xs
xsm
sm
md
lg

ชมภาพดาวอังคารชุดใหม่ฝีมือยานสำรวจพื้นผิวดาวอังคาร “จู้หรง”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


(แฟ้มภาพซินหัว : จู้หรง ยานสำรวจพื้นผิวดาวอังคารลำแรกของจีน ถ่ายภาพเซลฟีกับแพลตฟอร์มลงจอดบนดาวอังคาร ภาพจากองค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน วันที่ 11 มิ.ย. 2021)
กลุ่มสื่อจีน รายงาน (11 ก.ค.) “จู้หรง” ยานสำรวจพื้นผิวดาวอังคารของจีน จัดส่งภาพถ่ายชุดใหม่เกี่ยวกับหิน ทราย และฝุ่นบนดาวแดงกลับสู่โลก

ศูนย์สำรวจดวงจันทร์และโครงการอวกาศ สังกัดองค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน เปิดเผยว่า ณ วันพฤหัสบดี (8 ก.ค.) จู้หรงทำงานบนพื้นผิวดาวอังคารนาน 54 วันดาวอังคาร (มีระยะเวลานานกว่าหนึ่งวันบนโลกราว 40 นาที) และเดินทางมากกว่า 300 เมตร

จู้หรงเดินทางสู่ทิศใต้เพื่อบันทึกภาพและดำเนินการสำรวจทางภูมิศาสตร์ โดยเครื่องตรวจจับองค์ประกอบบนพื้นผิวและกล้องบันทึกภาพมัลติสเปกตรัม จะทำการตรวจจับแบบเฉพาะจุด หากพบเจอลักษณะพื้นผิวที่มีความโดดเด่นอย่างก้อนหินและเนินทราย

ทั้งนี้ จู้หรง วิ่งลงจากแพลตฟอร์มลงจอดและเริ่มสำรวจพื้นผิวดาวอังคารเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2564 ทำให้จีนเป็นประเทศที่ 2 ต่อจากสหรัฐฯ ที่สามารถนำยานอวกาศลงจอดและควบคุมยานสำรวจพื้นผิวบนดาวอังคารได้สำเร็จ

(แฟ้มภาพซินหัว : ภาพถ่ายคุณลักษณะพื้นผิวของก้อนหินบนดาวอังคารและร่องรอยการเดินทางของจู้หรง ยานสำรวจพื้นผิวดาวอังคารลำแรกของจีน ภาพจากองค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน)

(แฟ้มภาพซินหัว : ภาพถ่ายพื้นผิวก้อนหินบนดาวอังคารที่บางส่วนถูกปกคลุมด้วยฝุ่น ภาพจากองค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน)

(แฟ้มภาพซินหัว : ภาพถ่ายเนินทรายบนดาวอังคาร ซึ่งมีความกว้าง 8 เมตร ความยาวราว 40 เมตร และความสูง 0.6 เมตร วันที่ 4 ก.ค. 2021 ภาพจากองค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน)

(แฟ้มภาพซินหัว : ภาพถ่ายกลุ่มก้อนหินหลายรูปทรง (ซ้าย) ส่วนห่อหุ้มด้านหลังและร่มชะลอความเร็วของยานลงจอด (มุมขวาบน) ภาพจากองค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน)

(แฟ้มภาพซินหัว : ภาพถ่ายเนินทรายแดงบนดาวอังคาร วันที่ 26 มิ.ย. 2021 ภาพจากองค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน)



กำลังโหลดความคิดเห็น