มณฑลเหอเป่ยทางตอนเหนือของจีน เปิดเผยการค้นพบชิ้นส่วนศิลาจารึกโบราณจากศาลเจ้าที่มีอายุย้อนกลับถึงยุคราชวงศ์หมิง (ปี 1368-1644) ความยาว 1.75 เมตร กว้าง 0.4 เมตร และหนา 0.25 เมตร บริเวณเมืองโบราณในหมู่บ้านเฉียนเจียของเมืองชายฝั่งหวงหัวเมื่อไม่นานนี้
ข้อความบนศิลาจารึกเผยว่า จารึกดังกล่าวถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1485 สำหรับศาลเจ้าของ “ปี้เสียหยวนจวิน” หนึ่งในเทพเจ้าตามความเชื่อของลัทธิเต๋า ซึ่งเป็นที่สักการะมากที่สุดและรู้จักกันในนาม “ไท่ซานหน่ายนาย” หรือ เจ้าย่าแห่งเขาไท่ซาน โดยศิลาจารึกนี้ยังยืนยันความถูกต้องของบันทึกทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับผู้หาเลี้ยงชีพในพื้นที่ด้วยการผลิตเกลือจากการต้มน้ำทะเลด้วย
อนึ่ง พิพิธภัณฑ์ในหวงหัวระบุว่า การค้นพบทางโบราณคดีครั้งใหม่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการศึกษาวัฒนธรรมการบูชาเครื่องสังเวยทางทะเลในจีนตอนเหนือ
ที่มาข่าว สำนักข่าวซินหัว, 10 ก.ค.2023