xs
xsm
sm
md
lg

“อียูไม่เห็นด้วยกับทรัมป์” แต่ก็จะไม่รวมหัวกับจีนรุมเมกา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ประธานคณะมนตรีแห่งยุโรป นายโดนัลด์ ทุสก์ (ซ้าย) นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง (กลาง) และประธานคณะกรรมาธิการยุโรป นาย Jean-Claude Juncker (ขวา) ในพิธีลงนามในการเจรจาโต๊ะกลมว่าด้วยธุรกิจการค้าจีน-อียูที่มหาศาลาประชาชน กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 16 ก.ค.2018 (ภาพ รอยเตอร์ส)
เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์—ที่ปรึกษาอาวุโสของสหภาพยุโรป หรืออียูกล่าวว่า อียูไม่คิดรวมหัวกับจีน “รุม” วอชิงตัน แม้มีเสียงเรียกร้องให้ช่วยกันต้านนโยบายลัทธิปกป้องการค้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

นาย Luca Jahier ประธานคณะผู้แทนสมาชิกคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งยุโรป บอกกับสื่อฮ่องกง เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์ว่า สหรัฐอเมริกายังเป็นคู่หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญของอียู แม้ว่าอียูต่อต้านมาตรการภาษีการค้าของทรัมป์ก็ตาม

Jahier ยันอีกว่าเขาต่อต้านลัทธิปกป้องการค้าอย่างแข็งขัน แต่การกระพือกระแส ทำให้สถานการณ์แย่ลงนั้น ไม่ใช่การโต้ตอบที่ดี “เราไม่ควรตอบโต้แบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน เราไม่เชื่อว่าสงครามการค้าจะคลี่คลายด้วยการใช้ลัทธิปกป้องการค้าตอบโต้ โดยทางอียูได้เรียนรู้บทเรียนจากผลของการใช้มาตรการกีดกันการค้าในอดีตมาแล้ว”

ทั้งนี้ นาย Jahier กล่าวในช่วงก่อนหน้าวันจันทร์ (16 ก.ค.)ซึ่งเป็นวันเปิดการประชุมเจรจาระหว่างผู้แทนระดับสูงจากอียู-จีน

ในวันที่ 6 ก.ค. สหรัฐฯได้ขึ้นภาษีการค้าต่อสินค้าจากจีน มูลค่า 34,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่จีนได้โต้ตอบด้วยมาตรการแบบเดียวกัน

นาย Jahier กล่าวอีกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอียูกับจีนนั้นมีความสำคัญ เนื่องจากอียูเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของจีน แต่อียูก็ยังต้องเผชิญตอใหญ่หลายอันในการเข้าสู่ตลาดจีน ทั้งกำลังเรียกร้องให้ปักกิ่งทำอะไรมากกว่านี้ เพื่อประกันการแข่งขันที่เป็นธรรม

“กลุ่มบริษัทในอียูต่างประสบปัญหาการปิดตลาด จีนไม่ค่อยตอบสนองต่อกลุ่มนักลงทุนของเราเท่าที่ควร ขณะที่อียูเปิดตลาดให้แก่การลงทุนจากจีนมากกว่า เราต้องการการเปลี่ยนแปลง” Jahier กล่าว

ทั้งสหรัฐฯและอียูต่างตกที่นั่งเดียวกันในการเข้าเจาะตลาดจีน การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และการอดุหนุนอุตสาหกรรมไฮเทคของรัฐบาลจีน”

แต่มาตรการตั้งกำแพงภาษีของทรัมป์ ก็ผลักให้บรัสเซลส์และวอชิงตันห่างออกจากกัน ขณะที่ทางจีนเรียกร้องอียูให้ช่วยกันต่อต้านลัทธิปกป้องการค้า รวมทั้งการตั้งกลุ่มทำงานเพื่อการนี้ในองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ)

Jahier กล่าวอีกว่า “จีน สหรัฐฯ และอียู ต่างก็เป็นสมาชิกดับเบิลยูทีโอ และต้องปฏิบัติการตามกฎเกณฑ์กติกาต่างๆขององค์การ และเราหวังว่าสหรัฐฯและจีนจะแก้ไขปัญหาขัดแย้งกันตามกติกานั้น โดยสถาบันต่างๆ และกฎเกณฑ์ที่มีอยู่นั้น เพียงพอที่จะแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้น”




กำลังโหลดความคิดเห็น