เช้าวันนี้…จิบกาแฟขม ออกกำลังและรับประทานกล้วยเชื่อมราดโยเกิร์ตแล้ว รู้สึกแช่มชื่นมีกำลังขึ้นมาทันที การรับประทานไม่ค่อยเหมือนชาวบ้านในตอนเช้าของผม มักได้รับการมองอย่างแปลกๆจากเพื่อนฝูงเสมอ แต่กินอย่างนี้มานานก็ยังแข็งแรงดี แทบไม่มีการเจ็บป่วยมาแผ้วพาลชีวิต นอกจากอุบัติเหตุเวลาอัดกันแรงๆในสนามรักบี้๒-๓ ครั้ง เคยเข้าเฝือกบ้าง แต่อยู่มาจนเป็นปู่คนแล้ว สามารถออกกำลังได้สม่ำเสมอวันและ ๒ เวลาเช้าเย็น คงรักษาความคล่องตัวรวดเร็วเอาไว้ได้ค่อนข้างดี
สำหรับเช้าที่มีฝนพรำเย็นฉ่ำอย่างนี้ ระหว่างดื่มนมสดไม่พร่องมันเนยตบท้ายมื้อเช้า ก็ได้ยินเสียงเพลงจากรายการวิทยุที่เขาจัดเพลงไทยตอนเช้าๆ ว่า
โหน่งเน้ง โหน่งแกละ นั่นแหละเสียงเพลงชาวใต้
ตะลุงเป็นของคนไทย มาแปรเปลี่ยนไปเป็นสากล
เพลงนี้ในความเห็นของส่วนตัวของผม จะว่าเป็นเพลงประวัติศาสตร์ของชาติเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นการจังหวะเพลงท้องถิ่นของปักษ์ใต้บ้านเรา ปรับปรุงและพัฒนาให้กลายมาเป็นจังหวะเต้นรำ ที่ครั้งหนึ่ง เคยโดดเด่นอยู่คู่ฟ้าบางกอก และทั่วแคว้นแดนสยามนานนับสิบปีเอาเลย
ดูข่าวโทรทัศน์แวบๆเมื่อเร็วๆนี้ ได้เห็นภาพคุณโฉมฉาย อรุณฉาน ร้องเพลง แล้วผู้บรรยายบอกว่า เป็นการร้องเพลงบนเวที ในงานที่กำลังจะมี และเกี่ยวข้องกับการเต้นรำ เห็นภาพคู่เต้นรำที่ออกมาแสดงประกอบ ใครเป็นคนเต้น แต่ได้ยินว่าเป็นเพลงอะไร เพราะภาพเคลื่อนผ่านไปอย่างรวดเร็ว ความที่ตัวเองเป็นคนชอบเต้นรำมาตั้งแต่เด็ก แค่เห็นเท่านั้นก็คึกคักขึ้นมาทันที ต้องขยับแข้งขากันกุกๆกักๆทีเดียว นึกขึ้นได้ว่า
เมื่อไม่นานมานี้ ได้ไปงานวันเกิดของท่านผู้ใหญ่ มีการแสดงในงานตั้งแต่การรำอวยพร และที่น่าสนใจคือ ทางผู้ที่เคารพนับถือเจ้าของวันเกิด ได้นำการแสดงการเต้นรำของเด็กๆ อายุประมาณ ๑๐–๑๒ ปี มาร่วมด้วย ได้ทราบว่าเป็นเยาวชนที่มาจากโรงเรียนในกรุงเทพมหานครซึ่งได้รับการฝึกสอนเต้นรำมาเป็นอย่างดี สามารถเต้นรำบอลรูมและจังหวะละตินได้อย่างสวยงาม ท่วงท่าการเดิน การเต้นมีความสง่างดงาม เรียกว่าผิดไปจากเด็กไทยที่ไม่ได้รับการฝึก
ตอนเป็นนายตำรวจใหม่ๆ ผมเคยสังเกตเห็นนักเรียนวิทยาลัยนาฎศิลป ซึ่งโรงเรียนอยู่ติดกับโรงละครแห่งชาติใกล้ๆท้องที่ที่สังกัดอยู่ ยังเคยพูดกับพวกนายตำรวจด้วยกันว่า สตรีน้อยๆเหล่านี้คงได้รับการฝึกมาดี เพราะท่วงท่าการเดินเหินดูจะมีรูปแบบของเธอเอง มองแล้วไม่รู้สึกเกะกะขัดตา วิธีจัดระเบียบร่างกายดูดีกว่าพวกนักเรียนสามัญแยะ แต่ครั้นพอมาเห็นเด็กนักลีลาศเหล่านี้ ผมสรุปได้เลยว่า
เขาและเธอเหล่านี้ ทั้งนักเรียนนาฎศิลปและนักเรียนที่แสดงลีลาศ ได้รับสิ่งดีๆจากการฝึกเต้นระบำรำฟ้อนนี่เอง ทำให้กลายเป็นคนเดินผึ่งผาย ไหล่ตรง ที่สังเกตเห็นอย่างนี้เพราะได้แก่ตัวเอง ที่ฝึกการเต้นรำมาตั้งแต่เด็กเหมือนกัน ทำให้การเดินและทรงตัวเองค่อนข้างดี และเมื่อบวกกับการเป็นนักดนตรี เข้าใจในจังหวะเพลง จึงได้รับการคัดเลือกเป็นดรัมเมเยอร์ของโรงเรียน และไม่ใช่โรงเรียนเดียว แต่เป็นถึง ๒ โรงเรียนคือเตรียมทหารด้วย (ไม่ได้เป็นที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เพราะที่นั่นไม่มีวงดนตรีแบบโยธวาทิตให้เดินนำ) นอกจากนั้นยังได้มีโอกาสไปช่วยฝึกสอน ให้กับดรัมเมเยอร์ของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ตอนฟุตบอลประเพณีอยู่สองสามปี
เมื่ออยู่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เขามีหลักสูตรการสอนเต้นรำให้กับนักเรียนนายนายร้อยชั้นสุดท้าย ที่จะสำเร็จการศึกษา มีอาจารย์มาสอนกันเป็นแบบเป็นแผนอย่างถูกต้อง โดยมีอาจารย์ดั้น สุทธวิบูลย์ และคณะเป็นผู้ฝึกสอน นักเรียนนายร้อยชั้นอื่นก็ได้แต่ดูรุ่นพี่เต้นกันด้วยความอิจฉาตาร้อน ในใจก็คิดว่า เมื่อไหร่จะถึงตาเราเรียนบ้างนะ?
ที่ต้องรอยาวนานที่สุดก็ได้แก่นักเรียนใหม่ปี ๑ และความทุกข์ทรมานมากๆก็คือ ได้เห็นรุ่นพี่กำลังเต้นสนุกสนาน ขณะที่ตัวเองต้องวิ่งรอบลานฝึก และได้ยินเพลงที่รุ่นพี่ใช้เต้นจนมาถึงรุ่นตัวเอง แผ่นเสียงแทบทะลุ มีจังหวะต่างๆกัน เช่น
จังหวะบีกิน เพลงที่ใช้ในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะเป็นเพลง Begin The Beguine ซึ่งเป็นเพลงอมตะเนื้อร้องทำนองของ Cole Porter ที่ขึ้นต้นว่า
When they begin the beguine
It brings back the sound of music so tender,
It brings back the night of night so splendor,
It brings back the memory ever green.
เพลงนี้แต่งตั้งแต่ ปีค.ศ. ๑๙๓๕ มาถึง ค.ศ.นี้ก็ร่วม ๗๐ ปี แล้ว มีการนำมาร้องโดยนักร้องอีกหลายคน ที่ฮิตมากๆก็ตอน Julio Iglesias เอามาร้องเมื่อราว ๓๐ ปีก่อน ดังระเบิดระเบ้อไปอีก
จังหวะวอลซ์ แน่ละ ต้องใช้เพลง Tennessee Waltz ที่รู้จักกันดี ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจใช้แผ่นที่ Patty Page เธอเป็นผู้ขับร้อง พอมาถึงจังหวะแทงโก เขาใช้เพลง Jealousy (Jelousee) ที่ขึ้นต้นเพลงจังหวะรุ่มร้อนด้วยถ้อยคำร้อนแรงว่า
Jealousy, night and day you torture me…
เห็นไม้ว่า ความอิจฉาริษยาที่เธอโปรยปรายไว้ให้ฉัน รู้หรือเปล่าว่ามันทรมานฉันทั้งคืนตลอดวัน เพลงเจลัสซี่-ขี้อิจฉา ช่างนี่ร้อนแรงทั้งคำร้องและจังหวะเลยทีเดียว!
เพลงนี้ไม่ได้มาจากอเมริกาใต้ถิ่นเดิม หากมาจากประเทศเดนมาร์ก ยุโรปตอนเหนือโน่น ผู้แต่งทำนองคือ Jacob Gade ส่วนเนื้องร้อง Veera Blcomแต่งตั้งแต่ปี ๑๙๒๕
เหตุที่ครูเต้นรำใช้เพลงฝรั่งเหล่านี้เป็นเพลงสอนนักเรียน คงจะเป็นใช้เพลงฝรั่งเป็นหลักในการสอนกันมาตั้งแต่เริ่มต้น เลยใช้ต่อเนื่องกันมา รวมทั้งการบรรเลงดนตรีสมัยเริ่มมีการเต้นรำใหม่ๆ คนไทยเรายังบรรเลงลงจังหวะหนักแน่นสู้ฝรั่งไม่ได้ มาจนยุคสุนทราภรณ์ เฟื่องฟูนี้เอง จึงมีเพลงสำหรับใช้เต้นรำมากขึ้น นับว่าเป็นคุณูปการของครู เอื้อ สุนทรสนาน และวงดนตรีสุนทราภรณ์ ทำให้คนไทยรุ่นต่อๆมาได้ใช้ในงานลีลาศ เพลงจังหวะแทงโกที่ผู้คนชอบมาก และใช้เป็นเพลงแข่งเต้นรำในประเทศของเราได้เลยก็คือเพลง ฟลอร์เฟื่องฟ้า ที่ขึ้นต้นว่า
ครั่นครืนดั่งเพลงสวรรค์ วิมานคนธรรม์ลั่นฟ้ามาใกล้
เทพบุตรนางฟ้าไทย โอบกอดกันพลิ้วไป
พลิ้วไปพร้อมกับเสียงเพลง
สุขคร้านผ่านฟลอร์เฟื้องฟ้า….
เพลงนี้ ครูเอื้อ สุนทรสนาน ท่านเป็นผู้ประพันธ์ทำนอง คำร้องเป็นของครูศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ แต่งตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๒ ยืนยงมากระทั่งปัจจุบันที่ยุคของการเต้นรำทำท่าจะกลับมารุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง เพลงนี้ก็นำมาเปิดกันมิได้ขาด เรียกได้ว่า ฟังเมื่อไหร่ก็ไพเราะทุกครั้งไป
ส่วนเพลง ตะลุงสากล และจังหวะตะลุง ที่ผมพูดถึงตั้งแต่ตอนต้นนั้นว่า กลายเป็นจังหวะเต้นรำของคนไทยแท้ๆ ก็เป็นฝีมือการประพันธ์ทำนองของครูเอื้อ สุนทรสนานและคำร้องเป็นของ ครูสมศักดิ์ เทพานนท์ ซี่งเป็นนักร้องประจำของวงท่านด้วย
ครูเอื้อ สุนทรสนาน นั้น ท่านยิ่งใหญ่มากในสายตาของผม !
ส่วนจังหวะแทงโกนั้น เป็นสมบัติแท้ๆ ของชาวอาเยนตินา เร่าร้อนตามแบบละติน คนที่เต้นเป็นจะรู้ว่า เวลาเต้นนั้นมีความสุขเพียงใด เวลาเดินพาคู่เต้นไปข้างหน้าตามจังหวะเพลง หน้าต้องเชิด มีความนุ่มละมุน กับความรุนแรง เร่าร้อน ปะปนคละเคล้ากันไป เวลาสะบัดหน้าเสียงดัง “ฟึ่บๆ ฟั่บ ๆ” ทั้งเสียงเสื้อผ้าที่เสียดสี ปนเสียงแรงสะบัดหน้า
แหมมันเยี่ยมเสียจริงๆ!
นักเรียนนายร้อยบางคนที่ผมเคยเห็น สะบัดหน้ารุนแรง คอกระตุกจนเส้นชำรุด เคล็ดเดินคอแข็งทื่อมะลื่อไปหลายวันก็มี เรื่องนี้จริงๆไม่ได้พูดเอาสนุก
ไม่น่าเชื่อว่าสามีภริยาคู่หนึ่งชื่อ Vernon กับ Irene Castle ซึ่งเต้นรำได้เหมือน เทพบุตรนางฟ้า(อเมริกัน) ได้ทำให้จังหวะแทงโกนี้ มีชื่อเสียงในสหรัฐ เริ่มจากนิวยอร์คก่อนตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๒๐ และกระฉ่อนไปทั่วโลก จนในที่สุด ก็ถูกคนยุโรปนำรวมไว้กับการเต้นประเภท Ball Room
บอลรูม เดิมนั้น ประกอบด้วยจังหวะหลักก็คือ Waltz, Quick Step ,และ Fox Trot สำหรับการเต้นแบบแทงโก้ที่ผมว่านั้นนำมาผนวกภายหลัง อย่างไรก็ตามแต่ละจังหวะนั้น ต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป เช่น การเต้นวอลซ์ จะเป็นการเต้นที่สง่าและสวยงาม ควิกสเต็บ คือการเต้นที่แสนสนุกสนาน ส่วนฟ็อกซ์ทร็อท ช่างเป็นการเต้นในแบบที่หรูหรางดงาม สำหรับการเต้นแทงโก้ คือการเต้นที่มีเสน่ห์และร้อนแรงอย่างที่ว่าเอาไว้
พูดถึงบอลรูมไปแล้ว หากไม่พูดถึงการเต้นของพวกละตินก็จะดูกะไร อย่าง Rhumba (อ่านได้สองอย่างทั้ง “รัมบา” หรือ “รุมบา”) นี่ต้นกำเนิดมาจาประเทศคิวบา ถือกำเนิดมาในปี ค.ศ.๑๙๓๐
Samba กับ Conga มาพร้อมกันในปี ๑๙๓๙ ส่วน Mambo มาอีกสิบปีถัดจากนั้น
แซมบา นั้นเป็นของชาติบราซิลแน่ ที่เราเรียกว่า “ทีมแซมบา” และในบราซิลนั้นมีโรงแรมแซมบานับพันแห่งทีเดียว สำหรับบ้านเรานั้นก็มีเพลงที่สนุกสนานในจังหวะนี้ ของสุนทราภรณ์อยู่เพลงหนึ่ง ที่จำได้ดี เพราะเคยเต้นรำเพลงนี้บ่อยๆ ขึ้นต้นว่า
….มาเถิดมา มาเต้นระบำ……แบบแซมบา…แบบแซมบา…สำราญหนักหนาน่านิยม…
ส่วน Cha Cha Cha เกิดปี ค.ศ.๑๙๕๐ มาดังเอาเมืองไทยตอนผมแตกเนื้อหนุ่มดังเปรี๊ยะ จังหวะนี้คณะรำวงชอบนัก เวลางานวัดมีรำวง พอกองเชียร์ประกาศว่า
“รอบต่อไป…รำวงจังหวะช่ะ ช่ะ ช่า สามช่ามาแล้ว !”
แค่นี้หนุ่มๆก็ถือตั๋ว กระโดดขึ้นเวทีแย่งกันหานางรำแล้ว! (ใครอยากอ่านเรื่องรำวงให้สนุก ต้องอ่าน “กาแฟขม…ขนมหวาน ตอนที่ ๘๐ “ทิ้งลูกทิ้งผัว..ออกมารำลอยหน้า ! ”)
สำหรับจังหวะ Bossanova ดูเหมือนจะเป็นจังหวะละตินมาหลังสุด คือมาด้วยในปี ค.ศ.๑๙๖๐ หลังจากนั้นก็ถูกเบียดด้วยยุคทองของ Rock and Roll
ผมพยายามสืบค้นว่า การเต้นรำนั้นเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อใด แต่ก็ไม่ปรากฏ ในภาพยนต์เรื่อง The King and I ที่ในฉากเห็นยูล บรินเนอร์ ที่รับบทบาทแสดงเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงลีลาศนั้น แต่ก็เชื่อถือไม่ได้ เพราะนั่นเป็นละคร แต่เมื่อกลับมาดูใน ‘สี่แผ่นดิน’ ของท่านอาจารย์ พล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็มีการกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ทรงลีลาศ นอกจากนั้นก็ไม่มีหลักฐานปรากฏที่ใดหากท่านผู้อ่านท่านใด มีความรู้เรื่องนี้ เล่าให้เพื่อนๆฟังกันก็จะเป็นพระคุณ
อย่างไรก็ตาม อาจพอกล่าวได้ว่า การเต้นรำในประเทศเราที่คนไทยเต้นกันนั้น คงจะเกิดขึ้นภายหลังจากที่เจ้านาย ข้าราชบริพาร ชุดแรกๆที่ไปศึกษาต่างประเทศแล้วกลับมา จึงนำการเต้นรำหรือที่เรียกว่า ‘ลีลาศ’ จากยุโรปมาเผยแพร่กัน
การฝึกหัดเต้นรำในประเทศไทยครั้งแรก อย่างเป็นแบบแผนนั้น คุณอุไร โทณะวณิก ซี่งเป็นอดีตนักยูโดสายดำ ได้รับตำแหน่งเป็นแชมป์เต้นรำคนแรกของประเทศไทย ในยุคสงครามโลกครั้งที่สองคือราวปี ๑๙๔๐ ถึง ๑๙๔๕ ต่อมาท่านก็ไปทำงานในธนาคารกรุงเทพ จนได้รับตำแหน่งสูง เป็นบุคคลที่เก่งหลายอย่าง มีความนุ่มนวล สุภาพ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า บุคลิกอย่างนี้ของท่าน จะสามารถเล่นกีฬาที่ต้องใช้พละกำลังความรุนแรงอย่างยูโดจนได้รับสายดำ (ซึ่งคนไทยน้อยคนเวลานั้นที่ได้รับ) และเชี่ยวชาญเต้นรำที่ต้องเคลื่อนไหวแช่มช้า หรือปรับเปลี่ยนเป็นรวดเร็วถูกต้องสวยงามตามจังหวะแบบแผน ความสามารถทั้งสองอย่างจะผนวกอยู่ในตัวของคนเดียวกันได้
ท่านเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว แต่ยังอยู่ในความทรงจำของผม เพราะท่านเป็นทั้งญาติผู้ใหญ่และครูสอนเต้นรำคนแรกในชีวิตของผม!
การเต้นรำนั้น มีผู้สังเกตว่า เป็นผลดีต่อสุขภาพ หากท่านผู้อ่านไปเดินสวนลุมพินีตอนเช้าๆ จะเห็นภาพผู้สูงอายุยังนิยมเต้นรำเพื่อเป็นการออกกำลัง ภายในบริเวณศาลาวงกลม ที่สนามหญ้า หรือบนถนนในสวน เพราะนอกจากเป็นความบันเทิง ยังได้เคลื่อนไหวร่างกาย และไม่เครียดเหมือนการออกกำลังบางประเภท เช่นการยกน้ำหนัก หรือแม้แต่เล่นกีฬาบางอย่างเทนนิส (นี่ตัวเครียดจัดเลย หากแข่งขัน) แต่การเต้นรำช่วยให้สดชื่นรื่นเริง เพราะมีเสียงเพลงจากดนตรีเข้ามาเป็นส่วนประกอบ
แม้ในปัจจุบันปัจจุบันการออกกำลังแบบฟรีแฮนด์เอกเซอร์ไซด์ กระโดดโลดเต้น ก็มีการนำเอาเสียงดนตรีมาช่วย ดีกว่าเต้นหยองๆแหยงๆอยู่คนเดียว ไม่สนุก โรงพยาบาลต่างประเทศที่มีชื่อระดับโลกอย่าง Walter Reed ของสหรัฐ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เขาใช้การเต้นรำเป็นเครื่องบำบัดผู้ป่วยมานานแล้ว
การเต้นรำนั้น บัดนี้เขาจัดเป็น “กีฬา” และนำเข้าบรรจุในโอลิมปิคแล้ว หากบ้านเราจะส่งเสริม “กีฬาเต้นรำ” ไปให้แพร่หลายก็จะเป็นผลดี เพราะลงทุนน้อยมาก และพอสู้เขาได้
อย่าไปเพ่งเล็งเอาแต่ฟุตบอลซึ่งมีการโฆษณาทำให้ผู้คนทึกทักว่า จะเอามาเป็นทีมของไทย แต่ก็ทำไมไม่ซื้อเอง จะมานั่งออกสลาก ขายให้ประชาชนกันทั่วประเทศราคาแพงๆ เอารางวัลสูงมาล่อทำไม ?
หากใจถึงซื้อเองใครเขาว่าจะได้สวนกลับไปว่า ไม่ได้หนักหัวกบาลใคร!
ทำอย่างนี้ให้ผู้คนคัดค้านกันให้อื้ออึงไปทั้งประเทศเป็นจำนวนมากมาย ทั้งพระสงฆ์องค์เจ้า ครูบาอาจารย์ เปลืองตัวเปล่าๆไม่เข้าการ
ยิ่งมาบอกว่า เป็นการพัฒนาการกีฬาของชาติ ขำตายชักเลยนะจะบอกให้ !
ฉะนั้น ในการแข่งขัน “โอลิมปิค” ที่จะมาถึงในวันข้างหน้า อยากให้มองกีฬาเต้นรำนี้ไว้ และขอออกความเห็นตรงๆ อย่างคนที่เคยเป็นนักกีฬาเก่า ระดับเสื้อสามารถของสถาบันใหญ่(ตรงนี้ขออนุญาตคุยหน่อยๆ) โล่รางวัลการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ รวมทั้งถ้วยเต้นรำด้วย ว่า
กีฬาเต้นรำนี้ เด็กไทยเรา มีโอกาสสู้เขาได้แน่ ๆ!!
การเต้นรำที่เป็นอาชีพ ในอดีตนอกจากคณะรำวงแล้ว และผู้หญิงพาร์ทเนอร์ไนท์คลับ ที่เหลือน้อยลงเต็มที ยังพอมีกะหรอมกะแหรมที่ต่างจังหวัดใหญ่ๆ เช่นโคราช เชียงใหม่ อยู่บ้าง แต่ดูเหมือนยังครื้นเครงกว่าทีมฟุตบอลอาชีพอะไรนั่น ซึ่งดูกะร่อยกะริบเต็มที เพราะเตะกันกี่ปีๆก็ได้แค่ตุ้บๆตับๆ บางแมทช์ก็มีแต่ ‘ทหารม้า’ (คือเก้าอี้เปล่าๆ) นั่งดูเต็ม อัฒจันทร์แสนจะว่าง
เป็นอย่างนี้จริงๆ !
แต่ที่เต้นรำเป็นอาชีพอย่างแท้จริง นปัจจุบันนี้คือ พวกหางเครื่องวงดนตรีลูกทุ่ง ซึ่งตอนนี้พวกลูกกรุงก็ชักจะเอาอย่างแล้ว สำหรับเรื่อง หางเครื่อง นี้เล่ากันให้ฟังใน “กาแฟขม…ขนมหวาน” ได้อีก ๒-๓ ตอน เลยทีเดียว แต่เห็นมีคนเขียนเป็นสารคดีมากแล้ว เลยเพลาๆไว้ก่อน
อยากถามท่านผู้อ่านว่า
นักการเมืองที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารจัดเป็นพวก “หางเครื่อง” ได้หรือเปล่า ? เพราะดูแล้วพรรคใหญ่ๆนั้น บรรดาผู้แทนของพรรคนั้นๆ มีบทบาทน้อยไปกว่าพรรคการเมืองประเภทวันแมนปาร์ตี้ ที่มีผู้แทนคนเพียงเดียวด้วยซ้ำไป
ทำไมน่ะหรือ ? ตอบได้ว่า
สมาชิกพรรคการเมืองใหญ่ เมื่อเลือกตั้งมาได้ หากไม่มีตำแหน่งแห่งที่ในพรรค ไม่ได้มีบทบาทอะไร ทางพรรคก็จ่าย เบี้ยยังชีพ ให้เดือนละ ๕ หมื่นบ้าง ๒ หมื่นบ้าง (แล้วแต่ความร่ำรวยเจ้าของพรรค) พอถึงวันนักขัตฤกษ์อย่างสงกรานต์ เจ้าของเขาก็หยอดน้ำมันคลายโหยให้คนละนิดหน่อยแค่ ๒-๓ แสน ซึ่งเขาก็ออกมารับกับสื่ออย่างน่าชื่นตาบาน
แต่ผู้คนเขาว่า พวกนี้เหนื่อยน้อยกว่าเด็กหางเครื่องของวงดนตรีลูกทุ่งด้วยซ้ำไป ว่าเข้านั่น
เพราะพวกหางเครื่องยังเต้นจนเหงื่อโซมกาย อยู่หลังนักร้องมีชื่อ ผู้คนยังจับตาดูไชโยโห่ร้อง เป่าปาก ตบมือตีตีนให้กำลังใจได้สนุกสนานกัน
แต่สมาชิกพรรคการเมืองใหญ่นั้นน่าสงสาร เหมือนตุ๊กตาไขลาน พรรคเขาบอกว่า
"เอ้า…วันนี้ไปยกมือ อย่าเบี้ยวนะโว้ย !"
พวกตุ๊กตาก็พากันเดินเข้าไปในที่ประชุม ยกมือชูจักกะแร้ให้เขาหน่อย หากไม่สำคัญอะไรก็โดดหายแซบหายสอย ให้สภาล่มเล่น ไม่ใช่หนเดียวแต่ซ้ำๆซากๆ ให้ประชาชนเขาก่นโคตร น่าเบื่อหน่าย
ไม่เห็นมีใครจะทำอะไรได้ ใครใคร่ด่าก็ด่าไป เดี๋ยวผู้คนก็ลืมเอง !?
สื่อมวลชนเขาพูดกันอื้ออึง ว่า พวกนี้คนไหนอยากได้รางวัลพิเศษ ก็ต้องคอยป่วนฝ่ายตรงข้าม ในวันที่เขาถลุงพรรคพวก ที่เปิดอภิปรายถลกหนังหัวกัน หรือวันยกทัพสู้กันในเวทีออกโทรทัศน์ให้ผู้คนได้ดูเหมือนลิเก
ตรงนี้มีการเอามาตีแผ่กันแต่ไม่รู้ว่าเป็นการ ‘ใส่ไคล้’ กันหรือเปล่า ? ไอ้ที่ว่ามีรางวัลสำหรับผลงาน ‘การคอยขัดขาให้หน้าคว่ำ’ นี่ บางคนเขาบอกว่า คงไม่มีหรือมีเขาก็ไม่บอก แต่เป็นเรื่องของการอยากเสนอหน้าให้ผู้คนเห็น ทางโทรทัศน์เสียมากกว่า
เออ…หรือจะเป็นอย่างหลังนี่ ?
แต่หลายคนกลับบ่นพึม ว่า พวกนี้หลายคนออกมาพูดจาอะไรก็ไม่ได้เรื่อง แสดงความคิดความเห็นประท้วงอะไรออกมา ก็ไม่สู้จะเป็นจุดสนใจฝ่ายคอยถลกเปิดข้อมูลไม่ถึงขนาด ส่วนฝ่ายคอยป้องถลกลงปิดการแก้ตัวพอๆกัน ดูจะออกลูกเสมอเสียมากกว่า
บางคนใกล้จะเลือกตั้งแล้ว ดันยืนขึ้นพูดทักท้วง ผู้คนยังไม่รู้จัก ไม่ได้ยินชื่อเสียด้วยซ้ำไป
ชาวบ้านบอกบางพระหน่อนั้น ว่า พอได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกผู้ทรงเกียรติแล้ว เกียรติมันค้ำคอมากหรืออย่างไรไม่ทราบได้ เพราะไม่เคยอ้าปากพูดอะไรเลย เป็นใบ้หรือเปล่าก็ไม่รู้ ได้แต่นั่ง ‘ยกมือขึ้น-เอามือลง’ มาสามปีกว่า จนจะหมดวาระอยู่แล้ว
ไอ้ที่ซวยจริงๆก็ นานๆพูดที เมื่อเร็วๆนี้ดันพูดออกมาแต่ไม่ถูกใจเจ้าของพรรค เลยโดนกระแทกว่า
"ให้เอามือตบปากตัวเอง ซะสองที ! "
แน่ะ…อย่างนี้ก็มี
บางคนเขาได้ยินทางโทรทัศน์เข้า ถึงกับบอกว่า
“โฮ้ย…โดนด่าขนาดนี้ จะอยู่กับเขาไปทำไมกัน ให้มันเสียศักดิ์ศรี !…ออกไปเต้นระบำกับหางเครื่องลูกทุ่ง ยังน่าสนุกกว่าเป็นไหนๆ !!”
สำหรับเช้าที่มีฝนพรำเย็นฉ่ำอย่างนี้ ระหว่างดื่มนมสดไม่พร่องมันเนยตบท้ายมื้อเช้า ก็ได้ยินเสียงเพลงจากรายการวิทยุที่เขาจัดเพลงไทยตอนเช้าๆ ว่า
โหน่งเน้ง โหน่งแกละ นั่นแหละเสียงเพลงชาวใต้
ตะลุงเป็นของคนไทย มาแปรเปลี่ยนไปเป็นสากล
เพลงนี้ในความเห็นของส่วนตัวของผม จะว่าเป็นเพลงประวัติศาสตร์ของชาติเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นการจังหวะเพลงท้องถิ่นของปักษ์ใต้บ้านเรา ปรับปรุงและพัฒนาให้กลายมาเป็นจังหวะเต้นรำ ที่ครั้งหนึ่ง เคยโดดเด่นอยู่คู่ฟ้าบางกอก และทั่วแคว้นแดนสยามนานนับสิบปีเอาเลย
ดูข่าวโทรทัศน์แวบๆเมื่อเร็วๆนี้ ได้เห็นภาพคุณโฉมฉาย อรุณฉาน ร้องเพลง แล้วผู้บรรยายบอกว่า เป็นการร้องเพลงบนเวที ในงานที่กำลังจะมี และเกี่ยวข้องกับการเต้นรำ เห็นภาพคู่เต้นรำที่ออกมาแสดงประกอบ ใครเป็นคนเต้น แต่ได้ยินว่าเป็นเพลงอะไร เพราะภาพเคลื่อนผ่านไปอย่างรวดเร็ว ความที่ตัวเองเป็นคนชอบเต้นรำมาตั้งแต่เด็ก แค่เห็นเท่านั้นก็คึกคักขึ้นมาทันที ต้องขยับแข้งขากันกุกๆกักๆทีเดียว นึกขึ้นได้ว่า
เมื่อไม่นานมานี้ ได้ไปงานวันเกิดของท่านผู้ใหญ่ มีการแสดงในงานตั้งแต่การรำอวยพร และที่น่าสนใจคือ ทางผู้ที่เคารพนับถือเจ้าของวันเกิด ได้นำการแสดงการเต้นรำของเด็กๆ อายุประมาณ ๑๐–๑๒ ปี มาร่วมด้วย ได้ทราบว่าเป็นเยาวชนที่มาจากโรงเรียนในกรุงเทพมหานครซึ่งได้รับการฝึกสอนเต้นรำมาเป็นอย่างดี สามารถเต้นรำบอลรูมและจังหวะละตินได้อย่างสวยงาม ท่วงท่าการเดิน การเต้นมีความสง่างดงาม เรียกว่าผิดไปจากเด็กไทยที่ไม่ได้รับการฝึก
ตอนเป็นนายตำรวจใหม่ๆ ผมเคยสังเกตเห็นนักเรียนวิทยาลัยนาฎศิลป ซึ่งโรงเรียนอยู่ติดกับโรงละครแห่งชาติใกล้ๆท้องที่ที่สังกัดอยู่ ยังเคยพูดกับพวกนายตำรวจด้วยกันว่า สตรีน้อยๆเหล่านี้คงได้รับการฝึกมาดี เพราะท่วงท่าการเดินเหินดูจะมีรูปแบบของเธอเอง มองแล้วไม่รู้สึกเกะกะขัดตา วิธีจัดระเบียบร่างกายดูดีกว่าพวกนักเรียนสามัญแยะ แต่ครั้นพอมาเห็นเด็กนักลีลาศเหล่านี้ ผมสรุปได้เลยว่า
เขาและเธอเหล่านี้ ทั้งนักเรียนนาฎศิลปและนักเรียนที่แสดงลีลาศ ได้รับสิ่งดีๆจากการฝึกเต้นระบำรำฟ้อนนี่เอง ทำให้กลายเป็นคนเดินผึ่งผาย ไหล่ตรง ที่สังเกตเห็นอย่างนี้เพราะได้แก่ตัวเอง ที่ฝึกการเต้นรำมาตั้งแต่เด็กเหมือนกัน ทำให้การเดินและทรงตัวเองค่อนข้างดี และเมื่อบวกกับการเป็นนักดนตรี เข้าใจในจังหวะเพลง จึงได้รับการคัดเลือกเป็นดรัมเมเยอร์ของโรงเรียน และไม่ใช่โรงเรียนเดียว แต่เป็นถึง ๒ โรงเรียนคือเตรียมทหารด้วย (ไม่ได้เป็นที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เพราะที่นั่นไม่มีวงดนตรีแบบโยธวาทิตให้เดินนำ) นอกจากนั้นยังได้มีโอกาสไปช่วยฝึกสอน ให้กับดรัมเมเยอร์ของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ตอนฟุตบอลประเพณีอยู่สองสามปี
เมื่ออยู่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เขามีหลักสูตรการสอนเต้นรำให้กับนักเรียนนายนายร้อยชั้นสุดท้าย ที่จะสำเร็จการศึกษา มีอาจารย์มาสอนกันเป็นแบบเป็นแผนอย่างถูกต้อง โดยมีอาจารย์ดั้น สุทธวิบูลย์ และคณะเป็นผู้ฝึกสอน นักเรียนนายร้อยชั้นอื่นก็ได้แต่ดูรุ่นพี่เต้นกันด้วยความอิจฉาตาร้อน ในใจก็คิดว่า เมื่อไหร่จะถึงตาเราเรียนบ้างนะ?
ที่ต้องรอยาวนานที่สุดก็ได้แก่นักเรียนใหม่ปี ๑ และความทุกข์ทรมานมากๆก็คือ ได้เห็นรุ่นพี่กำลังเต้นสนุกสนาน ขณะที่ตัวเองต้องวิ่งรอบลานฝึก และได้ยินเพลงที่รุ่นพี่ใช้เต้นจนมาถึงรุ่นตัวเอง แผ่นเสียงแทบทะลุ มีจังหวะต่างๆกัน เช่น
จังหวะบีกิน เพลงที่ใช้ในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะเป็นเพลง Begin The Beguine ซึ่งเป็นเพลงอมตะเนื้อร้องทำนองของ Cole Porter ที่ขึ้นต้นว่า
When they begin the beguine
It brings back the sound of music so tender,
It brings back the night of night so splendor,
It brings back the memory ever green.
เพลงนี้แต่งตั้งแต่ ปีค.ศ. ๑๙๓๕ มาถึง ค.ศ.นี้ก็ร่วม ๗๐ ปี แล้ว มีการนำมาร้องโดยนักร้องอีกหลายคน ที่ฮิตมากๆก็ตอน Julio Iglesias เอามาร้องเมื่อราว ๓๐ ปีก่อน ดังระเบิดระเบ้อไปอีก
จังหวะวอลซ์ แน่ละ ต้องใช้เพลง Tennessee Waltz ที่รู้จักกันดี ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจใช้แผ่นที่ Patty Page เธอเป็นผู้ขับร้อง พอมาถึงจังหวะแทงโก เขาใช้เพลง Jealousy (Jelousee) ที่ขึ้นต้นเพลงจังหวะรุ่มร้อนด้วยถ้อยคำร้อนแรงว่า
Jealousy, night and day you torture me…
เห็นไม้ว่า ความอิจฉาริษยาที่เธอโปรยปรายไว้ให้ฉัน รู้หรือเปล่าว่ามันทรมานฉันทั้งคืนตลอดวัน เพลงเจลัสซี่-ขี้อิจฉา ช่างนี่ร้อนแรงทั้งคำร้องและจังหวะเลยทีเดียว!
เพลงนี้ไม่ได้มาจากอเมริกาใต้ถิ่นเดิม หากมาจากประเทศเดนมาร์ก ยุโรปตอนเหนือโน่น ผู้แต่งทำนองคือ Jacob Gade ส่วนเนื้องร้อง Veera Blcomแต่งตั้งแต่ปี ๑๙๒๕
เหตุที่ครูเต้นรำใช้เพลงฝรั่งเหล่านี้เป็นเพลงสอนนักเรียน คงจะเป็นใช้เพลงฝรั่งเป็นหลักในการสอนกันมาตั้งแต่เริ่มต้น เลยใช้ต่อเนื่องกันมา รวมทั้งการบรรเลงดนตรีสมัยเริ่มมีการเต้นรำใหม่ๆ คนไทยเรายังบรรเลงลงจังหวะหนักแน่นสู้ฝรั่งไม่ได้ มาจนยุคสุนทราภรณ์ เฟื่องฟูนี้เอง จึงมีเพลงสำหรับใช้เต้นรำมากขึ้น นับว่าเป็นคุณูปการของครู เอื้อ สุนทรสนาน และวงดนตรีสุนทราภรณ์ ทำให้คนไทยรุ่นต่อๆมาได้ใช้ในงานลีลาศ เพลงจังหวะแทงโกที่ผู้คนชอบมาก และใช้เป็นเพลงแข่งเต้นรำในประเทศของเราได้เลยก็คือเพลง ฟลอร์เฟื่องฟ้า ที่ขึ้นต้นว่า
ครั่นครืนดั่งเพลงสวรรค์ วิมานคนธรรม์ลั่นฟ้ามาใกล้
เทพบุตรนางฟ้าไทย โอบกอดกันพลิ้วไป
พลิ้วไปพร้อมกับเสียงเพลง
สุขคร้านผ่านฟลอร์เฟื้องฟ้า….
เพลงนี้ ครูเอื้อ สุนทรสนาน ท่านเป็นผู้ประพันธ์ทำนอง คำร้องเป็นของครูศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ แต่งตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๒ ยืนยงมากระทั่งปัจจุบันที่ยุคของการเต้นรำทำท่าจะกลับมารุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง เพลงนี้ก็นำมาเปิดกันมิได้ขาด เรียกได้ว่า ฟังเมื่อไหร่ก็ไพเราะทุกครั้งไป
ส่วนเพลง ตะลุงสากล และจังหวะตะลุง ที่ผมพูดถึงตั้งแต่ตอนต้นนั้นว่า กลายเป็นจังหวะเต้นรำของคนไทยแท้ๆ ก็เป็นฝีมือการประพันธ์ทำนองของครูเอื้อ สุนทรสนานและคำร้องเป็นของ ครูสมศักดิ์ เทพานนท์ ซี่งเป็นนักร้องประจำของวงท่านด้วย
ครูเอื้อ สุนทรสนาน นั้น ท่านยิ่งใหญ่มากในสายตาของผม !
ส่วนจังหวะแทงโกนั้น เป็นสมบัติแท้ๆ ของชาวอาเยนตินา เร่าร้อนตามแบบละติน คนที่เต้นเป็นจะรู้ว่า เวลาเต้นนั้นมีความสุขเพียงใด เวลาเดินพาคู่เต้นไปข้างหน้าตามจังหวะเพลง หน้าต้องเชิด มีความนุ่มละมุน กับความรุนแรง เร่าร้อน ปะปนคละเคล้ากันไป เวลาสะบัดหน้าเสียงดัง “ฟึ่บๆ ฟั่บ ๆ” ทั้งเสียงเสื้อผ้าที่เสียดสี ปนเสียงแรงสะบัดหน้า
แหมมันเยี่ยมเสียจริงๆ!
นักเรียนนายร้อยบางคนที่ผมเคยเห็น สะบัดหน้ารุนแรง คอกระตุกจนเส้นชำรุด เคล็ดเดินคอแข็งทื่อมะลื่อไปหลายวันก็มี เรื่องนี้จริงๆไม่ได้พูดเอาสนุก
ไม่น่าเชื่อว่าสามีภริยาคู่หนึ่งชื่อ Vernon กับ Irene Castle ซึ่งเต้นรำได้เหมือน เทพบุตรนางฟ้า(อเมริกัน) ได้ทำให้จังหวะแทงโกนี้ มีชื่อเสียงในสหรัฐ เริ่มจากนิวยอร์คก่อนตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๒๐ และกระฉ่อนไปทั่วโลก จนในที่สุด ก็ถูกคนยุโรปนำรวมไว้กับการเต้นประเภท Ball Room
บอลรูม เดิมนั้น ประกอบด้วยจังหวะหลักก็คือ Waltz, Quick Step ,และ Fox Trot สำหรับการเต้นแบบแทงโก้ที่ผมว่านั้นนำมาผนวกภายหลัง อย่างไรก็ตามแต่ละจังหวะนั้น ต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป เช่น การเต้นวอลซ์ จะเป็นการเต้นที่สง่าและสวยงาม ควิกสเต็บ คือการเต้นที่แสนสนุกสนาน ส่วนฟ็อกซ์ทร็อท ช่างเป็นการเต้นในแบบที่หรูหรางดงาม สำหรับการเต้นแทงโก้ คือการเต้นที่มีเสน่ห์และร้อนแรงอย่างที่ว่าเอาไว้
พูดถึงบอลรูมไปแล้ว หากไม่พูดถึงการเต้นของพวกละตินก็จะดูกะไร อย่าง Rhumba (อ่านได้สองอย่างทั้ง “รัมบา” หรือ “รุมบา”) นี่ต้นกำเนิดมาจาประเทศคิวบา ถือกำเนิดมาในปี ค.ศ.๑๙๓๐
Samba กับ Conga มาพร้อมกันในปี ๑๙๓๙ ส่วน Mambo มาอีกสิบปีถัดจากนั้น
แซมบา นั้นเป็นของชาติบราซิลแน่ ที่เราเรียกว่า “ทีมแซมบา” และในบราซิลนั้นมีโรงแรมแซมบานับพันแห่งทีเดียว สำหรับบ้านเรานั้นก็มีเพลงที่สนุกสนานในจังหวะนี้ ของสุนทราภรณ์อยู่เพลงหนึ่ง ที่จำได้ดี เพราะเคยเต้นรำเพลงนี้บ่อยๆ ขึ้นต้นว่า
….มาเถิดมา มาเต้นระบำ……แบบแซมบา…แบบแซมบา…สำราญหนักหนาน่านิยม…
ส่วน Cha Cha Cha เกิดปี ค.ศ.๑๙๕๐ มาดังเอาเมืองไทยตอนผมแตกเนื้อหนุ่มดังเปรี๊ยะ จังหวะนี้คณะรำวงชอบนัก เวลางานวัดมีรำวง พอกองเชียร์ประกาศว่า
“รอบต่อไป…รำวงจังหวะช่ะ ช่ะ ช่า สามช่ามาแล้ว !”
แค่นี้หนุ่มๆก็ถือตั๋ว กระโดดขึ้นเวทีแย่งกันหานางรำแล้ว! (ใครอยากอ่านเรื่องรำวงให้สนุก ต้องอ่าน “กาแฟขม…ขนมหวาน ตอนที่ ๘๐ “ทิ้งลูกทิ้งผัว..ออกมารำลอยหน้า ! ”)
สำหรับจังหวะ Bossanova ดูเหมือนจะเป็นจังหวะละตินมาหลังสุด คือมาด้วยในปี ค.ศ.๑๙๖๐ หลังจากนั้นก็ถูกเบียดด้วยยุคทองของ Rock and Roll
ผมพยายามสืบค้นว่า การเต้นรำนั้นเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อใด แต่ก็ไม่ปรากฏ ในภาพยนต์เรื่อง The King and I ที่ในฉากเห็นยูล บรินเนอร์ ที่รับบทบาทแสดงเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงลีลาศนั้น แต่ก็เชื่อถือไม่ได้ เพราะนั่นเป็นละคร แต่เมื่อกลับมาดูใน ‘สี่แผ่นดิน’ ของท่านอาจารย์ พล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็มีการกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ทรงลีลาศ นอกจากนั้นก็ไม่มีหลักฐานปรากฏที่ใดหากท่านผู้อ่านท่านใด มีความรู้เรื่องนี้ เล่าให้เพื่อนๆฟังกันก็จะเป็นพระคุณ
อย่างไรก็ตาม อาจพอกล่าวได้ว่า การเต้นรำในประเทศเราที่คนไทยเต้นกันนั้น คงจะเกิดขึ้นภายหลังจากที่เจ้านาย ข้าราชบริพาร ชุดแรกๆที่ไปศึกษาต่างประเทศแล้วกลับมา จึงนำการเต้นรำหรือที่เรียกว่า ‘ลีลาศ’ จากยุโรปมาเผยแพร่กัน
การฝึกหัดเต้นรำในประเทศไทยครั้งแรก อย่างเป็นแบบแผนนั้น คุณอุไร โทณะวณิก ซี่งเป็นอดีตนักยูโดสายดำ ได้รับตำแหน่งเป็นแชมป์เต้นรำคนแรกของประเทศไทย ในยุคสงครามโลกครั้งที่สองคือราวปี ๑๙๔๐ ถึง ๑๙๔๕ ต่อมาท่านก็ไปทำงานในธนาคารกรุงเทพ จนได้รับตำแหน่งสูง เป็นบุคคลที่เก่งหลายอย่าง มีความนุ่มนวล สุภาพ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า บุคลิกอย่างนี้ของท่าน จะสามารถเล่นกีฬาที่ต้องใช้พละกำลังความรุนแรงอย่างยูโดจนได้รับสายดำ (ซึ่งคนไทยน้อยคนเวลานั้นที่ได้รับ) และเชี่ยวชาญเต้นรำที่ต้องเคลื่อนไหวแช่มช้า หรือปรับเปลี่ยนเป็นรวดเร็วถูกต้องสวยงามตามจังหวะแบบแผน ความสามารถทั้งสองอย่างจะผนวกอยู่ในตัวของคนเดียวกันได้
ท่านเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว แต่ยังอยู่ในความทรงจำของผม เพราะท่านเป็นทั้งญาติผู้ใหญ่และครูสอนเต้นรำคนแรกในชีวิตของผม!
การเต้นรำนั้น มีผู้สังเกตว่า เป็นผลดีต่อสุขภาพ หากท่านผู้อ่านไปเดินสวนลุมพินีตอนเช้าๆ จะเห็นภาพผู้สูงอายุยังนิยมเต้นรำเพื่อเป็นการออกกำลัง ภายในบริเวณศาลาวงกลม ที่สนามหญ้า หรือบนถนนในสวน เพราะนอกจากเป็นความบันเทิง ยังได้เคลื่อนไหวร่างกาย และไม่เครียดเหมือนการออกกำลังบางประเภท เช่นการยกน้ำหนัก หรือแม้แต่เล่นกีฬาบางอย่างเทนนิส (นี่ตัวเครียดจัดเลย หากแข่งขัน) แต่การเต้นรำช่วยให้สดชื่นรื่นเริง เพราะมีเสียงเพลงจากดนตรีเข้ามาเป็นส่วนประกอบ
แม้ในปัจจุบันปัจจุบันการออกกำลังแบบฟรีแฮนด์เอกเซอร์ไซด์ กระโดดโลดเต้น ก็มีการนำเอาเสียงดนตรีมาช่วย ดีกว่าเต้นหยองๆแหยงๆอยู่คนเดียว ไม่สนุก โรงพยาบาลต่างประเทศที่มีชื่อระดับโลกอย่าง Walter Reed ของสหรัฐ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เขาใช้การเต้นรำเป็นเครื่องบำบัดผู้ป่วยมานานแล้ว
การเต้นรำนั้น บัดนี้เขาจัดเป็น “กีฬา” และนำเข้าบรรจุในโอลิมปิคแล้ว หากบ้านเราจะส่งเสริม “กีฬาเต้นรำ” ไปให้แพร่หลายก็จะเป็นผลดี เพราะลงทุนน้อยมาก และพอสู้เขาได้
อย่าไปเพ่งเล็งเอาแต่ฟุตบอลซึ่งมีการโฆษณาทำให้ผู้คนทึกทักว่า จะเอามาเป็นทีมของไทย แต่ก็ทำไมไม่ซื้อเอง จะมานั่งออกสลาก ขายให้ประชาชนกันทั่วประเทศราคาแพงๆ เอารางวัลสูงมาล่อทำไม ?
หากใจถึงซื้อเองใครเขาว่าจะได้สวนกลับไปว่า ไม่ได้หนักหัวกบาลใคร!
ทำอย่างนี้ให้ผู้คนคัดค้านกันให้อื้ออึงไปทั้งประเทศเป็นจำนวนมากมาย ทั้งพระสงฆ์องค์เจ้า ครูบาอาจารย์ เปลืองตัวเปล่าๆไม่เข้าการ
ยิ่งมาบอกว่า เป็นการพัฒนาการกีฬาของชาติ ขำตายชักเลยนะจะบอกให้ !
ฉะนั้น ในการแข่งขัน “โอลิมปิค” ที่จะมาถึงในวันข้างหน้า อยากให้มองกีฬาเต้นรำนี้ไว้ และขอออกความเห็นตรงๆ อย่างคนที่เคยเป็นนักกีฬาเก่า ระดับเสื้อสามารถของสถาบันใหญ่(ตรงนี้ขออนุญาตคุยหน่อยๆ) โล่รางวัลการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ รวมทั้งถ้วยเต้นรำด้วย ว่า
กีฬาเต้นรำนี้ เด็กไทยเรา มีโอกาสสู้เขาได้แน่ ๆ!!
การเต้นรำที่เป็นอาชีพ ในอดีตนอกจากคณะรำวงแล้ว และผู้หญิงพาร์ทเนอร์ไนท์คลับ ที่เหลือน้อยลงเต็มที ยังพอมีกะหรอมกะแหรมที่ต่างจังหวัดใหญ่ๆ เช่นโคราช เชียงใหม่ อยู่บ้าง แต่ดูเหมือนยังครื้นเครงกว่าทีมฟุตบอลอาชีพอะไรนั่น ซึ่งดูกะร่อยกะริบเต็มที เพราะเตะกันกี่ปีๆก็ได้แค่ตุ้บๆตับๆ บางแมทช์ก็มีแต่ ‘ทหารม้า’ (คือเก้าอี้เปล่าๆ) นั่งดูเต็ม อัฒจันทร์แสนจะว่าง
เป็นอย่างนี้จริงๆ !
แต่ที่เต้นรำเป็นอาชีพอย่างแท้จริง นปัจจุบันนี้คือ พวกหางเครื่องวงดนตรีลูกทุ่ง ซึ่งตอนนี้พวกลูกกรุงก็ชักจะเอาอย่างแล้ว สำหรับเรื่อง หางเครื่อง นี้เล่ากันให้ฟังใน “กาแฟขม…ขนมหวาน” ได้อีก ๒-๓ ตอน เลยทีเดียว แต่เห็นมีคนเขียนเป็นสารคดีมากแล้ว เลยเพลาๆไว้ก่อน
อยากถามท่านผู้อ่านว่า
นักการเมืองที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารจัดเป็นพวก “หางเครื่อง” ได้หรือเปล่า ? เพราะดูแล้วพรรคใหญ่ๆนั้น บรรดาผู้แทนของพรรคนั้นๆ มีบทบาทน้อยไปกว่าพรรคการเมืองประเภทวันแมนปาร์ตี้ ที่มีผู้แทนคนเพียงเดียวด้วยซ้ำไป
ทำไมน่ะหรือ ? ตอบได้ว่า
สมาชิกพรรคการเมืองใหญ่ เมื่อเลือกตั้งมาได้ หากไม่มีตำแหน่งแห่งที่ในพรรค ไม่ได้มีบทบาทอะไร ทางพรรคก็จ่าย เบี้ยยังชีพ ให้เดือนละ ๕ หมื่นบ้าง ๒ หมื่นบ้าง (แล้วแต่ความร่ำรวยเจ้าของพรรค) พอถึงวันนักขัตฤกษ์อย่างสงกรานต์ เจ้าของเขาก็หยอดน้ำมันคลายโหยให้คนละนิดหน่อยแค่ ๒-๓ แสน ซึ่งเขาก็ออกมารับกับสื่ออย่างน่าชื่นตาบาน
แต่ผู้คนเขาว่า พวกนี้เหนื่อยน้อยกว่าเด็กหางเครื่องของวงดนตรีลูกทุ่งด้วยซ้ำไป ว่าเข้านั่น
เพราะพวกหางเครื่องยังเต้นจนเหงื่อโซมกาย อยู่หลังนักร้องมีชื่อ ผู้คนยังจับตาดูไชโยโห่ร้อง เป่าปาก ตบมือตีตีนให้กำลังใจได้สนุกสนานกัน
แต่สมาชิกพรรคการเมืองใหญ่นั้นน่าสงสาร เหมือนตุ๊กตาไขลาน พรรคเขาบอกว่า
"เอ้า…วันนี้ไปยกมือ อย่าเบี้ยวนะโว้ย !"
พวกตุ๊กตาก็พากันเดินเข้าไปในที่ประชุม ยกมือชูจักกะแร้ให้เขาหน่อย หากไม่สำคัญอะไรก็โดดหายแซบหายสอย ให้สภาล่มเล่น ไม่ใช่หนเดียวแต่ซ้ำๆซากๆ ให้ประชาชนเขาก่นโคตร น่าเบื่อหน่าย
ไม่เห็นมีใครจะทำอะไรได้ ใครใคร่ด่าก็ด่าไป เดี๋ยวผู้คนก็ลืมเอง !?
สื่อมวลชนเขาพูดกันอื้ออึง ว่า พวกนี้คนไหนอยากได้รางวัลพิเศษ ก็ต้องคอยป่วนฝ่ายตรงข้าม ในวันที่เขาถลุงพรรคพวก ที่เปิดอภิปรายถลกหนังหัวกัน หรือวันยกทัพสู้กันในเวทีออกโทรทัศน์ให้ผู้คนได้ดูเหมือนลิเก
ตรงนี้มีการเอามาตีแผ่กันแต่ไม่รู้ว่าเป็นการ ‘ใส่ไคล้’ กันหรือเปล่า ? ไอ้ที่ว่ามีรางวัลสำหรับผลงาน ‘การคอยขัดขาให้หน้าคว่ำ’ นี่ บางคนเขาบอกว่า คงไม่มีหรือมีเขาก็ไม่บอก แต่เป็นเรื่องของการอยากเสนอหน้าให้ผู้คนเห็น ทางโทรทัศน์เสียมากกว่า
เออ…หรือจะเป็นอย่างหลังนี่ ?
แต่หลายคนกลับบ่นพึม ว่า พวกนี้หลายคนออกมาพูดจาอะไรก็ไม่ได้เรื่อง แสดงความคิดความเห็นประท้วงอะไรออกมา ก็ไม่สู้จะเป็นจุดสนใจฝ่ายคอยถลกเปิดข้อมูลไม่ถึงขนาด ส่วนฝ่ายคอยป้องถลกลงปิดการแก้ตัวพอๆกัน ดูจะออกลูกเสมอเสียมากกว่า
บางคนใกล้จะเลือกตั้งแล้ว ดันยืนขึ้นพูดทักท้วง ผู้คนยังไม่รู้จัก ไม่ได้ยินชื่อเสียด้วยซ้ำไป
ชาวบ้านบอกบางพระหน่อนั้น ว่า พอได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกผู้ทรงเกียรติแล้ว เกียรติมันค้ำคอมากหรืออย่างไรไม่ทราบได้ เพราะไม่เคยอ้าปากพูดอะไรเลย เป็นใบ้หรือเปล่าก็ไม่รู้ ได้แต่นั่ง ‘ยกมือขึ้น-เอามือลง’ มาสามปีกว่า จนจะหมดวาระอยู่แล้ว
ไอ้ที่ซวยจริงๆก็ นานๆพูดที เมื่อเร็วๆนี้ดันพูดออกมาแต่ไม่ถูกใจเจ้าของพรรค เลยโดนกระแทกว่า
"ให้เอามือตบปากตัวเอง ซะสองที ! "
แน่ะ…อย่างนี้ก็มี
บางคนเขาได้ยินทางโทรทัศน์เข้า ถึงกับบอกว่า
“โฮ้ย…โดนด่าขนาดนี้ จะอยู่กับเขาไปทำไมกัน ให้มันเสียศักดิ์ศรี !…ออกไปเต้นระบำกับหางเครื่องลูกทุ่ง ยังน่าสนุกกว่าเป็นไหนๆ !!”