กว่างโจว, 5 ธ.ค. (ซินหัว) — หลังจากวิจัย ออกแบบ และก่อสร้างนาน 3 ปี เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. โรงไฟฟ้าชีวมวลนำร่องเทคโนโลยีพลังงานหลายระบบ (Polygeneration) ซึ่งมีเตาผลิตก๊าซขนาด 6 เมกะวัตต์ และกำลังผลิตติดตั้ง 1 เมกะวัตต์ ในจังหวัดนครพนมของไทย ก็ได้เชื่อมต่อกับระบบสายส่งไฟฟ้าและเริ่มส่งไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แล้ว โดยสามารถจ่ายได้ทั้งพลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า และพลังงานเชื้อเพลิงในเวลาเดียวกัน
โรงไฟฟ้าชุมชนแห่งนี้นี้ก่อสร้างโดยสถาบันการแปรสภาพพลังงานกว่างโจว สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (GIEC) ร่วมกับพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การสนับสนุนของโครงการวิจัยและพัฒนาที่สำคัญแห่งชาติ (NKP) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน ซึ่งมีส่วนส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและความเป็นกลางทางคาร์บอนของท้องถิ่น และสอดคล้องกับโครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางสีเขียว
พลังงานชีวมวลคือพลังงานที่ผลิตได้จากการนำวัสดุชีวมวลที่ไม่ใช่ฟอสซิล เช่น ขยะมูลฝอยที่เผาไหม้ได้มาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าผ่านกระบวนการแปรรูปต่างๆ ซึ่งช่วยลดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
นักวิจัยจากกลุ่มวิจัยกระบวนการทางเคมีความร้อนของสถาบันฯ ได้พัฒนาเทคโนโลยีหลักและชุดอุปกรณ์ครบครันสำหรับการผลิตพลังงานแบบหลายระบบจากเชื้อเพลิงชีวมวล โดยเอาชนะความท้าทายทางเทคนิคหลายประการ เช่น เพิ่มประสิทธิภาพในการแปรสภาพเป็นแก๊ส และการลดปริมาณน้ำมันดินที่ปะปนมากับก๊าซชีวมวล
โครงการนี้นอกจากจะส่งผลดีในด้านการปรับตัวเพื่อใช้ใช้งานเทคโนโลยีและอุปกรณ์จีนแล้ว ยังช่วยส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนของจีน ตลอดจนผลักดันการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในหมู่ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย