งเหมือนกันที่มีข่าวปรากฏผ่านตามสื่อว่า คนอ้วนในออสเตรเลียถูกเชิญออกจากร้านค้า ร้านอาหาร หรือถูกปฏิเสธในการให้บริการจากร้านค้า ห้องเสื้อบางแห่ง
บางคนถูกปฏิเสธตำแหน่งงาน เนื่องจากความอ้วนของพวกเธอ
รายการสารคดีข่าวโทรทัศน์ชื่อดังของออสเตรเลีย “Today Tonight” เคยทำข่าวสำรวจข้อเท็จจริงในประเด็นนี้
โดยให้สาวสวยอนงค์หนึ่ง รูปร่างผอมบางปานนางแบบ ลองสวมชุดคนอ้วน อันเป็นประดิษฐกรรมที่เราๆ ท่านๆ คงเคยผ่านตาจากภาพยนตร์ฮอลีวู้ดกันมาแล้ว
หลังจากนั้นลองให้หญิงในคราบคนอ้วนเดินโฉบเข้าร้านเสื้อชื่อดังหลายแห่ง โดยมีกล้องลอบจับพฤติกรรมของผู้คนในร้าน
ปรากฏว่า เหล่าคนขายเสื้อเมินเฉยกับการปรากฏตัวของหญิงอ้วน เสมือนเธอไม่มีตัวตนก็ไม่ปาน
ต่อมา สาวคนเดิมเดินกลับเข้ามาในร้านเดิม แต่คราวนี้มาในคราบจริง อันสะโอดสะองค์
รูปการณ์กลับตรงกันข้าม คนขายเสื้อผ้ากุลีกุจอเข้ามาต้อนรับขับสู้ ยิ้มแย้มแจ่มใส แตกต่างจากเมื่อครู่โดยสิ้นเชิง
ทางรายการ Today Tonight ยังให้สาวคนเดิมแต่งชุดคนอ้วน แสร้งทำของตกกระจายอยู่บนฟุตบาทที่ผู้คนสัญจรผ่านไปมามากมาย
เชื่อไหมครับ ไม่มีใครสนใจช่วยเหลือสาวอ้วนผู้น่าสงสาร หยิบเก็บข้าวของที่เกลื่อนพื้น ทุกคนเดินผ่านอย่างไม่สนใจใยดี
แต่เมื่อสาวคนเดียวกัน ถอดชุดอ้วนออก แล้วทำของตกในจุดเดียวกับเมื่อครู่
ผู้คนซึ่งสัญจรไปมากลับหยุด แสดงน้ำจิตน้ำใจช่วยหยิบเก็บข้าวของคนละไม้คนละมือ
เช่นเดียวกัน เมื่อสาวในคราบอ้วนเพละเดินเข้าไปในผับแห่งหนึ่ง ผู้คนต่างเมินหน้าหนี ไม่มีใครเดินเข้ามาพูดคุยปราศรัยด้วย
แต่เมื่อเธอเดินเข้ามาในร้านเดิม ด้วยรูปลักษณ์ของหญิงหุ่นนางแบบ
ชายหนุ่มต่างเหลียวมอง ก่อนจะเดินเข้ามาทักทายพูดคุย
ครับ ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้คนยังมีทัศนคติเลือกปฏิบัติต่อคนอ้วนไม่ทัดเทียมกับคนปกตินี่เอง
ทำให้เหล่าคนอ้วนชาวออสซี่จำนวนมากเริ่มเรียกร้องสิทธิของคนอ้วน
เริ่มจาก เรียกร้องให้บรรดานิตยสารผู้หญิง เลือกใช้นางแบบเสื้อผ้า โดยอิงกับสภาพความเป็นจริงของหุ่นชาวออสซี่
นั่นคือใช้นางแบบหุ่นอ้วนมาตรฐานเดียวกับเหล่าสาวออสซี่
ไม่ใช่ ใช้นางแบบหุ่นผอมบาง ปลิวลม
เพราะนั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่า คนอ้วนก็สวย ก็หล่อ หรือดูดีได้เหมือนกัน
นอกจากนั้น คนอ้วนชาวออสซี่ ยังเรียกร้องให้พวกเขาได้รับการปฏิบัติเยี่ยงคนปกติ
หากร้านค้า หรือบุคคลใด ละเมิดการกระทำดังกล่าวขอให้มีการดำเนินการกฎหมาย Anti-discrimination laws อย่างจริงจัง
เนื่องเพราะ พวกเขาตระหนักว่า มนุษย์ทุกผู้คนควรมีสิทธิ และได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน
ไม่ควรจะเลือกตัดสินผู้คนจาก รูปพรรณ สีผิว เชื้อชาติ ศาสนา
หรือแม้แต่น้ำหนักของร่างกาย !
คนออสซี่ร้อยละ 60 มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
แต่เชื่อไหมครับว่า คนอ้วนในเมืองจิงโจ้จำนวนมากกลับถูกล้อเลียน ดูแคลน เหยียดหยาม
และได้รับการปฏิบัติไม่ทัดเทียมกับคนปกติ (Discrimination)
ประเด็นนี้เป็นปมแสยงในหัวจิตหัวใจของเหล่าพลเมืองอ้วนยิ่งนัก
อย่างเมื่อต้นปีนี้ ร้านอาหาร Fast Food ประเภทไก่ ชื่อร้าน Nando ออกแคมเปญโฆษณาด้วยสโลแกน
“No fat chicks”
นัยว่า ร้านไก่ Nando ต้องการจะเคลมว่าไก่ของร้านเขากินแล้วไม่อ้วน หรือไม่มีน้ำมันชุ่มอาบในเนื้อไก่
เนื่องเพราะใช้กรรมวิธี “ย่าง” ไก่ แทนการ “ทอด” เหมือนค่ายไก่ผู้พัน KFC ซึ่งเป็นเจ้าครองตลาดอาหาร Fast food ในตระกูลไก่
ดูเผินๆก็ไม่มีอะไรใช่ไหมครับ อย่างมากก็แค่การเกทับบลั๊ฟแหลกกันระหว่างสินค้า Fast food
แต่มันไม่ใช่แค่นั้นสิครับ
เพราะคำว่า “Chick” มันมี 2 นัย !
แน่นอนครับ นัยแรก แปลตรงตัวว่า หมายถึงไก่ กุ๊กๆ
แต่อีกนัยหนึ่งนั้น หมายถึง ผู้หญิง
ดังนั้นเมื่อหญิงอ้วนชาวออสซี่ เห็นสติ๊กเกอร์แคมเปญ “No fat chicks” ของร้านไก่ Nando พวกคุณเธอพลันร้องจ๊าก โวยวายลั่น
เพราะมันหมายความว่า คนติดสติ๊กเกอร์ชิ้นนี้ประกาศตัวชัดเจนว่า รังเกียจ ไม่ต้องการหญิงอ้วน
“หญิงอ้วนมันผิดตรงไหน ฉันอ้วนแล้วหนักหัวใคร...” เหล่าสตรีน้ำหนักเกินพิกัดโอดครวญผ่านสื่อ
พวกเธอบอกว่า โฆษณาชุดนี้เป็นการกระทำที่ดูถูกเหยียดหยามผู้หญิงอ้วนสุดๆ
ถือว่าเป็น Discriminate against people!
จะว่าไปแล้ว ก็น่าจะให้พวกเธอน้อยเนื้อต่ำใจกับการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกันนี่นะครับ
เพราะมีอยู่บ่อยครั้งเหมือนกันที่มีข่าวปรากฏผ่านตามสื่อว่า คนอ้วนในออสเตรเลียถูกเชิญออกจากร้านค้า ร้านอาหาร หรือถูกปฏิเสธในการให้บริการจากร้านค้า ห้องเสื้อบางแห่ง
บางคนถูกปฏิเสธตำแหน่งงาน เนื่องจากความอ้วนของพวกเธอ
รายการสารคดีข่าวโทรทัศน์ชื่อดังของออสเตรเลีย “Today Tonight” เคยทำข่าวสำรวจข้อเท็จจริงในประเด็นนี้
โดยให้สาวสวยอนงค์หนึ่ง รูปร่างผอมบางปานนางแบบ ลองสวมชุดคนอ้วน อันเป็นประดิษฐกรรมที่เราๆ ท่านๆ คงเคยผ่านตาจากภาพยนตร์ฮอลีวู้ดกันมาแล้ว
หลังจากนั้นลองให้หญิงในคราบคนอ้วนเดินโฉบเข้าร้านเสื้อชื่อดังหลายแห่ง โดยมีกล้องลอบจับพฤติกรรมของผู้คนในร้าน
ปรากฏว่า เหล่าคนขายเสื้อเมินเฉยกับการปรากฏตัวของหญิงอ้วน เสมือนเธอไม่มีตัวตนก็ไม่ปาน
ต่อมา สาวคนเดิมเดินกลับเข้ามาในร้านเดิม แต่คราวนี้มาในคราบจริง อันสะโอดสะองค์
รูปการณ์กลับตรงกันข้าม คนขายเสื้อผ้ากุลีกุจอเข้ามาต้อนรับขับสู้ ยิ้มแย้มแจ่มใส แตกต่างจากเมื่อครู่โดยสิ้นเชิง
ทางรายการ Today Tonight ยังให้สาวคนเดิมแต่งชุดคนอ้วน แสร้งทำของตกกระจายอยู่บนฟุตบาทที่ผู้คนสัญจรผ่านไปมามากมาย
เชื่อไหมครับ ไม่มีใครสนใจช่วยเหลือสาวอ้วนผู้น่าสงสาร หยิบเก็บข้าวของที่เกลื่อนพื้น ทุกคนเดินผ่านอย่างไม่สนใจใยดี
แต่เมื่อสาวคนเดียวกัน ถอดชุดอ้วนออก แล้วทำของตกในจุดเดียวกับเมื่อครู่
ผู้คนซึ่งสัญจรไปมากลับหยุด แสดงน้ำจิตน้ำใจช่วยหยิบเก็บข้าวของคนละไม้คนละมือ
เช่นเดียวกัน เมื่อสาวในคราบอ้วนเพละเดินเข้าไปในผับแห่งหนึ่ง ผู้คนต่างเมินหน้าหนี ไม่มีใครเดินเข้ามาพูดคุยปราศรัยด้วย
แต่เมื่อเธอเดินเข้ามาในร้านเดิม ด้วยรูปลักษณ์ของหญิงหุ่นนางแบบ
ชายหนุ่มต่างเหลียวมอง ก่อนจะเดินเข้ามาทักทายพูดคุย
ครับ ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้คนยังมีทัศนคติเลือกปฏิบัติต่อคนอ้วนไม่ทัดเทียมกับคนปกตินี่เอง
ทำให้เหล่าคนอ้วนชาวออสซี่จำนวนมากเริ่มเรียกร้องสิทธิของคนอ้วน
เริ่มจาก เรียกร้องให้บรรดานิตยสารผู้หญิง เลือกใช้นางแบบเสื้อผ้า โดยอิงกับสภาพความเป็นจริงของหุ่นชาวออสซี่
นั่นคือใช้นางแบบหุ่นอ้วนมาตรฐานเดียวกับเหล่าสาวออสซี่
ไม่ใช่ ใช้นางแบบหุ่นผอมบาง ปลิวลม
เพราะนั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่า คนอ้วนก็สวย ก็หล่อ หรือดูดีได้เหมือนกัน
นอกจากนั้น คนอ้วนชาวออสซี่ ยังเรียกร้องให้พวกเขาได้รับการปฏิบัติเยี่ยงคนปกติ
หากร้านค้า หรือบุคคลใด ละเมิดการกระทำดังกล่าวขอให้มีการดำเนินการกฎหมาย Anti-discrimination laws อย่างจริงจัง
เนื่องเพราะ พวกเขาตระหนักว่า มนุษย์ทุกผู้คนควรมีสิทธิ และได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน
ไม่ควรจะเลือกตัดสินผู้คนจาก รูปพรรณ สีผิว เชื้อชาติ ศาสนา
หรือแม้แต่น้ำหนักของร่างกาย !