xs
xsm
sm
md
lg

พบภาพเขียนสีโบราณแห่งใหม่ ต่อจิกซอว์วิถีชีวิตมนุษย์ยุคแรก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ภาพถ่ายเทือกเขา“เหอหลาน” ในเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2564 –ซินหัว
ไชน่าเดลี – เทือกเขา “เหอหลาน” ดินแดนแห่งภาพเขียนสีโบราณบนหน้าผาของจีน สร้างความอัศจรรย์ใจไม่รู้จบ เมื่อมีการค้นพบภาพเขียนสีแห่งใหม่อีกหลายสิบภาพเมื่อเร็ว ๆ นี้

เทือกเขา“เหอหลาน” ตั้งอยู่ในเมืองสือจุ่ยซาน กั้นพรมแดนระหว่างเขตปกครองตนเองมองโกเลียในกับเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน

นอกจากเลื่องชื่อในด้านความสูงเงื้อนตระหง่านแล้ว ขุนเขาแห่งนี้ยังมีภาพแกะสลักบนหินผาอยู่กระจัดกระจายทั่วไปบนเทือกเขามากมายกว่าหนึ่งหมื่นภาพ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ยุคหินใหม่ ( 8500-2100 ปีก่อนคริสตกาล) ไปจนถึงสมัยราชวงศ์โจว (1045-256 ปีก่อนคริสตกาล) โดยหลายภาพมีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ 3,000-10,000 ปี

ภาพเขียนสีโบราณแห่งใหม่ ที่พบบนเทือกเขา “เหอหลาน” เมืองสือจุ่ยซาน เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนเมื่อเร็ว ๆ นี้ – ไชน่าเดลี
กองงานด้านมรดกวัฒนธรรมในท้องถิ่นระบุว่า จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า ภาพ ที่ค้นพบใหม่เหล่านี้ มีลักษณะวาดเป็นรูปเดี่ยวรวมกว่า 30 ภาพ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 11 ประเภท โดยนักศิลปะแห่งอดีตกาลใช้เทคนิคการระบายสีสลักลงบนผิวหินทรายสีน้ำตาลหม่น 

แม้ว่าภาพเหล่านี้ตากแดดตากฝนมาอย่างยาวนาน แต่ก็ยังคงสภาพสมบูรณ์ชัดเจน ด้วยคมสิ่ว ที่ตอกสลักบอกเล่าเรื่องราวการล่าสัตว์ และมองเห็นภาพของสัตว์ต่าง ๆ เช่น แกะ ม้า และอูฐได้อย่างมีชีวิตชีวา


ภาพใหม่ ที่เพิ่งค้นพบล่าสุด นับเป็นหลักฐานสำคัญ สำหรับการศึกษาสภาพสังคม เศรษฐกิจและวิถีชีวิตของมนุษย์ยุคแรก โดยได้มีการทำแผนที่ของภาพเขียนสีเหล่านี้ด้วยระบบดิจิทัล เพื่อการศึกษาค้นคว้าและอนุรักษ์ไว้ต่อไป


ภาพเขียนสีแผ่นหินบนเทือกเขา “เหอหลาน” ที่พบก่อนหน้า – พีเพิลส์เดลี

ภาพเขียนสีแผ่นหินบนเทือกเขา “เหอหลาน” ที่พบก่อนหน้า – ไชน่าทูเดย์


กำลังโหลดความคิดเห็น