วันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีการจัดพิธีเปิดงานสัปดาห์ความร่วมมือพันธมิตรสื่ออาเซียน (Asean Media Partners Cooperation Week) ที่เมืองกุ้ยหลิน สาธารณรัฐประชาชนจีน กิจกรรมดังกล่าวร่วมกันจัดขึ้นโดย China Media Group หรือ CMG และเขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกว่างซี
น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมไทยกล่าวสุนทรพจน์ผ่านวิดีโอ นายฟ่าน หยุน รองบรรณาธิการใหญ่ CMG และนางเฉิน อี้จวุน กรรมการในคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกว่างซี ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกว่างซี เจ้าหน้าที่ภาครัฐ สื่อมวลชน ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจากจีนและประเทศอาเซียนกว่า 200 คนมาร่วมการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างลุ่มลึกในประเด็น “คุณภาพใหม่ การอยู่ร่วมกันและอารยธรรม” แสดงบทบาทของสื่อมวลชนเพื่อส่งเสริมการสร้างประชาคมจีน-อาเซียนที่มีอนาคตร่วมกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
น.ส.ทวินันท์ คงคราญ รองผู้อำนวยการใหญ่ด้านการสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร สถานีโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5) ได้ร่วมแบ่งปันความคิดเห็นในหัวข้อเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อใหม่ และการร่วมกันผลิตเนื้อหาของสื่อมวลชน เป็นต้น
สำหรับความคาดหวังต่อกิจกรรมครั้งนี้ น.ส.ทวินันท์ คงคราญ กล่าวว่า การจัดการประชุมในครั้งนี้จะยิ่งเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีแล้วขยายโอกาสในการเผยแพร่ข่าวสาร เรื่องราว ข้อมูลจากทั้งของประเทศจีนไปสู่ประเทศกลุ่มอาเซียน โดยจะขยายในเรื่องของแพลตฟอร์มและเนื้อหาที่มีความละเอียดความลึกซึ้งขึ้น ในอนาคตทางช่อง 5 ในนามของประเทศไทยเราอยากได้พวกละครสั้น ซีรีส์ รูปแบบอื่นๆ ของประเทศจีนมาเพิ่มในเนื้อหาของเรา เพราะว่าประชาชนเรียกร้องอยากชมเรื่องราวของทางจีนในรูปแบบของซีรีส์ หรือละครที่เป็นยุคใหม่
นายธีชยุฒศภ์ เมธาศิฐิวัตม์ บรรณาธิการรายการชิบเชื่อมโลกแห่งสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ในฐานะสื่อมวลชนไทยที่ร่วมทริปการรายงานข่าวครั้งนี้ตลอดทั้ง 4 วัน มีความสนใจความทันสมัยแบบจีน การอยู่ร่วมกันอย่างปรองดองระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ การวางแผนเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการสร้างสรรค์อารยธรรมทางระบบนิเวศเป็นพิเศษ โดยการมาเยือนเมืองกุ้ยหลิน สถานที่จัดการประชุมครั้งนี้ ได้เรียนรู้การปกป้องสิ่งแวดล้อม เริ่มจากการจัดการคุณภาพของน้ำที่ใช้กล้องและโดรนคอยตรวจดูในจุดหลักๆ ที่เกิดความผิดปกติในภาพรวมของแม่น้ำทั้งหมด เพื่อดูแลความเป็นไปของสภาพแวดล้อมเพื่อนำมาประมวลผล เพื่อการบำบัดผืนน้ำ ส่งผลให้แม่น้ำหลีงดงามอย่างที่ทุกท่านเห็นด้วยตา อีกทั้งการจัดสรรคนที่จะเข้าชมสวนบริเวณเขางวงช้างและการบริหารการเดินเรือในแม่น้ำ การให้บริการแพนักท่องเที่ยว และระบบต่างๆ อีกมากที่ทำได้รอบ นอกจากนี้ จีนยังมีมาตรการปกป้องแม่น้ำให้เป็นสีเขียวครามอย่างต่อเนื่อง การบริหารจัดการด้านนิเวศวิทยาได้ยกระดับความสามารถในการบําบัดน้ำเสีย การลดมลพิษทางการเกษตร และดำเนินการเติมน้ำทางนิเวศวิทยา ซึ่งเปรียบเสมือน "กรวยไต" ทำให้สิ่งที่เป็นมลพิษได้รับการเร่งซ่อมแซมและฟื้นฟู เป็นเหตุให้คุณภาพน้ำปรับปรุงดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เกิดเป็นผลผลิตคุณภาพใหม่ เกิดความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด
รายงานโดย ชุย อี๋เหมิง ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)