xs
xsm
sm
md
lg

จีนสร้างเรือบรรทุก LNG ใหญ่สุดในโลก รับกระแสความต้องการพลังงานสะอาด

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ภาพเรือบรรทุก LNG จากท่าเรือในกาตาร์ เดินทางมาถึงสถานีรับก๊าซธรรมชาติในมณฑลเจียงซู ทั้งนี้เรือบรรทุกทั่วไป มีความสามารถถ่ายเทก๊าซธรรมชาติ 260,000 คิวบิกเมตร ที่ท่าเรือ (ภาพ ไชน่าเดลี่)
ไชน่า เดลี่--จีนกำลังสร้างเรือบรรทุกก๊าซธรรมชาติเหลว LNG ซึ่งจะทำสถิติลำใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีความสามารถบรรทุก เท่ากับ 270,000 คิวบิกเมตร เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานสะอาดที่พุ่งสูงขึ้น

บริษัทหูตง-จงหวา ชิปบิวดิ้ง กรุ๊ป(Hudong-Zhonghua Shipbuilding) ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติการต่อเรือของ ไชน่า สเตท ชิบบิวดิ้ง คอร์พอเรชั่น (China State Shipbuilding Corporation) ได้จับมือกับสมาคมมาตรฐานเรือในนอร์เวย์ DNV-GL ดำเนินการต่อเรือบรรทุก LNG ทั้งนี้จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ในบริษัทระหว่างการประชุมและการแสดงสินค้าระหว่างประเทศ เกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติเหลวในนครเซี่ยงไฮ้เมื่อวันอังคาร (2 เม.ย.)

ตามข้อตกลงระบุว่าการวิจัยและการพัฒนาเรือลำใหม่นี้จะแล้วเสร็จภายในปี 2020 ทั้งสองฝ่ายตัดสินใจสร้างเรือขนาดใหญ่ยักษ์ เนื่องจากความต้องการพลังงานสะอาดภายในประเทศจีนกำลังขยายตัว และเหตุผลอื่นๆที่ตัดสินใจสร้างเรือบรรทุกขนาดใหญ่พิเศษนี้ คือสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG terminals) ตามเมืองชายฝั่งในจีน มีจำนวนจำกัด การเดินทางระยะไกล และการขนส่งในตู้คอนเทนเนอร์แช่เย็น

จีนได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างประเทศและนิทรรศการแสดงเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติเหลว ครั้งที่ 19 (International Conference & Exhibition on Liquefied Natural Gas) ในเซี่ยงไฮ้ การประชุมเริ่มเมื่อวันอังคาร(2 เม.ย.) โดยนับเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปีของประวัติศาสตร์การจัดอีเว้นท์นี้ ที่จัดขึ้นในประเทศจีน

“เมื่อปีที่แล้ว จีนนำเข้า LNG มากกว่า 53 ล้านตัน ซึ่งทำสถิติสูงเป็นประวัติการณ์ โดยคิดเป็นสัดส่วน 60 เปอร์เซ็นต์ของการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวทั้งหมด” จง เจี้ยนหวา หัวหน้าคณะกรรมาธิการพลังงานแห่งชาติกล่าวให้การให้สัมภาษณ์กับสื่อจีน

หยาง หวา ประธานบริษัทซีนุก (China National Offshore Oil Corp /CNOOC) กล่าวว่าก๊าซธรรมชาติเหลวจะมีบทบาทสำคัญในการผลิตภาคพลังงานจีนและการบริโภคพลังงาน

จนถึงปัจจุบัน จีนได้นำเข้า LNG มากกว่า 230 ล้านตัน ทำให้จีนกลายเป็นผู้มีส่วนร่วมสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม LNG ของโลก


กำลังโหลดความคิดเห็น