สถาบันวิจัยการพัฒนาและยุทธศาสตร์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยประชาชนแห่งประเทศจีน(人民大学 /Renmin University of China) และศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ว่าด้วยความร่วมมือจัดตั้งศูนย์วิจัย “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีน” (Belt and Road Cooperation Research Center ชื่อย่อ CTC) และจัดพิธีเปิดป้ายศูนย์ฯ ซึ่งตั้งอยู่ ในมหาวิทยาลัยประชาชนแห่งประเทศจีน ณ นครปักกิ่ง
ศาสตราจารย์ ดร.หลิว เหว่ย (刘伟) อธิการบดีมหาวิทยาลัยประชาชนแห่งประเทศจีน และผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาและยุทธศาสตร์แห่งชาติ พลเอก สุรสิทธ์ ถนัดทาง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และนาย มงคล วิศิษฏ์สตัมภ์ อุปทูตไทยประจำนครปักกิ่งประเทศจีน ได้เข้าร่วมพิธีพิธีลงนามร่วมกันเมื่อเช้าวันที่ 23 พฤศจิกายน 2561
ศ.หลิว เหว่ย อธิการบดีมหาวิทยาลัยประชาชนแห่งประเทศจีนได้ต้อนรับการเยี่ยมเยือนของ พลเอก สุรสิทธ์ ถนัดทาง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน และนายมงคล วิศิษฏ์สตัมภ์ อุปทูตไทยประจำกรุงปักกิ่ง และได้แนะนำความเป็นมาการก่อตั้งศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน ทางมหาวิทยาลัยฯ หวังว่าการจัดตั้งศูนย์วิจัยไทย-จีนนี้ จะช่วยขยายการวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักวิชาการและนักศึกษาทั้งสองประเทศในสาขา “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (One Belt One Road) ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมทั้งช่วยบุกเบิกยุคทองความสัมพันธ์ไทย-จีน
พลเอก สุรสิทธ์ ถนัดทาง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน กล่าวแสดงความเชื่อว่าจีน-ไทยมีจุดยืนร่วมกันในการพัฒนา โดยหวังว่าความร่วมมือด้านวิชาการครั้งนี้จะสร้างผลประโยชน์ให้แก่ทั้งสองฝ่าย และปิดท้ายคำกล่าวว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการร่วมมือสร้างศูนย์วิจัยฯ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการแลกเปลี่ยนให้เป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ สร้างจุดยืนร่วม ยกระดับความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างสองประเทศ
นายมงคล วิศิษฏ์สตัมภ์ อุปทูตไทยประจำนครปักกิ่งได้กล่าวว่าความร่วมมือภายใต้โครงการริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง ที่รัฐบาลจีนเสนอให้เป็นหลักแนวความร่วมมืออย่างกว้างขวาง และสมประโยชน์ทุกฝ่าย นับเป็นการเปิดโอกาสใหม่ครั้งประวัติศาสตร์ของการพัฒนาความสัมพันธ์ไทย-จีนอย่างรอบด้าน
นายมงคล ชี้ว่าความริเริ่ม หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย 4.0 จะช่วยเสริมเติมเต็มซึ่งกันโดยศูนย์ความร่วมมือการวิจัยจะช่วยสนับสนุนด้านปัญญาความรู้แก่ทั้งสองรัฐบาลและสร้างการพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืน
ศาสตราจารย์ หลิว หยวนชุน (刘元春) รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยประชาชนแห่งประเทศจีน เป็นประธานในที่ประชุมความร่วมมือการจัดตั้งศูนย์วิจัยร่วม ได้อธิบายสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนร่วมกันเกี่ยวกับระบบการบริหารศูนย์การวิจัยร่วมในอนาคต
ศ.หลิว กล่าวว่าการ ศูนย์วิจัยร่วมฯ จะสนับสนุนและอำนวยการแลกเปลี่ยนด้านวิชาการระหว่างหน่วยงานวิจัยจีนและสถาบันการศึกษาระดับสูงของไทย เพื่อผลักดันสัมพันธภาพด้านความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างไทย-จีน โดยจะมุ่งเน้นไปที่การแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มนักวิชาการและนักศึกษาอย่างลงลึก แบ่งปันผลงานการวิจัยร่วมกันและกิจกรรมการประชุม เพื่อสร้างพลังผลักดันการอุทิศให้กับการพัฒนาร่วมของสองประเทศ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม เป็นต้น
ทั้งนี้ กลุ่มผู้ทรงเกียรติที่ได้เข้าร่วมในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือศูนย์การวิจัยร่วม ได้แก่ ฝ่ายไทย: ดร. ธารากร วุฒิสถิรกูล รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน พ.อ.อาทิตย์ ม่วงเล็ก ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร/ทหารบก และนางสาว พิชญานนท์ วังชาบวร เลขานุการชั้น 1 นายวิรุฬห์ พิชัยวงศ์ภักดีและนาย ฉาง เสียง (常 翔 )นักวิจัยจากศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย - จีน
ส่วนฝ่ายจีน: ศาสตราจารย์ เหยียน จินหมิง(严 金 明) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการพัฒนาและยุทธศาสตร์แห่งชาติของมหาวิทยาลัยประชาชนแห่งประเทศจีน ศาสตราจารย์ สีว์ ฉินหวา (许 勤华 )รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการพัฒนาและยุทธศาสตร์แห่งชาติ ดร.หม่า เลี่ยง (马 亮 )ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการพัฒนาและยุทธศาสตร์แห่งชาติ และศาสตราจารย์ จาง ต้าเหมี่ยว (张 大 淼) รองผู้อำนวยการสำนักงานแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ
สถาบันวิจัยการพัฒนาและยุทธศาสตร์แห่งชาติของมหาวิทยาลัยประชาชนแห่งประเทศจีน เป็นหน่วยนำร่องชุดแรกที่ก่อตั้งสำนักคลังสมอง (Think Tanks) ระดับประเทศ ต่อมาในปี พ. ศ. 2558 ได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 100 สำนักคลังสมองชั้นนำระดับโลก และในปี พ. ศ. 2561 ได้ครองอันดับหนึ่งในการจัดอันดับ “100 สำนักคิดสังกัดมหาวิทยาลัยชั้นนำ”
สถาบันวิจัยการพัฒนาและยุทธศาสตร์แห่งชาติรับใช้พรรคฯและรัฐบาลในการตัดสินใจทางวิทยาศาสตร์ อันนำไปสู่ความก้าวหน้าทางสังคมและนวัตกรรม ปัจจุบัน นาย จิ้น นั่ว (靳 诺)เลขานุการพรรคฯ ของมหาวิทยาลัยประชาชนแห่งประเทศจีนได้เป็นประธานฯ ศาสตราจารย์ หลิว เหว่ย อธิการบดีมหาวิทยาลัยฯ เป็นผู้อำนวยการฯ และ ศาสตราจารย์ เหยียน จินหมิง (严金明) เป็นผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ