เมื่อไม่นานนี้ ศุลกากรเมืองหนานหนิง เขตกว่างซีฯ ได้อนุมัติคุณสมบัติบริษัทสิ่งทอที่สามารถส่งออกได้ทันทีเมื่อผ่านการตรวจสอบ ตามความตกลง RCEP บริษัทแรก และนี่ก็เป็นหนึ่งในการรับรองแหล่งผลิตที่สำคัญตามความตกลง RCEP เมื่อผ่านการอนุมัติแล้ว ผู้ประกอบการจะสามารถออกประกาศแหล่งผลิตสินค้าด้วยตนเองสำหรับสินค้าที่ส่งออกหรือผลิตภายใต้ข้อตกลงการค้าพิเศษที่เกี่ยวข้อง
หลิว ฉี่หมิง เจ้าหน้าที่ศุลกากรเมืองกุ้ยหลินอธิบายว่า นอกจากผู้ประกอบการจะได้รับสิทธิพิเศษแล้ว ยังตัดขั้นตอนการลงนามในหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าเข้าและออกจากหน่วยงานวีซ่าออกไป ซึ่งสะดวกสำหรับการขนส่งข้ามพรมแดนและพิธีการทางศุลกากรของสินค้า
เจ้าหน้าที่ของบริษัทแห่งหนึ่งในกว่างซีเผยว่า เมื่อ RCEP มีผลบังคับใช้แล้ว ของใช้ในชีวิตประจำวันที่เป็นสินค้าส่งออกไปยังไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จะได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรในปีแรกร้อยละ 0.6-20
นอกจากนี้ เมืองสวีเหวิน ในมณฑลกว่างตง(กวางตุ้ง) ที่ได้ชื่อว่าเป็น “แหล่งสับปะรดของจีน” หนึ่งในสามของสับปะรดทั่วจีนล้วนมาจากเมืองนี้ เมื่อ RCEP เริ่มมีผลแล้ว เมืองสวีเหวินก็ประสบความสำเร็จ ในการเจรจาการค้ากับประเทศสมาชิกต่างๆ นอกจากนี้ เมืองสวีเหวิน ยังได้พัฒนาระบบบิ๊กดาตาสับปะรดขึ้นมา เพื่อให้ทั้งเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้และพ่อค้าสามารถติดตามแนวโน้มตลาด ความนิยมในการซื้อและความเคลื่อนไหวในแต่ละวันได้แบบเรียลไทม์ จากนั้นจึงใช้การจำหน่ายออนไลน์เพื่อลดการกระจายสินค้า ซึ่งช่วยเพิ่มผลกำไรได้เป็นอย่างดี
ที่มา: China Media Group