จีนพัฒนาระบบโดรนใหม่สำหรับดำเนินงานดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งสามารถนำมาใช้ตรวจจับเมฆ ฝน ลม และละอองลอยในอากาศบนเส้นทางบินได้ในระยะไกล
ระบบโดรนดังกล่าว ซึ่งมาพร้อมศักยภาพการบรรทุกปริมาณมาก มีระยะเวลาทำการนาน ใช้ค่าบำรุงรักษาต่ำ และสามารถนำมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว เสร็จสิ้นเที่ยวบินแรกในเวลา 75 นาที จากท่าอากาศยานในมณฑลส่านซีทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน นับเป็นการพิสูจน์ความปลอดภัยและขีดความสามารถของเครื่องมือทางอากาศของระบบ
สถาบันในเครือบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบินและอวกาศแห่งชาติจีน (CASC) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาระบบโดรนใหม่นี้ ระบุว่าเครื่องจักรดังกล่าวประกอบด้วยหลายฟังก์ชันการทำงานใหม่ อาทิ การตรวจจับแบบคู่ด้วยเลเซอร์-คลื่นไมโครเวฟ การตรวจจับร่วมแบบแอกทีฟ/พาสซีฟ และการตรวจจับระยะไกลในพื้นที่
ทั้งนี้ เที่ยวบินแรกที่ประสบความสำเร็จถือเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าของอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ที่ผลิตโดยจีน ที่ถูกนำมาใช้ในการตรวจจับระยะไกลซึ่งเน้นการใช้งานหลากหลายสำหรับการดัดแปรสภาพอากาศ อันมีส่วนช่วยลดทอนภัยพิบัติและปกป้องระบบนิเวศ