xs
xsm
sm
md
lg

แอนท์กรุ๊ป เปิดตัว ‘อีวอลเล็ต’ จากเอเชีย รวมไทย ใช้ได้ในจีนแล้ว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


(แฟ้มภาพซินหัว : พนักงานสแกนรหัสคิวอาร์จากแอปพลิเคชันอาลีเพย์ของลูกค้าที่ร้านกาแฟในกรุงเวียนนา เมืองหลวงของออสเตรีย วันที่ 9 ม.ค.2020)
แอนท์กรุ๊ป (Ant Group) เปิดตัวกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallet) และแอปพลิเคชันชำระเงินชั้นนำจากเอเชียใหม่ 7 แอปพลิเคชันอย่างเป็นทางการแล้ว ภายใต้โครงการ “อาลีเพย์+อินไชน่า” (A+China)

จากแถลงการณ์โดย บริษัทแอนท์ กรุ๊ป ที่เผยเมื่อวันอังคาร (19 ก.ย.) ระบุว่าผู้ใช้บริการ เอ็มเพย์ ( #mPay) จากเขตบริหารพิเศษมาเก๊าของจีน ไฮเพย์ (Hipay) ากมองโกเลีย ชางงี เพย์ (Changi Pay) และ โอซีบีซี (OCBC) จากสิงคโปร์ นาเวอร์ เพย์ (Naver Pay) และ ทอส เพย์ (Toss Pay) จากเกาหลีใต้ รวมถึง ทรูมันนี่ (TrueMoney) จากไทย จะสามารถใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของตนเองบนโทรศัพท์ อีกทั้งเพลิดเพลินกับประสบการณ์การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือที่ราบรื่นในจีนแผ่นดินใหญ่ผ่านเครือข่ายร้านค้าของอาลีเพย์

ภาพกราฟิกแสดงอีวอลเล็ต และแอปพลิเคชันชำระเงิน ภายใต้โครงการ “อาลีเพย์+อินไชน่า” (A+China) ในต่างประเทศ 10 แอปพลิเคชัน ที่ได้รับการยอมรับในแผ่นดินใหญ่ ผู้ใช้สามารถใช้เงินจากกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนนี้สำหรับซื้ออาหาร สินค้าในห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เกต ร้านค้าปลีก โรงแรม แหล่งท่องเที่ยว บริการรถโดยสารสาธารณะ (ภาพจากซินหัว)
การเพิ่มบริการใหม่นี้ทำให้จำนวนอีวอลเล็ตต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับในแผ่นดินใหญ่เพิ่มเป็น 10 แห่ง ต่อเนื่องจากโครงการนำร่องนำโดย อาลีเพย์เอชเค (AlipayHK) ของฮ่องกง ทัชเอ็นโก อีวอลเล็ต (Touch ‘n Go eWallet) ของมาเลเซีย และ กาเกา เพย์ (Kakao Pay) ของเกาหลีใต้ ในปี 2022 โดยวิธีการชำระเหล่านี้สามารถเข้าถึงประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกกว่า 175 ล้านคน

ผู้ใช้อีวอลเล็ตกลุ่มดังกล่าวสามารถใช้แอปพลิเคชันชำระเงินของตนทุกที่ที่สามารถใช้อาลีเพย์ เพื่อใช้บริการชำระเงินที่ปลอดภัย ราบรื่น และไร้เงินสด พร้อมอัตราแลกเปลี่ยนที่โปร่งใสและมีราคาดี

อนึ่ง ชุดโซลูชันการชำระเงินข้ามพรมแดนผ่านมือถือ การตลาด และการเปลี่ยนสู่ดิจิทัลที่พัฒนาโดยอาลีเพย์ พลัส (Alipay+) กลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศของแอนท์ กรุ๊ป ช่วยให้หุ้นส่วนธุรกิจการชำระเงินสามารถเชื่อมร้านค้าท้องถิ่นและทั่วโลกเข้ากับผู้บริโภคดิจิทัลข้ามพรมแดน

ที่มา สำนักข่าวซินหัว


กำลังโหลดความคิดเห็น