xs
xsm
sm
md
lg

มองโกเลียในพบ ‘อุโมงค์ใต้ดิน’ ยุคก่อนประวัติศาสตร์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


(ภาพจากสำนักบริหารมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจีน : พื้นที่ขุดค้นเมืองหินโบราณแห่งหนึ่งในเขตปกครองตนเองมองโกเลียในทางตอนเหนือของจีน วันที่ 29 ธ.ค. 2020)
สถาบันวัตถุทางวัฒนธรรมและโบราณคดีเขตปกครองตนเองมองโกเลียในทางตอนเหนือของจีน เปิดเผยเมื่อวันอาทิตย์ (6 ก.พ.) เรื่องการค้นพบซากปรักหักพังของอุโมงค์ใต้ดินยุคก่อนประวัติศาสตร์

ซากอุโมงค์ใต้ดินดังกล่าวตั้งอยู่ในเมืองหินโบราณที่อำเภอชิงสุ่ยเหอ ถูกค้นพบพร้อมกับซากปรักหักพังกว่า 20 แห่ง ครอบคลุมประตูเมือง กำแพงเมือง ฐานรากสิ่งปลูกสร้าง สุสาน หยก เครื่องปั้นดินเผา และวัตถุที่ทำจากกระดูก

เมืองหินโบราณแห่งนี้ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1.38 ล้านตารางเมตร เป็นของวัฒนธรรมหลงซาน (Longshan Culture) ซึ่งเป็นอารยธรรมปลายยุคหินใหม่ในพื้นที่ตอนกลางและตอนล่างของแม่น้ำเหลือง

ทางเดินที่ยาวและแคบข้างต้นอยู่ใต้ดินที่ความลึก 5-6 เมตร กว้างประมาณ 1-3 เมตร สูงประมาณ 2 เมตร และมียอดโค้ง โดยเชื่อมระหว่างภายใน ภายนอก และคูดิน 2 แห่งของเมืองโบราณ

คณะนักโบราณคดีค้นพบร่องรอยของการทำเครื่องมือ และพื้นผิวร่องรอยที่ถูกเหยียบย่ำบางส่วนถูกเปลวไฟเผาทำลาย ทำให้เกิดสีแดงสด

อนึ่ง การค้นพบครั้งนี้มีคุณค่าอย่างมากต่อการศึกษาวัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ และต้นกำเนิดอารยธรรมในหลายพื้นที่ทางตอนเหนือของจีน

ข่าว/ภาพโดยสำนักข่าวซินหัว


กำลังโหลดความคิดเห็น