xs
xsm
sm
md
lg

จีนออกแบบ ‘วัสดุทำความเย็น’ เพื่อสิ่งปลูกสร้าง ลดปล่อยคาร์บอน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ห้วงยามโลกกำลังเผชิญกับสภาพอากาศร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำความเย็นของบ้านอย่างมีประสิทธิภาพในฤดูร้อนอบอ้าว โดยใช้พลังงานลดลง และปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลงนับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการบรรลุเป้าหมายลดคาร์บอน

เมื่อวันศุกร์ (5 ก.ค.) วารสารไซแอนซ์ (Science) รายงานว่า ทีมนักวิจัยของจีนประดิษฐ์วัสดุที่ได้จากชีวมวลโดยใช้ดีเอ็นเอ (DNA) ซึ่งเป็นพิมพ์เขียวทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต โดยวัสดุแอโรเจล (aerogel) นี้สามารถลดอุณหภูมิโดยรอบในวันแดดจ้าที่มีความเข้มข้นของรังสีดวงอาทิตย์รุนแรงลง 16 องศาเซลเซียส

ทีมนักวิจัยผสมผสานดีเอ็นเอและเจลาตินเข้ากับโครงสร้างแอโรเจลที่เรียงชั้นเป็นระเบียบ ซึ่งแปลงแสงอัลตราไวโอเลตที่ดูดซับเป็นแสงที่มองเห็นได้เพื่อสะท้อนความร้อนสูงเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำให้เกิดการทำความเย็นแบบแผ่รังสีอย่างดีเยี่ยม

การใช้วัสดุทำความเย็นแบบแผ่รังสีที่ผลิตจากโพลิเมอร์ชีวภาพช่วยลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกัน วัสดุแอโรเจลเหล่านี้ที่ถูกประดิษฐ์อย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีการเชื่อมใต้น้ำ สามารถซ่อมแซม รีไซเคิล และย่อยสลายทางชีวภาพ

จ้าวไห่โป ผู้ร่วมเขียนผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยซื่อชวน เผยว่า วัสดุแอโรเจลนี้จะปฏิวัติประสิทธิภาพทางพลังงานของสถาปัตยกรรมเมืองด้วยการเป็นเกราะป้องกันชั้นนอก ซึ่งผลการจำลองพบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานรายปีในการทำความเย็นของสิ่งปลูกสร้างทั่วเมืองต้นแบบ

จ้าวกล่าวว่า วัสดุแอโรเจลใหม่นี้จะช่วยลดปล่อยคาร์บอนและลดใช้พลังงานอย่างมาก รวมถึงปูทางสู่การสร้างวัสดุทำความเย็นแบบแผ่รังสีรุ่นใหม่ที่ยั่งยืนในอนาคต

อนึ่ง จีนมุ่งบรรลุเป้าหมาย “คาร์บอนคู่” ด้วยการปล่อยก๊าซคาร์บอนแตะระดับสูงสุดภายในปี 2030 และบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2060

ที่มา/ภาพ สำนักข่าวซินหัว




กำลังโหลดความคิดเห็น