xs
xsm
sm
md
lg

สว.โปรปักกิ่งยัน ‘การปฏิรูปฮ่องกง’ ช่วยป้องกัน “เผด็จการเสียงข้างมาก”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


นางแคร์รี่ แลม ผู้บริหารสูงสุดเขตปกครองพิเศษฮ่อกง กำลังพูดคุยกับผู้แทนจากกองทัพจีนก่อนเปิดเริ่มพิธีการประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งจีน (NPC) ณ มหาศาลาประชาชนจีน ในกรุงปักกิ่ง ภาพเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2021 (ภาพรอยเตอร์ส)
พญามังกรเปิดม่านประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) หรือสภานิติบัญญัติแล้วในกรุงปักกิ่งเมื่อวันศุกร์(5 มี.ค.) วาระการถกเถียงที่วงการเมืองโลกจับตาติดตามมากสุดวาระหนึ่งคือ ได้แก่ การปฏิรูปการเลือกตั้งฮ่องกง ซึ่งเป็นเขตบริการพิเศษของจีนภายใต้ “หนึ่งประเทศ สองระบบ”

สำนักข่าวรอยเตอร์สอ้างอิงการให้สัมภาษณ์ของวุฒิสมาชิกจากฮ่องกง มาร์ติน เหลียว ซึ่งถูกจัดอยู่ในค่ายโปรปักกิ่ง เผยว่า ขณะนี้สภาผู้แทนประชาชนจีนกำลังถกเถียงการยกเครื่องระบบการเลือกตั้งในฮ่องกงเพื่อประกันว่ากลุ่มนักการเมืองที่ภักดีกับปักกิ่งจะมีเสียงมากพอที่จะชี้ขาดกิจการฮ่องกง โดยชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้เป็นเงื่อนไขที่จำเป็น

“ประชาชนในฮ่องกงยังไม่มีวุฒิภาวะทางการเมือง” คำกล่าวของเหลียว ผู้ซึ่งเป็นทั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติในจีนและในฮ่องกง ระหว่างให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เมื่อวันเสาร์(6 มี.ค.)

เหลียวเผยว่า กลุ่มผู้แทนประชาชนจีนคิดว่า ‘หลักหนึ่งคนหนึ่งเสียง’ (one man one vote) ดีที่สุด ร่างข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วยการขยายคณะกรรมาธิการเลือกตั้งของเมือง จาก 1,200 คน เพิ่มเป็น 1,500 คน และเพิ่มที่นั่งในสภากฎนิติบัญญัติ จาก 70 เป็น 90 ที่นั่ง ซึ่งจะทำให้ระบบการเลือกตั้งฮ่องกง “เป็นผู้แทนประชาชนมากขึ้น” และลดความเสี่ยงในการเกิด “เผด็จการเสียงข้างมาก” เหลียวกล่าว

ฝ่ายกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์ชี้ว่า ผู้นำจีนจะผลักดันให้นักการเมืองที่สนับสนุนนโยบายจีนแผ่นดินใหญ่ หรือที่เรียกว่ากลุ่ม ‘pro-establishment’ เข้าไปนั่งในสภาทั้งสองดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะได้คุมเสียงมากพอสำหรับตัดสินนโยบายสำคัญอย่างเช่น การเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง

“โดยจะมีการเพิ่มจำนวนสมาชิกหรือที่นั่งใหม่ๆจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ อาทิ เทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที), โทรคมนาคม และภาคการดูแลรักษาสุขภาพ” จากคำกล่าวของนาง Maria Tam นักการเมืองอาวุโสจากฮ่องกงผู้ทำงานกับสภาผู้แทนประชาชน (หรือรัฐสภาจีน) ในกิจการที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญน้อยของฮ่องกง

นอกจากนี้จะมีการเพิ่มเจ้าหน้าที่ที่จะช่วยให้ฮ่องกงใช้โอกาสจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจจีนระยะเวลาห้าปีจีนในการผลักดันการพัฒนาเขตเศรษฐกิจรอบอ่าว “เกรทเตอร์เบย์แอเรีย” (Greater Bay Area)

ทั้งนี้ “เกรทเตอร์เบย์แอเรีย” เป็นความริเริ่มของรัฐบาลจีนเพื่อบูรณาการเขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเก๊า เข้ากับ 9 เมืองบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไข่มุก (จูเจียง) โดยมีเป้าหมายพัฒนาให้เป็น “ซิลิคอนวัลเลย์แห่งโลกตะวันออก”

Tam ปัดกระแสวิตกกังวลเกี่ยวกับการปฏิรูปที่มีเป้าหมายดัน “กลุ่มผู้รักชาติเข้ามาปกครองฮ่องกงอย่างเต็มไม้เต็มมือมากขึ้น”


กำลังโหลดความคิดเห็น