xs
xsm
sm
md
lg

จีนใช้เทคโนฯ ตัดต่อยีนต่อสู้ ‘มะเร็ง’ ในข้าวสาลี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ทีมวิจัยของจีนใช้เทคโนโลยีการตัดต่อยีนเพื่อปรับปรุงความต้านทานโรคราสนิมลาย (stripe rust) ในข้าวสาลี ซึ่งเป็นโรคเชื้อราแพร่ทางอากาศที่ถูกจัดเป็น “มะเร็ง” สำหรับพืชชนิดนี้

ทีมวิจัยนำโดยศาสตราจารย์หวังเสี่ยวเจี๋ย จากมหาวิทยาลัยเกษตรกรรมและป่าไม้ซีเป่ย ทำการศึกษาระยะเวลา 18 ปี และพบยีนในข้าวสาลีชื่อ TaPsIPK1 ซึ่งเป็นยีนที่ทำให้เกิดความอ่อนแอต่อโรคราสนิมลาย โดยผลการวิจัยเผยแพร่ทางออนไลน์ในวารสาร (Cell) ในปี 2022

เมื่อเร็วๆ นี้ การทดลองภาคสนามของทีมงานเผยให้เห็นว่าพันธุ์ข้าวปลูกที่มีการปรับปรุงยีน TaPsIPK1 มีความต้านทานต่อโรคราสนิมลายเพิ่มจากระดับอ่อนแออย่างมาก เป็นระดับที่มีความต้านทานปานกลางหรือสูง และสามารถให้ผลผลิตใกล้เคียงเดิมโดยที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

พันธุ์ข้าวสาลีปลูกที่มีการปรับปรุงยีนนี้ยังคงลักษณะทางการเกษตรของพันธุ์ดั้งเดิมไว้ ซึ่งบ่งชี้ว่ามีศักยภาพที่ดีสำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคต

หลังจากนี้ทีมวิจัยจะทำงานเกี่ยวกับความต้านทานที่มีลักษณะสัมพันธ์กันต่อการเกิดโรคราสนิมลาย โรคราแป้ง และจิบเบอเรลลิก (gibberellic) ผ่านการแก้ไขยีนในข้าวสาลี

ความคืบหน้าครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในความพยายามที่จะบรรลุการพัฒนาการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีคุณภาพสูง ตลอดจนรับประกันความมั่นคงทางอาหาร

ที่มา/ภาพ สำนักข่าวซินหัว




กำลังโหลดความคิดเห็น