xs
xsm
sm
md
lg

หม่า และ มัสก์ สองผู้นำโลก แย้งกันเรื่อง AI แต่ปลายทางเดียวกัน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

อีลอน มัสก์ ซีอีโอเทสลา และสเปซเอ็กซ์ ขึ้นเวทีแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ กับ แจ๊ค หม่า ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัทอาลีบาบา เปิดงานประชุมปัญญาประดิษฐ์โลกปี 2019 (World Artificial Intelligence Conference 2019 ) ที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน (ภาพจากคลิป)
สือต่างประเทศ รายงาน (29 ส.ค.) อีลอน มัสก์ ซีอีโอเทสลา และสเปซเอ็กซ์ ขึ้นเวทีแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ กับ แจ๊ค หม่า ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัทอาลีบาบา เปิดงานประชุมปัญญาประดิษฐ์โลกปี 2019 (World Artificial Intelligence Conference 2019 ) ที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน วันที่ 29 สิงหาคม เกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษ์ AI และผลกระทบต่อมนุษยชาติ ตลอดการพูดคุยของทั้งมัสก์ และหม่า ในหลายหัวข้อ ตั้งแต่ ความจำเป็นในการปฏิรูปการศึกษา การย้ายถิ่นฐานไปยังดาวอังคาร และวิถีชีวิตของมนุษย์ที่จะพัฒนาขึ้นในอนาคต

มุมมองที่แตกต่างกันระหว่างมัสก์ และหม่า
มหาเศรษฐีพันล้านทั้งสอง มีมุมมองที่ต่างกันอย่างมากเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ ในขณะที่มัสก์ระมัดระวังเกี่ยวกับ AI เมื่อพิจารณาถึงอันตรายที่อาจก่อให้เกิดต่อมนุษยชาติ แต่ หม่า มองโลกในแง่ดีมากกว่า

“ผมไม่คิดว่า AI จะเป็นภัยคุกคาม” หม่ากล่าวตอบความเห็นเบื้องต้นของซีอีโอของเทสลา

หม่าบอกว่า มนุษย์นั้น “ฉลาดขึ้นได้อีก” และด้วยเหตุนี้มนุษยชาติก็จะยังอยู่ดี แม้เมื่อ AI วิวัฒนาการขึ้น

ในส่วนของมัสก์ ได้ชี้ให้เห็นว่าอัตราการพัฒนาของ AI นั้นมีความก้าวรุดหน้าเป็นสองเท่าและจะมีวันหนึ่ง ที่คอมพิวเตอร์จะแซงหน้าความสามารถตามธรรมชาติของมนุษย์ในการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ

มนุษย์จะเป็นสิ่งมีชีวิตต่างดาวเคราะห์
มัสก์ ว่านี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ "เป็นไปได้ที่มนุษย์จะใช้ชีวิตนอกโลก" เขาเสริมว่า โอกาสนี้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของมนุษยชาติในการรักษาความปลอดภัยโอกาสใช้ชีวิตบนดาวเคราะห์อื่นๆ

หม่า แย้งว่าเขาไม่มีความสนใจในการอยู่ต่างดาวเคราะห์ “ผมไม่อยากไปดาวอังคาร” เขากล่าว แต่หม่ากล่าวว่า มนุษย์ชาติควรพยายามมากขึ้นในการรักษาโลกใบนี้ไว้ ประธานของอาลีบาบายังระบุด้วยว่า โลกต้องการนวัตกรอย่าง อีลอน มัสก์ และคนที่เต็มใจทำสิ่งที่ต้องทำเพื่อกอบกู้โลก

“เราต้องการฮีโร่เหมือนคุณ ที่แสวงหาทางไปยังดาวอังคาร เช่นกันเราต้องการฮีโร่ผู้ที่จะแก้ไขโลก” หม่า กล่าว

มัสก์ ตอบ หม่า เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรเพื่อมุ่งเน้นการแก้ปัญหาของโลก โดยอธิบายว่าการรักษาโลกเป็นส่วนสำคัญของภารกิจของเทสลาตั้งแต่การเปลี่ยนภาคการขนส่งไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ไปจนถึงการส่งเสริมความเป็นอิสระด้านพลังงานผ่านพลังงานแสงอาทิตย์และแบตเตอรี่

มัสก์ กล่าวว่า เราใช้งบเพียงเศษเสี้ยวจีดีพีของโลกในการทำให้มนุษย์ใช้ชีวิตต่างดาวเคราะห์ เปรียบประมาณ 1% ของจีดีพีของโลก

ปัญญาประดิษฐ์ ภัยคุกคามต่อแรงงานมนุษย์
“ทำไมเราถึงต้องการทำงานหนักมากมายล่ะ?” หม่าพูดพร้อมอธิบายว่า มนุษย์กลัวว่าเทคโนโลยีจะแย่งงาน แต่ดูสิทุกวันนี้งานก็งอกเพิ่มขึ้น คนก็ยังไม่ว่าง หม่าเชื่อว่าด้วยความช่วยเหลือของ AI ในที่สุดมนุษย์ก็สามารถไปถึงจุดที่ มีค่าเฉลี่ยการทำงานสัปดาห์ละ 3 วันต่อสัปดาห์และวันทำงานเฉลี่ยเพียง 4 ชั่วโมงต่อวัน เปิดโอกาสให้มนุษย์มีความสุขกับชีวิตมากขึ้นและมีชีวิตที่ยืนยาวยิ่งขึ้น

“เราต้องพร้อมที่จะเข้าสู่ยุคที่ทุกคนจะมีชีวิต 120 ปี” หม่า กล่าว

มัสก์ กล่าวว่าการมาถึงของ AI จะทำให้งานส่วนใหญ่หายไป เมื่อพิจารณาถึงวิวัฒนาการของ AI เมื่อคอมพิวเตอร์สามารถสร้างซอฟต์แวร์ของตนเองได้ในที่สุด และนี่คือเหตุผลเบื้องหลังของการบุกเบิก Neuralink และเทคโนโลยีส่วนต่อประสานสมองกับเครื่องจักร เพื่อจะป้องกันไม่ให้มนุษย์ถูกจักรกลอัจฉริยะทิ้งไว้ข้างหลัง

ความต้องการการปฏิรูปการศึกษา
ผู้ก่อตั้งอาลีบาบายอมรับว่าเขากังวลเกี่ยวกับระบบการศึกษาปัจจุบัน ซึ่งยังคงเป็นวิชาส่วนใหญ่สำหรับยุคอุตสาหกรรมเก่า

หม่าบอกว่า วันนี้มีความต้องการที่จะส่งเสริมการศึกษาที่สร้างสรรค์มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์มีชีวิตที่มีความสุขมากขึ้น “ผมต้องการใช้เวลาฝึกฝนเด็ก ๆ ในการวาดภาพร้องเพลง เต้นรำ สิ่งสร้างสรรค์เหล่านี้ที่ทำให้ผู้คนมีชีวิตเหมือนมนุษย์มากขึ้น”

ซีอีโอเทสลา เห็นพ้องว่าการศึกษาเชิงสร้างสรรค์เป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบโรงเรียนในปัจจุบันคือ “แบนด์วิดท์ต่ำและช้าล้าหลังมาก” มัสก์ตั้งข้อสังเกตว่าการแก้ปัญหา เช่น Neuralink อาจสร้างความแตกต่างได้ในด้านนี้ ทักษะและเรียนรู้อย่างรวดเร็วในลักษณะที่ไม่ไกลจากแนวคิดที่ปรากฎในภาพยนตร์ ​ The Matrix

อันตรายของ ปัญญาประดิษฐ์ AI
ในขณะที่ทั้งสองเห็นพ้องกันว่ามีความจำเป็นในการปฏิรูปการศึกษา มัสก์และหม่า กลับเห็นไม่ตรงกัน กับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจาก AI

หม่า แย้งว่าเมื่อเทียบกับมนุษย์ คอมพิวเตอร์เป็นเพียงของเล่น เสริมว่าทรัพยากรที่ดีที่สุดในโลกคือสมองมนุษย์ “เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะถูกควบคุมด้วยเครื่องจักร ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา”

มัสก์ กล่าวว่าเขาไม่เห็นด้วยอย่างมากกับความเห็นของหม่า โดยกล่าวว่ามนุษย์ไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้ายของการวิวัฒนาการ มัสก์กล่าวและว่า “ความผิดพลาดที่สำคัญที่สุดที่คนฉลาด คือพวกเขาคิดว่าพวกเขาฉลาด” เขากล่าว

หม่า โต้แย้งทันควัน โดยตั้งข้อสังเกตว่าการวัดศักยภาพของมนุษย์ ที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบตัวเองกับ AI (เช่น การเล่นหมากรุกกับปัญญาประดิษฐ์) เป็นการวัดศักยภาพไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากเกมอย่าง Go ออกแบบมาสำหรับจิตใจมนุษย์ “ทำไมมนุษย์ควรเล่นกับคอมพิวเตอร์? มันโง่ที่จะแข่งขันกับคอมพิวเตอร์” หม่า เสริมว่าแม้คอมพิวเตอร์จะฉลาด แต่มนุษย์ก็มีความเฉลียวมากกว่า

อนาคตของมนุษยชาติ
มัสก์ เชื่อว่าหนึ่งในภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกอยู่ที่อัตราการเกิดที่ลดลง “ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในโลกในรอบ 20 ปีคือการล่มสลายของประชากร นี่อาจเป็นปัญหาใหญ่เมื่อพิจารณาว่าโดยทั่วไปแล้วมนุษย์แต่ละคนต้องใช้ช่วงเวลาการพัฒนา หรือการบูต 20 ปี”

หม่า เห็นด้วยโดยระบุว่าแม้แต่ประชากรของจีน ที่ 1,400 ล้านคน ฟังดูอาจมากมายในวันนี้ แต่หากเผชิญสถานการณ์อัตราการเกิดลดลงของประเทศ เราจะเห็นภูมิทัศน์ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงใน 20 ปี

มัสก์ กล่าวเสริมว่า มนุษย์จำเป็นต้องเพิ่มประชากรมากขึ้นอย่างแน่นอน ตามด้วยพูดเบา ๆ ว่า “ดาวอังคารต้องการคน”

ในที่สุด หม่า ก็เชื่อว่า AI นั้นฉลาดเพื่อทำให้ชีวิตของผู้คนดีขึ้น อาลีบาบาก่อตั้งขึ้น ปัญญาประดิษฐ์สามารถทำงานได้ดีขึ้นเมื่อมีเหตุผลเกี่ยวข้อง หรือ ไอคิว แต่ในส่วนที่ไม่ใช่ ไอคิว เหตุผล ตรรกะ มนุษย์จะทำได้ดีกว่า

หม่า กล่าวว่ามนุษย์ไม่เพียงต้องการไอคิว แต่ยังมีความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว) และความรัก เช่นกัน

มัสก์ พยักหน้าพูดว่า “ผมเห็นด้วยกับเขา ความรักคือคำตอบ"


กำลังโหลดความคิดเห็น