เมื่อกล่าวถึง มณฑลซินเจียง ของจีน หลายท่านอาจมีจินตภาพถึงถิ่นของชนชาติส่วนน้อยอุยกูร์ ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม และแหล่งท่องเที่ยวสวยงามที่มีฉายา “สวรรค์บนดิน”
ซินเจียงในวันนี้เปิดกว้าง โดยกำลังพัฒนาอุตสาหกรรมครบวงจร ประกอบด้วยสามฐาน คือ ปิโตรเลียม ถ่านหิน และการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม และหนึ่งช่องทาง คือ เส้นทางบกเชื่อมโยงเศรษฐกิจการค้าตามรอยเส้นทางสายไหม
ในรายงานนี้ ขอพามณฑลซินเจียงมาแนะนำให้ผู้อ่านได้รู้จักมณฑลแห่งนี้ในหลายมิติ และจะรู้ว่ามณฑลนี้มีความสำคัญต่อจีนเพียงไร
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2567 สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำกรุงเทพฯ จัดสัมมนาหัวข้อการเปิดกว้างการพัฒนาเขตปกครองตัวเองอุยกูร์แห่งซินเจียง โดยประธานคณะกรรมการประจำของสภาผู้แทนประชาชนแห่งเขตปกครองตัวเองอุยกูร์ซินเจียง คือ นาง Zumret Obul นำคณะผู้แทนมาเสวนากับคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสมาชิกไทย โดยมีเอกอัครราชทูต หาน จื้อเฉียง เป็นประธานเปิดงาน
ในการสัมมนามีการฉายวิดีโอทัศน์ ฝแนะนำมณฑลซินเจียง ในด้านต่างๆ อย่างครบถ้วน และการบรรยายแนะนำมณฑลโดย นาง Zumret Obul ประธานคณะกรรมการประจำของสภาผู้แทนประชาชนแห่งเขตปกครองตัวเองอุยกูร์ซินเจียง
1.ซินเจียง เป็นมณฑลชายแดนมีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดของจีน กว่า 1.66 ล้านตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ และใจกลางของภูมิภาคยูเรเซีย อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมที่มีบทบาทสำคัญ
มีชายแดนติดกับประเทศต่างๆ ถึง 8 ประเทศ ได้แก่ มองโกเลีย คาซัคสถาน คีร์กิซสถาน ทาจิกิสถาน รัสเซีย อินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสถาน รวมระยะทางยาว 5,700 กิโลเมตร มีด่านเปิดสู่โลกภายนอกมากที่สุด
2.ซินเจียงมีชนชาติส่วนน้อย 56 ชาติพันธุ์ ซึ่งถือเป็นมณฑลเดียวที่มีชาติพันธุ์ครบถ้วนตามจำนวนทั้งหมดในจีน มีหลากหลายศาสนา โดยมีชาวมุสลิมอุยกูร์มากสุด จำนวนกว่า 11 ล้านคน ดังนั้น จึงเป็นดินแดนที่มีเอกลักษณ์วัฒนธรรม
3.ภูมิประเทศของซินเจียง อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ภูเขา แม่น้ำ และทรัพยากรก๊าซธรรมชาติ ตลอดจนเป็นแหล่งปลูกฝ้ายที่สำคัญ
ซินเจียงยังมีทรัพยากรท่องเที่ยวที่อุดม และมีแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก
คำถาม: การเดินทางไปท่องเที่ยวที่ซินเจียง
ตอบ: สำหรับคนไทยที่สนใจท่องเที่ยวซินเจียง ปัจจุบันต้องโดยสารเที่ยวบินไปลงที่นครกว่างโจว และต่อเครื่องไปยังอูรุมชี เมืองเอกของซินเจียง ส่วนเที่ยวบินตรงกรุงเทพฯ-อูรุมชี ยกเลิกไปช่วงเกิดโรคระบาดโควิด โดยอาจมีพิจารณากลับมาเปิดเส้นทางบินตรงในอนาคต
4.การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ในอนาคตจะมีอุตสาหกรรมครบวงจร ที่ประกอบด้วยสามฐาน และหนึ่งช่องทาง คือ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม อุตสาหกรรมถ่านหิน การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม สำหรับหนึ่งช่องทาง คือช่องทางบก ซึ่งเป็นเส้นทางเศรษฐกิจการค้ารหว่างประเทศ ที่เรียกขานว่า เส้นทางสายไหมยุคสมัยใหม่
5.การเมืองการปกครอง สภาผู้แทนประชาชน เป็นศูนย์กลางการปกครองบริหารท้องถิ่น กำหนดกลไกการปกครองและบริหารทั้งหมด จัดตั้งหน่วยงานบริหารท้องที่ ตลอดจนคลังสมองต่างๆ
สภาผู้แทนประชาชนท้องถิ่นยังมีอำนาจอนุมัติการลงทุนใหญ่ๆ
ในภาคประชาชน ส่วนใหญ่เป็นชนชาติส่วนน้อย ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ยังมีส่วนร่วมทางการเมือง เลือกตั้งผู้แทนระดับตำบล อำเภอ ซึ่งเป็นวิถีประชาธิปไตย ทางการยังเปิดช่องทางแสดงความคิดเห็นให้กับประชาชน โดยทางการจัดตั้งศูนย์ร้องทุกข์และแสดงความคิดเห็น มากกว่า 5,000 จุด
คำถาม: ระบบการศึกษาของเขตปกครองตัวเองอุยกูร์ซินเจียง
ตอบ: การจัดการด้านการศึกษาคำนึงถึงชนกลุ่มน้อย โดยจัดการเรียนการสอนสองภาษา เน้นเรียนเทคโนโลยี รัฐบาลกลางให้ความสำคัญกับการศึกษาชนกลุ่มน้อย เท่าเทียมกับประชาชนทั่วประเทศ โดยได้จัดอุปกรณ์การเรียนการสอนเพื่อให้การศึกษาในซินเจียงสมบูรณ์แบบ