การศึกษาที่เผยแพร่ในวารสารไซแอนซ์ (Science) เมื่อไม่นานนี้ ระบุว่านักวิจัยชาวจีนค้นพบกลไกที่อยู่เบื้องหลังการผสมตัวเอง (self-pollination) ในมะเขือเทศพันธุ์เพาะปลูก ซึ่งให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าในการเพิ่มผลผลิตมะเขือเทศ
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรและป่าไม้ฝูเจี้ยน พบว่า มะเขือเทศสามารถควบคุมการพัฒนาของไตรโคม (Trichomes) ในตัวเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างหลักของดอก นำไปสู่การใช้วิธีผสมตัวเองเพื่อเพิ่มอัตราการออกผล
มะเขือเทศพันธุ์เพาะปลูกจะสร้างกรวยรอบอับเกสรเพศผู้ เพื่อรับรองว่าละอองเรณูจะไปถึงยอดเกสรเพศเมียได้ง่าย โดยกรวยของอับเกสรเพศผู้จะยึดติดกันด้วยขนหนาแน่นที่เรียกว่าซิปเปอร์ไตรโคม (zipper trichomes)
นักวิจัยทำการระบุชุดยีนโฮมโอโดเมน-ลิวซีน ซิปเปอร์ (homeodomain-leucine zipper) ที่ควบคุมการก่อตัวของไตรโคมเหล่านี้ และสามารถควบคุมความยาวของก้านชูเกสรเพศเมีย (style) ส่งผลให้สามารถพัฒนาโครงสร้างการสืบพันธุ์ที่ผสมเกสรด้วยตัวเองได้
สำหรับในด้านการเกษตร การผสมตัวเองทำให้พืชมีอัตราการออกผลสูงขึ้น และรับประกันการสืบทอดลักษณะที่ดีเยี่ยม ซึ่งเป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของการปรับเปลี่ยนพันธุ์พืชเพื่อมนุษยชาติ
ที่มา/ภาพ สำนักข่าวซินหัว