จีนชนะการต่อสู้กับความยากจนในปี 2563 อันเป็นชัยชนะในการขจัดปัดเป่า "เงาแห่งความทุกข์ยาก" ที่ปกคลุมประเทศจีนตลอดประวัติศาสตร์นับร้อย ๆ ปี
การบรรเทาความยากจนของจีนถือเป็นตำราเรียนสำหรับทั่วโลก ด้วยจีนก้าวไปไกลกว่าที่ทฤษฎีของตำราคลาสสิก สร้างแนวทางปฏิบัติใหม่ มีการปฏิบัติด้วยหลักเศรษฐศาสตร์การเมือง จุดมุ่งหมายเพื่อการบรรเทาความยากจนของจีน
ในรายงานเอกสารชื่อ "การบรรเทาความยากจนของจีน "Chinese Poverty Alleviation Studies." ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงได้ชี้นำการต่อสู้กับความยากจนของจีน ด้วยวาทกรรมที่สำคัญของเขาเกี่ยวกับการบรรเทาความยากจน ว่าการแก้ปัญหาความยากจนของจีนเป็นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมือง ว่าด้วยการกระจายความช่วยเหลือ ให้การดูแลที่ทั้งลดความยากจน และเพิ่มการพัฒนา
หลักการสำคัญคือการรักษาเป้าหมายของความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของชาติ และอาศัยความแม่นยำ หมายถึงการสร้าง "ตลาดที่เกื้อหนุนคนยากจน" ซึ่งรัฐบาล - ตลาด - สังคม ต่างทำงานร่วมกัน เพื่อปลดปล่อยผลผลิตของคนยากจน และทำให้พวกเขามีส่วนในการเติบโต
ผลลัพธ์คือการพัฒนาที่สมดุลและเป็นธรรมมากขึ้น และเปลี่ยนจากสมาชิกของสังคมด้อยศักยภาพไปสู่ประสิทธิผล
จีนขยายหลักการ "ตลาดคนจน" อย่างสร้างสรรค์ ด้วยมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมต่อให้ถึงผู้อยู่ปลายทาง “หนึ่งไมล์สุดท้าย” ของความยากจนอย่างแท้จริง ใช้ "มือที่มองเห็น" ของรัฐบาลที่มีความสามารถทำงาน ไม่ใช่ "มือที่นิ่งเฉย" แต่เป็น "มือที่สำคัญ" ในการแก้ปัญหายากจนอย่างแท้จริง
- สมดุลระหว่างความเป็นธรรมและความมีประสิทธิภาพโดยตระหนักถึงความยุติธรรมทางสังคม
- สมดุลระหว่างการพัฒนาและความมั่นคงและการแก้ไขปัญหา
- สมดุลระหว่างความท้าทายกับเค้กก้อนเก่าแก่กว่าศตวรรษ กับการอบเค้กก้อนใหม่ ที่ใหญ่และแบ่งปันอย่างเป็นธรรม
ทฤษฎีและนโยบายการบรรเทาความยากจนของตนเอง มาจากทฤษฎีและการปฏิบัติและมีพื้นฐานมาจากเงื่อนไขในชาติของตนเอง ซึ่งอาจสามารถให้มุมมองใหม่ ๆ และอ้างอิงเป็นประโยชน์สำหรับประเทศและภูมิภาคอื่น ๆ ในการต่อสู้กับความยากจน
ในความเป็นจริงนักวิชาการจากต่างประเทศหลายคนพยายามที่จะถอด "รหัส" ของการบรรเทาความยากจนในจีน โดยมุมมองของวิชาการอาจจะสรุปได้เป็น "5Ds": คือ ความเป็นผู้นำที่มุ่งมั่น (Determined Leadership), พิมพ์เขียวที่แจกแจงรายละเอียด (Detailed Blueprint), มุ่งเน้นการพัฒนา (Development Oriented), การกำกับดูแลที่อิงข้อมูล (Data-based Governance) และการกระจายอำนาจ (Decentralized Delivery)
การต่อสู้กับความยากจนเป็นความท้าทายระดับโลก การดำเนินการทางทฤษฎีแก้จนของจีน ยังคงไม่สิ้นสุด ยังต้องการการศึกษา ใช้ความคิดสร้างสรรค์และวิชาการมากขึ้น อีกทั้งยังต้องการแลกเปลี่ยนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่สมดุลและครอบคลุมมากขึ้น ด้วยความเป็นผู้นำที่มุ่งมั่นว่า "บนหนทางสู่การบรรเทาความยากจน ไม่ควรมีใครถูกทิ้งไว้"
"อดีตปัจจุบันของหมู่บ้านอาบูโลฮา"
หมู่บ้านอาบูโลฮา เป็นหมู่บ้านที่ล้อมรอบด้วยภูเขาและหน้าผาตั้งอยู่ในหุบเขาแม่น้ำห่างจากเขตปู้ทัว ในมณฑลเสฉวนทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนประมาณ 60 กิโลเมตร
"อาบูโลฮา" เป็นชื่อในภาษาพื้นเมืองชนเผ่าอี๋ หมายถึงหมู่บ้านแห่งนี้ครั้งหนึ่งเคยเป็น "สถานที่นอกเส้นทาง" เป็นพื้นที่ตัดขาดโลกภายนอก เป็น ศูนย์บำบัดแยกเฉพาะสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อนในท้องถิ่น ในช่วงทศวรรษ 1960 หลายปีหลังจากที่โรคนี้ถูกกำจัดหมดสิ้น จึงได้เริ่มพัฒนาหมู่บ้านในปี 2550
หมู่บ้านนี้ มีประชากรเพียง 253 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เผ่าอี๋ ต้องทนทุกข์ทรมานมานานจากความยากจนและโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมที่ไม่ดีเนื่องจากภูมิประเทศเป็นภูเขาที่ขรุขระ
ถนนลูกรังสายเดียวที่ทอดยาวไปตามหน้าผานั้นอยู่ในสภาพทุรกันดาร ยังมีความสูงชันของเส้นทางอันเป็นอุปสรรคในการพัฒนา แม้จากหมู่บ้านไปยังตัวเมืองอู่อี๋ ที่ใกล้ที่สุด ยังต้องปีนหน้าผาสูงชันที่มีความสูงเกือบ 2,000 เมตร และชันมากกว่า 70 องศาไปตามเส้นทางที่แคบเพียง 1 เมตร
ชาวบ้านต้องใช้เวลาสี่ชั่วโมงจึงจะออกหมู่บ้านอาบูโลฮาไปภายนอกได้ ดังนั้นชาวบ้านหลายคนจึงไม่เคยเดินออกจากภูเขาเลยในรอบ 58 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ก่อตั้งหมู่บ้านฯ
ในอดีตเมื่อชาวบ้านออกไปขายแกะหารายได้เลี้ยงครอบครัว ต้องมัดแกะไว้ที่เอวและใช้มือและเท้าลากข้ามแม่น้ำด้วยเชือก นี่เป็นภาพชีวิตชาวบ้านอย่างแท้จริงเมื่อไม่กี่ปีก่อน
หมู่บ้านนี้ เคยถูกระบุว่าเป็น #หมู่บ้านที่ยากจนมาก ในปี 2556
การเปลี่ยนแปลงพัฒนาเริ่มต้นด้วยการสร้างถนนที่นำไปสู่หมู่บ้าน ในเวลานั้นชาวบ้านหลายคนไม่เห็นด้วยกับการสร้างถนน
"เป็นไปได้ไหมที่จะสร้างทางออกบนหน้าผามันเสียแรงเปล่า!" "ปลูกมันฝรั่งและเก็บผลผลิตดีกว่า" ชาวบ้านหลายคนคิด
ดังนั้น รัฐบาลท้องถิ่นจึงส่งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำ และรัฐยังประสานการขนส่งเฮลิคอปเตอร์สำหรับการก่อสร้าง โน้มน้าวให้ชาวบ้าน มองประโยชน์ในระยะยาว จนครัวเรือนยากจนเกือบทั้งหมดในหมู่บ้านเข้าร่วมทำงานสร้างถนน จากที่เริ่มต้นมีไม่กี่ครัวเรือน
ถนนยาว 3.8 กิโลเมตรไปยังหมู่บ้านถูกตัดผ่านหน้าผาสามแห่ง และมีการสร้างสะพานเหล็กข้ามหุบเขา ทีมงานก่อสร้างทีมผู้เชี่ยวชาญและคนทั้งหมู่บ้านทำงานร่วมกัน จนในที่สุดก็เสร็จสมบูรณ์ในเวลากว่าหนึ่งปีต่อมา
ถนนคอนกรีตมาตรฐาน 3.8 กิโลเมตร เลาะไปตามหน้าผาและหุบเหว โดยไม่มีช่วงไหนเลยที่เป็นถนนลาดยาง
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2563 ชาวบ้านย้ายออกจากกระท่อมมุงหลังคาจาก ไปยังบ้านคอนกรีตถาวร ซึ่งรัฐได้จัดเตรียมเพื่อเป็นถิ่นฐานบรรเทาความยากจน
แรงผลักดันจากความพยายามต่อต้านความยากจนทั่วประเทศ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นในหมู่บ้านฯ ภายในไม่กี่ปี เด็ก ๆ เริ่มได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษาเมื่อโรงเรียนแห่งแรกของหมู่บ้านก่อตั้งขึ้นในปี 2548
ชาวบ้านสามารถเข้าถึงน้ำดื่มและไฟฟ้าในปี 2550 และ 2553 ตามลำดับ
ภายในปี 2562 หมู่บ้านได้รับการให้บริการเครือข่าย 4G เต็มรูปแบบ
ถนนสายใหม่ได้เปิดประตูหมู่บ้านอาบูโลฮาสู่โลกภายนอก และยังช่วยให้ชาวบ้านมีความกล้าคิด กล้าต่อสู้กับความยากจน ด้วยการพัฒนาฟาร์มเพาะเลี้ยงพิเศษ หมู่บ้านอาบูโลฮา ประสบความสำเร็จในการบรรเทาความยากจนและชาวบ้านมีชีวิตที่สะดวกสบาย
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 รัฐบาลมณฑลเสฉวนประกาศว่า 7 เขตในมณฑล อาทิ เหลียงซาน และปู้ถัว ได้หลุดจากรายชื่อพื้นที่ยากจนอย่างเป็นทางการ พื้นที่ในบัญชีความยากจนทั้งหมดในมณฑลเสฉวน ต่างประสบความสำเร็จในการบรรเทาความยากจนแล้ว