xs
xsm
sm
md
lg

สมบูรณ์สุด! จีนพบฟอสซิลตัวอ่อน ‘ฮาโดรซอร์’ เก่าแก่กว่า 66 ล้านปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


(แฟ้มภาพซินหัว : ฟอสซิลไข่บรรจุซากตัวอ่อนไดโนเสาร์ฮาโดรซอร์ จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติหินอิงเหลียง มณฑลฝูเจี้ยน ทางตะวันออกของจีน)
สำนักข่าวซินหัว สื่อทางการจีน รายงาน (13 พ.ค.) - คณะนักวิทยาศาสตร์เปิดเผยการค้นพบฟอสซิลไข่ 2 ฟอง ซึ่งบรรจุซากตัวอ่อนที่ระบุได้ว่าเป็นฮาโดรซอร์ (hadrosaur) หรือไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ ในเมืองก้านโจว มณฑลเจียงซี ทางตะวันออกของจีน

ปัจจุบันฟอสซิลดังกล่าวซึ่งมีอายุราว 66-72 ล้านปี ถูกเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติหินอิงเหลียงในมณฑลฝูเจี้ยน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน

รายงานระบุว่า ฟอสซิลไข่ไดโนเสาร์สภาพดีนี้มีรูปทรงกลมแบนข้าง และปริมาตรรวมราว 660 มิลลิลิตร โดยซากตัวอ่อนครองพื้นที่ข้างในไข่ราวร้อยละ 40

ผลการวิจัยเกี่ยวกับการค้นพบฟอสซิลข้างต้น ซึ่งเขียนร่วมกันโดยคณะนักวิจัยในจีนและแคนาดา ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบีเอ็มซี อีโคโลจี แอนด์ เอโวลูชัน (BMC Ecology and Evolution)

ทั้งนี้ ทีมวิจัยระบุว่าฟอสซิลไข่ทั้ง 2 ฟองที่ค้นพบในก้านโจว ถือเป็นฟอสซิลตัวอ่อนฮาโดรซอร์ที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับฟอสซิลตัวอ่อนฮาโดรซอร์ที่เคยค้นพบก่อนหน้านี้




กำลังโหลดความคิดเห็น