xs
xsm
sm
md
lg

นักวิทย์ใช้ ‘เทคนิคควอนตัม’ ระบุอายุแม่น้ำเหลืองสมัยใหม่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คณะนักวิทยาศาสตร์ใช้เทคนิคควอนตัมสร้างความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการพยายามระบุอายุของแม่น้ำเหลืองสมัยใหม่ แม่น้ำที่มีความยาวมากที่สุดอันดับ 2 ของจีน ซึ่งถือเป็น “มาตุธาร” ของจีนและต้นกำเนิดของอารยธรรมจีน

การศึกษาที่เผยแพร่ในวารสารเอิร์ธ แอนด์ แพลเนเทอรี ไซแอนซ์ เลตเทอร์ส (Earth and Planetary Science Letters) ฉบับล่าสุด ระบุว่าระบบน้ำสมัยใหม่ของแม่น้ำเหลืองเริ่มก่อตัวเมื่อประมาณ 1.25 ล้านปีก่อน

ทีมศึกษาเบื้องหลังการค้นพบครั้งนี้นำโดยคณะนักวิจัยจากสถาบันธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน มหาวิทยาลัยครูปักกิ่ง และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน โดยพวกเขาสามารถระบุอายุของแหล่งน้ำความร้อนใต้พิภพในลุ่มน้ำเว่ยเหอของจีน ด้วยการอาศัยข้อมูลจากไอโซโทปของคริปตอน (krypton) และคลอรีน (chlorine) ร่วมกัน

การศึกษานี้ได้ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์แกะรอยการดักจับอะตอมอิสระ (ATTA) ซึ่งเป็นเทคนิคควอนตัม เพื่อการคำนวณที่ระดับอะตอมเดี่ยว ซึ่งช่วยให้สามารถตรวจวัดได้อย่างละเอียดอ่อนมากยิ่งขึ้น

การก่อตัวของกลไกการขับเคลื่อนของแม่น้ำเหลืองสมัยใหม่เคยตกเป็นประเด็นถกเถียงมาก่อน ด้านคณะนักอุทกวิทยาตั้งข้อสันนิษฐานว่าแม่น้ำเหลืองอาจก่อตัวเป็นรูปร่างแบบในปัจจุบันตั้งแต่เมื่อ 150,000 ปีก่อน 1.2 ล้านปีก่อน หรือ 5 ล้านปีก่อน

ผลการศึกษาใหม่นี้สนับสนุนสมมติฐานที่ระบุว่าแม่น้ำเหลืองสมัยใหม่เริ่มก่อกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 1-1.3 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการปรับโครงสร้างกลไกการขับเคลื่อนของแม่น้ำเหลืองตั้งแต่ทะเลสาบซานเหมินโบราณ จนถึงวิธีการไหลของทางน้ำในปัจจุบัน

อนึ่ง แม่น้ำเหลืองมีความยาว 5,464 กิโลเมตร หล่อเลี้ยงประชากรจีนประมาณร้อยละ 12 รองรับการชลประทานพื้นที่เพาะปลูกประมาณร้อยละ 15 มีส่วนสนับสนุนจีดีพีในประเทศถึงร้อยละ 14 และจ่ายน้ำให้กับเมืองต่างๆ มากกว่า 60 เมือง

ที่มา/ภาพ สำนักข่าวซินหัว




กำลังโหลดความคิดเห็น