xs
xsm
sm
md
lg

เฉวียนโจว "ศูนย์กลางการค้าทางทะเลของจีน" ขึ้นทะเบียนมรดกโลก ยูเนสโก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เจดีย์แฝดในเฉวียนโจว เป็นเจดีย์คู่ที่สูงที่สุดในบรรดาเจดีย์หินของจีน (ภาพโกลบอลไทม์ส)
โกลบอลไทม์ส รายงาน 26 ก.ค. เฉวียนโจว "ศูนย์กลางการค้าทางทะเลของจีน" ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ยูเนสโก ล่าสุด จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกแห่งองค์การยูเนสโก ครั้งที่ 44 ที่นครฝูโจว เมืองเอกของมณฑลฝูเจี้ยนทางตะวันออกของจีน

รายงานข่าวกล่าวว่า สถานที่ประวัติศาสตร์ทั้งหมด 22 แห่งในเฉวียนโจว "ศูนย์กลางการค้าทางทะเลของจีนในราชวงศ์ซ่ง (960-1279) และราชวงศ์หยวน (1271-1368)" และเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางสายไหมทางทะเล ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก องค์กรยูเนสโก สมัยที่ 44

ปัจจุบันจีนมีแหล่งมรดกโลกขององค์การยูเนสโก 56 แห่ง และเฉวียนโจว เมืองมรดกโลกล่าสุดของจีน ตั้งอยู่ทางใต้ของมณฑลฝูเจี้ยน เป็นท่าเรือการค้าแห่งแรกของจีนที่เปิดสู่โลกภายนอก เป็นศูนย์กลางการค้าที่เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก มีประวัติการพัฒนาทางเศรษฐกิจอันยาวนาน สืบย้อนไปถึงราชวงศ์โจว (1046 ก่อน ค.ศ. -221 ก่อนค.ศ.) และ ราชวงศ์ฉิน (221 ก่อน ค.ศ. -206 ก่อนค.ศ.) ต่อมาได้กลายเป็นหนึ่งในสี่ท่าเรือหลักของราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) และในที่สุดก็กลายเป็นท่าเรือการค้าต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนในช่วงปลายราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ.960-1279) และต้นราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1279 -1368)

ในปี ค.ศ. 1278 มีข้อมูลประวัติศาสตร์ระบุว่า มาร์โค โปโล นักสำรวจและพ่อค้าชาวนครเวนิส อิตาลี ผู้นำเครื่องลายคราม ผ้าไหม และชาจีนอันวิจิตรงดงามไปยังยุโรป ก็ได้เคยเดินทางมาที่แห่งนี้

บันทึกประวัติศาสตร์ระบุว่า ในช่วงกลางของราชวงศ์หยวน ท่าเรือเฉวียนโจวมีความเจริญก้าวหน้าเทียบได้กับท่าเรืออเล็กซานเดรียของอียิปต์ประวัติศาสตร์อันรุ่งโรจน์ ภูมิศาสตร์ที่เป็นเอกลักษณ์ ระบบวางผังเมือง และวัฒนธรรมทางศาสนาที่หลากหลาย ล้วนสะท้อนและยังคงดำรงอยู่ในสถานที่ทั้ง 22 แห่ง ของเฉวียนโจว ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนวัฒนธรรมที่หยั่งรากลึกเป็นเวลาหลายศตวรรษ

ในเฉวียนโจวนี้ ยังมีมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ระดับโลก ได้แก่ ดนตรีพื้นบ้านหนานหยิน การแสดงหุ่นกระบอกเฉวียนโจว พิธีหวังฉวนและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องมีรากฐานมาจากประเพณีการสักการะบูชาเทพที่คอยปกป้องคุ้มครองผู้คนจากภัยพิบัติ การประกอบพิธีดังกล่าวเป็นการหวนระลึกรู้คุณทางประวัติศาสตร์ของบรรพบุรุษที่ท่องไปในมหาสมุทร สัมพันธภาพทางสังคมเมื่อเผชิญกับภัยพิบัติ เช่น เรืออับปาง และเชิดชูความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างมนุษย์กับมหาสมุทร ที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมา


กำลังโหลดความคิดเห็น