xs
xsm
sm
md
lg

ชมภาพ ‘มังกรหยก’ ใหญ่สุดจากวัฒนธรรมหงซาน เก๋ากว่า 5,000 ปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


(แฟ้มภาพซินหัว : ชิ้นหยกที่ขุดพบจากสุสานหินในเมืองชื่อเฟิง เขตปกครองตนเองมองโกเลียในทางตอนเหนือของจีน)
คณะนักโบราณคดีของจีนได้ขุดพบมังกรหยกขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบจากวัฒนธรรมหงซาน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของยุคหินใหม่ ที่สุสานหินในเมืองชื่อเฟิง

จากการแถลงการณ์ค้นพบของสถาบันวัตถุทางวัฒนธรรมและโบราณคดีประจำเขตปกครองตนเองมองโกเลียในทางตอนเหนือของจีน ระบุว่า มังกรหยกชิ้นนี้มีขนาดกว้าง 9.5 เซนติเมตร ยาว 15.8 เซนติเมตร และหนา 3 เซนติเมตร ถูกค้นพบที่แหล่งโบราณสถานที่มีสุสานวงกลมทางทิศเหนือและแท่นบูชาสี่เหลี่ยมทางทิศใต้ ซึ่งจัดเป็นแหล่งโบราณสถานลักษณะนี้เพียงแห่งเดียวของภูมิภาคมองโกเลียใน

(แฟ้มภาพซินหัว : สุสานวงกลมที่แหล่งโบราณสถานสุสานหินในเมืองชื่อเฟิง เขตปกครองตนเองมองโกเลียในทางตอนเหนือของจีน)
คณะนักโบราณคดียังขุดพบซากกะโหลกมนุษย์ สถานที่ฝังศพ หลุมจุดไฟ และหลุมวัตถุรูปทรงกระบอก นอกเหนือจากซากสถาปัตยกรรม ส่วนโบราณวัตถุที่ขุดพบประกอบด้วยหยก อ่างดินเผาเขียนสี ถ้วยดินเผาสามขา และอื่นๆ

การวิจัยที่แหล่งโบราณสถานแห่งนี้ครอบคลุมการศึกษาสภาพแวดล้อมโบราณ แผนที่ภูมิประเทศขนาดใหญ่ และการหาอายุด้วยวิธีคาร์บอน-14 ซึ่งข้อมูลล่าสุดบ่งชี้ว่าแหล่งโบราณสถานแห่งนี้เป็นของวัฒนธรรมหงซานตอนปลาย มีความเก่าแก่ 5,000-5,100 ปี

(แฟ้มภาพซินหัว : สุสานวงกลมที่แหล่งโบราณสถานสุสานหินในเมืองชื่อเฟิง เขตปกครองตนเองมองโกเลียในทางตอนเหนือของจีน)
อนึ่ง การประชุมสัมมนาที่เมืองชื่อเฟิงเมื่อวันอาทิตย์ (22 ก.ย.) ได้เผยความคืบหน้าของการดำเนินกระบวนการทางโบราณคดีที่สุสานหินในเขตหยวนเป่าซานของเมืองชื่อเฟิง โดยส่วนหนึ่งเป็นการค้นพบมังกรหยกชิ้นนี้

ที่มาข่าว สำนักข่าวซินหัว

(แฟ้มภาพซินหัว : คณะนักโบราณคดีปฏิบัติงานที่แหล่งโบราณสถานสุสานหินในเมืองชื่อเฟิง เขตปกครองตนเองมองโกเลียในทางตอนเหนือของจีน)

(แฟ้มภาพซินหัว : มังกรหยกที่ขุดพบจากสุสานหินในเมืองชื่อเฟิง เขตปกครองตนเองมองโกเลียในทางตอนเหนือของจีน)

(แฟ้มภาพซินหัว : แหล่งโบราณสถานสุสานหินก่อนการขุดสำรวจในเมืองชื่อเฟิง เขตปกครองตนเองมองโกเลียในทางตอนเหนือของจีน)




กำลังโหลดความคิดเห็น