xs
xsm
sm
md
lg

จีนพัฒนาระบบสังเกตการณ์เหตุแผ่นดินไหว ช่วยไขปริศนาเปลือกโลกแบบรวมศูนย์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


อาคารเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมณฑลเสฉซนเมื่อปี 2562 (แฟ้มภาพเอเอฟพี)
สำนักข่าวซินหัว (19 ส.ค.) ทีมนักวิจัยจากสถาบันจีนมากกว่า 10 แห่ง ร่วมกันพัฒนาระบบตรวจสอบการสั่นสะเทือนและการรบกวนในชั้นธรณีภาค (lithosphere) ชั้นบรรยากาศ (atmosphere) และชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere) ที่เรียกว่าระบบเอ็มวีพี-แอลเอไอ (MVP-LAI) เพื่อช่วยคาดการณ์เหตุแผ่นดินไหว

นายเฉิน เจี้ยหง ศาสตราจารย์จากสถาบันธรณีฟิสิกส์และธรณีศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรณีศาสตร์แห่งประเทศจีน (อู่ฮั่น) สมาชิกของทีมวิจัยกล่าวว่า ระบบดังกล่าวสามารถวัดปริมาณทางกายภาพ (Physical quantities) ได้เกือบ 20 ประเภทพร้อมๆ กัน อาทิ การสั่นสะเทือนของพื้นดิน ความกดอากาศ และความเข้มข้นของอิเล็กตรอนในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ ในสถานีสังเกตการณ์เพียงแห่งเดียว

รายงานระบุว่า ระบบเอ็มวีพี-แอลเอไอ มีอุปกรณ์สังเกตการณ์ 14 ชนิด

นายเฉินฯ ระบุว่า สถานีสังเกตการณ์ดังกล่าว ตั้งอยู่ในเขตชานเมืองของเมืองเล่อซาน มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งมีความเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยาอยู่โดยรอบ อันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาธรณีฟิสิกส์ แผ่นดินไหว และภัยพิบัติทางธรณีวิทยา

อนึ่ง คาดว่าระบบนี้จะนำมาซึ่งเงื่อนไขที่สำคัญจำเป็นสำหรับการศึกษาปัญหาทางวิทยาศาสตร์ระดับสากล อาทิ กลไกของการเปลี่ยนแปลงเชิงเวลาและพื้นที่ของสนามแม่เหล็กโลก และกลไกกิจกรรมของเปลือกโลกก่อนเกิดแผ่นดินไหว




กำลังโหลดความคิดเห็น