xs
xsm
sm
md
lg

นักวิทย์จีนทดลองส่งคลื่นเสียงแห่ขอฝนราบสูงทิเบต เพิ่มปริมาณได้ถึง 17%

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เซาท์ไชน่า มอร์นิงโพสต์ รายงาน (4 ก.พ.) - นักวิทยาศาสตร์จีนใช้คลื่นเสียงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำฝนบนที่ราบสูงทิเบตเพิ่มปริมาณน้ำฝนบนที่ราบสูงทิเบตได้ถึง 17 เปอร์เซ็นต์

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิงหฺวา กล่าวว่าเทคนิคนี้ไม่มีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม แต่จำเป็นต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพ

ตามการศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฯ ระบุว่าคลื่นเสียงความถี่ต่ำที่ทรงพลังสามารถใช้เพื่อกระตุ้นให้เกิดฝนตกในพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง

ปีที่แล้ว ในการทดลองการปรับสภาพอากาศบนที่ราบสูงทิเบตชี้ลำโพงขนาดยักษ์ไปที่ท้องฟ้า สามารถบันทึกปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นถึง 17 เปอร์เซ็นต์

“ทรัพยากรไอน้ำในชั้นบรรยากาศรวมต่อปีในประเทศจีนอยู่ที่ประมาณ 20 ล้านล้านตัน [แต่] มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ก่อให้เกิดเป็นฝนตามธรรมชาติตกลงมาที่พื้นดิน และอัตราการรวมตัวของไอน้ำในพื้นที่ทางตะวันตกก็กำลังน้อยลง” ศาสตราจารย์หวัง กวงเฉวีย หัวหน้าหน่วยงานของมหาวิทยาลัยกล่าว

นักวิจัยกล่าวในเอกสารที่ได้รับการตรวจสอบ ตีพิมพ์ใน Scientia Sinica Technologica เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า พลังงานเสียงอาจเปลี่ยนฟิสิกส์ของเมฆ แต่สาเหตุของปรากฏการณ์นี้ต้องการการตรวจสอบเพิ่มเติม

หวังกล่าวว่า "ไม่เหมือนกับเทคโนโลยีการทำฝนอื่น ๆ การสร้างเสียงไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางเคมีและไม่ต้องใช้ “ยานพาหนะในอากาศ เช่นเครื่องบินหรือจรวด” หวังกล่าว “และมีความเป็นไปได้ของการควบคุมระยะไกล ที่มีต้นทุนต่ำ”

อย่างไรก็ตาม การทดลองนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มข้อถกเถียงที่ยาวนานในประเทศจีนเกี่ยวกับความเป็นไปได้และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโครงการปรับเปลี่ยนสภาพอากาศ

นักวิจารณ์กล่าวว่า แม้วิธีการกระตุ้นด้วยเสียงจะได้ผล แต่ก็จะสร้างมลภาวะทางเสียงให้กับคนและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่

ลำโพงของหวัง ใช้เครื่องยนต์ดีเซลที่สามารถอัดอากาศได้มากกว่า 30 ลูกบาศก์เมตรถึง 10 เท่าของความดันบรรยากาศที่ระดับน้ำทะเล จากนั้นก็ใช้เพื่อยิงเสียงที่ก้อนเมฆด้วยความถี่ 50 เฮิรตซ์ ซึ่งแทบจะไม่สามารถรับรู้ได้จากหูของมนุษย์ส่วนใหญ่ แต่มีระดับเสียงสูงถึง 160 เดซิเบลหรือระดับเสียงใกล้เคียงกับเครื่องยนต์เจ็ทที่ทำงานด้วยความเร็วเต็มที่

เมื่อคลื่นเสียงกระทบก้อนเมฆซึ่งอยู่เหนือพื้นดินประมาณ 1,000 เมตร (3,300 ฟุต) ความแรงของคลื่นจะลดลง 30 เดซิเบล สัญญาณเรดาร์เผยให้เห็นหยดน้ำจำนวนมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

หวังและทีมงานของเขาเชื่อว่า การเพิ่มขึ้นนี้เกิดจากการสั่นและการรวมอนุภาคขนาดเล็กให้เป็นอนุภาคที่ใหญ่กว่า

ในการศึกษาปริมาณน้ำฝนสูงขึ้น 11 ถึง 17 เปอร์เซ็นต์ในพื้นที่ภายในช่วงที่มีประสิทธิภาพของอุปกรณ์ซึ่งเป็นรัศมีประมาณ 500 เมตรจากเครื่องกำเนิดเสียงมากกว่าภายนอก

แม้จะมีการค้นพบนักวิจัยจากสถาบันฟิสิกส์บรรยากาศภายใต้ Chinese Academy of Sciences ในปักกิ่ง (ไม่ประสงค์ออกนาม) กล่าวว่าการทดลองสองชั่วโมงของศาสตราจารย์หวัง จะต้องทำซ้ำหลายครั้งเพื่อรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม

ในขณะที่มีการคาดเดากันมานานแล้วว่า ปริมาณน้ำฝนอาจเชื่อมโยงกับเสียง มีหลาย ๆ อารยธรรมก็เต้นรำด้วยฝนในช่วงที่เกิดภัยแล้งบุคคลนั้นกล่าวว่าไม่มีทฤษฎีทางกายภาพที่จะสนับสนุนแนวคิดนี้

“เรื่องนี้ยังคงเป็นตำนานมากกว่าวิทยาศาสตร์” เขากล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น