xs
xsm
sm
md
lg

จีนตัดต่อพันธุกรรมสร้าง ‘แกะขนนุ่มหางสั้น’ สำเร็จครั้งแรกในโลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


(แฟ้มภาพซินหัว : ฝูงแกะที่อำเภอจาวซู แคว้นปกครองตนเองอีหลี กลุ่มชาติพันธุ์คาซัค เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน วันที่ 24 ม.ค. 2022)
คณะนักวิทยาศาสตร์จีนสามารถเพาะพันธุ์แกะขนนุ่มหางสั้นผ่านการตัดต่อพันธุกรรมเป็นครั้งแรกของโลก

หลิวหมิงจวิน นักวิจัยประจำสถาบันสัตวศาสตร์แห่งซินเจียง เผยว่าความยาวของหางเป็นหนึ่งในลักษณะเฉพาะของสายพันธุ์แกะเลี้ยง

หางยาวนั้นง่ายต่อการเกิดโรคติดเชื้อ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติและลดอัตราการขยายพันธุ์ ส่วนคุณภาพขนของแกะขนนุ่มนั้นลดลงเพราะมลพิษ ทำให้แกะหางยาวต้องถูกตัดหางตอนเป็นลูกแกะ

หลิวชี้ว่าการตัดหางกินแรงมนุษย์และทรัพยากร ลูกแกะเสี่ยงติดเชื้อระหว่างตัดหาง ซึ่งอาจขัดขวางการเจริญเติบโตหรือทำให้ตาย แกะหางสั้นที่ไม่ต้องตัดหางจึงเป็นเป้าหมายของการขยายพันธุ์แกะในโลก

ทั้งนี้ จีนมีแกะเลี้ยงอยู่ 173 ล้านตัว คิดเป็นร้อยละ 13.5 ของแกะเลี้ยงทั้งหมดทั่วโลก

หลี่เมิ่งหัว ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แห่งประเทศจีน ซึ่งเป็นสมาชิกทีมวิจัย กล่าวว่าการค้นพบนี้มอบทรัพยากรเชื้อพันธุกรรมใหม่และการสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์สำหรับเร่งปรับปรุงพันธุกรรมเพิ่มเติมและเลี้ยงแกะสายพันธุ์ใหม่ และส่งเสริมอุตสาหกรรมเชื้อพันธุกรรมในจีน

อนึ่ง งานวิจัยนี้เผยแพร่ผ่านบทความ “การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมของแกะภูเขาปามีร์ แกะทิเบต และแกะลูกผสม ซึ่งมอบข้อมูลเชิงลึกด้านวิวัฒนาการโครโมโซม การแปรผันทางพันธุกรรม และการคิดค้นเชื้อพันธุกรรม” ในวารสารจีโนม รีเสิร์ช (Genome Research) เมื่อวันพฤหัสบดี (11 ส.ค.)

ที่มา สำนักข่าวซินหัว




กำลังโหลดความคิดเห็น