สื่อต่างประเทศ รายงาน (25 ก.ย.) งานวิจัยล่าสุดจาก Institute for Health Metrics and Evaluation (IHME) ซึ่งตีพิมพ์ใน The Lancet ชี้ให้เห็นว่าจำนวนผู้คนบนโลกนี้อาจเริ่มหดตัวลงก่อนปี ค.ศ. 2100 แล้ว
ก่อนหน้านี้ องค์การสหประชาชาติคาดในปี 2558 ว่าประชากรทั่วโลกจะเกิน 11,000 ล้านคนภายในสิ้นศตวรรษนี้
ตามคาดการณ์ของ UN ระบุว่าประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีนับจากนี้:
ค.ศ. 2030: 8,500 ล้านคน
ค.ศ. 2050: 9,700 ล้านคน
ค.ศ. 2100: 10,900 ล้านคน
ในทางตรงกันข้าม IHME คาดแตกต่างออกไป ว่าจำนวนประชากรจะสูงถึงที่ 9,700 ล้านคน ในปี 2064 และในปี 2100 จะมีประชากรโลกที่ 8,800 ล้านคน ซึ่งน้อยกว่าที่คิดไว้ประมาณ 2,000 ล้านคน
ปัจจัยทางประชากรหลายประการอยู่เบื้องหลังความแตกต่างเหล่านี้ ได้แก่ อายุขัยที่สูงขึ้น, อัตราการย้ายถิ่น และอัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลง สำหรับปัจจัยสุดท้ายนี้ได้มีการพิจารณาตัวขับเคลื่อนที่เป็นอิสระ ซึ่งรวมการเข้าถึงการคุมกำเนิดและการได้รับการศึกษาที่สูงขึ้นด้วย
โครงสร้างอายุที่เปลี่ยนไปก็เป็นส่วนสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้เช่นกัน ภายในปี 2100 กว่าหนึ่งในสี่ของโลกหรือเกือบ 2,370 ล้านคนจะมีอายุ 65 ปีขึ้นไป
IHME คาดการณ์ว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางประชากร ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในปี 2100 ตามลำดับคือ อินเดียขึ้นจากอันดับสองเป็นอันดับหนึ่ง