ชู จุนห่าว นักฟิสิกส์อินฟราเรดและนักวิชาการของสภาบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences) พัฒนา "ผ้าคลุมล่องหน" โดยใช้เทคโนโลยี "เลนติคูลาร์เกรตติง" (lenticular grating) ซึ่งทำให้เกิดการหักเหของแสง
รายงานระบุว่า อุปกรณ์ดังกล่าวทำจากวัสดุชนิดพิเศษที่ประกอบด้วยเลนส์นูนทรงกระบอกเล็กๆ เรียงตัวกันเพียงพอจะแบ่งวัตถุออกเป็นจำนวนอนันต์ทำให้ผู้คนมองเห็นภาพลวงตา ซึ่งเมื่อเนื้อผ้าของเสื้อผ้าและดัชนีการหักเหของอากาศเท่ากัน ผู้คนจะ "มองไม่เห็น" อุปกรณ์ดังกล่าวเมื่อได้สวมใส่
“ไม่ว่าในชีวิตจริงหรือในโลกของธรรมชาติและสัตว์ต่างๆ มี 'สิ่งล่องหน' มากมาย และนี่ไม่ใช่เวทมนตร์ แต่เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์” ชูกล่าว
ชูกล่าวเพิ่มเติมว่า เทคโนโลยีดังกล่าวไม่เพียงแต่สามารถหลีกเลี่ยงการมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเท่านั้น แต่ยังหลีกเลี่ยงการตรวจจับด้วยอินฟราเรดอีกด้วย
"ในอนาคต ด้วยเทคโนโลยีที่ค่อยๆ เติบโตและ 'วัสดุเมตา' อุปกรณ์ล่องหนในนิยายวิทยาศาสตร์จะค่อยๆ กลายเป็นความจริง อุปกรณ์ล่องหนจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตเราในอนาคตมากขึ้น เช่น ห้องล่องหนที่ทำให้มีความเป็นส่วนตัวดีขึ้น รวมถึงเครื่องช่วยฟังล่องหน
ที่มา/ภาพ โกลบอลไทมส์