เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ขณะที่คุณระเบียบรัตน์แห่งสยามประเทศกำลังโวยวายว่าประเพณีเก่าแก่ของชาวล้านนาล้าหลัง ไม่เป็นอารยะ และละเมิด “สิทธิสตรี” อยู่นั้น
ในดินแดนดาวน์อันเดอร์ ออสเตรเลีย กำลังมีโครงการรณรงค์ด้านสิทธิสตรีระดับชาติชื่อ
Violence Against Women – Australia Says No
อันเป็นโครงการต่อต้านการใช้ความรุนแรงกับผู้หญิง
โปรเจกต์นี้รัฐบาลของนาย John Howard ทุ่มงบประมาณมหาศาลโหมโฆษณาทั้งทางโทรทัศน์ วิทยุ นิตยสาร อีกทั้งยังพิมพ์หนังสือคู่มือแจกจ่ายทุกบ้านพักอาศัย
นัยว่า งานนี้รัฐบาลเฮาเวิร์ดหวังเรียกคะแนนเสียงจากกลุ่มผู้หญิงในการเลือกตั้งใหญ่ที่กำลังจะมาถึง !
หลังจากทุ่มงบประมาณแบบ “ประชานิยม” แจกเงินโบนัสให้กับคุณแม่ที่คลอดลูกตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมปีนี้ คนละ 3,000 เหรียญ หรือประมาณ 87,000 บาท
พร้อมทั้งปรับระบบรักษาพยาบาล หรือที่เรียกกันว่า “Medicare” เอาใจคนออสซี่มากขึ้น
ไม่ว่าโครงการรณรงค์นี้จะเป็นโปรเจกต์หาเสียงหรือไม่ก็ตาม แต่นินจา ราตรีคิดว่า เนื้อหา รายละเอียด และเป้าหมายของโครงการนี้น่าหยิบยกมาขบคิด พูดคุย และบอกต่อ
ทั้งนี้เพราะการคุกคามทางเพศ หรือการใช้ความรุนแรงต่ออิสตรี นับวันจะทวีความรุนแรงและแพร่ขยายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสังคมออสเตรเลียหรือแม้แต่ในเมืองไทยของเราก็ตาม
เชื่อไหมครับว่า ความรุนแรง และการถูกกดขี่ คุกคามทางเพศนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากคนไกลตัวเลย
ส่วนใหญ่ความรุนแรงต่อเพศหญิงมักเกิดขึ้นในสถาบันครอบครัว
เกิดขึ้นจากบุคคลใกล้ชิด
จากสามี...หรือจากคู่รัก...
พูดถึงตรงนี้ หลายคนอาจนึกเถียงว่า “ผัวเมียทะเลาะ ตบตีกัน ไม่เห็นเป็นไรเลย เดี๋ยวเดียวเขาก็คืนดีกันแล้ว”
บางคนทะเล้นหน่อยอาจเปรียบเปรยว่า “ผัวเมียเขาทะเลาะกันในแนวตั้ง แต่ตกดึกจะคืนดีในแนวนอน”
ครับ ด้วยทัศนคติเช่นนี้ ทำให้เรา ๆ ท่าน ๆ มักวางเฉยเมื่อเห็น หรือรับทราบการใช้ความรุนแรงในครอบครัว
ดังนั้น การตบเมีย ซ้อมเมีย สำหรับคนไทยจำนวนไม่น้อยจึงกลายเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องภายในครอบครัว ชนิดที่ว่าขึ้นโรงขึ้นศาลก็ถือเป็นเรื่องยอมความกันได้
แต่สำหรับดินแดนจิงโจ้ การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นอาชญากรรม !
เนื่องเพราะเขาตระหนักว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงย่อมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อลูก ต่อสมาชิกในครอบครัว และต่อสังคมในอนาคต
หญิงผู้เป็นแม่ เป็นแกนหลักของสถาบันครอบครัวย่อมไม่สามารถบ่มเพาะ เลี้ยงดูบุตรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หากเธอยังอยู่ในสภาวะของความหวาดวิตก เจ็บปวด ทรมานทั้งทางกายและจิตใจ
แล้วจะรู้ได้อย่างไรละครับว่า คู่รักของคุณมีแนวโน้มจะเป็นพวกมือเท้าหนัก เป็นพวกเจ้าอารมณ์ ชอบใช้กำลังกับผู้หญิง
ในเอกสารรณรงค์ของโครงการ Violence Against Women – Australia Says No ระบุว่า สัญญาณอันตรายที่คุณผู้หญิงควรสังเกตคือ
1. การแสดงความเป็นเจ้าของ
คนประเภทนี้มักจะตรวจเช็คอยู่ตลอดเวลาว่า ฝ่ายหญิงทำอะไร กับใครที่ไหน พยายามบังคับคู่รักว่า ควรไปไหน ใครที่เธอควรคบ ควรพูดจา
อันนี้ เป็นคนละประเภทกับการห่วงหาอาทรนะครับ ประเภทนี้เกินขอบเขตของความห่วงใยไปแล้ว คนพวกนี้ มักจะหึง หวง แสดงความเป็นเจ้าของอย่างบ้าคลั่ง
2. อิจฉาริษยา
คนพวกนี้มักจะอิจฉาริษยาความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักของเขากับบุคคลอื่น โดยมักจะกล่าวหาฝ่ายหญิงว่า ชอบให้ท่าชายอื่น หรือกล่าวหาว่าเป็นชู้โดยไม่มีเหตุผลที่เหมาะสมรองรับ และมักจะแยกคู่รักออกจากครอบครัวและกลุ่มเพื่อนๆของเธอโดยแสดงกริยาท่าทางหยาบคายกับพวกเขา
3. ดูถูกเหยียดหยาม
ชายกลุ่มนี้มักจะทำให้คู่รักของเขาอับอายทั้งต่อหน้าและลับหลัง หยามเหยียดในที่สาธารณะโดยไม่แคร์ความรู้สึกของฝ่ายหญิง ส่วนใหญ่มักจะด่าทอเย้ยหยัน เรื่องสติปัญญา ความสามารถ เรื่องหน้าตา รูปร่าง และมักจะกล่าวหาว่าฝ่ายหญิงคือตัวเจ้าปัญหา
4.การขู่เข็ญ คุกคาม
คนประเภทนี้มักจะชอบตะคอก ตวาด ขู่เข็ญ ด่าทอคู่รักของเขาอย่างรุนแรง บางครั้งก็ใช้กำลังคุกคามคู่รัก รวมไปถึงครอบครัว เพื่อนฝูง แม้กระทั่งกับสัตว์เลี้ยงของเธอ
ครับ ถ้าแฟนหรือคู่รักของคุณมีการแสดงออกเช่นที่กล่าวมา แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม คุณเตรียมตัวชิ่งจากเขาได้แล้วละครับ ไม่เช่นนั้นคุณอาจจะกลายเป็นกระสอบทรายให้เขาซ้อมเช้าซ้อมเย็น
และถ้าคู่ของคุณเคยใช้ความรุนแรงกับคุณมาแล้ว อย่าปล่อยทิ้งเฉยไว้นะครับ แม้ว่าเขาจะกล่าวคำขอโทษคุณแล้ว หรือให้เหตุผลว่าเขากำลังเครียด หรืออ้างว่าคุณยั่วให้เขาโกรธก่อนก็ตาม
ทั้งนี้เพราะความรุนแรงเช่นนั้นสามารถเกิดซ้ำขึ้นอีก !
ทางออกคือ ปรึกษากับพ่อ แม่ พี่น้อง เพื่อนฝูงที่สนิทสนม ขอความช่วยเหลือโดยด่วน อย่าปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้ผ่านเลยไป
ในเอกสารรณรงค์เล่มเล็กๆนี้ ยังมีประเด็นที่น่าสนใจคือ การระบุว่า บุคคลที่สามารถลดทอนปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อเพศหญิงคือ
พ่อ...แม่...
นั่นคือ การเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกได้เรียนรู้ และตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ของบุคคลอื่น รวมถึงการไม่ใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหา
ขณะเดียวกันพ่อแม่ควรจะพูดคุย สื่อสารกับลูกสาวให้ตระหนักถึงโทษภัยแห่งความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งเปิดกว้าง รับฟังและร่วมหาทางออก เมื่อลูกสาวต้องเผชิญกับความโหดร้ายเช่นนี้
ขณะเดียวกันก็ต้องพูดคุย สื่อสารกับลูกชายให้เคารพ ตระหนักในศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ของผู้หญิง
อย่าให้เขาคิดว่าแรงขับทางเพศ หรือความรุนแรงที่กระทำต่อเพศหญิงเป็นเรื่องธรรมดา สามัญ
หรือเห็นว่าเป็นแค่เรื่อง “สนุก”
มาร่วมหยุดความรุนแรงกันเถอะครับ !


ห้องให้นม – ติดค้างมาตั้งแต่คราวก่อน ว่าด้วยภาพห้องให้นมแม่แก่ลูก .... ภาพแรก เป็นบรรยากาศห้องให้นมที่ สะอาด ถูกสุขอนามัย มีห้องซอยย่อยให้คุณแม่ลูกอ่อนให้นมได้อย่างไม่เคอะเขิน ....ส่วนภาพที่สอง จะเห็นว่าในห้องให้นม มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเพียบพร้อม ทั้งเตาไมโครเวฟ อ่างน้ำร้อน น้ำเย็น และห้องน้ำ
ในดินแดนดาวน์อันเดอร์ ออสเตรเลีย กำลังมีโครงการรณรงค์ด้านสิทธิสตรีระดับชาติชื่อ
Violence Against Women – Australia Says No
อันเป็นโครงการต่อต้านการใช้ความรุนแรงกับผู้หญิง
โปรเจกต์นี้รัฐบาลของนาย John Howard ทุ่มงบประมาณมหาศาลโหมโฆษณาทั้งทางโทรทัศน์ วิทยุ นิตยสาร อีกทั้งยังพิมพ์หนังสือคู่มือแจกจ่ายทุกบ้านพักอาศัย
นัยว่า งานนี้รัฐบาลเฮาเวิร์ดหวังเรียกคะแนนเสียงจากกลุ่มผู้หญิงในการเลือกตั้งใหญ่ที่กำลังจะมาถึง !
หลังจากทุ่มงบประมาณแบบ “ประชานิยม” แจกเงินโบนัสให้กับคุณแม่ที่คลอดลูกตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมปีนี้ คนละ 3,000 เหรียญ หรือประมาณ 87,000 บาท
พร้อมทั้งปรับระบบรักษาพยาบาล หรือที่เรียกกันว่า “Medicare” เอาใจคนออสซี่มากขึ้น
ไม่ว่าโครงการรณรงค์นี้จะเป็นโปรเจกต์หาเสียงหรือไม่ก็ตาม แต่นินจา ราตรีคิดว่า เนื้อหา รายละเอียด และเป้าหมายของโครงการนี้น่าหยิบยกมาขบคิด พูดคุย และบอกต่อ
ทั้งนี้เพราะการคุกคามทางเพศ หรือการใช้ความรุนแรงต่ออิสตรี นับวันจะทวีความรุนแรงและแพร่ขยายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสังคมออสเตรเลียหรือแม้แต่ในเมืองไทยของเราก็ตาม
เชื่อไหมครับว่า ความรุนแรง และการถูกกดขี่ คุกคามทางเพศนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากคนไกลตัวเลย
ส่วนใหญ่ความรุนแรงต่อเพศหญิงมักเกิดขึ้นในสถาบันครอบครัว
เกิดขึ้นจากบุคคลใกล้ชิด
จากสามี...หรือจากคู่รัก...
พูดถึงตรงนี้ หลายคนอาจนึกเถียงว่า “ผัวเมียทะเลาะ ตบตีกัน ไม่เห็นเป็นไรเลย เดี๋ยวเดียวเขาก็คืนดีกันแล้ว”
บางคนทะเล้นหน่อยอาจเปรียบเปรยว่า “ผัวเมียเขาทะเลาะกันในแนวตั้ง แต่ตกดึกจะคืนดีในแนวนอน”
ครับ ด้วยทัศนคติเช่นนี้ ทำให้เรา ๆ ท่าน ๆ มักวางเฉยเมื่อเห็น หรือรับทราบการใช้ความรุนแรงในครอบครัว
ดังนั้น การตบเมีย ซ้อมเมีย สำหรับคนไทยจำนวนไม่น้อยจึงกลายเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องภายในครอบครัว ชนิดที่ว่าขึ้นโรงขึ้นศาลก็ถือเป็นเรื่องยอมความกันได้
แต่สำหรับดินแดนจิงโจ้ การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นอาชญากรรม !
เนื่องเพราะเขาตระหนักว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงย่อมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อลูก ต่อสมาชิกในครอบครัว และต่อสังคมในอนาคต
หญิงผู้เป็นแม่ เป็นแกนหลักของสถาบันครอบครัวย่อมไม่สามารถบ่มเพาะ เลี้ยงดูบุตรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หากเธอยังอยู่ในสภาวะของความหวาดวิตก เจ็บปวด ทรมานทั้งทางกายและจิตใจ
แล้วจะรู้ได้อย่างไรละครับว่า คู่รักของคุณมีแนวโน้มจะเป็นพวกมือเท้าหนัก เป็นพวกเจ้าอารมณ์ ชอบใช้กำลังกับผู้หญิง
ในเอกสารรณรงค์ของโครงการ Violence Against Women – Australia Says No ระบุว่า สัญญาณอันตรายที่คุณผู้หญิงควรสังเกตคือ
1. การแสดงความเป็นเจ้าของ
คนประเภทนี้มักจะตรวจเช็คอยู่ตลอดเวลาว่า ฝ่ายหญิงทำอะไร กับใครที่ไหน พยายามบังคับคู่รักว่า ควรไปไหน ใครที่เธอควรคบ ควรพูดจา
อันนี้ เป็นคนละประเภทกับการห่วงหาอาทรนะครับ ประเภทนี้เกินขอบเขตของความห่วงใยไปแล้ว คนพวกนี้ มักจะหึง หวง แสดงความเป็นเจ้าของอย่างบ้าคลั่ง
2. อิจฉาริษยา
คนพวกนี้มักจะอิจฉาริษยาความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักของเขากับบุคคลอื่น โดยมักจะกล่าวหาฝ่ายหญิงว่า ชอบให้ท่าชายอื่น หรือกล่าวหาว่าเป็นชู้โดยไม่มีเหตุผลที่เหมาะสมรองรับ และมักจะแยกคู่รักออกจากครอบครัวและกลุ่มเพื่อนๆของเธอโดยแสดงกริยาท่าทางหยาบคายกับพวกเขา
3. ดูถูกเหยียดหยาม
ชายกลุ่มนี้มักจะทำให้คู่รักของเขาอับอายทั้งต่อหน้าและลับหลัง หยามเหยียดในที่สาธารณะโดยไม่แคร์ความรู้สึกของฝ่ายหญิง ส่วนใหญ่มักจะด่าทอเย้ยหยัน เรื่องสติปัญญา ความสามารถ เรื่องหน้าตา รูปร่าง และมักจะกล่าวหาว่าฝ่ายหญิงคือตัวเจ้าปัญหา
4.การขู่เข็ญ คุกคาม
คนประเภทนี้มักจะชอบตะคอก ตวาด ขู่เข็ญ ด่าทอคู่รักของเขาอย่างรุนแรง บางครั้งก็ใช้กำลังคุกคามคู่รัก รวมไปถึงครอบครัว เพื่อนฝูง แม้กระทั่งกับสัตว์เลี้ยงของเธอ
ครับ ถ้าแฟนหรือคู่รักของคุณมีการแสดงออกเช่นที่กล่าวมา แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม คุณเตรียมตัวชิ่งจากเขาได้แล้วละครับ ไม่เช่นนั้นคุณอาจจะกลายเป็นกระสอบทรายให้เขาซ้อมเช้าซ้อมเย็น
และถ้าคู่ของคุณเคยใช้ความรุนแรงกับคุณมาแล้ว อย่าปล่อยทิ้งเฉยไว้นะครับ แม้ว่าเขาจะกล่าวคำขอโทษคุณแล้ว หรือให้เหตุผลว่าเขากำลังเครียด หรืออ้างว่าคุณยั่วให้เขาโกรธก่อนก็ตาม
ทั้งนี้เพราะความรุนแรงเช่นนั้นสามารถเกิดซ้ำขึ้นอีก !
ทางออกคือ ปรึกษากับพ่อ แม่ พี่น้อง เพื่อนฝูงที่สนิทสนม ขอความช่วยเหลือโดยด่วน อย่าปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้ผ่านเลยไป
ในเอกสารรณรงค์เล่มเล็กๆนี้ ยังมีประเด็นที่น่าสนใจคือ การระบุว่า บุคคลที่สามารถลดทอนปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อเพศหญิงคือ
พ่อ...แม่...
นั่นคือ การเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกได้เรียนรู้ และตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ของบุคคลอื่น รวมถึงการไม่ใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหา
ขณะเดียวกันพ่อแม่ควรจะพูดคุย สื่อสารกับลูกสาวให้ตระหนักถึงโทษภัยแห่งความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งเปิดกว้าง รับฟังและร่วมหาทางออก เมื่อลูกสาวต้องเผชิญกับความโหดร้ายเช่นนี้
ขณะเดียวกันก็ต้องพูดคุย สื่อสารกับลูกชายให้เคารพ ตระหนักในศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ของผู้หญิง
อย่าให้เขาคิดว่าแรงขับทางเพศ หรือความรุนแรงที่กระทำต่อเพศหญิงเป็นเรื่องธรรมดา สามัญ
หรือเห็นว่าเป็นแค่เรื่อง “สนุก”
มาร่วมหยุดความรุนแรงกันเถอะครับ !
ห้องให้นม – ติดค้างมาตั้งแต่คราวก่อน ว่าด้วยภาพห้องให้นมแม่แก่ลูก .... ภาพแรก เป็นบรรยากาศห้องให้นมที่ สะอาด ถูกสุขอนามัย มีห้องซอยย่อยให้คุณแม่ลูกอ่อนให้นมได้อย่างไม่เคอะเขิน ....ส่วนภาพที่สอง จะเห็นว่าในห้องให้นม มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเพียบพร้อม ทั้งเตาไมโครเวฟ อ่างน้ำร้อน น้ำเย็น และห้องน้ำ