xs
xsm
sm
md
lg

เกาะติดประท้วงฮ่องกง : หนึ่งประเทศ สองระบบ ... ถ้า เติ้งเสี่ยวผิงยังมีชีวิตอยู่?

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ กล่าวว่า “หนึ่งประเทศ สองระบบ” เป็นความคิดที่ยอดเยี่ยมที่สุด เป็นแนวคิดที่เต็มไปด้วยพลังสร้างสรรค์ เป็นเสาหลักในการแก้ไขปัญหาฮ่องกง (ภาพเอเจนซี)
MGR Online/ กลุ่มสื่อจีน - เมื่อครั้งที่มีการชุมนุมใหญ่ Occupy 2014 อันมีนัยยะสำคัญอยู่ที่ประเด็นการเลือกตั้งนั้น บรรดาผู้เชี่ยวชาญตลอดจนนักประวัติศาสตร์การเมืองหลายคน ต่างถกเถียงทางออก ทางตัน ซึ่งหลายครั้งก็มีการคิดถึงว่า หากเติ้งเสี่ยวผิง ผู้เติ้ง เสี่ยวผิง เสนอ “หนึ่งประเทศสองระบบ” ครั้งแรก: หลังการประชุมผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศสมัยที่ 11 เติ้ง เสี่ยวผิงได้เสนอแนวความคิด “หนึ่งประเทศสองระบบ”สำหรับแก้ไขปัญหาฮ่องกงและไต้หวัน ตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 1982 (2525) นั้น จะมีความเห็นในสถานการณ์ปัจจุบัน หรือ เกือบ 40 ปีต่อมานี้อย่างไร

ปัญหาคืนดินแดนฮ่องกงกลับสู่จีนนั้น เติ้งเสี่ยวผิง ได้ประชุมกับนายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษ มาร์กาแรต แทตเชอร์ ในการประชุมฯ ดังกล่าว ได้วางพื้นฐานการแก้ไขปัญหาคืนดินแดนฮ่องกง โดยวันที่ 19 ธันวาคม 1984 จีนและอังกฤษได้ลงนามแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยปัญหาฮ่องกง นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ กล่าวว่า “หนึ่งประเทศ สองระบบ” เป็นความคิดที่ยอดเยี่ยมที่สุด เป็นแนวคิดที่เต็มไปด้วยพลังสร้างสรรค์ เป็นเสาหลักในการแก้ไขปัญหาฮ่องกง

เติ้ง เสี่ยวผิงกล่าวหลายครั้งว่า ความฝันสูงสุดของผมคือมีชีวิตอยู่ถึงปี 1997 ปีที่ฮ่องกงกลับสู่มาตุภูมิ ผมจะไปเยือนที่นั่น แต่เติ้ง เสี่ยวผิง ก็จากไปก่อนวันส่งมอบเกาะฮ่องกงแก่จีนเพียงไม่กี่เดือน

วิกฤตการเมืองรอบใหม่ปี 2562 นี้ เกิดขึ้นหลัง 22 ปี แห่งการเสียชีวิตของผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของจีน ซึ่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1997 ก่อนหน้าการส่งมอบเกาะฮ่องกงเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม

เติ้งเสี่ยวผิงนั้น เป็นที่รู้กันว่า เขามองดูเกาะฮ่องกงบนแผนที่เกือบทุกวันขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ นับวันคืนที่เขาจะสามารถเดินบนดินฮ่องกงในอธิปไตยประเทศจีน

ไม่ว่าเติ้งเสี่ยวผิงจะเคยจินตนาการถึงการพลิกผันครั้งสำคัญและปฏิเสธการกลับคืนสู่จีนของชาวฮ่องกงรุ่นใหม่หรือไม่ แต่ที่หลายคนเชื่อมั่นคือ เขาปรารถนาที่จะเห็นความสงบสุขของลูกหลานจีน

ความวุ่นวายในสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้เกิดประเด็นเร่งด่วนขึ้นสองประเด็น ไม่ว่าจะเรื่องเขตอำนาจศาลฮ่องกง และบทบาทใดที่ปักกิ่งสามารถทำได้และควรมีส่วนร่วมในกิจการของเมือง

ฮ่องกงมีความภาคภูมิใจมานานในหลักนิติรัฐของตน แต่อีกด้านหนึ่งคนฮ่องกงก็ต้องตระหนักว่า เพราะประเทศหนึ่งมีสองระบบ ปักกิ่งก็มองว่าตัวเองเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญในฐานะประเทศเดียวกัน และความสัมฤทธิผลของสองระบบนี้ ยังอาจส่งผลต่ออนาคตของการรวมแผ่นดินกับไต้หวันด้วย

ในความเป็นจริงเติ้งเสี่ยวผิง เองก็เคยกล่าวไว้อย่างชัดเจนในช่วงปี 1980 ว่า ปักกิ่ง “ไม่ควรละมืออย่างสิ้นเชิง” จากฮ่องกงหลังจากปี 1997 ไม่เช่นนั้น ทั้งประเทศและผลประโยชน์ของเมืองอาจตกอยู่ในอันตราย

ในประวัติการประชุมคืนเกาะฮ่องกงสู่จีน มีครั้งหนึ่งระหว่างการพูดคุย จีน - อังกฤษในช่วงทศวรรษ 1980 เติ้งเสี่ยวผิง ถึงกับดุผู้เจรจาต่อรองที่สำคัญสองคนจากฝั่งจีนเอง คือ ฮวงหวา และเกิงเปียว ซึ่งแนะนำว่ากองทัพปลดปล่อยประชาชนไม่จำเป็นต้องถูกส่งไปประจำการฮ่องกง หลังจากส่งมอบคืนจีน

เติ้ง โต้แย้งทันที “สิ่งที่ ฮวงหวา และเกิงเปียว กล่าวเป็นเรื่องไร้สาระ" และยืนยันจะมีกองทหารประจำการที่ฮ่องกงหลังจากปี 1997 โดยกล่าวว่า "นี่คือสัญลักษณ์ของอำนาจอธิปไตยของชาติ”

แต่ในไม่ช้าสถานการณ์ก็เปลี่ยนไป ในปี 1989 เมื่อภาพของกองทัพจีน ตกต่ำลงอย่างรุนแรงที่สุดสำหรับชาวฮ่องกง หลังจากการปราบปรามที่จตุรัสเทียนอันเหมิน มีรายงานว่า อังกฤษใช้โอกาสนี้เพื่อต่อรองขอให้ปักกิ่งไม่ส่งทหารไปประจำการฮ่องกง และเติ้งเสี่ยวผิง ประเมินสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป จึงประนีประนอมสัญญาว่ากองทหารรักษาการณ์จะถูกจำกัดอย่างเข้มงวดในค่ายฯ

ดังนั้น ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ยกเว้นเพียงเมื่อชาวฮ่องกงไปเยี่ยมชมกองทัพจีน PLA เปิดค่ายทหารให้ประชาชนทั่วไป ชาวฮ่องกงไม่เคยเห็นทหารเครื่องแบบจีนเดินบนถนนเลย

เข้าใจได้ว่าอำนาจการต่อรองของจีนในเวลานั้นค่อนข้างอ่อนแอ แต่สำหรับเติ้งเสี่ยวผิง ไม่ว่าจะเป็นการ “ให้” หรือ “รับ” ท่าทีอาจต่าง #แต่ล้วนเพื่อการบรรลุเป้าหมายเดียวกัน

แนวคิด หนึ่งระเทศ สองระบบ ของเติ้งเสี่ยวผิงนั้น เป็นศิลปะของ "การให้และรับ" ซึ่งจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อเมื่อผู้นำเข้าใจในสภาวะคู่ขนาน หยินและหยาง แห่ง "การให้และรับ" นี้
กำลังโหลดความคิดเห็น