xs
xsm
sm
md
lg

ริชาร์ด หลิว ผู้ก่อตั้ง JD.com ทิ้งเก้าอี้บริหารฯ ลุยกลยุทธ์ระยะยาว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ในแถลงการณ์ หลิว ซึ่งก่อตั้งบริษัท JD.com ในปี 1998 จะใช้เวลามากขึ้นในการให้คำปรึกษากับผู้บริหารรุ่นใหม่ และสนับสนุนการพัฒนากิจการในพื้นที่ชนบท
รอยเตอร์ส รายงาน (7 ส.ค.) คำแถลงของ JD.com เจดีดอทคอม ยักษ์ใหญ่อี-คอมเมิร์ซจีน เมื่อวันจันทร์ว่าผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ริชาร์ด หลิว จะยุติบทบาทการบริหารของตนไปที่กลยุทธ์ระยะยาวของบริษัท

รายงานข่าวกล่าวว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ก่อตั้งบริษัทเทคโนโลยีของจีนอีกหลายรายค่อย ๆ ผละทิ้งตำแหน่งงานระดับสูง เช่น ที่อาลีบาบา และ ByteDance แม้ว่าหลิววัย 48 ปีจะยังรักษาตำแหน่งซีอีโอและที่นั่งในบอร์ดบริหาร

ซูเล่ย ซึ่งปัจจุบันเป็น CEO ของแผนกที่ใหญ่ที่สุดของ JD ซึ่งมีบทบาทสาธารณะที่โดดเด่นมากขึ้นในบริษัทในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จะขึ้นมารับหน้าที่แทน

เจดีดอทคอมไม่ได้ระบุเหตุผลที่เฉพาะเจาะจงของการเปลี่ยนแปลงในด้านการบริหารครั้งนี้ เพียงกล่าวในแถลงการณ์ หลิว ซึ่งก่อตั้งบริษัท JD.com ในปี 1998 จะใช้เวลามากขึ้นในการให้คำปรึกษากับผู้บริหารรุ่นใหม่ และสนับสนุนการพัฒนากิจการในพื้นที่ชนบท

“การมองไปสู่อนาคต การออกแบบเชิงกลยุทธ์ระยะยาวที่ถูกต้อง การเติบโตและการพัฒนาผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ และการพัฒนาที่แข็งแกร่งและมีการประสานงานกันของหน่วยธุรกิจต่าง ๆ เพื่อเป็นแรงผลักดันสำหรับ JD ในการทำสิ่งที่ยากที่สุดและท้าทายที่สุด ทั้งเป็นสิ่งที่ถูกต้องและมีค่าที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมนี้” หลิวกล่าวในแถลงการณ์

ก่อนหน้านี้ นักลงทุนบางรายได้แสดงความกังวลก่อนหน้านี้ว่า การควบคุมอย่างเข้มงวดของหลิว ซึ่งถึงสัดส่วนหุ้นมากถึง 80% ประกอบกับการขาดผู้สืบทอดตำแหน่งที่ชัดเจน ทำให้เกิดความเสี่ยงด้านการจัดการ

ขณะที่การคุมบริษัทของเขากลายเป็นจุดสนใจหลังจากที่เขาถูกจับกุมในเมืองมินนิอาโปลิสของสหรัฐฯ ในปี 2560 โดยถูกกล่าวหาในคดีข่มขืน ซึ่งเขาปฏิเสธ อย่างไรก็ตาม หลิวไม่ได้ถูกตั้งข้อหา แต่เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบกับองค์กรบนโซเชียลมีเดียของจีน

นักวิเคราะห์ของ Citi กล่าวว่า การเลื่อนตำแหน่งของซู สะท้อนให้เห็นถึงวิธีที่เขาได้พิสูจน์ความเป็นผู้นำและทักษะการจัดการในการเป็นผู้นำในการดำเนินงานของ JD Retail และความเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากหลิว

“เราเชื่อว่าหาก ซู พิสูจน์ความสามารถในการบริหารจัดการของเขาได้ เราจะไม่แปลกใจหากเขาได้รับตำแหน่งเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากริชาร์ด หลิว หาก หลิว ตัดสินใจลาออกในวันหนึ่ง” นักวิเคราะห์ของ Citi กล่าว

ทั้งนี้ หลิวเป็นผู้บริหารกิจการยักษ์ไฮเทคอีกคน ที่ตัดสินใจเปลี่ยนบทบาทในองค์กร จังหวะเหมาะกับที่ทางการใช้มาตรการเข้มในการกำกับดูแลกิจการต่าง ๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมเทคโนโลยีไม่ลดละ บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนหลายแห่งถูกทางการตรวจสอบเพื่อป้องกันการผูกขาดและออกกฎที่เข้มงวดขึ้นครอบคลุมกว้างขวาง เพื่อป้องกันเป็นการขยายองค์กร “อย่างไร้ระเบียบ” จนควบคุมไม่ได้


กำลังโหลดความคิดเห็น