กลุ่มสื่อจีนรายงาน (26 ก.พ.) - สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ได้กล่าวในที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ว่า จีนเพิ่งจะสามารถเอาชนะความยากจนข้นแค้นอย่างที่สุดได้ ตามเป้าหมายที่ถูกวางเอาไว้ตั้งแต่ ค.ศ.2013 ว่าความยากจนอย่างที่สุดของจีนจะต้องหมดไปภายใน ค.ศ. 2020 นับเป็นความสำเร็จที่ไม่เคยมีมาก่อน
“การกำจัดความยากจนอย่างที่สุด คือเกียรติสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์ และประชาชน เป็นวาระของมวลมนุษยชาติ ที่สมควรได้รับการถูกบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ ” สีกล่าว
ตามแผนการ 8 ปี เพื่อกำจัดความยากจน นโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์จีนส่งเจ้าหน้าที่ฯ เข้าไปติดตามแก้ปัญหาใกล้ชิด ส่งเสริมให้ประชากรที่อยู่ในเกณฑ์ยากจนอย่างที่สุดกว่า 98.99 ล้านคน ในพื้นที่ 832 เทศมณฑล สามารถก้าวพ้นจากเกณฑ์ความยากจนที่สุดได้ ยกระดับรายได้ ขึ้นมาเป็น 4,000 หยวน (ประมาณ 18,700 บาท) ต่อปี พ้นเกณฑ์ความยากจนที่สุด
ในที่ประชุมฯ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยังได้มอบเหรียญเกียรติบัตรและโล่ให้กับบุคคลต้นแบบในการต่อสู้เพื่อบรรเทาความยากจนของจีน 20 คน ได้แก่
(*อ่าน - จีนยกย่อง 20 บุคคลต้นแบบ ... "คนพ้นจน" ตอน 1)
(*อ่าน - จีนยกย่อง 20 บุคคลต้นแบบ ... "คนพ้นจน" ตอน 2)
11. สวนป่าไซ่ห่านป้า ในเฉิงเต๋อ มณฑลเหอเป่ยทางเหนือของจีน
ตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา สามชั่วอายุคนงานในสวนป่า ได้สร้างป่าปลูก 7.47 ล้านเฮกตาร์ (ราว 46.68ไร่) จากกึ่งทะเลทราย ปัจจุบันอุทยานมีแมลงมากกว่า 1,000 ชนิด พืชกว่า 700 ชนิด สัตว์ 256 ชนิดและนก 192 ชนิด
ในปี 2560 โครงการปลูกป่าในไซ่ห่านป้า ได้รับรางวัล Champions of the Earth ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
12. หมู่บ้านต้าหวัน ในเขตจินไจ้ มณฑลอานฮุยทางตะวันออกของจีน
หมู่บ้านนี้เป็นหนึ่งใน 71 หมู่บ้านที่ยากจนของเขต โดยมี 242 จาก 1,032 ครัวเรือนได้รับการลงทะเบียนเพื่อรับมาตรการบรรเทาความยากจนในปี 2557
หมู่บ้านได้พัฒนาอุตสาหกรรมชาและการเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้าน ในปี 2561 ครัวเรือนเหล่านั้นก็หลุดพ้นจากทะเบียนความยากจนของมณฑล เนื่องจากมีรายได้ต่อหัวถึง 14,000 หยวน
13. คณะกรรมการพรรคของเขตการปกครองเซี่ยตัง ในเขตซ่าวหนิง จังหวัดฝูเจี้ยนทางตะวันออกของจีน
ในช่วง 40 ปีก่อน รายได้ต่อหัวของเมืองเซี่ยตั่ง ต่ำกว่า 200 หยวนและสภาพความเป็นอยู่ลำบากมาก แต่ในปี 2563 รายได้ต่อหัวของชาวบ้านในท้องถิ่นสูงถึง 17,289 หยวน ซึ่งต้องขอบคุณสวนชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและภาคส่วนอื่น ๆ
14. เมืองเยว่ผิง ในรุ่ยจิน มณฑลเจียงซีทางตะวันออกของจีน
นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสงครามลดความยากจน ประชากร 8,908 คนจาก 2,308 ครัวเรือนในเขตเมืองได้หลุดพ้นจากความยากจน การท่องเที่ยวกลายเป็นอุตสาหกรรมหลักของเศรษฐกิจในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ เยว่ผิง ยังได้พัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร 6 ประเภทของตนเอง เช่ดอกบัวขาว และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อีกทั้งได้สร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
15. หมู่บ้านสือป่าตง ในเขตหัวหยวน มณฑลหูหนานทางตอนกลางของจีน
หมู่บ้านสือป่าตง อุดมด้วยความงามของธรรมชาติและภูมิประเทศที่สวยงาม แต่มีอุปสรรคสำคัญที่มีภูมิประเทศขรุขระทุรกันดาร ซึ่งหมายความว่าขาดการคมนาคมและพื้นที่ทำกิน
ชาวหมู่บ้านสือป่าตง เช่าที่ดินจากหมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อปลูกกีวีคุณภาพสูง ในขณะเดียวกันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเริ่มเฟ เนื่องจากวัฒนธรรมชนเผ่าแม้วที่เป็นเอกลักษณ์และภูมิประเทศที่สวยงาม ชาวบ้านบางส่วนประกอบกิจการร้านอาหาร คนอื่น ๆ ดำเนินกิจการโรงแรมขนาดเล็กของครอบครัว
ในปี 2556 รายได้ต่อหัวของชาวบ้าน 939 คนในสือป่าตง อยู่ที่ 1,668 หยวนโดย 57 เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่อาศัย อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน ในปี 2560 สือป่าตงได้ขจัดความยากจนอย่างเป็นทางการ ในปี 2561 รายได้ต่อหัวของหมู่บ้านขึ้นมา อยู่ที่ 12,128 หยวน