สำนักข่าวซินหวา สื่อทางการจีน รายงาน (14 เม.ย.) เจ้าหน้าที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนเปิดเผยว่าจีนได้อนุมัติวัคซีนทดลองสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) จำนวน 3 รายการ สำหรับการทดลองทางคลินิก หนึ่งในนั้นคือวัคซีนชนิดใช้อะดิโนไวรัสเป็นตัวนำพา (adenovirus vector vaccine)
วัคซีนดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นโดยทีมวิจัยซึ่งนำโดยเฉินเวย จากสถาบันการแพทย์ทหาร (Institute of Military Medicine) สังกัดสถาบันวิทยาการทหาร (Academy of Military Sciences) และเป็นวัคซีนรายการแรกที่ได้รับการอนุมัติให้เข้าสู่การทดลองทางคลินิก
การทดลองทางคลินิกระยะแรกของวัคซีนชนิดนี้เสร็จสิ้นไปเมื่อช่วงสิ้นเดือนมีนาคม ส่วนการทดลองทางคลินิกระยะที่สองเริ่มต้นขึ้นแล้วเมื่อวันที่ 12 เม.ย.ที่ผ่านมา
องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า วัคซีนดังกล่าวเป็นวัคซีนโรคโควิด-19 รายการแรกของโลกที่เข้าสู่การทดลองทางคลินิกระยะที่ 2
การทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 ของวัคซีนชนิดนี้แตกต่างจากระยะที่ 1 เพราะไม่ได้มีการกำหนดอายุผู้รับการทดลอง โดยเปิดให้อาสาสมัครผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปสามารถร่วมการทดลองได้ เนื่องจากเฉินระบุว่าในบรรดาผู้ป่วยวิกฤตมีผู้สูงอายุค่อนข้างมาก ซึ่งวัคซีนจะช่วยให้พวกเขามีเกราะป้องกัน
เช้าวันที่ 13 เม.ย. สยงเจิ้งซิ่ง ชายชราชาวอู่ฮั่น วัย 84 ปี เข้ารับการฉีดวัคซีนดังกล่าว และกลายเป็นอาสาสมัครที่อายุมากที่สุดในการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2
ที่ผ่านมา จีนใช้วิธีทางเทคโนโลยี 5 วิธีในการวิจัยและพัฒนาในการพัฒนาวัคซีนโรคโควิด-19 ได้แก่ วัคซีนแบบเชื้อตาย วัคซีนแบบโปรตีนลูกผสม (recombinant protein vaccines) วัคซีนที่ใช้อะดิโนไวรัสเป็นตัวนำพา วัคซีนกรดนิวคลีอิก (nucleic acid vaccines) และวัคซีนที่ใช้เชื้อไข้หวัดใหญ่ซึ่งมีฤทธิ์อ่อนแอเป็นตัวนำพา
ในบรรดาวิธีต่างๆ ดังกล่าว วัคซีนที่ใช้อะดิโนไวรัสเป็นตัวนำพานั้นมีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉินอธิบายว่าวิธีนี้จะใช้อะดิโนไวรัสเป็นตัวนำพา ซึ่งจะนำพายีนเอส (S) ของเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ เข้าสู่เซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อให้ร่างกายของผู้รับวัคซีนจดจำภูมิคุ้มกันโปรตีนยีนเอส จึงสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 ม.ค. เฉินได้นำทีมวิจัยไปต่อสู้ในแนวหน้าที่อู่ฮั่น โดยมีศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่กรุงปักกิ่งดำเนินการวิจัยและพัฒนาวัคซีนไปพร้อมกัน ในการทดลองทางคลินิกระยะแรก มีการให้วัคซีนกับอาสาสมัครจำนวน 108 คน นับจนถึงวันที่ 27 มี.ค. ซึ่งทุกคนได้ผ่านกระบวนการสังเกตการณ์ทางการแพทย์อย่างใกล้ชิดแล้วและมีสุขภาพดี
ส่วนการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 ของวัคซีนชนิดใช้อะดิโนไวรัสเป็นตัวนำพา จะมีการระดมอาสาสมัครจำนวน 500 คน พร้อมทั้งกลุ่มควบคุมที่ใช้ยาหลอก (placebo) ในการประเมินความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและความปลอดภัยของวัคซีน และเมื่อนับถึงเวลา 17.00 น.ของวันจันทร์ (13 เม.ย.) มีอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนแล้วทั้งสิ้น 273 คน
วัคซีนดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นโดยทีมวิจัยซึ่งนำโดยเฉินเวย จากสถาบันการแพทย์ทหาร (Institute of Military Medicine) สังกัดสถาบันวิทยาการทหาร (Academy of Military Sciences) และเป็นวัคซีนรายการแรกที่ได้รับการอนุมัติให้เข้าสู่การทดลองทางคลินิก
การทดลองทางคลินิกระยะแรกของวัคซีนชนิดนี้เสร็จสิ้นไปเมื่อช่วงสิ้นเดือนมีนาคม ส่วนการทดลองทางคลินิกระยะที่สองเริ่มต้นขึ้นแล้วเมื่อวันที่ 12 เม.ย.ที่ผ่านมา
องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า วัคซีนดังกล่าวเป็นวัคซีนโรคโควิด-19 รายการแรกของโลกที่เข้าสู่การทดลองทางคลินิกระยะที่ 2
การทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 ของวัคซีนชนิดนี้แตกต่างจากระยะที่ 1 เพราะไม่ได้มีการกำหนดอายุผู้รับการทดลอง โดยเปิดให้อาสาสมัครผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปสามารถร่วมการทดลองได้ เนื่องจากเฉินระบุว่าในบรรดาผู้ป่วยวิกฤตมีผู้สูงอายุค่อนข้างมาก ซึ่งวัคซีนจะช่วยให้พวกเขามีเกราะป้องกัน
เช้าวันที่ 13 เม.ย. สยงเจิ้งซิ่ง ชายชราชาวอู่ฮั่น วัย 84 ปี เข้ารับการฉีดวัคซีนดังกล่าว และกลายเป็นอาสาสมัครที่อายุมากที่สุดในการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2
ที่ผ่านมา จีนใช้วิธีทางเทคโนโลยี 5 วิธีในการวิจัยและพัฒนาในการพัฒนาวัคซีนโรคโควิด-19 ได้แก่ วัคซีนแบบเชื้อตาย วัคซีนแบบโปรตีนลูกผสม (recombinant protein vaccines) วัคซีนที่ใช้อะดิโนไวรัสเป็นตัวนำพา วัคซีนกรดนิวคลีอิก (nucleic acid vaccines) และวัคซีนที่ใช้เชื้อไข้หวัดใหญ่ซึ่งมีฤทธิ์อ่อนแอเป็นตัวนำพา
ในบรรดาวิธีต่างๆ ดังกล่าว วัคซีนที่ใช้อะดิโนไวรัสเป็นตัวนำพานั้นมีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉินอธิบายว่าวิธีนี้จะใช้อะดิโนไวรัสเป็นตัวนำพา ซึ่งจะนำพายีนเอส (S) ของเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ เข้าสู่เซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อให้ร่างกายของผู้รับวัคซีนจดจำภูมิคุ้มกันโปรตีนยีนเอส จึงสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 ม.ค. เฉินได้นำทีมวิจัยไปต่อสู้ในแนวหน้าที่อู่ฮั่น โดยมีศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่กรุงปักกิ่งดำเนินการวิจัยและพัฒนาวัคซีนไปพร้อมกัน ในการทดลองทางคลินิกระยะแรก มีการให้วัคซีนกับอาสาสมัครจำนวน 108 คน นับจนถึงวันที่ 27 มี.ค. ซึ่งทุกคนได้ผ่านกระบวนการสังเกตการณ์ทางการแพทย์อย่างใกล้ชิดแล้วและมีสุขภาพดี
ส่วนการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 ของวัคซีนชนิดใช้อะดิโนไวรัสเป็นตัวนำพา จะมีการระดมอาสาสมัครจำนวน 500 คน พร้อมทั้งกลุ่มควบคุมที่ใช้ยาหลอก (placebo) ในการประเมินความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและความปลอดภัยของวัคซีน และเมื่อนับถึงเวลา 17.00 น.ของวันจันทร์ (13 เม.ย.) มีอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนแล้วทั้งสิ้น 273 คน