xs
xsm
sm
md
lg

(ชมภาพ/คลิป) ‘กานซู่’ เดินรถไฟสินค้าบนทางม้าเหล็กจีน-ลาว นำส่งสินค้าถึง ‘กรุงเทพฯ’ ใน 12 วัน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


รถไฟสินค้าเที่ยวแรกของเส้นทาง “ตุนหวง-เวียงจันทน์-กรุงเทพฯ” ประจำทางรถไฟจีน-ลาว บรรทุกผลิตภัณฑ์แร่ใยหิน 530 ตัน ออกเดินทางจากเมืองตุนหวง มณฑลกานซู่ ในวันที่ 21 เม.ย.2022 (แฟ้มภาพ สำนักข่าวซินหัว)
ขบวนรถไฟสินค้าจากถิ่นทะเลทรายตุนหวงในภาคตะวันตกจีน ประเดิมขนแร่ใยหินผ่านทางรถไฟจีน-ลาว ส่งถึงกรุงเทพฯ ใน 12 วัน โดยช่วยประหยัดเวลาได้ถึง 28 วัน เทียบกับการขนส่งทางทะเลในปัจจุบันซึ่งกินเวลานาน 40 วัน ทั้งประหยัดค่าใช้จ่าย

รายงานข่าวสำนักข่าวซินหัว เผยว่า ช่วงเช้าวันพฤหัสบดี (21 เม.ย.) รถไฟสินค้าระหว่างประเทศ เส้นทาง “ตุนหวง-เวียงจันทน์-กรุงเทพฯ” ประจำทางรถไฟจีน-ลาว พร้อมด้วยตู้คอนเทนเนอร์ 20 ตู้ ที่บรรทุกผลิตภัณฑ์แร่ใยหิน 530 ตัน ออกเดินทางจากเมืองตุนหวง มณฑลกานซู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน

รถไฟสินค้าเที่ยวแรกของเส้นทาง “ตุนหวง-เวียงจันทน์-กรุงเทพฯ” ประจำทางรถไฟจีน-ลาว บรรทุกผลิตภัณฑ์แร่ใยหิน 530 ตัน ออกเดินทางจากเมืองตุนหวง มณฑลกานซู่ ในวันที่ 21 เม.ย.2022 (แฟ้มภาพ สำนักข่าวซินหัว)
การเดินรถไฟสินค้าขบวนดังกล่าวนับเป็นครั้งแรกที่กานซู่ส่งออกผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นไปยังต่างประเทศผ่านทางรถไฟจีน-ลาว และยังเป็นรถไฟสินค้าระหว่างประเทศขบวนแรกของจีนที่บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์บรรจุแร่ใยหิน

รถไฟสินค้าขบวนดังกล่าวจะวิ่งออกจากพรมแดนจีนทางด่านโม๋ฮัน มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านนครหลวงเวียงจันทน์ของลาว จากนั้นก็เดินทางโดยทางถนนเข้าสู่กรุงเทพฯ รวมระยะเวลาที่สินค้าถูกส่งตรงจากลานขนส่งสินค้าตุนหวง มาถึงกรุงเทพฯ ราว 12 วัน

รถไฟสินค้าเที่ยวแรกของเส้นทาง “ตุนหวง-เวียงจันทน์-กรุงเทพฯ” ประจำทางรถไฟจีน-ลาว บรรทุกผลิตภัณฑ์แร่ใยหิน 530 ตัน ออกเดินทางจากเมืองตุนหวง มณฑลกานซู่ ในวันที่ 21 เม.ย.2022 (แฟ้มภาพ สำนักข่าวซินหัว)
รถไฟขบวนดังกล่าวดำเนินการร่วมกันโดยสำนักพาณิชย์มณฑลกานซู่ ศุลกากรนครหลานโจว บริษัท การรถไฟแห่งประเทศจีน สาขาหลานโจว จำกัด และหน่วยงานอื่นๆ โดยเส้นทางขนส่งสินค้าตุนหวง-เวียงจันทน์-กรุงเทพฯ ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ประหยัด ปลอดภัย และสะดวก ซึ่งช่วยประหยัดเวลาราว 28 วัน เมื่อเทียบกับการขนส่งทางทะเล ซึ่งใช้เวลาถึง 40 วัน ทั้งยังลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งอย่างมหาศาล

นอกจากนั้น การเปิดทางรถไฟจีน-ลาว ยังช่วยให้กานซู่สามารถปรับปรุงการค้าทั้งนำเข้าและส่งออก และยกระดับความร่วมมือด้านโลจิสติกส์ข้ามพรมแดนกับประเทศสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) อีกด้วย


ปัจจุบัน กานซู่ในฐานะพื้นที่หลักของแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม (Silk Road Economic Belt) ได้เปิดเดินรถไฟสินค้าระหว่างประเทศเชื่อมไปยังประเทศในเอเชียกลาง เอเชียใต้ และยุโรปมากขึ้น

ข่าว ภาพ และคลิปโดยสำนักข่าวซินหัว




กำลังโหลดความคิดเห็น