หลายวันก่อนนินจา ราตรี คลิกเวบไซต์ผู้จัดการอ่านเจอข่าวเล็ก ๆ แต่เปี่ยมด้วยคุณค่าชิ้นหนึ่ง จึงขอนำข่าวนั้นมาขยาย
เป็นข่าวเรื่องของ “นม”
แต่ขอโทษนะครับท่าน งานนี้มิใช่นมสาว (อย่างของคุณตั๊ก-บงกชที่กำลังดังอยู่ในเมืองไทย) แต่เป็นนมแม่
เนื้อข่าวเขาบอกว่ามีผู้หญิงไทยอยู่กลุ่มหนึ่ง รวมตัวกันในนาม
“กลุ่มนมแม่”
ทั้งนี้เพราะพวกเธอตระหนักถึงคุณค่าของน้ำนมแม่ว่าเป็นอาหารทิพย์ ดีสุดยอด เหนือเหล่านมกระป๋องที่โฆษณาว่าเพิ่มสารวิตามินอย่างโน้นอย่างนี้มากมาย
กลุ่มนมแม่รวมตัวกันรณรงค์ให้คนไทยหันกลับมาใช้นมแม่เลี้ยงทารกเหมือนเช่นสมัยก่อน ไม่ใช่เลี้ยงลูกด้วยนมวัวดัดแปลงเหมือนเช่นทุกวันนี้
สปอนเซอร์ใหญ่ของกลุ่มคือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.)
ล่าสุด กลุ่มนี้เพิ่งเปิดโครงการ
“มุมให้นมแม่”
โดยรณรงค์ให้ห้างสรรพสินค้า สถานที่สาธารณะ สถานที่ราชการ หรือแม้แต่ที่ทำงานเอกชนจัดมุมให้นมแม่ขึ้น
คุณแม่ลูกอ่อนจะได้ให้นมลูกดูดอย่างไม่เคอะเขิน หรือถ้าคุณแม่จะบีบปั๊มนมเก็บไว้ให้ลูกดูดจะได้มีที่เป็นสัดส่วน ถูกสุขอนามัย
งานนี้ -- นินจา ราตรีของปรบมือเสียงดังๆด้วยความชื่นชมครับ
จำได้ว่า สมัยอยู่เมืองไทย เคยเห็นคุณแม่ลูกอ่อนต้องหอบหิ้วทารกตัวน้อยหลบอยู่ในรถยนต์ส่วนตัวเพื่อให้ลูกดูดนม
เห็นแล้วอดสะท้อนใจไม่ได้ เพราะเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในห้างสรรพสินค้าใหญ่โต ยังนึกในใจว่า ทำไมห้างใหญ่โตเช่นนี้ถึงไม่จัดห้องหับให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนะนี่
ในดินแดนดาวน์อันเดอร์ ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่สาธารณะใหญ่ ๆ มักจะมีห้องดูดนมจัดไว้อย่างเป็นสัดส่วน
วันนี้ เราแวะไปดูห้องดูดนมของเหล่าออสซี่กันนะครับว่าในนั้นมีอะไรบ้าง
ห้องดูดนมส่วนมากจัดไว้ ไม่ห่างไกลกับห้องสุขา แต่ประตูเข้าห้องดูดนม ส่วนใหญ่จะแตกต่างกับประตูเข้าห้องน้ำปกติ
ประตูห้องน้ำมักจะเป็นประตูแบบผลัก หรือดึง แต่ประตูห้องดูดนมจะเป็นประตูเลื่อน มีมุมให้กดเปิดอย่างง่ายดาย
สอบถามผู้รู้เขาบอกว่า เหตุที่ต้องดีไซน์ประตูเช่นนี้ เนื่องจากคุณแม่ส่วนใหญ่เข็นรถเข็นเด็กใส่ลูกมา จะให้มาดึง หรือมาผลักประตูหนักอึ้ง มันดูไม่สะดวก
เขาเลยออกแบบประตูแบบเลื่อนเปิดได้ง่ายดายพอให้รถเข็นเข้าออกได้อย่างสบายๆ ไม่ทุเรศทุรัง
ในห้องดูดนมเขาจัดที่เป็นสัดส่วน มิดชิด ให้คุณแม่สามารถควักนมส่วนตัวมาให้ลูกดูดได้อย่างไม่เขินอาย บางที่เป็นห้องหับเล็ก ๆ ซอยย่อย มีประตูปิดกั้นอย่างดีอีกชั้นหนึ่ง บางแห่งแบ่งซอยเป็นซอกเล็ก ๆ มีแค่ม่านรูดปิด
แต่ละห้องจะมีเก้าอี้เบาะนวม ให้คุณแม่นั่งให้นมลูกได้อย่างสะดวกสบาย รวมทั้งมีที่เปลี่ยนผ้าอ้อมอย่างถูกสุขอนามัย
ห้องดูดนมบางแห่งถึงกับมีกระดาษรองให้คุณแม่ดึงฉีกมารอง ก่อนนำเจ้าตัวเล็กนอนลงเปลี่ยนผ้าอ้อม
ส่วนผ้าอ้อมใช้แล้วหรือครับ เขามีถังขยะใส่ผ้าอ้อมปิดมิดชิด มีพนักงานดูแลทำความสะอาดมาตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ
ห้องดูดนมไม่ใช่ว่าจะจัดให้สำหรับคุณแม่อย่างเดียวนะครับ คุณพ่อลูกอ่อนหลายคนก็เข้าไปใช้บริการ (คือ...ไปให้นมสำเร็จรูปกับลูก หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกนะครับ) ได้เหมือนกัน เพราะเขาเรียกห้องนี้ว่า...
“Parents Room”
นอกจากเขาจะจัดที่สำหรับคุณแม่ให้นมลูกแล้ว ห้องดูดนมแทบทุกที่จะจัดเตาไมโครเวฟ ไว้ให้อุ่นนมขวด รวมทั้งมีซิงค์น้ำอุ่น น้ำเย็น บริการอย่างเพียบพร้อม
บางแห่งมีห้องน้ำสำหรับคุณพ่อแม่ในตัวเสียด้วยซ้ำ
หรือบางแห่งมีเกมส์ มีของเล่นเอาไว้หลอกล่อเด็กเล็กด้วย เพราะพ่อแม่บางคนไม่ได้มีแค่ลูกอ่อนเบบี๋ที่ต้องให้นมอย่างเดียวนี่ครับ บางครอบครัวยังมีลูกวัยซนอีกด้วย เมื่อจำต้องให้นมลูกอ่อน ก็ต้องหลอกล่อไม่ให้ลูกคนพี่ต้องร้องไห้โวยวายไปก่อน
ในห้องดูดนมนี่แหละครับ เป็นสังคมเล็ก ๆ อีกสังคมหนึ่งที่คุณแม่
และนาน ๆ ครั้งจะมีคุณพ่อมาร่วมแจมพูดคุยปรึกษา ทักทายแลกเปลี่ยนเรื่องของเจ้าตัวเล็กกัน
ครับ เรื่องของนมแม่นี้รัฐบาลออสเตรเลียเขารณรงค์และให้ความสำคัญมาก ทั้งนี้เพราะหลักการแพทย์เขาพิสูจน์ชัดแล้วว่า นมแม่คืออาหารดีที่สุดสำหรับทารก นอกจากคุณค่าทางอาหารแล้วยังมีสารภูมิคุ้มกันโรคภัยหลากชนิดที่หาไม่ได้ในนมกระป๋อง
รัฐบาลในแดนจิงโจ้จึงรณรงค์ให้คุณแม่ลูกอ่อนใช้นมแม่เป็นอาหารทารกอย่างน้อย 6 เดือน
และนัยว่าต่อไปจะขยายโครงการรณรงค์เป็น 1 ปี !
นั่นเพราะเขาตระหนักว่า ยิ่งให้นมแม่นานแค่ไหน คุณภาพของประชากรจะดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ -- รัฐบาลออสเตรเลียยังมีกฎหมายอนุญาตคุณแม่ลูกอ่อนสามารถ “เปิดหน้าอกให้นมลูก” ในที่สาธารณะได้
ใครห้ามแม่ลูกอ่อนให้นมลูกมีโทษตามกฎหมาย Anti-discrimination laws
แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีคนออสซี่จำนวนไม่น้อยดูถูกเหยียดหยาม หรือตะขิดตะขวงใจกับการให้นมของแม่ลูกอ่อนในที่สาธารณะ
เชื่อไหมครับ เคยมีคุณแม่ออสซี่บางคนถูกเชิญออกจากร้านอาหาร หรือถูกไล่ลงจากรถเมล์ เนื่องจากเปิดหน้าอกให้นมลูกในที่สาธารณะ
อย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้ในรายการโทรทัศน์ Reality TV show 'My Restaurant Rules' เจ้าของร้านอาหารมือใหม่ ป้ายแดง แห่งเมือง Melbourne ถึงกับขอให้ลูกค้ากิตติมศักดิ์นางหนึ่งไปให้นมลูกที่ห้องนั่งเล่น แทนที่จะเป็นบนโต๊ะอาหาร
เนื่องเพราะเกรงว่าการให้นมลูกของเธอจะรบกวน “สุนทรียะ” ในการกินอาหารของลูกค้ารายอื่น
ประเด็นจึงนี้จัดเป็นประเด็น “นาครสนทนา” เรื่องหนึ่ง
และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ประเด็นเรื่องนมเป็นประเด็นสนทนา วิวาทะกัน
ผมจำได้ว่าหลายปีก่อนนักการเมืองหญิงชาวออสซี่คนหนึ่งชื่อ Kirstie Marshall เคยจุดประเด็นนี้มาแล้ว เมื่อเธอนั่งให้นมลูกดูดอย่างเปิดเผยกลางการประชุมสภาในรัฐวิคตอเรีย
ทำให้เหล่านักการเมืองชายหลายคนอึกอัก ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันมากมาย
เอ...จะมีนักการเมืองหญิงไทยคนไหนกล้าให้ลูกดูดนมกลางรัฐสภา เป็นการเปิดประเด็นรณรงค์ “นมแม่” ไหมหนอ
หรือผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.คนไหนประกาศนโยบายรณรงค์ให้มี “มุมให้นมแม่” ทั่วทุกมุมเมือง
วานกลุ่มนมแม่ลองทาบทามที...
เป็นข่าวเรื่องของ “นม”
แต่ขอโทษนะครับท่าน งานนี้มิใช่นมสาว (อย่างของคุณตั๊ก-บงกชที่กำลังดังอยู่ในเมืองไทย) แต่เป็นนมแม่
เนื้อข่าวเขาบอกว่ามีผู้หญิงไทยอยู่กลุ่มหนึ่ง รวมตัวกันในนาม
“กลุ่มนมแม่”
ทั้งนี้เพราะพวกเธอตระหนักถึงคุณค่าของน้ำนมแม่ว่าเป็นอาหารทิพย์ ดีสุดยอด เหนือเหล่านมกระป๋องที่โฆษณาว่าเพิ่มสารวิตามินอย่างโน้นอย่างนี้มากมาย
กลุ่มนมแม่รวมตัวกันรณรงค์ให้คนไทยหันกลับมาใช้นมแม่เลี้ยงทารกเหมือนเช่นสมัยก่อน ไม่ใช่เลี้ยงลูกด้วยนมวัวดัดแปลงเหมือนเช่นทุกวันนี้
สปอนเซอร์ใหญ่ของกลุ่มคือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.)
ล่าสุด กลุ่มนี้เพิ่งเปิดโครงการ
“มุมให้นมแม่”
โดยรณรงค์ให้ห้างสรรพสินค้า สถานที่สาธารณะ สถานที่ราชการ หรือแม้แต่ที่ทำงานเอกชนจัดมุมให้นมแม่ขึ้น
คุณแม่ลูกอ่อนจะได้ให้นมลูกดูดอย่างไม่เคอะเขิน หรือถ้าคุณแม่จะบีบปั๊มนมเก็บไว้ให้ลูกดูดจะได้มีที่เป็นสัดส่วน ถูกสุขอนามัย
งานนี้ -- นินจา ราตรีของปรบมือเสียงดังๆด้วยความชื่นชมครับ
จำได้ว่า สมัยอยู่เมืองไทย เคยเห็นคุณแม่ลูกอ่อนต้องหอบหิ้วทารกตัวน้อยหลบอยู่ในรถยนต์ส่วนตัวเพื่อให้ลูกดูดนม
เห็นแล้วอดสะท้อนใจไม่ได้ เพราะเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในห้างสรรพสินค้าใหญ่โต ยังนึกในใจว่า ทำไมห้างใหญ่โตเช่นนี้ถึงไม่จัดห้องหับให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนะนี่
ในดินแดนดาวน์อันเดอร์ ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่สาธารณะใหญ่ ๆ มักจะมีห้องดูดนมจัดไว้อย่างเป็นสัดส่วน
วันนี้ เราแวะไปดูห้องดูดนมของเหล่าออสซี่กันนะครับว่าในนั้นมีอะไรบ้าง
ห้องดูดนมส่วนมากจัดไว้ ไม่ห่างไกลกับห้องสุขา แต่ประตูเข้าห้องดูดนม ส่วนใหญ่จะแตกต่างกับประตูเข้าห้องน้ำปกติ
ประตูห้องน้ำมักจะเป็นประตูแบบผลัก หรือดึง แต่ประตูห้องดูดนมจะเป็นประตูเลื่อน มีมุมให้กดเปิดอย่างง่ายดาย
สอบถามผู้รู้เขาบอกว่า เหตุที่ต้องดีไซน์ประตูเช่นนี้ เนื่องจากคุณแม่ส่วนใหญ่เข็นรถเข็นเด็กใส่ลูกมา จะให้มาดึง หรือมาผลักประตูหนักอึ้ง มันดูไม่สะดวก
เขาเลยออกแบบประตูแบบเลื่อนเปิดได้ง่ายดายพอให้รถเข็นเข้าออกได้อย่างสบายๆ ไม่ทุเรศทุรัง
ในห้องดูดนมเขาจัดที่เป็นสัดส่วน มิดชิด ให้คุณแม่สามารถควักนมส่วนตัวมาให้ลูกดูดได้อย่างไม่เขินอาย บางที่เป็นห้องหับเล็ก ๆ ซอยย่อย มีประตูปิดกั้นอย่างดีอีกชั้นหนึ่ง บางแห่งแบ่งซอยเป็นซอกเล็ก ๆ มีแค่ม่านรูดปิด
แต่ละห้องจะมีเก้าอี้เบาะนวม ให้คุณแม่นั่งให้นมลูกได้อย่างสะดวกสบาย รวมทั้งมีที่เปลี่ยนผ้าอ้อมอย่างถูกสุขอนามัย
ห้องดูดนมบางแห่งถึงกับมีกระดาษรองให้คุณแม่ดึงฉีกมารอง ก่อนนำเจ้าตัวเล็กนอนลงเปลี่ยนผ้าอ้อม
ส่วนผ้าอ้อมใช้แล้วหรือครับ เขามีถังขยะใส่ผ้าอ้อมปิดมิดชิด มีพนักงานดูแลทำความสะอาดมาตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ
ห้องดูดนมไม่ใช่ว่าจะจัดให้สำหรับคุณแม่อย่างเดียวนะครับ คุณพ่อลูกอ่อนหลายคนก็เข้าไปใช้บริการ (คือ...ไปให้นมสำเร็จรูปกับลูก หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกนะครับ) ได้เหมือนกัน เพราะเขาเรียกห้องนี้ว่า...
“Parents Room”
นอกจากเขาจะจัดที่สำหรับคุณแม่ให้นมลูกแล้ว ห้องดูดนมแทบทุกที่จะจัดเตาไมโครเวฟ ไว้ให้อุ่นนมขวด รวมทั้งมีซิงค์น้ำอุ่น น้ำเย็น บริการอย่างเพียบพร้อม
บางแห่งมีห้องน้ำสำหรับคุณพ่อแม่ในตัวเสียด้วยซ้ำ
หรือบางแห่งมีเกมส์ มีของเล่นเอาไว้หลอกล่อเด็กเล็กด้วย เพราะพ่อแม่บางคนไม่ได้มีแค่ลูกอ่อนเบบี๋ที่ต้องให้นมอย่างเดียวนี่ครับ บางครอบครัวยังมีลูกวัยซนอีกด้วย เมื่อจำต้องให้นมลูกอ่อน ก็ต้องหลอกล่อไม่ให้ลูกคนพี่ต้องร้องไห้โวยวายไปก่อน
ในห้องดูดนมนี่แหละครับ เป็นสังคมเล็ก ๆ อีกสังคมหนึ่งที่คุณแม่
และนาน ๆ ครั้งจะมีคุณพ่อมาร่วมแจมพูดคุยปรึกษา ทักทายแลกเปลี่ยนเรื่องของเจ้าตัวเล็กกัน
ครับ เรื่องของนมแม่นี้รัฐบาลออสเตรเลียเขารณรงค์และให้ความสำคัญมาก ทั้งนี้เพราะหลักการแพทย์เขาพิสูจน์ชัดแล้วว่า นมแม่คืออาหารดีที่สุดสำหรับทารก นอกจากคุณค่าทางอาหารแล้วยังมีสารภูมิคุ้มกันโรคภัยหลากชนิดที่หาไม่ได้ในนมกระป๋อง
รัฐบาลในแดนจิงโจ้จึงรณรงค์ให้คุณแม่ลูกอ่อนใช้นมแม่เป็นอาหารทารกอย่างน้อย 6 เดือน
และนัยว่าต่อไปจะขยายโครงการรณรงค์เป็น 1 ปี !
นั่นเพราะเขาตระหนักว่า ยิ่งให้นมแม่นานแค่ไหน คุณภาพของประชากรจะดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ -- รัฐบาลออสเตรเลียยังมีกฎหมายอนุญาตคุณแม่ลูกอ่อนสามารถ “เปิดหน้าอกให้นมลูก” ในที่สาธารณะได้
ใครห้ามแม่ลูกอ่อนให้นมลูกมีโทษตามกฎหมาย Anti-discrimination laws
แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีคนออสซี่จำนวนไม่น้อยดูถูกเหยียดหยาม หรือตะขิดตะขวงใจกับการให้นมของแม่ลูกอ่อนในที่สาธารณะ
เชื่อไหมครับ เคยมีคุณแม่ออสซี่บางคนถูกเชิญออกจากร้านอาหาร หรือถูกไล่ลงจากรถเมล์ เนื่องจากเปิดหน้าอกให้นมลูกในที่สาธารณะ
อย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้ในรายการโทรทัศน์ Reality TV show 'My Restaurant Rules' เจ้าของร้านอาหารมือใหม่ ป้ายแดง แห่งเมือง Melbourne ถึงกับขอให้ลูกค้ากิตติมศักดิ์นางหนึ่งไปให้นมลูกที่ห้องนั่งเล่น แทนที่จะเป็นบนโต๊ะอาหาร
เนื่องเพราะเกรงว่าการให้นมลูกของเธอจะรบกวน “สุนทรียะ” ในการกินอาหารของลูกค้ารายอื่น
ประเด็นจึงนี้จัดเป็นประเด็น “นาครสนทนา” เรื่องหนึ่ง
และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ประเด็นเรื่องนมเป็นประเด็นสนทนา วิวาทะกัน
ผมจำได้ว่าหลายปีก่อนนักการเมืองหญิงชาวออสซี่คนหนึ่งชื่อ Kirstie Marshall เคยจุดประเด็นนี้มาแล้ว เมื่อเธอนั่งให้นมลูกดูดอย่างเปิดเผยกลางการประชุมสภาในรัฐวิคตอเรีย
ทำให้เหล่านักการเมืองชายหลายคนอึกอัก ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันมากมาย
เอ...จะมีนักการเมืองหญิงไทยคนไหนกล้าให้ลูกดูดนมกลางรัฐสภา เป็นการเปิดประเด็นรณรงค์ “นมแม่” ไหมหนอ
หรือผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.คนไหนประกาศนโยบายรณรงค์ให้มี “มุมให้นมแม่” ทั่วทุกมุมเมือง
วานกลุ่มนมแม่ลองทาบทามที...