นักวิทยาศาสตร์จีนประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในการส่งภาพเอกซเรย์ของดวงจันทร์แบบเต็มดวงจากอวกาศ ด้วยการใช้ดาวเทียม Einstein Probe (EP) เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับเทศกาลไหว้พระจันทร์
ภาพดังกล่าวถูกถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์เอกซเรย์ FXT บนดาวเทียม โดยเผยให้เห็นภาพของดวงจันทร์ในสเปกตรัมเอกซเรย์ ซึ่งแตกต่างจากภาพที่เราเคยเห็นในปกติ
กล้องโทรทรรศน์ FXT ถูกพัฒนาภายใต้การนำของสถาบันฟิสิกส์พลังงานสูงแห่งสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน
เมื่อเปรียบเทียบกับดาวเทียมเอกซเรย์อื่นๆ กล้องโทรทรรศน์ FXT มีจุดเด่นที่มีมุมมองภาพกว้าง ความละเอียดของพลังงานเอกซเรย์ที่ยอดเยี่ยม และพื้นที่รับข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง
กล้องนี้สามารถเผยให้เห็นการกระจายตัวของธาตุต่างๆ เช่น ออกซิเจน เหล็ก แมกนีเซียม อะลูมิเนียม และซิลิคอนบนพื้นผิวของดวงจันทร์ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับดวงจันทร์
ที่มา/ภาพ สำนักข่าวซีซีทีวี