บลูมเบิร์ก,รอยเตอร์ – รัฐบาลปักกิ่งเดินกลยุทธ์ควบกิจการบริษัทผู้ผลิตแร่ธาตุหายาก (rare-earths)รายสำคัญ เข้าเป็นบริษัทเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การควบคุมอุตสาหกรรมแร่ธาตุหายากในโลกขอ งจีนแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีของทางการจีนรายงานว่า บริษัทใหม่ ที่ก่อตั้งมีชื่อว่า“ ไชน่า แรร์-เอิร์ทส์ กรุ๊ป” (China Rare-Earths Group) โดยควบกิจการของบริษัทผู้ผลิตแร่ธาตุหายาก ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น ซึ่งรวมทั้ง
ไชน่า มินเมทัลส์ คอร์ป (China Minmetals Corp) บริษัทเหมืองแร่และโลหะรายใหญ่สุดของจีน,บริษัทอลูมิเนียมแห่งจีน (Aluminum Corp. of China ) และบริษัทก้านโจว แรร์เอิร์ท กรุ๊ป (Ganzhou Rare Earth Group Co.) เพื่อเร่งพัฒนาเหมืองแร่ธาตุหายากทางภาคใต้ของจีน โดยมีคณะกรรมการกำกับตรวจสอบและบริหารทรัพย์สินของรัฐ
เป็นผู้ ถือหุ้นใหญ่
บลูมเบิร์กนิวส์เคยรายงานเมื่อเดือนก.ย.ที่ผ่านมาว่า จีนกำลังวางแผนสร้างบริษัทใหญ่ 2 ราย แบ่งกันรับผิดชอบดูแลการผลิตแร่ธาตุหายาก ในภาคเหนือและภาคใต้ ด้านซีซีทีวีระบุว่า การเคลื่อนไหวดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายก็เพื่อให้มีการจัดสรรแหล่งทรัพยากรได้ดีขึ้น และมีการผลิตแร่ธาตุหายากอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเพื่อยกระดับกระบวนการแปรรูปเชิงลึกของภาคอุตสาหกรรรมนี้
การควบกิจการครั้งนี้มีขึ้น หลังจากรัฐบาลจีนพยายามปรับโครงสร้างในภาคอุตสาหกรรมแร่ธาตุหายาก ด้วยการจัดตั้งบริษัท ซึ่งได้รับใบอนุญาตทัั้งหมด 6 รายในปี2559 โดยรัฐบาลเป็นผู้ควบคุมการผลิตและการแบ่งโควตาการผลิตประจำปีแก่บริษัทต่าง ๆ และตั้งเป้าปริมาณการผลิตในปีนี้จำนวน168,000 ตัน
แร่ธาตุหายากมีทั้งหมด17ชนิด ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญ ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้บริโภค
เช่น สมาร์ตโฟน ,อุตสาหกรรมด้านพลังงาน และด้านการทหาร เช่นเครื่องบินขับไล่ โดยจีนมีแร่ธาตุหายากแหล่งใหญ่และเป็นชาติผู้ส่งออกมากอันดับหนึ่งของโลก มันจึงกลายเป็นอาวุธสำคัญของจีน ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนในคราวปี2562 ที่จีนมีการพิจารณา ที่จะควบคุมการส่งออก เพื่อเป็นมาตรการหนึ่งในการทำสงครามทางการค้ากับสหรัฐฯ ที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าแร่ธาตุหายากจากจีนมากถึง 80% ของการนำเข้าทั้งหมด